คำต่อคำรายการตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 13 เมษายน 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีวันสงกรานต์ค่ะคุณอภิสิทธิ์ คะ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีวันปีใหม่ไทยครับ
น็น็น
ผู้ดำเนินรายการ เรื่องรัฐธรรมนูญนะครับ เรื่องจำนวนส.ส.ที่เคาะมาร่างจากบางแสนนี่คือ ส.ส.เขต 320 ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 80 นะครับ คุณอภิสิทธิ์มีมุมมองต่อระบบอย่างนี้ อย่างไรบ้างครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ ผมคิดว่าเรื่องของระบบการเลือกตั้งที่จริงก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะเป็นรายละเอียดถ้าได้ยึดหลักสำคัญคือความเป็นประชาธิปไตยนะครับ เพราะฉะนั้นยกเว้นกรณีที่ไปใช้เขตใหญ่แบบเบอร์เดียวที่เคยพูดกัน เพื่อจงใจให้เกิดปัญหา เกิดกระจายกันอะไรอย่างนี้ ผมคิดว่าระบบเลือกตั้งทั้งหลายก็มีข้อดีข้อเสียของมัน แล้วก็จำนวนส.ส.ถ้าไม่ได้น้อยเสียจนทำให้ ทำงานให้ประชาชนไม่ได้เต็มที่ก็ไม่ได้เป็นปัญหานะครับ มันจะเป็นเรื่องปัญหาภายในของพรรคการเมือง นักการเมืองมากกว่า เช่นพอลดจำนวนส.ส. แน่นอนในการจะคัดเลือกผู้สมัครก็คงจะมีปัญหาภายในกันบ้าง หรือว่าเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง แต่ว่าอันนี้เป็นปัญหานักการเมือง พรรคการเมือง นะครับ ซึ่งก็นักการเมือง พรรคการเมืองก็มีหน้าที่ไปแก้ไขบริหารจัดการ เพราะฉะนั้นผมในฐานะที่เป็นผู้บริหารพรรคการเมืองคนหนึ่ง ก็รู้ภาระจะหนักพอสมควร แต่ว่าไม่ติดใจในหลักการว่า ถ้าเห็นว่าจำนวน ส.ส. ที่ผ่านมามันมากเกินไป ลงมาเหลือ 400 ใกล้เคียงกับก่อนหน้าปี 40 ก็ไม่เป็นไรนะครับ ส่วนแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นถ้าจะย้อนกลับไปเป็นเขตละไม่เกิน 3 คนอย่างที่ก่อนหน้านี้เราก็เคยใช้กันนี่ก็ไม่เป็นไรเช่นเดียวกัน และก็เราก็มองด้วยซ้ำว่าในแง่ของประสบการณ์ของคนที่ลงสมัครรับเลือกตั้งมาทั้ง 2 ระบบ จะเห็นการทำงานของสภาทั้ง 2 ระบบนี้ยังค่อนข้างชอบระบบแบบ 3 คนเรียงเบอร์มากกว่านะครับ มีความรู้สึกว่าความพอดีระหว่างการทำงานในภาพรวมระดับชาติ กับการทำงานให้ประชาชนในพื้นที่นั้นอยู่ในความพอดีมากกว่า ผมคิดว่าพอเขตเล็กในประสบการณ์ของสภา 2 ชุดที่ผ่านมา นักการเมืองที่เป็นส.ส.เขตต้องทำงานในลักษณะคล้ายกับนักการเมืองท้องถิ่นมากเกินไป และงานในส่วนกลางที่เราเห็นที่สภาผู้แทนราษฎร เราเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเรื่องของกรรมาธิการ เกิดขึ้นกับเรื่องของการอภิปราย หรือแม้กระทั่งการเข้าประชุมสภา
ผู้ดำเนินรายการ ไม่มีเวลาใช่ไม๊คะ เพราะมัวแต่ดูแลราษฎรเยอะไป
คุณอภิสิทธิ์ พอเขตเล็กแล้ว ลักษณะของการแข่งขันในเชิงตัวบุคคลไม่นับกระแสพรรค มันจะลงไปสู่งานในลักษณะที่เป็นงานท้องถิ่นมากกว่า เพราะฉะนั้นอันนี้ก็คือข้อคิด ถ้าบอกว่าเลือกเป็นเขตใหญ่ผมก็สนับสนุน แต่ต้องเป็นเขตใหญ่เรียงเบอร์นะครับ คือประชาชนถ้าเขามี ส.ส. 3 คนเขาก็ต้องมีสิทธิ์เลือก 3 คนนะครับ ส่วนบัญชีรายชื่อนั้นผมก็พูดมาตลอดไม่ติดใจว่าจะมีหรือไม่มีนะครับ แต่ถ้ามีในขณะนี้สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่ คือมันไม่ค่อยชัดเจนนะครับ เพราะเห็นบอกว่ามันมี 80 คนก็จริงแต่ว่าจะเป็นเขตละ 20 ใช่ไม๊ครับ
ผู้ดำเนินรายการ แยกเป็นบัญชี เป็นภูมิภาคครับ
