สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๐ วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๒๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม
- รับรองรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๐
ครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ วันอังคารที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๐
ครั้งที่ ๓/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๐ และ
ครั้งที่ ๔/๒๕๕๐ (เป็นพิเศษ) วันอังคารที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๐
ที่ประชุมรับทราบ และรับรองรายงานการประชุมทั้ง ๔ ครั้ง
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา ไม่มี
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
- คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งมอบร่างรัฐธรรมนูญให้แก่สมาชิก
สภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กร และบุคคล ตามมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙
ประธานฯ ได้เชิญผู้แทนจาก ๑๒ องค์กร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๒๖ เพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญและแสดงความคิดเห็น เข้าร่วมประชุม ซึ่งผู้แทนองค์กรประกอบด้วย
๑. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
๒. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๓. คณะรัฐมนตรี
๔. ศาลฎีกา
๕. ศาลปกครองสูงสุด
๖. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
๗. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๘. ผู้ว่าราชการตรวจเงินแผ่นดิน
๙. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
๑๐. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๑๑. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๑๒. สถาบันอุดมศึกษา
จากนั้น นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นสิริ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีการประชุม การสัมมนา ระดมความคิดเห็น และการรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งประชาชน เพื่อนำมาประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ และได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯ เพื่อพิจารณาศึกษา รวบรวมข้อมูล จำนวน ๔ คณะ คือ
๑. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนและการกระจายอำนาจ
๒. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยสถาบันการเมือง
๓. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล
๔. คณะอนุกรรมาธิการติดตามผลการประสานการรับฟังความคิดเห็นและ
การมีส่วนร่วมของประชาชน
ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมคำชี้แจงความแตกต่างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และเหตุผลในการแก้ไข เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีจำนวน ๑๕ หมวด ๒๙๙ มาตรา
จากนั้นประธานฯ ได้เชิญผู้แทนจาก ๑๒ องค์กร แสดงความคิดเห็นตามลำดับ โดย ผู้แทนทั้ง ๑๒ องค์กร ได้แสดงความยินดีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกได้เสร็จทัน ตามกำหนดเวลา และจะนำไปรับฟังความคิดเห็นและเสนอแนะต่อไป เพื่อนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ดี ป้องกันการผูกขาดอำนาจรัฐ รวมทั้งส่งเสริมสิทธิของประชาชน มุ่งแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่ การเลือกตั้งที่เป็นธรรมต่อไป
๕. เรื่องอื่น ๆ
- แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและให้ข้อเสนอแนะ
ประสาน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและ ให้ข้อเสนอแนะ ประสาน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๒๗ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๓๐ วัน
ปิดประชุมเวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๐ วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๒๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม
- รับรองรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๐
ครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ วันอังคารที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๐
ครั้งที่ ๓/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๐ และ
ครั้งที่ ๔/๒๕๕๐ (เป็นพิเศษ) วันอังคารที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๐
ที่ประชุมรับทราบ และรับรองรายงานการประชุมทั้ง ๔ ครั้ง
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา ไม่มี
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
- คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งมอบร่างรัฐธรรมนูญให้แก่สมาชิก
สภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กร และบุคคล ตามมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙
ประธานฯ ได้เชิญผู้แทนจาก ๑๒ องค์กร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๒๖ เพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญและแสดงความคิดเห็น เข้าร่วมประชุม ซึ่งผู้แทนองค์กรประกอบด้วย
๑. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
๒. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๓. คณะรัฐมนตรี
๔. ศาลฎีกา
๕. ศาลปกครองสูงสุด
๖. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
๗. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๘. ผู้ว่าราชการตรวจเงินแผ่นดิน
๙. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
๑๐. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๑๑. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๑๒. สถาบันอุดมศึกษา
จากนั้น นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นสิริ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีการประชุม การสัมมนา ระดมความคิดเห็น และการรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งประชาชน เพื่อนำมาประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ และได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯ เพื่อพิจารณาศึกษา รวบรวมข้อมูล จำนวน ๔ คณะ คือ
๑. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนและการกระจายอำนาจ
๒. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยสถาบันการเมือง
๓. คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล
๔. คณะอนุกรรมาธิการติดตามผลการประสานการรับฟังความคิดเห็นและ
การมีส่วนร่วมของประชาชน
ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมคำชี้แจงความแตกต่างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และเหตุผลในการแก้ไข เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีจำนวน ๑๕ หมวด ๒๙๙ มาตรา
จากนั้นประธานฯ ได้เชิญผู้แทนจาก ๑๒ องค์กร แสดงความคิดเห็นตามลำดับ โดย ผู้แทนทั้ง ๑๒ องค์กร ได้แสดงความยินดีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกได้เสร็จทัน ตามกำหนดเวลา และจะนำไปรับฟังความคิดเห็นและเสนอแนะต่อไป เพื่อนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ดี ป้องกันการผูกขาดอำนาจรัฐ รวมทั้งส่งเสริมสิทธิของประชาชน มุ่งแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่ การเลือกตั้งที่เป็นธรรมต่อไป
๕. เรื่องอื่น ๆ
- แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและให้ข้อเสนอแนะ
ประสาน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและ ให้ข้อเสนอแนะ ประสาน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๒๗ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๓๐ วัน
ปิดประชุมเวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------