โค้งสุดท้ายที่ไม่มีแหกโค้ง
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
16 สิงหาคม 2550
สัปดาห์นี้ แม้จะมีข่าวคราวใหญ่โตน่าสนใจหลายเรื่อง แต่โดยที่เป็นช่วงเวลาสามวันสุดท้าย ก่อนที่จะถึงวันออกเสียงประชามติ เห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ เรื่องของการออกเสียงประชามติดังกล่าวจึงเป็นเรื่องน่าสนใจและน่าจะได้เขียนถึงมากกว่าเรื่องอื่น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้เขียนถึงเรื่องนี้ไปครั้งหนึ่งแล้ว ภายใต้ชื่อ “เขาทุ่มเงินเพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญทำไม” โดยได้ชี้ให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจสำคัญ ๆ ที่ทำให้กลุ่มการเมืองบางกลุ่มยอมทุ่มเงินเพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง ๆ ที่รู้ดีว่าอย่างไรเสียคงไม่อาจคว่ำได้ เพียงแต่หวังให้มีเสียงไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ก็จะเป็นการลงทุนทางการเมืองที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะจะเป็นทั้งการตีแสกหน้า คมช. ที่เป็นศัตรูคู่แค้น เป็นทั้งการสร้างแนวร่วมกับกลุ่มใหม่ ๆ และที่สำคัญก็คือ เป็นการหล่อเลี้ยงเครือข่ายเพื่อเตรียมการไว้สำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเช่นเดียวกัน ก็มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวเพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งแจกเงิน แจกสิ่งของเป็นสิ่งจูงใจให้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ มีทั้งการสร้างแรงจูงใจต่อว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในทำนองว่า ในเขตเลือกตั้งใดที่มีการออกเสียงไม่เห็นชอบคือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมาก ๆ ว่าที่ผู้สมัครฯ ในเขตนั้น ก็จะได้รับการจัดอันดับความสำคัญสูงซึ่งก็แสดงว่าเมื่อถึงคราวเลือกตั้งก็จะได้รับการหนุนช่วยเป็นจำนวนเงินมากขึ้น
มีการใช้คำพูดปลุกระดมความคิดด้วยเหตุผลที่แปลก ๆ เป็นต้นว่า รับร่างรัฐธรรมนูญก็คือรับรัฐประหารซึ่งทำให้นายกฯ ทักษิณไม่อาจกลับประเทศได้ ถ้าใครอยากให้นายกฯ ทักษิณกลับ ต้องไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแต่ที่ฟังดูแล้วชวนให้น่าตกใจ ก็คือว่า มีแกนนำกลุ่มไทยรักไทยเดิมระดับบิ๊กบางคน กล้าพูดท้าทายถึงขนาดว่า ถ้าในจังหวัดเชียงใหม่มีคนออกเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญมากกว่าเสียงไม่รับ แล้วจะยอมให้เหยียบเลยทีเดียว
จะบอกว่าข่าวคราวความเคลื่อนไหว เพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญรวมทั้งคำพูดเพื่อปลุกระดมความคิด หรือแม้แต่ การพูดจาที่ท้าทายเหล่านี้จะไม่มีผลก็คงไม่ได้เพราะนอกเหนือจากจะเป็นผลให้ฝ่ายเดียวกันมีความฮึกเหิมมากขึ้นแล้ว ยังเป็นผลให้ฝ่ายที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหลาย ๆ ฝ่าย นับตั้งแต่ คมช. ลงมาเริ่มมีความรู้สึกว่า คงจะเฉยเมยไม่ได้แล้ว เราก็เลยได้เห็นการรณรงค์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็นับเป็นเรื่องดีเพราะได้ส่งผลให้เกิดการรับรู้เรื่องราวของร่างรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้นด้วย จนมีการประเมินผลอย่างเป็นทางการว่า น่าจะมีประชาชนออกมาออกเสียงถึง 70 % ของจำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด และน่าจะออกเสียงเห็นชอบ คือรับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่น้อยกว่า 60 %
ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเป็นการประเมินผลอย่างเข้าข้างตนเองหรือตั้งอยู่ในความประมาทมากไปหรือไม่ หรืออาจจะเป็นเพราะเห็นว่า ในหลายพื้นที่ยังไม่มีการเคลื่อนไหวมากมายนัก ถ้าเช่นนั้นก็ควรจะได้เข้าใจว่า สำหรับกลุ่มการเมืองที่ทำการเมืองด้วยการใช้เงินและระบบอุปถัมภ์เป็นหลักโดยมีเครือข่ายจัดตั้งที่ลงตัวอยู่แล้วนั้น เพียงระดมกำลังกันในช่วง 2 — 3 วันสุดท้ายเท่านั้นก็เรียบร้อย
ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการควบคุมและกำกับการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง กกต. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. ในพื้นที่จึงไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาทเป็นอันขาด
ส่วนการรณรงค์ในช่วงโค้งสุดท้ายเพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจและได้พากันออกไปใช้สิทธิ์ออกเสียงประชามติกันมาก ๆ ก็ควรจะได้ระดมกำลังกระทำกันต่อไป โดยองค์กรเครือข่ายต่อไปนี้ ควรจะได้ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง กล่าวคือ
1. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยในส่วนภูมิภาค รวมทั้งอาสาสมัครในโครงการอาสาสมัครเพื่อประชาธิปไตย หรือโครงการแม่ไก่ที่ได้มีการฝึกอบรมกันไว้แล้ว
2. โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และในสังกัดองค์กกรปกครองท้องถิ่น โดยครูให้ความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของรัฐธรรมนูญและเนื้อหาสาระที่สำคัญของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านนักเรียนไปยังผู้ปกครอง
3. เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ และได้มีการฝึกอบรมกันไว้แล้ว
4. องค์กรปกครองท้องถิ่น ทั้งเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่ง
5. มูลนิธิ องค์กรกลาง ซึ่งได้สร้างมาตรฐานในการรณรงค์ ด้วยการสร้างความเข้าใจในเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญ จากทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างมีมาตรฐานและเป็นกลาง ก็ควรจะได้ร่วมมือกันรณรงค์ต่อไป
6. สถานีวิทยุ และโทรทัศน์ทุกแห่งซึ่งเป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนมากที่สุด และต่างก็มีรายการให้ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญ และร่วมรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์ออกเสียงประชามติอยู่แล้ว ก็ควรจะได้เพิ่มรายการในทำนองเดียวกันให้มากยิ่งขึ้นในช่วงโค้งสุดท้ายนี้ แต่ที่สำคัญก็คือว่า ผู้ร่วมรายการทั้งที่เป็นฝ่ายเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ต้องทำหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบในการนำเสนอข้อมูล ความเห็นหักล้างกันอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ซูเอี๋ยกัน หรือเกรงใจกันมากเกินไป เพราะจะเป็นผลให้ประชาชนที่ฟังหรือชมรายการเกิดความเข้าใจผิดในเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญได้ ผู้ดำเนินรายการก็ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญอยู่แล้วพอควร และต้องไม่มีความเกรงใจผู้ร่วมรายการจนเกินเหตุ แล้วปล่อยให้ผู้ร่วมรายการที่ขาดความรับผิดชอบฉวยโอกาสแสดงความคิดเห็นที่เกินกว่าความเป็นจริง
ผมเห็นว่า ถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมมือกันอย่างจริงจังดังกล่าวมาในช่วงเวลาอันเป็นโค้งสุดท้ายก่อนการออกเสียงประชามติเช่นนี้ การจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็จะได้ผลสมความมุ่งหมาย คุ้มค่าเงินงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากทั้งความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการออกเสียงประชามติของประชาชนจำนวนมาก ๆ จะมีผลเสมือนหนึ่งประชาชนได้ร่วมกันวางกรอบการเมืองไทย ให้เข้ารูปเข้ารอยเพื่อที่จะได้ไม่มีการแหกโค้งง่าย ๆ ต่อไปอีก.
