คำถาม : ชาวบ้านก็ค่อนข้างจะเห็นด้วย เพราะว่าทาง สสร. บอกว่าเป็นเพราะว่านักการเมืองทุจริต ตรงนี้ถ้าเขาอธิบายไปอย่างนี้
คุณชวน : อันที่จริง ถ้าลองถามชาวบ้าน เขาจะเห็นด้วยว่าให้กำหนดวาระ แต่ว่าถ้าเราอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจว่า ในระบบของเราซึ่งเป็นระบบรัฐสภานั้น ไม่เหมือนระบบประธานาธิบดีที่เขาจะอยู่ 4 ปีจริง ๆ แต่ระบบนี้อาจจะอยู่แค่ 1 ปี 2 ปี ก็ยุบสภาแล้วก็ได้ เพราะฉะนั้นประเทศที่ปกครองในระบบรัฐสภานั้น เขาจะไม่กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี หรือนักการเมือง
อันนี้คือข้อแตกต่างที่ต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ถ้าประชาชนเข้าใจกรอบหลักอันนี้ ความเห็นเขาอาจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าเราไปสร้างความสับสนจะด้วยมีวาระซ่อนเร้นอะไรก็ตาม ไปสับสน คนก็จะไม่เข้าใจ เวลาไปสอบถามความเห็นคน เขาก็จะออกมาในลักษณะที่พูดถึง ผมเคยเห็นมีการสุ่มตัวอย่างถามความเห็นว่าระหว่างท่านศจ.สัญญา ธรรมศักดิ์ กับท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใครสุจริตกว่ากัน ผลออกมาว่า ศจ.สัญญา ธรรมศักดิ์ สุจริต ซื่อสัตย์ น้อยกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้แต่ที่มันออกอย่างนี้เพราะว่าข้อมูลประชาชนนั้นเขาไม่ครบถ้วน มันก็ออกมาอย่างนี้ได้ ดังนั้นการให้ข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นมากที่จะทำให้ดุลพินิจประชาชนสอดคล้องกับความเป็นจริง
คำถาม : อย่างเลขา คมช. ท่านบอกทำนองว่าควรจะเปิดไว้อย่าไปล็อค เพราะว่าเดี๋ยวจะเป็นปัญหาอย่างในอดีต
คุณชวน : ที่จริงความเห็นท่านก็ไม่ผิดอะไร อย่างที่ผมเรียนแล้ว ก็คือว่า ถ้าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ แล้วไม่ต้องบังคับอะไรเลย ทุกอย่างจะเป็นไปตามความชอบธรรม ปฏิบัติ ตามหลักการของประชาธิปไตย คือนักการเมือง สส. มาเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ว่าขณะนี้ผมคิดว่าประชาธิปไตยของเรา ยังไม่เป็นสมบูรณ์อย่างที่เราเข้าใจกัน จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดอะไรก็ตามที่เราคิดว่า อาจจะเป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นมา เพราะฉะนั้นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง มาจาก สส. นั้นก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง รอโอกาสให้บ้านเมืองพัฒนาขึ้นดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และถึงช่วงนั้น เราเปิดประเด็นได้เต็มที่เลย แม้กระทั่งบังคับให้สังกัดพรรคตอนนั้นก็ยังไม่จำเป็น
แต่ตอนนี้ผมคิดว่ายังมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดหลักเกณฑ์อันนี้เอาไว้อยู่ ความเห็นที่แตกต่างกันไม่ใช่เป็นเชิงที่เสียหายอะไรหรอก แต่ว่าถ้าเราทำความเข้าใจว่าสถานการณ์บ้านเมืองสภาพอย่างนี้ เราควรจะทำอย่างไรให้ประชาธิปไตยของเราไปได้ดี และก็มีความมั่นคงไปเรื่อย ๆ อันนี้คือสิ่งจำเป็นที่ต้องเข้าใจโดยถ่องแท้และช่วยกันเดินตามอย่างนี้ เพื่อสร้างคนดี ๆ เข้ามาอยู่ในวงการเมืองมากขึ้น
คำถาม : ท่านมองอย่างไร ที่เลขา คมช. บอกว่า ไม่หวั่นถ้าเกิดว่าจะล้มร่าง ฯ เพราะว่ามีรัฐธรรมนูญฉบับสำรองคือ คมช. สามารถหยิบตรงนี้ออกมา
คุณชวน : ผมคิดว่าเราไม่ควรเสียเงินและเสียเวลาเปล่านะครับ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ควรจะหาทางให้ประกาศใช้ให้ได้ แต่อย่าไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็น ผมคิดว่าเราต้องทำความเข้าใจที่จริงแล้วข้อห่วงใยผมขณะนี้ไม่ได้อยู่ตรงนี้
สิ่งที่ผมห่วงใยก็คือว่า รัฐบาลปัจจุบันท่านก็มีเป้าหมายที่จะปฏิรูปการเมือง ต้องการเห็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม แต่ขณะนี้ผ่านมา 4 — 5 เดือนแล้วนะครับ การดำเนินงานเพื่อรณรงค์ให้การเลือกตั้งในครั้งต่อไปเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรมนั้น เกือบพูดได้ว่ายังไม่ลงมือเลย ซึ่งถ้ารอรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วถึงจะรณรงค์ ผมว่าเวลามันไม่พอ เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจและก็มีเหตุผลที่ชี้แจงประชาชนได้ว่า ทำไมถึงได้เกิดวิกฤติถึงขั้นต้องมีการยึดอำนาจ มีรัฐประหาร
