เมื่อวันที่ 25 มกราคม นี้ นายอาคม เอ่งฉ้วน อดีต ส.ส.กระบี่ เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ซึ่งเคยอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีการซื้อขายที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ระหว่างกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภรรยาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รู้สึกประหลาดใจต่อกรณีที่กองทุนฟื้นฟูฯไม่ระบุความเสียหายจากกระบวนการซื้อขายที่ดินย่านรัชดาฯ เป็นการเลี่ยงบาลี และบิดเบือนข้อเท็จจริง จนทำให้คนเข้าใจผิด จึงขอตั้งข้อสังเกตดังนี้
ประเด็นแรก คือเรื่องราคาประเมิน โดยที่ดินนี้มีการตั้งราคากลางเอาไว้ที่ 870 ล้าน แต่ไม่มีผู้ประมูล หลังจากนั้นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ตั้งราคาประเมินใหม่ตามราคาประเมินของกรมที่ดิน เหลือ 695.8 ล้าน ซึ่งมีราคาต่ำกว่าราคาประเมินในครั้งแรกเกือบ 100 ล้าน
ประเด็นที่สอง มีข้อสังเกตว่ามีการจัดทำโฉนด และมีการตัดที่ดินออกไปส่วนหนึ่งอย่างรวดเร็ว หากกระบวนการนี้ปกติ ก็น่าจะอำนวยความสะดวกให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับที่ดินอื่น ๆ ด้วย
ประเด็นที่สาม ปี 2541 ธปท. ทำหนังสือถึง รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ให้ออก พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พศ. 2541 โดยกู้เงินไปถึง 5 แสนล้านเพื่อชดเชยการขาดทุนกองทุนฟื้นฟูโดยกรณีที่ดินรัชดาฯที่ยึดมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณทรัสต์ก็เป็นส่วนหนึ่งของการชดเชย
ประเด็นที่สี่ ให้ ผอ. ฝ่ายอาวุโสของกองทุนฟื้นฟูไปดู พ.ร.บ. ที่ว่าด้วยหน่วยงานของรัฐที่ธปท.ใช้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของธนาคารกรุงไทยด้วย หากผู้ใดทำให้รัฐเกิดความเสียหายก็สมควรได้รับบทลงโทษเช่นเดียวกันกับกรณีการขายที่ดินรัชดาของกองทุนฟื้นฟูฯ
ประเด็นที่ห้า ความเสียหาย 1,000 กว่าล้านบาทที่รัฐต้องสูญเสียจากการขายที่ดินแปลงดังกล่าว สามารถนำเอามาสร้างโรงเรียนที่ถูกเผาได้ใหม่ทั้งหมด
“ เรื่องใดที่ผมได้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ผมจะติดตามจนจบกระบวนการเพราะเป็นงานที่ผมอาสาประชาชนเข้าไปทำงานในเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน” นายอาคม กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ม.ค. 2550--จบ--
ประเด็นแรก คือเรื่องราคาประเมิน โดยที่ดินนี้มีการตั้งราคากลางเอาไว้ที่ 870 ล้าน แต่ไม่มีผู้ประมูล หลังจากนั้นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ตั้งราคาประเมินใหม่ตามราคาประเมินของกรมที่ดิน เหลือ 695.8 ล้าน ซึ่งมีราคาต่ำกว่าราคาประเมินในครั้งแรกเกือบ 100 ล้าน
ประเด็นที่สอง มีข้อสังเกตว่ามีการจัดทำโฉนด และมีการตัดที่ดินออกไปส่วนหนึ่งอย่างรวดเร็ว หากกระบวนการนี้ปกติ ก็น่าจะอำนวยความสะดวกให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับที่ดินอื่น ๆ ด้วย
ประเด็นที่สาม ปี 2541 ธปท. ทำหนังสือถึง รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ให้ออก พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พศ. 2541 โดยกู้เงินไปถึง 5 แสนล้านเพื่อชดเชยการขาดทุนกองทุนฟื้นฟูโดยกรณีที่ดินรัชดาฯที่ยึดมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณทรัสต์ก็เป็นส่วนหนึ่งของการชดเชย
ประเด็นที่สี่ ให้ ผอ. ฝ่ายอาวุโสของกองทุนฟื้นฟูไปดู พ.ร.บ. ที่ว่าด้วยหน่วยงานของรัฐที่ธปท.ใช้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของธนาคารกรุงไทยด้วย หากผู้ใดทำให้รัฐเกิดความเสียหายก็สมควรได้รับบทลงโทษเช่นเดียวกันกับกรณีการขายที่ดินรัชดาของกองทุนฟื้นฟูฯ
ประเด็นที่ห้า ความเสียหาย 1,000 กว่าล้านบาทที่รัฐต้องสูญเสียจากการขายที่ดินแปลงดังกล่าว สามารถนำเอามาสร้างโรงเรียนที่ถูกเผาได้ใหม่ทั้งหมด
“ เรื่องใดที่ผมได้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ผมจะติดตามจนจบกระบวนการเพราะเป็นงานที่ผมอาสาประชาชนเข้าไปทำงานในเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน” นายอาคม กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ม.ค. 2550--จบ--