คุณอภิสิทธิ์ ทีนี้ถ้าเป็นภูมิภาค คงจะไม่ได้นะครับ เพราะว่าไม่เป็นธรรมกับพี่น้องชาวอีสาน ใช่ไม๊ครับ ถ้าบอกว่าภาคเหนือมี 20 ภาคใต้มี 20 ภาคกลาง กรุงเทพฯ มี 20 อีสานมี 20 ถึงแม้ว่าถ้าดูจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้วอย่างนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเสียงสนับสนุนเยอะทางใต้อาจจะได้เปรียบ แต่มันไม่เป็นธรรมหรอกครับ มันไม่เป็นธรรมว่าทำไมพี่น้องชาวอีสานซึ่งมีประชากรถึง 1 ใน 3 ของประเทศแต่กลับมีผู้แทนบัญชีรายชื่อแค่ 1 ใน 4 ของทั้งหมด ก็คงจะไม่ถูกต้อง แต่ว่าอันนี้เรายังไม่ทราบรายละเอียดถ้าเขาบอกว่ายังไงก็ต้องแบ่งให้เป็นไปตามสัดส่วนประชากรด้วย ผมก็ลองคำนวณเล่น ๆ ว่าสงสัยกรุงเทพฯ คงต้องไปรวมกับภาคใต้ เพราะว่าคิดง่าย ๆ ก็คือว่ามันต้องได้ประมาณ ส.ส.เขตสัก 100 คนในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว อย่างภาคใต้มี 54 กว่าจะให้ถึงร้อยคงต้องไล่ตีขึ้นมาถึงประจวบฯ เพชรบุรี ราชบุรี อะไรต่าง ๆ อาจจะต้องถึงกรุงเทพฯ ด้วยซ้ำ
ผู้ดำเนินรายการ ก็ต้องปรับกลยุทธ์เยอะเหมือนกัน ใช่ไม๊คะสำหรับประชาธิปัตย์
คุณอภิสิทธิ์ คือมันก็เลยดูว่า ยังไม่ค่อยลงตัวเท่าไหร่นะครับ ในแง่ของเขตเลือกตั้งถ้าเกิดจะทำเป็น 4 เขต แล้วก็เอาตามจำนวนประชากร ถ้าเอาตามภาคนั้นผมคิดว่ามันไม่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นอันนี้อาจจะต้องรอดูอีกทีว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร แต่ขณะเดียวกันก็ได้ข่าวว่ารายละเอียดบางเรื่องให้ไปเขียนในกฎหมายลูก (หัวเราะ) ซึ่งขอเตือนนิดนึงนะครับว่า อะไรที่เป็นเรื่องของกติกาที่มีความได้เปรียบเสียเปรียบกันนั้น ถ้าเขียนในรัฐธรรมนูญได้จะดี นะครับ เพราะว่าถ้าเกิดเขียนไว้ในกฎหมายลูก เสียงข้างมากในวันข้างหน้าจะแก้ไขกฎหมายลูกได้ เดี๋ยวจะเป็นปัญหากันอีกว่าเป็นการใช้อำนาจกันเพื่อเอารัดเอาเปรียบกันทางการเมือง อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะฉะนั้นก็ถ้าพูดถึงตรงนี้ก็ระบบเลือกตั้งโดยรวมขณะนี้ ผมก็ไม่ได้ติดใจอะไร แต่ตราบเท่าที่ไม่ไปใช้ระบบแปลก ๆ อย่างเช่น เขตใหญ่แต่ให้เบอร์เดียวอะไรอย่างนี้ ก็คิดว่าไม่มีปัญหา
ผู้ดำเนินรายการ และก็ไม่คิดว่ารัฐบาลอ่อนแอ อย่างที่มีการวิจารณ์กันใช่ไม๊ครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ คือรัฐบาลอ่อนแอหรือไม่นั้น คงประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ที่จริงแล้วผมคิดว่ามันอยู่ที่เรื่องของกระแสทางการเมือง การแข่งขันทางการเมืองมากกว่านะครับ คือผมคิดว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศก็มีพัฒนาการตลอดเวลา ผมยังเชื่อนะครับว่าการเลือกตั้งนี้ก็จะมีลักษณะที่ประชาชนเรียกร้องการแข่งขันในเชิงนโยบายอยู่ดี ไม่ได้กระทบเลยว่าเปลี่ยนเขตเลือกตั้ง แต่ว่าอ่อนแอเข็มแข็งก็ต้องดูสภาวะของพรรคการเมืองด้วย ซึ่งขณะนี้พูดจริง ๆ ผมว่าระบบเลือกตั้งไหน คนก็มองว่าสงสัยครั้งหน้าจะได้รัฐบาลผสม
ผู้ดำเนินรายการ ก็คิดอย่างนั้น
คุณอภิสิทธิ์ ใช่ไม๊ครับ แต่รัฐบาลผสม จำเป็นต้องอ่อนแอเสมอไปหรือไม่ ผมว่ามันอยู่ที่ตัวผู้ที่ประกอบกันเป็นรัฐบาลผสม และตัวผู้นำนะครับ อย่าลืมว่าในยุโรปส่วนใหญ่ก็รัฐบาลผสมนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ แล้วเรื่องของการซื้อเสียงล่ะคะ จากการเลือกตั้งที่หน้าตาใกล้ ๆ จะเห็นชัดเจนอย่างนี้แล้ว คุณอภิสิทธิ์คิดว่ามันจะรุนแรงมากขึ้นหรืออย่างไรต่อไป
คุณอภิสิทธิ์ ถ้าเป็นระบบเขตละไม่เกิน 3 คนนะครับ ผมว่าปัญหาการซื้อเสียงจะเบาลง
ผู้ดำเนินรายการ เพราะอะไร เพราะเขตใหญ่ขึ้นหรือว่าอะไร
คุณอภิสิทธิ์ ครับ เขตใหญ่ขึ้นด้วย แล้วก็เนื่องจากมันไม่ใช่การแข่งขันแบบตัวต่อตัว นะครับ สิ่งที่เราเห็นคือเวลามันแข่งขันเขตเล็กตัวต่อตัวนั้น จะด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่ทราบนะครับ เขาก็เรียกว่าแข่งกันเอาเป็นเอาตายทีเดียว เพราะฉะนั้นมีเท่าไหร่ก็ทุ่มเต็มที่เพราะมาที่ 2 คือสอบตก ใช่ไม๊ครับ เราเห็นการแข่งขันมันรุนแรงมากในเวลาที่มันเป็นเขตละคนนะครับ แต่ขณะนี้สิ่งที่ผมเป็นห่วงมากกว่าก็คือว่า ยังไม่มีการขยับอย่างจริงจังในการรณรงค์ในเรื่องของการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงเลย แล้วก็เรายังไม่เห็นอะไรซึ่งเป็นมาตรการที่เป็นนวัตกรรม