ซึ่งตอบได้ว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเมืองที่เกิดขึ้นจากระบบการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เมื่อการเลือกตั้งมาจากระบบการซื้อเสียง โกงเลือกตั้ง เราก็จะได้ผู้แทนที่มาจากระบบซื้อเสียง โกงเลือกตั้ง รัฐบาลซึ่งมาจากเสียงข้างมากก็จะเป็นรัฐบาลที่มาจากการซื้อเสียง รัฐบาลก็จะมาหาเงินเพื่อมาซื้อเสียง อันนี้เป็นเรื่องที่เป็นวัฏจักรที่เกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่อันตรายจริง ๆ พูดได้ว่า อันตรายยิ่งกว่าตัวรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเงื่อนไขสำคัญทั้งหมด อาจจะเป็นส่วนหนึ่ง แต่ว่าตัวสำคัญที่สุดก็คือว่าการเมืองที่เกิดขึ้นจากระบบการทุจริตและซื้อเสียง นับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เราได้รัฐบาลที่มีพฤติกรรมอย่างที่ผ่านมา ถ้าเราขจัดตรงนี้ไปได้ ผมว่าปัญหาจะลดลงไปมาก เพราะฉะนั้นผมอยากจะขอรัฐบาลให้ตระหนักเรื่องนี้ มีเวลาอีก 7 เดือน ผมว่า 7 เดือนก็นานพอที่รัฐบาล ถ้ามุ่งทำงานแล้วจะทำอะไรได้มาก มากพอสมควร
และผมขอถือโอกาสนี้ฝากไว้เลยครับว่า ถ้ากระทรวง ทบวง กรมใด ที่คนไม่พอ รัฐบาลก็อย่าขี้เหนียวตำแหน่งรัฐมนตรี ยังมีโอกาสที่จะตั้งเพิ่มได้ ก็อย่าไปเสียดายเงินเดือนรัฐมนตรี ตั้งคนที่มาทำงาน โดยเฉพาะวิกฤติในภาคใต้ขณะนี้ อยากให้รัฐบาลหาคนสักคนหนึ่งหรือสองคนไปปักหลัก ทำงานจริงจังที่นั่น อย่าขึ้นมา แล้วก็ประสานงานให้ได้ เพราะเราทุ่มกำลังเจ้าหน้าที่ไปมากพอสมควรแล้ว วันนี้พี่น้องในพื้นที่ พบเมื่อไหร่ก็ได้ยินเสียงเมื่อนั้น ผมนั้นได้พบทุกงาน ชาวบ้านก็พูดเหมือนกันหมดว่า เขาอยู่ยากเหลือเกิน เราจะช่วยเขาได้อย่างไร ก็อยากจะถือโอกาสเรียนผ่านไปยังรัฐบาลด้วยว่า สภาพพี่น้องประชาชนอยู่อย่างยากลำบากจริง ๆ ฉะนั้นถ้าหากว่าไม่มีคนลงไปรับรู้สุข ทุกข์ของเขาชัดเจน มันก็ได้ยินแต่คำบอกเล่า เห็นแต่ข่าว แต่ว่าถ้ามีคนของรัฐบาลไปเสี่ยงบ้าง อันนั้นอาจจะต้องเสี่ยงบ้าง ลงไปในพื้นที่แล้วสัมผัสปัญหาจริง ๆ แล้วผมคิดว่าจะทำให้รัฐบาลเข้าใจอะไรถ่องแท้มากขึ้น จะทุกข์ร้อน เจ็บร้อนมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ พี่น้องลำบากในขณะนี้ ไม่รู้เลยครับว่าพรุ่งนี้เช้าครอบครัวไหนจะโดนเข้าไป จะถูกตัดคอหรือจะถูกฆ่าอีกไม่มีใครรู้ เพราะฉะนั้นก็เป็นปัญหาที่ทุกคนร้องเรียนผ่านพวกเรามา
คำถาม : หมายถึงว่าตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงใช่ไหม ที่จะไปอยู่ใต้
คุณชวน : บังเอิญว่ารัฐบาลปฏิเสธไปตั้งแต่ต้น แต่ผมคิดว่าจะมีตำแหน่งรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงหรือไม่ก็ตาม แต่ว่าอยากให้มีรัฐมนตรีสักคนหนึ่ง ที่ลงไปปักหลักในพื้นที่เป็นตัวประสานรับรู้แทนรัฐบาล อย่าปล่อยให้ราชการเขาดำเนินการไปฝ่ายเดียว เพราะว่าราชการถ้าไม่มีตัวประสานต่างคนต่างอยู่ การแก้ปัญหาก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร กำลังที่ส่งไปเพิ่มเติม ถ้าต่างอยู่ ไม่รู้จักแบ่งงาน ก็ไม่ออกมาจากทุกที่ ประชาชนก็จะมีปัญหาว้าเหว่ ไม่รู้จะพึ่งใคร
คุณอภิสิทธิ์ : สำหรับเรื่องปัญหาภาคใต้นั้น เป็นข้อเสนอหนึ่งซึ่งได้เคยเสนอนายกฯ ไปในช่วงที่มีการปรับครม. คือผมเชื่อว่ารัฐบาลมีความตั้งใจและมีความคิดในเชิงนโยบายที่ไม่ผิด เพราะว่าขณะนี้ขาดคนที่ไปขับเคลื่อนจริง ๆ และนี่เป็นจุดหนึ่งที่ดูจะมีความสับสนกันอยู่ว่า เป็นเรื่องของ คมช. หรือเป็นเรื่องของรัฐบาล แต่ว่าในความเป็นจริงนั้นการบริหารราชการแผ่นดินตามระบบ รัฐบาลจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะฉะนั้นการจะมีรัฐมนตรีระดับไหนก็แล้วแต่ที่ได้รับมอบหมายเป็นการเฉพาะให้ดูแลและเกาะติดกับสถานการณ์ในพื้นที่นั้น จะเป็นทั้งขวัญและกำลังใจให้ประชาชน และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วย เพราะเราใช้คนจำนวนมากในพื้นที่ แต่ว่าการขับเคลื่อนหรือการรับการสนับสนุนจากฝ่ายนโยบายยังมีปัญหาอยู่
คำถาม : อันนี้หมายถึงว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับกระทรวงมหาดไทย 2 คนนั้นไม่พอที่จะดูแลความมั่นคง
คุณอภิสิทธิ์ : ที่เสนอไป คืออยากเห็นรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเฉพาะเรื่องนี้ ท่านจะมอบหมายกระทรวงไหนก็แล้วแต่ แล้วเราก็พูดในเชิงรวมศูนย์อยู่ที่ ศอ.บต. แต่ว่า ศอ.บต. ก็ไม่ใช่ระดับนโยบาย ต้องมีการรายงานมาที่ระดับนโยบายและการประสานงานโดยเฉพาะถ้าพูดถึงเรื่องของการสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ก็ดีการจัดงบประมาณลงไปก็ดี ผมคิดว่าต้องการระดับนโยบายที่เข้าไปดูแลเป็นการเฉพาะ
