แท็ก
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2549 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 337 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนธันวาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 332 รายหรือมากกว่าร้อยละ 1.5 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7,066.93 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2549 ซึ่งมีการลงทุน 7,989.37 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -11.5 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 7,881 คน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2549 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,082 คน หรือลดลงร้อยละ -2.5
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมกราคม 2549 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 338 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ —0.3 และมีการจ้างงานลดลงจากเดือนมกราคม 2549 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,117 คน ร้อยละ -13.6 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2549 ซึ่งมีการลงทุน 5,895.94 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 19.9
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2550 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัด จำนวน 29 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 28 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2550 คือ
อุตสาหกรรมถลุง ผสม ทำให้บริสุทธิ์ หลอม รีด ผลิตโลหะในขั้นต้น มิใช่เหล็ก 742 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ มีเงินทุน 681 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2550 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 1,716 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ เงิน คนงาน 557 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2549 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 133 ราย มากกว่าเดือนธันวาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 107 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.3 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,758.56 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนธันวาคมที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,813.17 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,387 คน น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2549 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 2,544 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนมากกว่าเดือนมกราคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 126 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.6 ในส่วนการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมกราคม 2549 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,284 คน และในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมกราคม 2549 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 715.50 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2550 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 21 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 12 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2550 คืออุตสาหกรรมอบใบยาสูบให้แห้ง รูดก้านใบยาสูบ เงินทุน 1,000 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ เงินทุน 79 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2550
คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 387 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องดินเผาและอุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ คนงาน 139 คนเท่ากัน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2549 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 117 โครงการ น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2549 ที่มีจำนวน 168 โครงการ ร้อยละ -30.36 และมีเงินลงทุน 39,800 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 67,700 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -41.21
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนมกราคม 2549 ที่มีจำนวน 107 โครงการ ร้อยละ 9.35 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนมกราคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 16,100 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 147.20
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-ม.ค.2550
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 49 7,100
2.โครงการต่างชาติ 100% 30 23,500
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 38 9,100
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ม.ค.2550 คือ หมวดหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 13,100 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 11,400 ล้านบาท
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ธ.ค.2549 คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติกมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 145,200 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 61,900 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมกราคม 2549 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 338 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ —0.3 และมีการจ้างงานลดลงจากเดือนมกราคม 2549 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,117 คน ร้อยละ -13.6 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2549 ซึ่งมีการลงทุน 5,895.94 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 19.9
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2550 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัด จำนวน 29 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 28 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2550 คือ
อุตสาหกรรมถลุง ผสม ทำให้บริสุทธิ์ หลอม รีด ผลิตโลหะในขั้นต้น มิใช่เหล็ก 742 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ มีเงินทุน 681 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2550 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 1,716 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ เงิน คนงาน 557 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2549 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 133 ราย มากกว่าเดือนธันวาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 107 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.3 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,758.56 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนธันวาคมที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,813.17 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,387 คน น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2549 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 2,544 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนมากกว่าเดือนมกราคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 126 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.6 ในส่วนการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมกราคม 2549 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,284 คน และในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมกราคม 2549 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 715.50 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2550 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 21 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 12 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2550 คืออุตสาหกรรมอบใบยาสูบให้แห้ง รูดก้านใบยาสูบ เงินทุน 1,000 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ เงินทุน 79 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2550
คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 387 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องดินเผาและอุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ คนงาน 139 คนเท่ากัน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2549 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 117 โครงการ น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2549 ที่มีจำนวน 168 โครงการ ร้อยละ -30.36 และมีเงินลงทุน 39,800 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 67,700 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -41.21
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนมกราคม 2549 ที่มีจำนวน 107 โครงการ ร้อยละ 9.35 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนมกราคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 16,100 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 147.20
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-ม.ค.2550
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 49 7,100
2.โครงการต่างชาติ 100% 30 23,500
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 38 9,100
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ม.ค.2550 คือ หมวดหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 13,100 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 11,400 ล้านบาท
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ธ.ค.2549 คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติกมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 145,200 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 61,900 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-