หรือเป็นเรื่องใหม่ที่กำลังมาจัดการกับเรื่องปัญหาของเงินกับการเมืองนะครับ คือถ้านักการเมืองยังต้องใช้เงินเยอะ เพื่อให้ได้รับเลือกตั้งหรือเพื่อที่จะทำหน้าที่ตัวเอง แล้วก็ไม่รู้ว่าจะเอาเงินมาจากไหน การทุจริตคอร์รัปชั่นมันก็จะเกิดขึ้นด้วย คือมันไม่ได้เป็นเรื่องซื้อเสียงอย่างเดียวนะครับ มันเป็นวงจรของมัน เพราะฉะนั้นที่อยากจะอยากให้ทำมากกว่านี้ก็คือส่วนของ กกต. หรือคนอื่นก็จะต้องทำการรณรงค์ในเรื่องนี้ และก็ในส่วนของ สสร. กับสนช. น่าจะปรึกษาหารือกันบ้าง ว่าในแง่ของการควบคุมกำกับเกี่ยวกับเรื่องเงินกับการเมืองควรจะมีกฎหมาย ควรจะมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอย่างไร
ผู้ดำเนินรายการ สำหรับเรื่องคดียุบพรรค เมื่อวานได้ทราบว่าไทยรักไทยจะรู้ผลพร้อมประชาธิปัตย์เลย ตรงนี้ดีไม๊คะคุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ ไม่พร้อมหรอกครับ หลังประชาธิปัตย์ประมาณชั่วโมงกว่า
ผู้ดำเนินรายการ วันเดียวกัน ๆ รู้หลังนิดหน่อย
คุณอภิสิทธิ์ (หัวเราะ) อันนี้อยู่ที่ดุลพินิจศาลนะครับ ศาลนัดวันเดียวกันก็เป็นวันเดียวกันนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ แล้วไม่มีการได้เปรียบ เสียเปรียบมาก
คุณอภิสิทธิ์ ได้เปรียบ เสียเปรียบคงไม่มีหรอกครับ เพราะว่าที่จริงก็ ของเขาเริ่มพิจารณาก่อนแต่ว่าบังเอิญเสร็จทีหลังนะครับ แต่มันก็ใกล้เคียงกันมาก เพราะฉะนั้นก็ไม่ค่อยแปลกใจเท่าไหร่ที่จะนัดเป็นวันเดียวกันแล้วก็นัดฟังของเราก่อน เพราะของเราบังเอิญสืบเสร็จก่อนนะครับ ผมไม่ค่อยห่วงเรื่องได้เปรียบเสียเปรียบในแง่ศาลหรอกครับ แต่ว่า ก็มีห่วงสื่อบางฉบับเท่านั้น ที่ขยันเขียนว่าจะต้องตัดสินให้มันเหมือนกันทั้ง 2 คดี เดี๋ยวพอบอกว่าพอตัดสินวันเดียวกันต้องตัดสินเหมือนกันอีก (หัวเราะ) ซึ่งความจริงมันไม่เป็นเหตุเป็นผลอะไรเลยทั้งสิ้นนะครับ ทั้งหมดก็ต้องอยู่ที่ข้อเท็จจริงของแต่ละคดีว่าเป็นอย่างไร
ผู้ดำเนินรายการ หลังจากวันนั้นที่คุณอภิสิทธิ์ติงเรื่องสื่อ เขาก็ยังเขียนในทำนองนี้อยู่เป็นระยะ ๆ ตามมานะครับ คุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ ก็มีอยู่บ้างครับ ก็คงเป็นธงของเขา ก็ไม่เป็นไร เพียงแต่บอกว่าคือความอยากของแต่ละคนไม่เป็นไรหรอกครับ แต่อย่าทำค่านิยมให้มันผิด คือผมติงอันเดียวคือค่านิยมต้องไม่ผิดว่า เวลาเรานำเรื่องขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ทุกอย่างต้องเป็นไปตามเนื้อหาของตรงนั้น มากกว่าที่จะมานั่งคิดกันว่า มันต้องความธรรมคือหมายความว่าถ้าเป็นคู่แข่งกันแล้วไปด้วยกันทั้งคู่แล้วตัดสินอย่างไร ต้องตัดสินให้มันเหมือนกันอะไรทำนองนั้นนะครับ หรือว่าเอาธงการเมืองมาบอกว่าเออ อยากจะล้างออกไปหมด หรืออะไรทำนองนี้คือมันไม่ใช่นะครับ มันดูว่ามันทำผิดกฎหมายหรือเปล่า ผิดก็ยุบ ไม่ผิดก็ไม่ยุบ อยากจะล้างกันทางการเมืองต่อสู้กันทางการเมืองก็ไม่เป็นไรนะครับ ผมว่าขอให้ทุกคนอยู่ในกติกาเรียกร้องนักการเมือง พรรคการเมืองให้มีกติกามีจริยธรรมนั้น ผู้ที่มีบทบาทนำในทางความคิดก็ต้องใช้หลักเดียวกัน
ผู้ดำเนินรายการ สำหรับสถานการณ์บ้านเมืองโดยทั่ว ๆ ไปที่ก็มีคนวิเคราะห์ว่ามันจะร้อนในช่วงนี้ เมษา — พฤษภา โดยเฉพาะพฤษภาก็จะมียุบพรรคด้วย ตรงนี้คุณอภิสิทธิ์มองอย่างไรว่าเราจะผ่านจุดนี้ไปได้หรือเปล่า หรือว่าจะมีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดขึ้นอีกอย่างไรครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ คือเราอย่าไป อย่าไปคาดหวังว่าการเมืองจะราบรื่น จะนิ่งได้ในสถานการณ์แบบนี้ คือนับตั้งแต่รัฐประหารมา เราก็ต้องรู้อยู่ว่าการเมืองมันไม่ปกตินะครับ ฉะนั้นอยู่ที่ว่าเราจะตั้งมั่นในการที่จะกำหนดภารกิจของประเทศได้ไหม นั่นก็คือว่าเรากลับไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างราบรื่น