********************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ส.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
16 สิงหาคม 2550
สัปดาห์นี้ แม้จะมีข่าวคราวใหญ่โตน่าสนใจหลายเรื่อง แต่โดยที่เป็นช่วงเวลาสามวันสุดท้าย ก่อนที่จะถึงวันออกเสียงประชามติ เห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ เรื่องของการออกเสียงประชามติดังกล่าวจึงเป็นเรื่องน่าสนใจและน่าจะได้เขียนถึงมากกว่าเรื่องอื่น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้เขียนถึงเรื่องนี้ไปครั้งหนึ่งแล้ว ภายใต้ชื่อ “เขาทุ่มเงินเพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญทำไม” โดยได้ชี้ให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจสำคัญ ๆ ที่ทำให้กลุ่มการเมืองบางกลุ่มยอมทุ่มเงินเพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง ๆ ที่รู้ดีว่าอย่างไรเสียคงไม่อาจคว่ำได้ เพียงแต่หวังให้มีเสียงไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ก็จะเป็นการลงทุนทางการเมืองที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะจะเป็นทั้งการตีแสกหน้า คมช. ที่เป็นศัตรูคู่แค้น เป็นทั้งการสร้างแนวร่วมกับกลุ่มใหม่ ๆ และที่สำคัญก็คือ เป็นการหล่อเลี้ยงเครือข่ายเพื่อเตรียมการไว้สำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเช่นเดียวกัน ก็มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวเพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งแจกเงิน แจกสิ่งของเป็นสิ่งจูงใจให้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ มีทั้งการสร้างแรงจูงใจต่อว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในทำนองว่า ในเขตเลือกตั้งใดที่มีการออกเสียงไม่เห็นชอบคือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมาก ๆ ว่าที่ผู้สมัครฯ ในเขตนั้น ก็จะได้รับการจัดอันดับความสำคัญสูงซึ่งก็แสดงว่าเมื่อถึงคราวเลือกตั้งก็จะได้รับการหนุนช่วยเป็นจำนวนเงินมากขึ้น
มีการใช้คำพูดปลุกระดมความคิดด้วยเหตุผลที่แปลก ๆ เป็นต้นว่า รับร่างรัฐธรรมนูญก็คือรับรัฐประหารซึ่งทำให้นายกฯ ทักษิณไม่อาจกลับประเทศได้ ถ้าใครอยากให้นายกฯ ทักษิณกลับ ต้องไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแต่ที่ฟังดูแล้วชวนให้น่าตกใจ ก็คือว่า มีแกนนำกลุ่มไทยรักไทยเดิมระดับบิ๊กบางคน กล้าพูดท้าทายถึงขนาดว่า ถ้าในจังหวัดเชียงใหม่มีคนออกเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญมากกว่าเสียงไม่รับ แล้วจะยอมให้เหยียบเลยทีเดียว
จะบอกว่าข่าวคราวความเคลื่อนไหว เพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญรวมทั้งคำพูดเพื่อปลุกระดมความคิด หรือแม้แต่ การพูดจาที่ท้าทายเหล่านี้จะไม่มีผลก็คงไม่ได้เพราะนอกเหนือจากจะเป็นผลให้ฝ่ายเดียวกันมีความฮึกเหิมมากขึ้นแล้ว ยังเป็นผลให้ฝ่ายที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหลาย ๆ ฝ่าย นับตั้งแต่ คมช. ลงมาเริ่มมีความรู้สึกว่า คงจะเฉยเมยไม่ได้แล้ว เราก็เลยได้เห็นการรณรงค์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็นับเป็นเรื่องดีเพราะได้ส่งผลให้เกิดการรับรู้เรื่องราวของร่างรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้นด้วย จนมีการประเมินผลอย่างเป็นทางการว่า น่าจะมีประชาชนออกมาออกเสียงถึง 70 % ของจำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด และน่าจะออกเสียงเห็นชอบ คือรับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่น้อยกว่า 60 %
ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเป็นการประเมินผลอย่างเข้าข้างตนเองหรือตั้งอยู่ในความประมาทมากไปหรือไม่ หรืออาจจะเป็นเพราะเห็นว่า ในหลายพื้นที่ยังไม่มีการเคลื่อนไหวมากมายนัก ถ้าเช่นนั้นก็ควรจะได้เข้าใจว่า สำหรับกลุ่มการเมืองที่ทำการเมืองด้วยการใช้เงินและระบบอุปถัมภ์เป็นหลักโดยมีเครือข่ายจัดตั้งที่ลงตัวอยู่แล้วนั้น เพียงระดมกำลังกันในช่วง 2 — 3 วันสุดท้ายเท่านั้นก็เรียบร้อย
ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการควบคุมและกำกับการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง กกต. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. ในพื้นที่จึงไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาทเป็นอันขาด
ส่วนการรณรงค์ในช่วงโค้งสุดท้ายเพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจและได้พากันออกไปใช้สิทธิ์ออกเสียงประชามติกันมาก ๆ ก็ควรจะได้ระดมกำลังกระทำกันต่อไป โดยองค์กรเครือข่ายต่อไปนี้ ควรจะได้ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง กล่าวคือ
1. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยในส่วนภูมิภาค รวมทั้งอาสาสมัครในโครงการอาสาสมัครเพื่อประชาธิปไตย หรือโครงการแม่ไก่ที่ได้มีการฝึกอบรมกันไว้แล้ว
2. โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และในสังกัดองค์กกรปกครองท้องถิ่น โดยครูให้ความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของรัฐธรรมนูญและเนื้อหาสาระที่สำคัญของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านนักเรียนไปยังผู้ปกครอง
3. เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ และได้มีการฝึกอบรมกันไว้แล้ว
4. องค์กรปกครองท้องถิ่น ทั้งเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่ง
5. มูลนิธิ องค์กรกลาง ซึ่งได้สร้างมาตรฐานในการรณรงค์ ด้วยการสร้างความเข้าใจในเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญ จากทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างมีมาตรฐานและเป็นกลาง ก็ควรจะได้ร่วมมือกันรณรงค์ต่อไป
6. สถานีวิทยุ และโทรทัศน์ทุกแห่งซึ่งเป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนมากที่สุด และต่างก็มีรายการให้ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญ และร่วมรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์ออกเสียงประชามติอยู่แล้ว ก็ควรจะได้เพิ่มรายการในทำนองเดียวกันให้มากยิ่งขึ้นในช่วงโค้งสุดท้ายนี้ แต่ที่สำคัญก็คือว่า ผู้ร่วมรายการทั้งที่เป็นฝ่ายเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ต้องทำหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบในการนำเสนอข้อมูล ความเห็นหักล้างกันอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ซูเอี๋ยกัน หรือเกรงใจกันมากเกินไป เพราะจะเป็นผลให้ประชาชนที่ฟังหรือชมรายการเกิดความเข้าใจผิดในเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญได้ ผู้ดำเนินรายการก็ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญอยู่แล้วพอควร และต้องไม่มีความเกรงใจผู้ร่วมรายการจนเกินเหตุ แล้วปล่อยให้ผู้ร่วมรายการที่ขาดความรับผิดชอบฉวยโอกาสแสดงความคิดเห็นที่เกินกว่าความเป็นจริง
ผมเห็นว่า ถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมมือกันอย่างจริงจังดังกล่าวมาในช่วงเวลาอันเป็นโค้งสุดท้ายก่อนการออกเสียงประชามติเช่นนี้ การจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็จะได้ผลสมความมุ่งหมาย คุ้มค่าเงินงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากทั้งความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการออกเสียงประชามติของประชาชนจำนวนมาก ๆ จะมีผลเสมือนหนึ่งประชาชนได้ร่วมกันวางกรอบการเมืองไทย ให้เข้ารูปเข้ารอยเพื่อที่จะได้ไม่มีการแหกโค้งง่าย ๆ ต่อไปอีก.
********************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ส.ค. 2550--จบ--