ผมยกตัวอย่างสักนโยบายหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลพูดในเรื่องภาคใต้ซึ่งก็เป็นเรื่องถูกต้องก็คือในเรื่องที่จะไปพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ แต่ว่าพอถึงเวลาที่จะทำเป็นรูปธรรมจริง ๆ ว่าอะไรที่ชาวบ้านจะได้ในทางเศรษฐกิจจากความเป็นพิเศษของพื้นที่ตรงนั้น ผมคิดว่าจนถึงวันนี้ก็ยังไม่ชัดเจน แม้แต่ภาคธุรกิจในเมืองก็ยังมีความสับสนอยู่ ทีนี้ก็ต้องการคนระดับนโยบายเพราะว่าตรงนี้คงไม่ใช่สิ่งที่เจ้าหน้าที่จะสามารถไปชี้ได้ เพราะมาตรการที่ต้องใช้นั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษีหรือเป็นเรื่องการผ่อนคลายกฎระเบียบเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นอันนี้คือสิ่งที่อยากเห็นโดยด่วน โดยเฉพาะเรื่องของภาคใต้
ที่จริงผมก็ย้ำไปหลายครั้งแล้ว และเชื่อว่าน่าจะไปถึงรัฐบาล เพราะอยู่ที่การตัดสินใจ เราก็ได้ทำหนังสือไปต่างหากด้วย ประมาณสัปดาห์ที่แล้ว ว่าให้ท่านได้รับทราบถึงประชาชน ความเดือดร้อน มองไม่เห็นว่าตรงนี้ขณะนี้ใครที่จะเป็นที่พึ่งหรือว่าเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะฉะนั้นก็อยากจะได้ความชัดเจน เพื่อที่จะให้การคลี่คลายปัญหานั้นมีความเป็นไปได้มากขึ้น คือเราก็ไม่ได้ไปคาดคั้นหรือไปคาดหวังว่าปัญหาจะหมดไปในเวลาสั้น ๆ แต่ว่า สถานการณ์ยังไม่ได้ดีขึ้นเลย แล้วก็นับวันพอเจ้าหน้าที่เองก็มีลักษณะหวาดกลัว ชาวบ้านก็ยิ่งมองไม่เห็นว่าจะพึ่งใคร
คุณชวน : สัปดาห์ที่แล้ว สส. พรรคเราขึ้นมาทั้งหมด แล้วก็ไปลงชื่อร่วมกันทั้งหมด ท่านหัวหน้า ก็ได้ลงชื่อด้วย ผมก็ลงชื่อด้วย ไปถึงท่านประธาน คมช. เล่าเหตุการณ์โดยย่อ ๆ ให้ท่านได้รับทราบว่า สส. ที่สัมผัสกับชาวบ้านได้รับทราบความทุกข์ยากของประชาชนมาก เพราะฉะนั้นก็ขอให้ท่านประธาน คมช. ได้ช่วยติดตามให้ความมั่นใจหรือกำหนดตัวบุคคล เพื่อรับผิดชอบชัดเจนในเรื่องนี้
คุณอภิสิทธิ์ : ในเรื่องรัฐธรรมนูญ ผมขอเรียนเพิ่มเติมว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือว่า ต้นตอของปัญหาในระบบการเมืองเรายังไม่ค่อยเห็นความชัดเจน เราจะเห็นภาพของการคิดแบบเหมารวม ว่าถ้านักการเมืองไม่ดีก็ต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ แต่เรายังไม่เห็นมาตรการหรือแนวคิด หรือบทบัญญัติ ที่จะมาช่วยให้นักการเมืองที่ดี สามารถมีโอกาสเข้าไปทำงานให้ประชาชนได้อย่างจริงจัง ในขณะที่นักการเมืองที่ไม่ดีนั้น จะต้องถูกลงโทษหรือมีความรับผิดชอบ เรากลับเห็นบทบัญญัติในลักษณะที่ว่า นักการเมืองไม่ดี ก็เอาคนนอกการเมืองเข้ามา ซึ่งความจริงก็ไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่าจะมีคุณภาพ หรือคุณธรรมที่เหนือกว่า เพียงแต่ว่าขณะนี้ยังไม่ได้เป็นนักการเมืองเท่านั้นเอง ก็เป็นจุดทีเป็นปัญหา
ที่ท่านเลขา คมช. พูดมาถึงการที่พรรคฯ พูดถึงว่า ในขณะนี้ควรจะบัญญัติให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง แล้วก็มีการย้อนไปบอกว่า ปีที่แล้ว มีเรื่องมาตรา 7 ผมก็อยากจะทำความเข้าใจกับท่านเพื่อท่านจะได้ไปตรวจสอบ ที่จริงขนาดคุณทักษิณ ยังจำได้ถูกต้องกว่า คุณทักษิณเพิ่งยื่นคำให้การต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าผมเสนอให้ท่านนายกฯทักษิณ ลาออก ซึ่งถ้านายกฯทักษิณ ลาออกในขณะนั้น เงื่อนไขตามมาตรา 7 จะเกิดขึ้น เนื่องจากไม่มีสภาผู้แทนราษฎร เพราะฉะนั้นข้อเสนอของผมมันไม่ใช่เรื่องที่ไปขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมเสนอให้ท่านนายกทักษิณ ไปลาออก เพื่อให้เกิดเงื่อนไขตามมาตรา 7 ซึ่งมันจะไม่มีปัญหาขัดกับหลักประชาธิปไตยเลย เพราะว่าคุณทักษิณดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น แล้วก็เท่ากับว่า ถ้าทำเช่นนั้นก็ยินยอมพร้อมใจแล้ว เพียงแต่ว่าคุณทักษิณแก้ตัวว่า เป็นนายกฯรักษาการ ลาออกไม่ได้ ซึ่งต่อมันก็พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะว่ารองนายกฯวิษณุยังลาออกได้