และก็รวดเร็วที่สุดโดยการเคารพในการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาของแต่ละฝ่าย และแต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่ทำตัวให้ถูกต้อง ทำอย่างตรงไปตรงมา ฉะนั้นมันก็จะมีคนที่ไม่พอใจ มันก็จะมีคนที่สูญเสียอำนาจที่ก็คงไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น ไม่ต้องการให้มันราบรื่น ไม่ต้องการให้มันเรียบร้อย มันก็จะมีคนซึ่งมีความคาดหวังนะครับ จากการเกิดรัฐประหารปั๊บก็หวังว่าจะเกิดอย่างนั้นอย่างนี้ในทางการเมืองบ้าง ในทางนโยบายเศรษฐกิจบ้าง ในทางอะไรต่อมิอะไรบ้างนะครับ ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้หรอกที่รัฐบาลหรือคมช.จะตอบสนองได้หมด แต่รัฐบาลและคมช.ก็ต้องประเมินตัวเองตลอดเวลาว่าไอ้ที่ตอบสนองไม่ได้นั้นมันเกิดอะไรขึ้น อย่างกระแสของรัฐบาลนั้นก็เรียนตรง ๆ ว่ามันก็เป็นส่วนหนึ่งเรียกว่าจากความผิดพลาดในเชิงนโยบายทางเศรษฐกิจเองนะครับ ได้มีประเด็นเหล่านั้นด้วย ผมคิดว่าบรรยากาศต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่น เกี่ยวข้องกับรัฐบาลก็คงจะดีกว่านี้ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นจุดที่รัฐบาลต้องย้อนกลับไปดูนะครับ ผมก็ไม่ได้ขัดกับที่ท่านนายกฯ พูดนะครับ คือไม่มีใครว่า ว่าท่านไม่ตั้งใจ หรือไม่ทุ่มเทนะครับ แต่ว่าความรู้สึกว่าเอ๊ะการตอบสนองปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนในเรื่องเศรษฐกิจโดยเฉพาะนะครับ ที่ประชาชนมีความรู้สึกว่ามันกระทบกระเทือนเดือดร้อน และก็เรื่อง 3 จังหวัด เรื่องความสงบเรียบร้อย อันนี้มันอยู่ในใจของทุกคนว่าเอ๊ะทำไมมันไม่ดีขึ้นนะครับ คือในความรู้สึกของประชาชนทั่วไปนั้น คล้าย ๆ ว่าปฏิวัติทั้งที อย่างน้อยเอาหล่ะ ความสงบ บ้านเมือง เรื่องระบ่ง ระเบิดมันไม่น่ามี อะไรอย่างนี้นะครับ จับโจร จับผู้ร้ายได้ แล้วก็เศรษฐกิจไหนบอกว่าการเมืองที่มันวุ่นวายก่อนหน้านี้เป็นตัวฉุด ตอนนี้มันก็ทำให้มันชัดไม่ได้เหรอ ทำให้มันเชื่อมั่นไม่ได้เหรอ แล้วทุกอย่างจะกลับมา อะไรต่าง ๆ เพราะฉะนั้นตรงนี้มันยังต้องไปแก้ไข ไปตอบสนองนะครับ ส่วนการจัดการกับผู้ที่ก่อกวนอะไรต่าง ๆ ก็อยู่ที่เอกภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานนะครับ และที่สำคัญที่สุดก็คือว่า คมช. ถ้าทำภารกิจตัวเองให้เรียบร้อย อย่าไปกังวลอนาคตตัวเอง คือถ้าทำ 4 ข้อที่เข้ามา ทำด้วยความโปร่งใส ทำด้วยความชัดเจน ทำด้วยความทุ่มเทเพื่อประเทศชาติบ้านเมือง ผมว่าท่านอย่าไปกังวลเลย ประชาชนจะคุ้มครองท่านเอง ถ้าท่านตามที่ท่านพูดนะครับ เพราะฉะนั้นที่กังวลกันบอกโอ้โห เดี๋ยวท่านประธาน คมช. เกษียณอายุเดือน กันยา แล้วจะอย่างนั้นอย่างนี้ คือถ้า คมช. รัฐบาลทำงานตามที่บอกกับประชาชนเอาไว้ ผมไม่ค่อยห่วงนะครับ แต่ถ้าไปคิดอย่างอื่นจะยิ่งวุ่นวาย ว่าเอ๊ะทำอย่างไรดี ถ้าเกิดเกษียณอายุก่อนแล้วยังไม่เรียบร้อย จะต้องไปอะไร คือจะเป็นปัญหานะครับ แล้วก็ในส่วนของกองทัพเอง ถ้าคงความมีเอกภาพเอาไว้ มีความมั่นคงนะครับ อย่าไปหลงตามเกมที่คนเขายุแหย่ให้มีความขัดแย้งอะไรกัน ผมว่ามันก็ไปได้ คงไม่ราบรื่น 100% หรอกครับ แต่ว่ามันไปได้ และก็ที่สำคัญก็คือว่า พี่น้องคนไทยทุกคนถ้าเรามีจิตใจตรงกัน วันนี้ก็เป็นวันโอกาสดีนะครับ ตั้งต้นปีใหม่ไทยกัน ก็สำรวจกันนิดหน่อยว่าเออ เราจะเดินไปข้างหน้าอย่างมีวัตถุประสงค์ร่วมกันอย่างไรว่า ต้นปีหน้าของฝรั่ง ปีฝรั่งนี้ เราก็จะได้ทำให้ประเทศของเราเริ่มต้นกันใหม่บนพื้นฐานของความแข็งแกร่งกันเสียทีนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ เอาล่ะครับ ขอบคุณมากครับคุณอภิสิทธิ์ครับ สวัสดีครับ/ค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ ขอบคุณครับ สวัสดีปีใหม่ไทยครับ
