กรุงเทพ--12 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2550 นายเอ็ดมัน โฮ โฮว วา ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษมาเก๊า สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เข้าพบหารือกับนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ณ กระทรวงการต่างประเทศ
นายโฮ โฮว วา เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 8 — 10 เมษายน 2550 ตามคำเชิญของนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่สำคัญของภาครัฐหลายตำแหน่ง เช่น ประธานรัฐสภา และนักธุรกิจชั้นนำ 30 คน ของมาเก๊าร่วมเดินทางมาด้วย
การหารือระหว่างนายนิตย์ฯ กับนายโฮ โฮว วา เป็นไปอย่างฉันมิตร มีไมตรีจิตร และเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยไทยและมาเก๊า ได้หารือเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และด้านแรงงานไทย และการเพิ่มเที่ยวบินระหว่างกัน นอกจากนั้น นายนิตย์ฯ อธิบายให้นายโฮ โฮว วา ถึงสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองไทย ซึ่งนายโฮ โฮว วา ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯและความเป็นคนไทย ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างดีแน่นอน
นอกจากการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแล้ว คณะได้เข้าพบประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้ ได้มีการจัดการสัมมนาความร่วมมือการค้าไทย-มาเก๊าระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน และมีการลงนามในความตกลงระหว่างไทยและมาเก๊า ด้านการส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ การส่งเสริมการลงทุนและการค้า และความตกลงระหว่างหอการค้าไทยกับหอการค้ามาเก๊า
1. เศรษฐกิจมาเก๊ากำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะภาคบริการ ขณะนี้มีเครือธุรกิจโรงแรมบันเทิงและคาสิโนสำคัญๆ ของโลกทั้งหมดไปลงทุนในมาเก๊า มีหลายแห่งเปิดบริการแล้ว และอีกหลายแห่งกำลังจะเปิดบริการ ธุรกิจดังกล่าวและธุรกิจต่อเนื่องทำให้มีกิจการที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมง และหลายแห่งต้องขยายเวลาการเปิดบริการ ทำให้มาเก๊าต้องการแรงงานด้านบริการเป็นจำนวนมาก มาเก๊าสนใจแรงงานสาขาบริการจากไทยเนื่องจากลักษณะพิเศษที่มีจิตใจบริการ ดังนั้น จึงเป็นสาขาที่จะเกื้อหนุนกันได้อย่างดีทั้งในด้านตำแหน่งงานในโรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร สปา และการท่องเที่ยว เป็นต้น
2. มาเก๊าเป็นอดีตอาณานิคมของโปรตุเกส ทำให้มีเครือข่ายพันธมิตรที่พูดภาษาเดียวกันทั่วโลก 9 ประเทศ ได้แก่ อังโกลา บราซิล ติมอร์เลสเต กิริบิซูร์ กินี-บิเซา โมซัมบิก โปรตุเกส เซาโตเม และซิมบับเว เครือข่ายที่จะอำนวยความสะดวกในช่องทางการค้าบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการธนาคาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการค้ากับประเทศในแอฟริกา มาเก๊าจึงเสนอตัวเป็นช่องทางในการขยายโอกาสการค้า การลงทุน 2 ทางไปยังประเทศเหล่านี้
3. มาเก๊าเป็นส่วนหนึ่งของแขตการค้า Pan Pearl River Delta ทางตอนใต้ของจีนซึ่งครอบคลุม 9 มณฑลทางภาคตะวันออก กับมาเก๊าและฮ่องกง มีประชากรรวม 450 ล้านคน จึงเป็นสะพานเชื่อมให้ไทยได้เป็นอย่างดีในการติดต่อเข้าถึงการค้าและการลงทุนในแถบดังกล่าวด้วย
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงเส้นทางคมนาคมทางถนน รถไฟ ระหว่างคุนหมิงและสิงคโปร์ และเส้นทางเชื่อมตะวันออกกับตะวันตก ระหว่างเวียดนามไปถึงพม่าและอินเดีย ซึ่งเชื่อมกันทางภูมิศาสตร์และชนชาติกับกลุ่ม Pan Pearl River Delta ซึ่งจะทำให้เกิดพลวัตรทางเศรษฐกิจระหว่างกันมากขึ้นในอนาคต
5. ปัจจุบันมีเที่ยวบินตรงระหว่างมาเก๊ากับไทยวันละ 4 เที่ยว โดยสายการบินของทั้งสองฝ่าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอให้มีการเจรจาการบินรอบใหม่เพื่อขยายความถี่ ความจุ และจุดลงจอด เช่น บินตรงจากมาเก๊าสู่เชียงใหม่ และ/หรือภูเก็ต ซึ่งผู้บริหารสูงสุดมาเก๊าเห็นด้วยและขอให้เริ่มหารือกันต่อไป