อันนั้น คือสิ่งที่เป็นสถานการณ์เมื่อปีที่แล้ว มันเป็นคนละเรื่องกับการพูดถึงหลักการในการมีบทบัญญัติถาวร เกี่ยวกับการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีตามกระบวนการปกติ ก็คือที่เราสนับสนุนให้มาจากการเลือกตั้ง แล้วก็ที่ผมคิดว่าอันตรายมากๆ คือว่า การสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งในสังคมในเรื่องอย่างนี้ คือแทนที่ทำให้เราสามารถไปคลี่คลายวิกฤติที่เรามีอยู่แล้ว หรือไปแก้ปัญหาเดิม เราไปเพิ่มปัญหา ไปเพิ่มวิกฤติใหม่ขึ้นมา เวลาของทุกฝ่ายก็มีน้อยอยู่แล้ว ถ้าไปเติมเชื้อให้เกิดความขัดแย้ง การเผชิญหน้า ผมใช้คำว่าไปผลักให้กลุ่มประชาธิปไตย กับกลุ่มอำนาจเก่าต้องไปรวมกัน มันไม่เป็นผลดีสำหรับประเทศ อันนี้คือสิ่งที่น่าทเป็นห่วง โดยเฉพาะที่ผมเคยเรียกร้องให้ คมช.กับรัฐบาลแสดจุดยืนที่ชัดเจนเรื่องรัฐธรรมนูญ การที่ท่านเลขา คมช.มาบอกว่า ไม่รับรัฐธรรมนูญก็ไม่เป็นไร ก็ใชเฉบับที่มีอยู่ สำรองอยู่ แต่สำรองอยู่โดยไม่บอกประชาชน แล้วถ้าสำรองอยู่แล้ว ก็ไปยืนยันในสิ่งที่ประชาชนเขาปฏิเสธตามกระบวนการประชามติ เราก็ไปสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งที่รุนแรงมาก และที่สำคัญก็ คือว่า แนวคิดที่บอกว่า คมช.กับรัฐบาลเก็บรัฐธรรมนูญสำรองไว้ ก็เท่ากับทำให้การประชามติทั้งหมดนี้ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย ไม่ได้มีส่วนสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐธรรมนูญที่ประชาชนจะไปลงประชามติเลย เพราะประชาชนไม่รู้ว่าทางเลือกคืออะไร ปฏิเสธฉบับนี้ไป ก็ปรากฏว่า คมช.ก็มายืนยันได้อยู่ดี ขัดใจประชาชนได้อยู่ดี มันก็ไม่มีความชอบธรรมตรงไหนเกิดขึ้น นี่ยังไม่นับว่า งบประมาณ ที่จะสูญเสียไปกับการประชามติไม่น้อยเลย ไม่ใช่แค่จัดการลงประชามติเท่านั้น
ผมทราบแนวคิดมาว่าจะพิมพ์รัฐธรรมนูญ 18 ล้านฉบับ ซึ่งจริงๆก็ไม่จำเป็นอะไร อยากให้ข้อมูลมีวิธีการที่ง่ายว่านั้นเยอะ เช่นขอความร่วมมือจากหนังสือพิมพ์ ให้เขาพิมพ์ฉบับที่จะไปทำประชามติ แล้วก็ไปกับหนังสือพิมพ์ ง่ายว่าที่จะจัดพิมพ์เอง 18 ล้านฉบับ ส่งไปตามครัวเรือนต่างๆ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีการอ่านหรือเปล่า เพราะฉะนั้นผมคิดว่า คมช.กับรัฐบาล อย่ามองข้ามสิ่งที่เป็นคำแนะนำและข้อท้วงติงต่างๆ แม้ว่าจะมาจากนักการเมืองก็ตาม พวกเราเองมีความห่วงใยอนาคตของบ้านเมือง รัฐบาลกับคมช. ถ้าทำตามคำมั่นสัญญา ปีนี้ก็ไปแล้ว แต่ว่าบ้านเมืองยังอยู่ บ้านเมืองต้องอยู่ สถาบันหลักของชาติต้องอยู่ ประชาธิปไตยต้องอยู่ และก็พวกเราที่เป็นนักการเมืองอาชีพ คือกลุ่มที่ต้องรับผิดชอบตลอดไป ฉะนั้นที่เตือนมาทั้งหมด เสนอแนะมาทั้งหมด ก็ด้วยความห่วงใยจริงๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนได้เสียของพวกเรา
คำถาม : เป็นเพราะว่าตอนนี้กลายเป็นประเด็นที่ทางรสพ.ออกมาเคลื่อนไหวหรือว่า เขาไม่ได้รับความเป็นธรรม ตรงนี้มองว่าการแก้ปัญหาของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร
คุณอภิสิทธิ์ : ผมก็ยังไม่ทราบว่าสุดท้ายขณะนี้ รูปแบบที่ใช้ในทางกฎหมายจริงๆที่เกี่ยวกับพนักงานเป็นอย่างไร การออกอากาศเป็นอย่างไร แต่ว่าทั้งหมดนี้มันก็เป็น คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่รัฐบาลต้องเตือนตัวเองว่า มันไม่มีอะไรดีไปกว่าการยึดความถูกต้องของกฎหมาย อะไรที่เป็นอำนาจของรัฐบาล อะไรที่พึงกระทำไม่พึงกระทำ แล้วก็ปัญหาที่จะตามมาจากข้อผูกพันธ์ในทางกฎหมายนี่มันคืออะไร ซึ่งผมเข้าใจว่าทางรัฐบาลก็คงกำลังจะต้องทบทวนในเรื่องเหล่านี้อยู่ คือเวลานี้ผมเข้าใจว่าที่มีการหยิบยกขึ้นมา มันก็เป็นเรื่องของหลักการว่า ตกลงมาตรฐานในการดูแลพนักงานซึ่งว่างงาน เพราะนโยบายของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร
ทีนี้ที่ผ่านมา ผมว่ารัฐบาลน่าจะเห็นภาพชัดแล้ว และก็ควรทำให้ภาพต่อประชาชนชัดขึ้นไปอีกว่า คนที่สร้างปัญหาจริงๆ กลับไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ผู้บริหารบริษัทอยู่ไหน เจ้าของบริษัททั้งเก่าทั้งใหม่ อยู่ที่ไหน ยิ่งไปกว่านั้นไม่ร่วมมือกับรัฐบาลด้วย เห็นหรือไม่ว่าพอศาลปกครอง พอกฤษฎีกาบอกว่าให้ออกอากาศได้ ผู้บริหารกับเจ้าของก็รีบไปดำเนินงานของสถานียากขึ้นไปอีก ด้วยการไปยกเลิกสัญญาต่างๆ ก็ต้องถามว่าตรงนี้ ทำไมไม่ให้ประชาชนรับทราบว่า เขาคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบ พนักงานเองก็น่าจะต้องมองแล้วว่า เจ้าของกับผู้บริหารของบริษัทเดิมของตัวเองมีความจริงใจแค่ไหนต่อพนักงาน ถึงได้ดำเนินการอย่างที่ทำมา