***********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 เม.ย. 2550--จบ--
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 13 เมษายน 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีวันสงกรานต์ค่ะคุณอภิสิทธิ์ คะ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีวันปีใหม่ไทยครับ
น็น็น
ผู้ดำเนินรายการ เรื่องรัฐธรรมนูญนะครับ เรื่องจำนวนส.ส.ที่เคาะมาร่างจากบางแสนนี่คือ ส.ส.เขต 320 ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 80 นะครับ คุณอภิสิทธิ์มีมุมมองต่อระบบอย่างนี้ อย่างไรบ้างครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ ผมคิดว่าเรื่องของระบบการเลือกตั้งที่จริงก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะเป็นรายละเอียดถ้าได้ยึดหลักสำคัญคือความเป็นประชาธิปไตยนะครับ เพราะฉะนั้นยกเว้นกรณีที่ไปใช้เขตใหญ่แบบเบอร์เดียวที่เคยพูดกัน เพื่อจงใจให้เกิดปัญหา เกิดกระจายกันอะไรอย่างนี้ ผมคิดว่าระบบเลือกตั้งทั้งหลายก็มีข้อดีข้อเสียของมัน แล้วก็จำนวนส.ส.ถ้าไม่ได้น้อยเสียจนทำให้ ทำงานให้ประชาชนไม่ได้เต็มที่ก็ไม่ได้เป็นปัญหานะครับ มันจะเป็นเรื่องปัญหาภายในของพรรคการเมือง นักการเมืองมากกว่า เช่นพอลดจำนวนส.ส. แน่นอนในการจะคัดเลือกผู้สมัครก็คงจะมีปัญหาภายในกันบ้าง หรือว่าเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง แต่ว่าอันนี้เป็นปัญหานักการเมือง พรรคการเมือง นะครับ ซึ่งก็นักการเมือง พรรคการเมืองก็มีหน้าที่ไปแก้ไขบริหารจัดการ เพราะฉะนั้นผมในฐานะที่เป็นผู้บริหารพรรคการเมืองคนหนึ่ง ก็รู้ภาระจะหนักพอสมควร แต่ว่าไม่ติดใจในหลักการว่า ถ้าเห็นว่าจำนวน ส.ส. ที่ผ่านมามันมากเกินไป ลงมาเหลือ 400 ใกล้เคียงกับก่อนหน้าปี 40 ก็ไม่เป็นไรนะครับ ส่วนแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นถ้าจะย้อนกลับไปเป็นเขตละไม่เกิน 3 คนอย่างที่ก่อนหน้านี้เราก็เคยใช้กันนี่ก็ไม่เป็นไรเช่นเดียวกัน และก็เราก็มองด้วยซ้ำว่าในแง่ของประสบการณ์ของคนที่ลงสมัครรับเลือกตั้งมาทั้ง 2 ระบบ จะเห็นการทำงานของสภาทั้ง 2 ระบบนี้ยังค่อนข้างชอบระบบแบบ 3 คนเรียงเบอร์มากกว่านะครับ มีความรู้สึกว่าความพอดีระหว่างการทำงานในภาพรวมระดับชาติ กับการทำงานให้ประชาชนในพื้นที่นั้นอยู่ในความพอดีมากกว่า ผมคิดว่าพอเขตเล็กในประสบการณ์ของสภา 2 ชุดที่ผ่านมา นักการเมืองที่เป็นส.ส.เขตต้องทำงานในลักษณะคล้ายกับนักการเมืองท้องถิ่นมากเกินไป และงานในส่วนกลางที่เราเห็นที่สภาผู้แทนราษฎร เราเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเรื่องของกรรมาธิการ เกิดขึ้นกับเรื่องของการอภิปราย หรือแม้กระทั่งการเข้าประชุมสภา
ผู้ดำเนินรายการ ไม่มีเวลาใช่ไม๊คะ เพราะมัวแต่ดูแลราษฎรเยอะไป
คุณอภิสิทธิ์ พอเขตเล็กแล้ว ลักษณะของการแข่งขันในเชิงตัวบุคคลไม่นับกระแสพรรค มันจะลงไปสู่งานในลักษณะที่เป็นงานท้องถิ่นมากกว่า เพราะฉะนั้นอันนี้ก็คือข้อคิด ถ้าบอกว่าเลือกเป็นเขตใหญ่ผมก็สนับสนุน แต่ต้องเป็นเขตใหญ่เรียงเบอร์นะครับ คือประชาชนถ้าเขามี ส.ส. 3 คนเขาก็ต้องมีสิทธิ์เลือก 3 คนนะครับ ส่วนบัญชีรายชื่อนั้นผมก็พูดมาตลอดไม่ติดใจว่าจะมีหรือไม่มีนะครับ แต่ถ้ามีในขณะนี้สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่ คือมันไม่ค่อยชัดเจนนะครับ เพราะเห็นบอกว่ามันมี 80 คนก็จริงแต่ว่าจะเป็นเขตละ 20 ใช่ไม๊ครับ
ผู้ดำเนินรายการ แยกเป็นบัญชี เป็นภูมิภาคครับ