6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า ไทย-ญี่ปุ่นมีการลงนาม JTEPA แล้ว ต่อไปจะเปิดโอกาสอย่างมากให้ธุรกิจบริการในญี่ปุ่น ซึ่งสองฝ่ายสามารถร่วมมือกันได้ในลักษณะพันธมิตรในการแสวงหาโอกาสดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2550 นายเอ็ดมัน โฮ โฮว วา ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษมาเก๊า สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เข้าพบหารือกับนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ณ กระทรวงการต่างประเทศ
นายโฮ โฮว วา เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 8 — 10 เมษายน 2550 ตามคำเชิญของนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่สำคัญของภาครัฐหลายตำแหน่ง เช่น ประธานรัฐสภา และนักธุรกิจชั้นนำ 30 คน ของมาเก๊าร่วมเดินทางมาด้วย
การหารือระหว่างนายนิตย์ฯ กับนายโฮ โฮว วา เป็นไปอย่างฉันมิตร มีไมตรีจิตร และเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยไทยและมาเก๊า ได้หารือเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และด้านแรงงานไทย และการเพิ่มเที่ยวบินระหว่างกัน นอกจากนั้น นายนิตย์ฯ อธิบายให้นายโฮ โฮว วา ถึงสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองไทย ซึ่งนายโฮ โฮว วา ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯและความเป็นคนไทย ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างดีแน่นอน
นอกจากการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแล้ว คณะได้เข้าพบประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้ ได้มีการจัดการสัมมนาความร่วมมือการค้าไทย-มาเก๊าระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน และมีการลงนามในความตกลงระหว่างไทยและมาเก๊า ด้านการส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ การส่งเสริมการลงทุนและการค้า และความตกลงระหว่างหอการค้าไทยกับหอการค้ามาเก๊า
1. เศรษฐกิจมาเก๊ากำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะภาคบริการ ขณะนี้มีเครือธุรกิจโรงแรมบันเทิงและคาสิโนสำคัญๆ ของโลกทั้งหมดไปลงทุนในมาเก๊า มีหลายแห่งเปิดบริการแล้ว และอีกหลายแห่งกำลังจะเปิดบริการ ธุรกิจดังกล่าวและธุรกิจต่อเนื่องทำให้มีกิจการที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมง และหลายแห่งต้องขยายเวลาการเปิดบริการ ทำให้มาเก๊าต้องการแรงงานด้านบริการเป็นจำนวนมาก มาเก๊าสนใจแรงงานสาขาบริการจากไทยเนื่องจากลักษณะพิเศษที่มีจิตใจบริการ ดังนั้น จึงเป็นสาขาที่จะเกื้อหนุนกันได้อย่างดีทั้งในด้านตำแหน่งงานในโรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร สปา และการท่องเที่ยว เป็นต้น
2. มาเก๊าเป็นอดีตอาณานิคมของโปรตุเกส ทำให้มีเครือข่ายพันธมิตรที่พูดภาษาเดียวกันทั่วโลก 9 ประเทศ ได้แก่ อังโกลา บราซิล ติมอร์เลสเต กิริบิซูร์ กินี-บิเซา โมซัมบิก โปรตุเกส เซาโตเม และซิมบับเว เครือข่ายที่จะอำนวยความสะดวกในช่องทางการค้าบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการธนาคาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการค้ากับประเทศในแอฟริกา มาเก๊าจึงเสนอตัวเป็นช่องทางในการขยายโอกาสการค้า การลงทุน 2 ทางไปยังประเทศเหล่านี้
3. มาเก๊าเป็นส่วนหนึ่งของแขตการค้า Pan Pearl River Delta ทางตอนใต้ของจีนซึ่งครอบคลุม 9 มณฑลทางภาคตะวันออก กับมาเก๊าและฮ่องกง มีประชากรรวม 450 ล้านคน จึงเป็นสะพานเชื่อมให้ไทยได้เป็นอย่างดีในการติดต่อเข้าถึงการค้าและการลงทุนในแถบดังกล่าวด้วย
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงเส้นทางคมนาคมทางถนน รถไฟ ระหว่างคุนหมิงและสิงคโปร์ และเส้นทางเชื่อมตะวันออกกับตะวันตก ระหว่างเวียดนามไปถึงพม่าและอินเดีย ซึ่งเชื่อมกันทางภูมิศาสตร์และชนชาติกับกลุ่ม Pan Pearl River Delta ซึ่งจะทำให้เกิดพลวัตรทางเศรษฐกิจระหว่างกันมากขึ้นในอนาคต
5. ปัจจุบันมีเที่ยวบินตรงระหว่างมาเก๊ากับไทยวันละ 4 เที่ยว โดยสายการบินของทั้งสองฝ่าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอให้มีการเจรจาการบินรอบใหม่เพื่อขยายความถี่ ความจุ และจุดลงจอด เช่น บินตรงจากมาเก๊าสู่เชียงใหม่ และ/หรือภูเก็ต ซึ่งผู้บริหารสูงสุดมาเก๊าเห็นด้วยและขอให้เริ่มหารือกันต่อไป
6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า ไทย-ญี่ปุ่นมีการลงนาม JTEPA แล้ว ต่อไปจะเปิดโอกาสอย่างมากให้ธุรกิจบริการในญี่ปุ่น ซึ่งสองฝ่ายสามารถร่วมมือกันได้ในลักษณะพันธมิตรในการแสวงหาโอกาสดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-