********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 มี.ค. 2550--จบ--
คุณชวน : อันที่จริง ถ้าลองถามชาวบ้าน เขาจะเห็นด้วยว่าให้กำหนดวาระ แต่ว่าถ้าเราอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจว่า ในระบบของเราซึ่งเป็นระบบรัฐสภานั้น ไม่เหมือนระบบประธานาธิบดีที่เขาจะอยู่ 4 ปีจริง ๆ แต่ระบบนี้อาจจะอยู่แค่ 1 ปี 2 ปี ก็ยุบสภาแล้วก็ได้ เพราะฉะนั้นประเทศที่ปกครองในระบบรัฐสภานั้น เขาจะไม่กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี หรือนักการเมือง
อันนี้คือข้อแตกต่างที่ต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ถ้าประชาชนเข้าใจกรอบหลักอันนี้ ความเห็นเขาอาจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าเราไปสร้างความสับสนจะด้วยมีวาระซ่อนเร้นอะไรก็ตาม ไปสับสน คนก็จะไม่เข้าใจ เวลาไปสอบถามความเห็นคน เขาก็จะออกมาในลักษณะที่พูดถึง ผมเคยเห็นมีการสุ่มตัวอย่างถามความเห็นว่าระหว่างท่านศจ.สัญญา ธรรมศักดิ์ กับท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใครสุจริตกว่ากัน ผลออกมาว่า ศจ.สัญญา ธรรมศักดิ์ สุจริต ซื่อสัตย์ น้อยกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้แต่ที่มันออกอย่างนี้เพราะว่าข้อมูลประชาชนนั้นเขาไม่ครบถ้วน มันก็ออกมาอย่างนี้ได้ ดังนั้นการให้ข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นมากที่จะทำให้ดุลพินิจประชาชนสอดคล้องกับความเป็นจริง
คำถาม : อย่างเลขา คมช. ท่านบอกทำนองว่าควรจะเปิดไว้อย่าไปล็อค เพราะว่าเดี๋ยวจะเป็นปัญหาอย่างในอดีต
คุณชวน : ที่จริงความเห็นท่านก็ไม่ผิดอะไร อย่างที่ผมเรียนแล้ว ก็คือว่า ถ้าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ แล้วไม่ต้องบังคับอะไรเลย ทุกอย่างจะเป็นไปตามความชอบธรรม ปฏิบัติ ตามหลักการของประชาธิปไตย คือนักการเมือง สส. มาเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ว่าขณะนี้ผมคิดว่าประชาธิปไตยของเรา ยังไม่เป็นสมบูรณ์อย่างที่เราเข้าใจกัน จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดอะไรก็ตามที่เราคิดว่า อาจจะเป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นมา เพราะฉะนั้นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง มาจาก สส. นั้นก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง รอโอกาสให้บ้านเมืองพัฒนาขึ้นดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และถึงช่วงนั้น เราเปิดประเด็นได้เต็มที่เลย แม้กระทั่งบังคับให้สังกัดพรรคตอนนั้นก็ยังไม่จำเป็น
แต่ตอนนี้ผมคิดว่ายังมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดหลักเกณฑ์อันนี้เอาไว้อยู่ ความเห็นที่แตกต่างกันไม่ใช่เป็นเชิงที่เสียหายอะไรหรอก แต่ว่าถ้าเราทำความเข้าใจว่าสถานการณ์บ้านเมืองสภาพอย่างนี้ เราควรจะทำอย่างไรให้ประชาธิปไตยของเราไปได้ดี และก็มีความมั่นคงไปเรื่อย ๆ อันนี้คือสิ่งจำเป็นที่ต้องเข้าใจโดยถ่องแท้และช่วยกันเดินตามอย่างนี้ เพื่อสร้างคนดี ๆ เข้ามาอยู่ในวงการเมืองมากขึ้น
คำถาม : ท่านมองอย่างไร ที่เลขา คมช. บอกว่า ไม่หวั่นถ้าเกิดว่าจะล้มร่าง ฯ เพราะว่ามีรัฐธรรมนูญฉบับสำรองคือ คมช. สามารถหยิบตรงนี้ออกมา
คุณชวน : ผมคิดว่าเราไม่ควรเสียเงินและเสียเวลาเปล่านะครับ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ควรจะหาทางให้ประกาศใช้ให้ได้ แต่อย่าไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็น ผมคิดว่าเราต้องทำความเข้าใจที่จริงแล้วข้อห่วงใยผมขณะนี้ไม่ได้อยู่ตรงนี้
สิ่งที่ผมห่วงใยก็คือว่า รัฐบาลปัจจุบันท่านก็มีเป้าหมายที่จะปฏิรูปการเมือง ต้องการเห็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม แต่ขณะนี้ผ่านมา 4 — 5 เดือนแล้วนะครับ การดำเนินงานเพื่อรณรงค์ให้การเลือกตั้งในครั้งต่อไปเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรมนั้น เกือบพูดได้ว่ายังไม่ลงมือเลย ซึ่งถ้ารอรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วถึงจะรณรงค์ ผมว่าเวลามันไม่พอ เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจและก็มีเหตุผลที่ชี้แจงประชาชนได้ว่า ทำไมถึงได้เกิดวิกฤติถึงขั้นต้องมีการยึดอำนาจ มีรัฐประหาร