คุณอภิสิทธิ์ ทีนี้ถ้าเป็นภูมิภาค คงจะไม่ได้นะครับ เพราะว่าไม่เป็นธรรมกับพี่น้องชาวอีสาน ใช่ไม๊ครับ ถ้าบอกว่าภาคเหนือมี 20 ภาคใต้มี 20 ภาคกลาง กรุงเทพฯ มี 20 อีสานมี 20 ถึงแม้ว่าถ้าดูจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้วอย่างนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเสียงสนับสนุนเยอะทางใต้อาจจะได้เปรียบ แต่มันไม่เป็นธรรมหรอกครับ มันไม่เป็นธรรมว่าทำไมพี่น้องชาวอีสานซึ่งมีประชากรถึง 1 ใน 3 ของประเทศแต่กลับมีผู้แทนบัญชีรายชื่อแค่ 1 ใน 4 ของทั้งหมด ก็คงจะไม่ถูกต้อง แต่ว่าอันนี้เรายังไม่ทราบรายละเอียดถ้าเขาบอกว่ายังไงก็ต้องแบ่งให้เป็นไปตามสัดส่วนประชากรด้วย ผมก็ลองคำนวณเล่น ๆ ว่าสงสัยกรุงเทพฯ คงต้องไปรวมกับภาคใต้ เพราะว่าคิดง่าย ๆ ก็คือว่ามันต้องได้ประมาณ ส.ส.เขตสัก 100 คนในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว อย่างภาคใต้มี 54 กว่าจะให้ถึงร้อยคงต้องไล่ตีขึ้นมาถึงประจวบฯ เพชรบุรี ราชบุรี อะไรต่าง ๆ อาจจะต้องถึงกรุงเทพฯ ด้วยซ้ำ
ผู้ดำเนินรายการ ก็ต้องปรับกลยุทธ์เยอะเหมือนกัน ใช่ไม๊คะสำหรับประชาธิปัตย์
คุณอภิสิทธิ์ คือมันก็เลยดูว่า ยังไม่ค่อยลงตัวเท่าไหร่นะครับ ในแง่ของเขตเลือกตั้งถ้าเกิดจะทำเป็น 4 เขต แล้วก็เอาตามจำนวนประชากร ถ้าเอาตามภาคนั้นผมคิดว่ามันไม่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นอันนี้อาจจะต้องรอดูอีกทีว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร แต่ขณะเดียวกันก็ได้ข่าวว่ารายละเอียดบางเรื่องให้ไปเขียนในกฎหมายลูก (หัวเราะ) ซึ่งขอเตือนนิดนึงนะครับว่า อะไรที่เป็นเรื่องของกติกาที่มีความได้เปรียบเสียเปรียบกันนั้น ถ้าเขียนในรัฐธรรมนูญได้จะดี นะครับ เพราะว่าถ้าเกิดเขียนไว้ในกฎหมายลูก เสียงข้างมากในวันข้างหน้าจะแก้ไขกฎหมายลูกได้ เดี๋ยวจะเป็นปัญหากันอีกว่าเป็นการใช้อำนาจกันเพื่อเอารัดเอาเปรียบกันทางการเมือง อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะฉะนั้นก็ถ้าพูดถึงตรงนี้ก็ระบบเลือกตั้งโดยรวมขณะนี้ ผมก็ไม่ได้ติดใจอะไร แต่ตราบเท่าที่ไม่ไปใช้ระบบแปลก ๆ อย่างเช่น เขตใหญ่แต่ให้เบอร์เดียวอะไรอย่างนี้ ก็คิดว่าไม่มีปัญหา
ผู้ดำเนินรายการ และก็ไม่คิดว่ารัฐบาลอ่อนแอ อย่างที่มีการวิจารณ์กันใช่ไม๊ครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ คือรัฐบาลอ่อนแอหรือไม่นั้น คงประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ที่จริงแล้วผมคิดว่ามันอยู่ที่เรื่องของกระแสทางการเมือง การแข่งขันทางการเมืองมากกว่านะครับ คือผมคิดว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศก็มีพัฒนาการตลอดเวลา ผมยังเชื่อนะครับว่าการเลือกตั้งนี้ก็จะมีลักษณะที่ประชาชนเรียกร้องการแข่งขันในเชิงนโยบายอยู่ดี ไม่ได้กระทบเลยว่าเปลี่ยนเขตเลือกตั้ง แต่ว่าอ่อนแอเข็มแข็งก็ต้องดูสภาวะของพรรคการเมืองด้วย ซึ่งขณะนี้พูดจริง ๆ ผมว่าระบบเลือกตั้งไหน คนก็มองว่าสงสัยครั้งหน้าจะได้รัฐบาลผสม
ผู้ดำเนินรายการ ก็คิดอย่างนั้น
คุณอภิสิทธิ์ ใช่ไม๊ครับ แต่รัฐบาลผสม จำเป็นต้องอ่อนแอเสมอไปหรือไม่ ผมว่ามันอยู่ที่ตัวผู้ที่ประกอบกันเป็นรัฐบาลผสม และตัวผู้นำนะครับ อย่าลืมว่าในยุโรปส่วนใหญ่ก็รัฐบาลผสมนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ แล้วเรื่องของการซื้อเสียงล่ะคะ จากการเลือกตั้งที่หน้าตาใกล้ ๆ จะเห็นชัดเจนอย่างนี้แล้ว คุณอภิสิทธิ์คิดว่ามันจะรุนแรงมากขึ้นหรืออย่างไรต่อไป
คุณอภิสิทธิ์ ถ้าเป็นระบบเขตละไม่เกิน 3 คนนะครับ ผมว่าปัญหาการซื้อเสียงจะเบาลง
ผู้ดำเนินรายการ เพราะอะไร เพราะเขตใหญ่ขึ้นหรือว่าอะไร
คุณอภิสิทธิ์ ครับ เขตใหญ่ขึ้นด้วย แล้วก็เนื่องจากมันไม่ใช่การแข่งขันแบบตัวต่อตัว นะครับ สิ่งที่เราเห็นคือเวลามันแข่งขันเขตเล็กตัวต่อตัวนั้น จะด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่ทราบนะครับ เขาก็เรียกว่าแข่งกันเอาเป็นเอาตายทีเดียว เพราะฉะนั้นมีเท่าไหร่ก็ทุ่มเต็มที่เพราะมาที่ 2 คือสอบตก ใช่ไม๊ครับ เราเห็นการแข่งขันมันรุนแรงมากในเวลาที่มันเป็นเขตละคนนะครับ แต่ขณะนี้สิ่งที่ผมเป็นห่วงมากกว่าก็คือว่า ยังไม่มีการขยับอย่างจริงจังในการรณรงค์ในเรื่องของการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงเลย แล้วก็เรายังไม่เห็นอะไรซึ่งเป็นมาตรการที่เป็นนวัตกรรม