ซึ่งตอบได้ว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเมืองที่เกิดขึ้นจากระบบการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เมื่อการเลือกตั้งมาจากระบบการซื้อเสียง โกงเลือกตั้ง เราก็จะได้ผู้แทนที่มาจากระบบซื้อเสียง โกงเลือกตั้ง รัฐบาลซึ่งมาจากเสียงข้างมากก็จะเป็นรัฐบาลที่มาจากการซื้อเสียง รัฐบาลก็จะมาหาเงินเพื่อมาซื้อเสียง อันนี้เป็นเรื่องที่เป็นวัฏจักรที่เกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่อันตรายจริง ๆ พูดได้ว่า อันตรายยิ่งกว่าตัวรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเงื่อนไขสำคัญทั้งหมด อาจจะเป็นส่วนหนึ่ง แต่ว่าตัวสำคัญที่สุดก็คือว่าการเมืองที่เกิดขึ้นจากระบบการทุจริตและซื้อเสียง นับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เราได้รัฐบาลที่มีพฤติกรรมอย่างที่ผ่านมา ถ้าเราขจัดตรงนี้ไปได้ ผมว่าปัญหาจะลดลงไปมาก เพราะฉะนั้นผมอยากจะขอรัฐบาลให้ตระหนักเรื่องนี้ มีเวลาอีก 7 เดือน ผมว่า 7 เดือนก็นานพอที่รัฐบาล ถ้ามุ่งทำงานแล้วจะทำอะไรได้มาก มากพอสมควร
และผมขอถือโอกาสนี้ฝากไว้เลยครับว่า ถ้ากระทรวง ทบวง กรมใด ที่คนไม่พอ รัฐบาลก็อย่าขี้เหนียวตำแหน่งรัฐมนตรี ยังมีโอกาสที่จะตั้งเพิ่มได้ ก็อย่าไปเสียดายเงินเดือนรัฐมนตรี ตั้งคนที่มาทำงาน โดยเฉพาะวิกฤติในภาคใต้ขณะนี้ อยากให้รัฐบาลหาคนสักคนหนึ่งหรือสองคนไปปักหลัก ทำงานจริงจังที่นั่น อย่าขึ้นมา แล้วก็ประสานงานให้ได้ เพราะเราทุ่มกำลังเจ้าหน้าที่ไปมากพอสมควรแล้ว วันนี้พี่น้องในพื้นที่ พบเมื่อไหร่ก็ได้ยินเสียงเมื่อนั้น ผมนั้นได้พบทุกงาน ชาวบ้านก็พูดเหมือนกันหมดว่า เขาอยู่ยากเหลือเกิน เราจะช่วยเขาได้อย่างไร ก็อยากจะถือโอกาสเรียนผ่านไปยังรัฐบาลด้วยว่า สภาพพี่น้องประชาชนอยู่อย่างยากลำบากจริง ๆ ฉะนั้นถ้าหากว่าไม่มีคนลงไปรับรู้สุข ทุกข์ของเขาชัดเจน มันก็ได้ยินแต่คำบอกเล่า เห็นแต่ข่าว แต่ว่าถ้ามีคนของรัฐบาลไปเสี่ยงบ้าง อันนั้นอาจจะต้องเสี่ยงบ้าง ลงไปในพื้นที่แล้วสัมผัสปัญหาจริง ๆ แล้วผมคิดว่าจะทำให้รัฐบาลเข้าใจอะไรถ่องแท้มากขึ้น จะทุกข์ร้อน เจ็บร้อนมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ พี่น้องลำบากในขณะนี้ ไม่รู้เลยครับว่าพรุ่งนี้เช้าครอบครัวไหนจะโดนเข้าไป จะถูกตัดคอหรือจะถูกฆ่าอีกไม่มีใครรู้ เพราะฉะนั้นก็เป็นปัญหาที่ทุกคนร้องเรียนผ่านพวกเรามา
คำถาม : หมายถึงว่าตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงใช่ไหม ที่จะไปอยู่ใต้
คุณชวน : บังเอิญว่ารัฐบาลปฏิเสธไปตั้งแต่ต้น แต่ผมคิดว่าจะมีตำแหน่งรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงหรือไม่ก็ตาม แต่ว่าอยากให้มีรัฐมนตรีสักคนหนึ่ง ที่ลงไปปักหลักในพื้นที่เป็นตัวประสานรับรู้แทนรัฐบาล อย่าปล่อยให้ราชการเขาดำเนินการไปฝ่ายเดียว เพราะว่าราชการถ้าไม่มีตัวประสานต่างคนต่างอยู่ การแก้ปัญหาก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร กำลังที่ส่งไปเพิ่มเติม ถ้าต่างอยู่ ไม่รู้จักแบ่งงาน ก็ไม่ออกมาจากทุกที่ ประชาชนก็จะมีปัญหาว้าเหว่ ไม่รู้จะพึ่งใคร
คุณอภิสิทธิ์ : สำหรับเรื่องปัญหาภาคใต้นั้น เป็นข้อเสนอหนึ่งซึ่งได้เคยเสนอนายกฯ ไปในช่วงที่มีการปรับครม. คือผมเชื่อว่ารัฐบาลมีความตั้งใจและมีความคิดในเชิงนโยบายที่ไม่ผิด เพราะว่าขณะนี้ขาดคนที่ไปขับเคลื่อนจริง ๆ และนี่เป็นจุดหนึ่งที่ดูจะมีความสับสนกันอยู่ว่า เป็นเรื่องของ คมช. หรือเป็นเรื่องของรัฐบาล แต่ว่าในความเป็นจริงนั้นการบริหารราชการแผ่นดินตามระบบ รัฐบาลจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะฉะนั้นการจะมีรัฐมนตรีระดับไหนก็แล้วแต่ที่ได้รับมอบหมายเป็นการเฉพาะให้ดูแลและเกาะติดกับสถานการณ์ในพื้นที่นั้น จะเป็นทั้งขวัญและกำลังใจให้ประชาชน และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วย เพราะเราใช้คนจำนวนมากในพื้นที่ แต่ว่าการขับเคลื่อนหรือการรับการสนับสนุนจากฝ่ายนโยบายยังมีปัญหาอยู่
คำถาม : อันนี้หมายถึงว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับกระทรวงมหาดไทย 2 คนนั้นไม่พอที่จะดูแลความมั่นคง
คุณอภิสิทธิ์ : ที่เสนอไป คืออยากเห็นรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเฉพาะเรื่องนี้ ท่านจะมอบหมายกระทรวงไหนก็แล้วแต่ แล้วเราก็พูดในเชิงรวมศูนย์อยู่ที่ ศอ.บต. แต่ว่า ศอ.บต. ก็ไม่ใช่ระดับนโยบาย ต้องมีการรายงานมาที่ระดับนโยบายและการประสานงานโดยเฉพาะถ้าพูดถึงเรื่องของการสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ก็ดีการจัดงบประมาณลงไปก็ดี ผมคิดว่าต้องการระดับนโยบายที่เข้าไปดูแลเป็นการเฉพาะ
ผมยกตัวอย่างสักนโยบายหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลพูดในเรื่องภาคใต้ซึ่งก็เป็นเรื่องถูกต้องก็คือในเรื่องที่จะไปพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ แต่ว่าพอถึงเวลาที่จะทำเป็นรูปธรรมจริง ๆ ว่าอะไรที่ชาวบ้านจะได้ในทางเศรษฐกิจจากความเป็นพิเศษของพื้นที่ตรงนั้น ผมคิดว่าจนถึงวันนี้ก็ยังไม่ชัดเจน แม้แต่ภาคธุรกิจในเมืองก็ยังมีความสับสนอยู่ ทีนี้ก็ต้องการคนระดับนโยบายเพราะว่าตรงนี้คงไม่ใช่สิ่งที่เจ้าหน้าที่จะสามารถไปชี้ได้ เพราะมาตรการที่ต้องใช้นั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษีหรือเป็นเรื่องการผ่อนคลายกฎระเบียบเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นอันนี้คือสิ่งที่อยากเห็นโดยด่วน โดยเฉพาะเรื่องของภาคใต้
ที่จริงผมก็ย้ำไปหลายครั้งแล้ว และเชื่อว่าน่าจะไปถึงรัฐบาล เพราะอยู่ที่การตัดสินใจ เราก็ได้ทำหนังสือไปต่างหากด้วย ประมาณสัปดาห์ที่แล้ว ว่าให้ท่านได้รับทราบถึงประชาชน ความเดือดร้อน มองไม่เห็นว่าตรงนี้ขณะนี้ใครที่จะเป็นที่พึ่งหรือว่าเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะฉะนั้นก็อยากจะได้ความชัดเจน เพื่อที่จะให้การคลี่คลายปัญหานั้นมีความเป็นไปได้มากขึ้น คือเราก็ไม่ได้ไปคาดคั้นหรือไปคาดหวังว่าปัญหาจะหมดไปในเวลาสั้น ๆ แต่ว่า สถานการณ์ยังไม่ได้ดีขึ้นเลย แล้วก็นับวันพอเจ้าหน้าที่เองก็มีลักษณะหวาดกลัว ชาวบ้านก็ยิ่งมองไม่เห็นว่าจะพึ่งใคร
คุณชวน : สัปดาห์ที่แล้ว สส. พรรคเราขึ้นมาทั้งหมด แล้วก็ไปลงชื่อร่วมกันทั้งหมด ท่านหัวหน้า ก็ได้ลงชื่อด้วย ผมก็ลงชื่อด้วย ไปถึงท่านประธาน คมช. เล่าเหตุการณ์โดยย่อ ๆ ให้ท่านได้รับทราบว่า สส. ที่สัมผัสกับชาวบ้านได้รับทราบความทุกข์ยากของประชาชนมาก เพราะฉะนั้นก็ขอให้ท่านประธาน คมช. ได้ช่วยติดตามให้ความมั่นใจหรือกำหนดตัวบุคคล เพื่อรับผิดชอบชัดเจนในเรื่องนี้
คุณอภิสิทธิ์ : ในเรื่องรัฐธรรมนูญ ผมขอเรียนเพิ่มเติมว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือว่า ต้นตอของปัญหาในระบบการเมืองเรายังไม่ค่อยเห็นความชัดเจน เราจะเห็นภาพของการคิดแบบเหมารวม ว่าถ้านักการเมืองไม่ดีก็ต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ แต่เรายังไม่เห็นมาตรการหรือแนวคิด หรือบทบัญญัติ ที่จะมาช่วยให้นักการเมืองที่ดี สามารถมีโอกาสเข้าไปทำงานให้ประชาชนได้อย่างจริงจัง ในขณะที่นักการเมืองที่ไม่ดีนั้น จะต้องถูกลงโทษหรือมีความรับผิดชอบ เรากลับเห็นบทบัญญัติในลักษณะที่ว่า นักการเมืองไม่ดี ก็เอาคนนอกการเมืองเข้ามา ซึ่งความจริงก็ไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่าจะมีคุณภาพ หรือคุณธรรมที่เหนือกว่า เพียงแต่ว่าขณะนี้ยังไม่ได้เป็นนักการเมืองเท่านั้นเอง ก็เป็นจุดทีเป็นปัญหา
ที่ท่านเลขา คมช. พูดมาถึงการที่พรรคฯ พูดถึงว่า ในขณะนี้ควรจะบัญญัติให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง แล้วก็มีการย้อนไปบอกว่า ปีที่แล้ว มีเรื่องมาตรา 7 ผมก็อยากจะทำความเข้าใจกับท่านเพื่อท่านจะได้ไปตรวจสอบ ที่จริงขนาดคุณทักษิณ ยังจำได้ถูกต้องกว่า คุณทักษิณเพิ่งยื่นคำให้การต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าผมเสนอให้ท่านนายกฯทักษิณ ลาออก ซึ่งถ้านายกฯทักษิณ ลาออกในขณะนั้น เงื่อนไขตามมาตรา 7 จะเกิดขึ้น เนื่องจากไม่มีสภาผู้แทนราษฎร เพราะฉะนั้นข้อเสนอของผมมันไม่ใช่เรื่องที่ไปขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมเสนอให้ท่านนายกทักษิณ ไปลาออก เพื่อให้เกิดเงื่อนไขตามมาตรา 7 ซึ่งมันจะไม่มีปัญหาขัดกับหลักประชาธิปไตยเลย เพราะว่าคุณทักษิณดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น แล้วก็เท่ากับว่า ถ้าทำเช่นนั้นก็ยินยอมพร้อมใจแล้ว เพียงแต่ว่าคุณทักษิณแก้ตัวว่า เป็นนายกฯรักษาการ ลาออกไม่ได้ ซึ่งต่อมันก็พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะว่ารองนายกฯวิษณุยังลาออกได้