หรือเป็นเรื่องใหม่ที่กำลังมาจัดการกับเรื่องปัญหาของเงินกับการเมืองนะครับ คือถ้านักการเมืองยังต้องใช้เงินเยอะ เพื่อให้ได้รับเลือกตั้งหรือเพื่อที่จะทำหน้าที่ตัวเอง แล้วก็ไม่รู้ว่าจะเอาเงินมาจากไหน การทุจริตคอร์รัปชั่นมันก็จะเกิดขึ้นด้วย คือมันไม่ได้เป็นเรื่องซื้อเสียงอย่างเดียวนะครับ มันเป็นวงจรของมัน เพราะฉะนั้นที่อยากจะอยากให้ทำมากกว่านี้ก็คือส่วนของ กกต. หรือคนอื่นก็จะต้องทำการรณรงค์ในเรื่องนี้ และก็ในส่วนของ สสร. กับสนช. น่าจะปรึกษาหารือกันบ้าง ว่าในแง่ของการควบคุมกำกับเกี่ยวกับเรื่องเงินกับการเมืองควรจะมีกฎหมาย ควรจะมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอย่างไร
ผู้ดำเนินรายการ สำหรับเรื่องคดียุบพรรค เมื่อวานได้ทราบว่าไทยรักไทยจะรู้ผลพร้อมประชาธิปัตย์เลย ตรงนี้ดีไม๊คะคุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ ไม่พร้อมหรอกครับ หลังประชาธิปัตย์ประมาณชั่วโมงกว่า
ผู้ดำเนินรายการ วันเดียวกัน ๆ รู้หลังนิดหน่อย
คุณอภิสิทธิ์ (หัวเราะ) อันนี้อยู่ที่ดุลพินิจศาลนะครับ ศาลนัดวันเดียวกันก็เป็นวันเดียวกันนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ แล้วไม่มีการได้เปรียบ เสียเปรียบมาก
คุณอภิสิทธิ์ ได้เปรียบ เสียเปรียบคงไม่มีหรอกครับ เพราะว่าที่จริงก็ ของเขาเริ่มพิจารณาก่อนแต่ว่าบังเอิญเสร็จทีหลังนะครับ แต่มันก็ใกล้เคียงกันมาก เพราะฉะนั้นก็ไม่ค่อยแปลกใจเท่าไหร่ที่จะนัดเป็นวันเดียวกันแล้วก็นัดฟังของเราก่อน เพราะของเราบังเอิญสืบเสร็จก่อนนะครับ ผมไม่ค่อยห่วงเรื่องได้เปรียบเสียเปรียบในแง่ศาลหรอกครับ แต่ว่า ก็มีห่วงสื่อบางฉบับเท่านั้น ที่ขยันเขียนว่าจะต้องตัดสินให้มันเหมือนกันทั้ง 2 คดี เดี๋ยวพอบอกว่าพอตัดสินวันเดียวกันต้องตัดสินเหมือนกันอีก (หัวเราะ) ซึ่งความจริงมันไม่เป็นเหตุเป็นผลอะไรเลยทั้งสิ้นนะครับ ทั้งหมดก็ต้องอยู่ที่ข้อเท็จจริงของแต่ละคดีว่าเป็นอย่างไร
ผู้ดำเนินรายการ หลังจากวันนั้นที่คุณอภิสิทธิ์ติงเรื่องสื่อ เขาก็ยังเขียนในทำนองนี้อยู่เป็นระยะ ๆ ตามมานะครับ คุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ ก็มีอยู่บ้างครับ ก็คงเป็นธงของเขา ก็ไม่เป็นไร เพียงแต่บอกว่าคือความอยากของแต่ละคนไม่เป็นไรหรอกครับ แต่อย่าทำค่านิยมให้มันผิด คือผมติงอันเดียวคือค่านิยมต้องไม่ผิดว่า เวลาเรานำเรื่องขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ทุกอย่างต้องเป็นไปตามเนื้อหาของตรงนั้น มากกว่าที่จะมานั่งคิดกันว่า มันต้องความธรรมคือหมายความว่าถ้าเป็นคู่แข่งกันแล้วไปด้วยกันทั้งคู่แล้วตัดสินอย่างไร ต้องตัดสินให้มันเหมือนกันอะไรทำนองนั้นนะครับ หรือว่าเอาธงการเมืองมาบอกว่าเออ อยากจะล้างออกไปหมด หรืออะไรทำนองนี้คือมันไม่ใช่นะครับ มันดูว่ามันทำผิดกฎหมายหรือเปล่า ผิดก็ยุบ ไม่ผิดก็ไม่ยุบ อยากจะล้างกันทางการเมืองต่อสู้กันทางการเมืองก็ไม่เป็นไรนะครับ ผมว่าขอให้ทุกคนอยู่ในกติกาเรียกร้องนักการเมือง พรรคการเมืองให้มีกติกามีจริยธรรมนั้น ผู้ที่มีบทบาทนำในทางความคิดก็ต้องใช้หลักเดียวกัน
ผู้ดำเนินรายการ สำหรับสถานการณ์บ้านเมืองโดยทั่ว ๆ ไปที่ก็มีคนวิเคราะห์ว่ามันจะร้อนในช่วงนี้ เมษา — พฤษภา โดยเฉพาะพฤษภาก็จะมียุบพรรคด้วย ตรงนี้คุณอภิสิทธิ์มองอย่างไรว่าเราจะผ่านจุดนี้ไปได้หรือเปล่า หรือว่าจะมีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดขึ้นอีกอย่างไรครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ คือเราอย่าไป อย่าไปคาดหวังว่าการเมืองจะราบรื่น จะนิ่งได้ในสถานการณ์แบบนี้ คือนับตั้งแต่รัฐประหารมา เราก็ต้องรู้อยู่ว่าการเมืองมันไม่ปกตินะครับ ฉะนั้นอยู่ที่ว่าเราจะตั้งมั่นในการที่จะกำหนดภารกิจของประเทศได้ไหม นั่นก็คือว่าเรากลับไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างราบรื่น