อันนั้น คือสิ่งที่เป็นสถานการณ์เมื่อปีที่แล้ว มันเป็นคนละเรื่องกับการพูดถึงหลักการในการมีบทบัญญัติถาวร เกี่ยวกับการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีตามกระบวนการปกติ ก็คือที่เราสนับสนุนให้มาจากการเลือกตั้ง แล้วก็ที่ผมคิดว่าอันตรายมากๆ คือว่า การสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งในสังคมในเรื่องอย่างนี้ คือแทนที่ทำให้เราสามารถไปคลี่คลายวิกฤติที่เรามีอยู่แล้ว หรือไปแก้ปัญหาเดิม เราไปเพิ่มปัญหา ไปเพิ่มวิกฤติใหม่ขึ้นมา เวลาของทุกฝ่ายก็มีน้อยอยู่แล้ว ถ้าไปเติมเชื้อให้เกิดความขัดแย้ง การเผชิญหน้า ผมใช้คำว่าไปผลักให้กลุ่มประชาธิปไตย กับกลุ่มอำนาจเก่าต้องไปรวมกัน มันไม่เป็นผลดีสำหรับประเทศ อันนี้คือสิ่งที่น่าทเป็นห่วง โดยเฉพาะที่ผมเคยเรียกร้องให้ คมช.กับรัฐบาลแสดจุดยืนที่ชัดเจนเรื่องรัฐธรรมนูญ การที่ท่านเลขา คมช.มาบอกว่า ไม่รับรัฐธรรมนูญก็ไม่เป็นไร ก็ใชเฉบับที่มีอยู่ สำรองอยู่ แต่สำรองอยู่โดยไม่บอกประชาชน แล้วถ้าสำรองอยู่แล้ว ก็ไปยืนยันในสิ่งที่ประชาชนเขาปฏิเสธตามกระบวนการประชามติ เราก็ไปสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งที่รุนแรงมาก และที่สำคัญก็ คือว่า แนวคิดที่บอกว่า คมช.กับรัฐบาลเก็บรัฐธรรมนูญสำรองไว้ ก็เท่ากับทำให้การประชามติทั้งหมดนี้ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย ไม่ได้มีส่วนสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐธรรมนูญที่ประชาชนจะไปลงประชามติเลย เพราะประชาชนไม่รู้ว่าทางเลือกคืออะไร ปฏิเสธฉบับนี้ไป ก็ปรากฏว่า คมช.ก็มายืนยันได้อยู่ดี ขัดใจประชาชนได้อยู่ดี มันก็ไม่มีความชอบธรรมตรงไหนเกิดขึ้น นี่ยังไม่นับว่า งบประมาณ ที่จะสูญเสียไปกับการประชามติไม่น้อยเลย ไม่ใช่แค่จัดการลงประชามติเท่านั้น
ผมทราบแนวคิดมาว่าจะพิมพ์รัฐธรรมนูญ 18 ล้านฉบับ ซึ่งจริงๆก็ไม่จำเป็นอะไร อยากให้ข้อมูลมีวิธีการที่ง่ายว่านั้นเยอะ เช่นขอความร่วมมือจากหนังสือพิมพ์ ให้เขาพิมพ์ฉบับที่จะไปทำประชามติ แล้วก็ไปกับหนังสือพิมพ์ ง่ายว่าที่จะจัดพิมพ์เอง 18 ล้านฉบับ ส่งไปตามครัวเรือนต่างๆ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีการอ่านหรือเปล่า เพราะฉะนั้นผมคิดว่า คมช.กับรัฐบาล อย่ามองข้ามสิ่งที่เป็นคำแนะนำและข้อท้วงติงต่างๆ แม้ว่าจะมาจากนักการเมืองก็ตาม พวกเราเองมีความห่วงใยอนาคตของบ้านเมือง รัฐบาลกับคมช. ถ้าทำตามคำมั่นสัญญา ปีนี้ก็ไปแล้ว แต่ว่าบ้านเมืองยังอยู่ บ้านเมืองต้องอยู่ สถาบันหลักของชาติต้องอยู่ ประชาธิปไตยต้องอยู่ และก็พวกเราที่เป็นนักการเมืองอาชีพ คือกลุ่มที่ต้องรับผิดชอบตลอดไป ฉะนั้นที่เตือนมาทั้งหมด เสนอแนะมาทั้งหมด ก็ด้วยความห่วงใยจริงๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนได้เสียของพวกเรา
คำถาม : เป็นเพราะว่าตอนนี้กลายเป็นประเด็นที่ทางรสพ.ออกมาเคลื่อนไหวหรือว่า เขาไม่ได้รับความเป็นธรรม ตรงนี้มองว่าการแก้ปัญหาของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร
คุณอภิสิทธิ์ : ผมก็ยังไม่ทราบว่าสุดท้ายขณะนี้ รูปแบบที่ใช้ในทางกฎหมายจริงๆที่เกี่ยวกับพนักงานเป็นอย่างไร การออกอากาศเป็นอย่างไร แต่ว่าทั้งหมดนี้มันก็เป็น คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่รัฐบาลต้องเตือนตัวเองว่า มันไม่มีอะไรดีไปกว่าการยึดความถูกต้องของกฎหมาย อะไรที่เป็นอำนาจของรัฐบาล อะไรที่พึงกระทำไม่พึงกระทำ แล้วก็ปัญหาที่จะตามมาจากข้อผูกพันธ์ในทางกฎหมายนี่มันคืออะไร ซึ่งผมเข้าใจว่าทางรัฐบาลก็คงกำลังจะต้องทบทวนในเรื่องเหล่านี้อยู่ คือเวลานี้ผมเข้าใจว่าที่มีการหยิบยกขึ้นมา มันก็เป็นเรื่องของหลักการว่า ตกลงมาตรฐานในการดูแลพนักงานซึ่งว่างงาน เพราะนโยบายของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร
ทีนี้ที่ผ่านมา ผมว่ารัฐบาลน่าจะเห็นภาพชัดแล้ว และก็ควรทำให้ภาพต่อประชาชนชัดขึ้นไปอีกว่า คนที่สร้างปัญหาจริงๆ กลับไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ผู้บริหารบริษัทอยู่ไหน เจ้าของบริษัททั้งเก่าทั้งใหม่ อยู่ที่ไหน ยิ่งไปกว่านั้นไม่ร่วมมือกับรัฐบาลด้วย เห็นหรือไม่ว่าพอศาลปกครอง พอกฤษฎีกาบอกว่าให้ออกอากาศได้ ผู้บริหารกับเจ้าของก็รีบไปดำเนินงานของสถานียากขึ้นไปอีก ด้วยการไปยกเลิกสัญญาต่างๆ ก็ต้องถามว่าตรงนี้ ทำไมไม่ให้ประชาชนรับทราบว่า เขาคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบ พนักงานเองก็น่าจะต้องมองแล้วว่า เจ้าของกับผู้บริหารของบริษัทเดิมของตัวเองมีความจริงใจแค่ไหนต่อพนักงาน ถึงได้ดำเนินการอย่างที่ทำมา
********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 มี.ค. 2550--จบ--