และก็รวดเร็วที่สุดโดยการเคารพในการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาของแต่ละฝ่าย และแต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่ทำตัวให้ถูกต้อง ทำอย่างตรงไปตรงมา ฉะนั้นมันก็จะมีคนที่ไม่พอใจ มันก็จะมีคนที่สูญเสียอำนาจที่ก็คงไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น ไม่ต้องการให้มันราบรื่น ไม่ต้องการให้มันเรียบร้อย มันก็จะมีคนซึ่งมีความคาดหวังนะครับ จากการเกิดรัฐประหารปั๊บก็หวังว่าจะเกิดอย่างนั้นอย่างนี้ในทางการเมืองบ้าง ในทางนโยบายเศรษฐกิจบ้าง ในทางอะไรต่อมิอะไรบ้างนะครับ ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้หรอกที่รัฐบาลหรือคมช.จะตอบสนองได้หมด แต่รัฐบาลและคมช.ก็ต้องประเมินตัวเองตลอดเวลาว่าไอ้ที่ตอบสนองไม่ได้นั้นมันเกิดอะไรขึ้น อย่างกระแสของรัฐบาลนั้นก็เรียนตรง ๆ ว่ามันก็เป็นส่วนหนึ่งเรียกว่าจากความผิดพลาดในเชิงนโยบายทางเศรษฐกิจเองนะครับ ได้มีประเด็นเหล่านั้นด้วย ผมคิดว่าบรรยากาศต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่น เกี่ยวข้องกับรัฐบาลก็คงจะดีกว่านี้ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นจุดที่รัฐบาลต้องย้อนกลับไปดูนะครับ ผมก็ไม่ได้ขัดกับที่ท่านนายกฯ พูดนะครับ คือไม่มีใครว่า ว่าท่านไม่ตั้งใจ หรือไม่ทุ่มเทนะครับ แต่ว่าความรู้สึกว่าเอ๊ะการตอบสนองปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนในเรื่องเศรษฐกิจโดยเฉพาะนะครับ ที่ประชาชนมีความรู้สึกว่ามันกระทบกระเทือนเดือดร้อน และก็เรื่อง 3 จังหวัด เรื่องความสงบเรียบร้อย อันนี้มันอยู่ในใจของทุกคนว่าเอ๊ะทำไมมันไม่ดีขึ้นนะครับ คือในความรู้สึกของประชาชนทั่วไปนั้น คล้าย ๆ ว่าปฏิวัติทั้งที อย่างน้อยเอาหล่ะ ความสงบ บ้านเมือง เรื่องระบ่ง ระเบิดมันไม่น่ามี อะไรอย่างนี้นะครับ จับโจร จับผู้ร้ายได้ แล้วก็เศรษฐกิจไหนบอกว่าการเมืองที่มันวุ่นวายก่อนหน้านี้เป็นตัวฉุด ตอนนี้มันก็ทำให้มันชัดไม่ได้เหรอ ทำให้มันเชื่อมั่นไม่ได้เหรอ แล้วทุกอย่างจะกลับมา อะไรต่าง ๆ เพราะฉะนั้นตรงนี้มันยังต้องไปแก้ไข ไปตอบสนองนะครับ ส่วนการจัดการกับผู้ที่ก่อกวนอะไรต่าง ๆ ก็อยู่ที่เอกภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานนะครับ และที่สำคัญที่สุดก็คือว่า คมช. ถ้าทำภารกิจตัวเองให้เรียบร้อย อย่าไปกังวลอนาคตตัวเอง คือถ้าทำ 4 ข้อที่เข้ามา ทำด้วยความโปร่งใส ทำด้วยความชัดเจน ทำด้วยความทุ่มเทเพื่อประเทศชาติบ้านเมือง ผมว่าท่านอย่าไปกังวลเลย ประชาชนจะคุ้มครองท่านเอง ถ้าท่านตามที่ท่านพูดนะครับ เพราะฉะนั้นที่กังวลกันบอกโอ้โห เดี๋ยวท่านประธาน คมช. เกษียณอายุเดือน กันยา แล้วจะอย่างนั้นอย่างนี้ คือถ้า คมช. รัฐบาลทำงานตามที่บอกกับประชาชนเอาไว้ ผมไม่ค่อยห่วงนะครับ แต่ถ้าไปคิดอย่างอื่นจะยิ่งวุ่นวาย ว่าเอ๊ะทำอย่างไรดี ถ้าเกิดเกษียณอายุก่อนแล้วยังไม่เรียบร้อย จะต้องไปอะไร คือจะเป็นปัญหานะครับ แล้วก็ในส่วนของกองทัพเอง ถ้าคงความมีเอกภาพเอาไว้ มีความมั่นคงนะครับ อย่าไปหลงตามเกมที่คนเขายุแหย่ให้มีความขัดแย้งอะไรกัน ผมว่ามันก็ไปได้ คงไม่ราบรื่น 100% หรอกครับ แต่ว่ามันไปได้ และก็ที่สำคัญก็คือว่า พี่น้องคนไทยทุกคนถ้าเรามีจิตใจตรงกัน วันนี้ก็เป็นวันโอกาสดีนะครับ ตั้งต้นปีใหม่ไทยกัน ก็สำรวจกันนิดหน่อยว่าเออ เราจะเดินไปข้างหน้าอย่างมีวัตถุประสงค์ร่วมกันอย่างไรว่า ต้นปีหน้าของฝรั่ง ปีฝรั่งนี้ เราก็จะได้ทำให้ประเทศของเราเริ่มต้นกันใหม่บนพื้นฐานของความแข็งแกร่งกันเสียทีนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ เอาล่ะครับ ขอบคุณมากครับคุณอภิสิทธิ์ครับ สวัสดีครับ/ค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ ขอบคุณครับ สวัสดีปีใหม่ไทยครับ
***********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 เม.ย. 2550--จบ--