กรุงเทพ--16 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศองค์การการประชุมอิสลาม ครั้งที่ 34 (34th Session of the Islamic Conference of Foreign Ministers: ICFM 34) สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ไทยพร้อมเป็นหุ้นส่วนที่มีบทบาทมากขึ้นในองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) เมื่อต้นเดือนมกราคม ศกนี้ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านป้องกันและแก้ปัญหาไข้หวัดนกให้แก่ประเทศสมาชิก (OIC) ที่ประสบปัญหา ที่กรุงเทพฯ และกำลังจะขยายผลไปจัดการสัมมนาเรื่องนี้อีกครั้งที่อียิปต์ในเดือนกรกฎาคม 2550
2. ไทยจะร่วมกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของ (OIC) เป็นจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ครั้งที่ 2 (2nd International Economic, Culture and Tourism Conference) ที่กรุงเทพฯ และไทยยังเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์องค์กรการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม (Islamic Educational, Scientific and Cultural Organization : ISESCO) ด้วย
3. ไทยและ (OIC) มีปรัชญาและเป้าหมายเดียวกัน คือ ต่อต้านความรุนแรง (extremism) การขาดขันติธรรม (intolerance) การขจัดความยากจน และความอยุติธรรม แต่มีบางกลุ่มในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ยอมรับแนวทางนี้ ตลอดจนปฏิเสธการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และพยายามสร้างความเกลียดชังและใช้ความรุนแรงและฆ่าฟัน ซึ่งขัดต่อหลักการของอิสลามซ้ำยังนำศาสนาอิสลามมาอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมในการฆ่าฟัน ทำร้ายมนุษย์ ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กและสตรีที่เป็นชาวมุสลิมด้วยกัน
เลขาธิการ (OIC) ได้กล่าวในระหว่างการเยือนไทยเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ศกนี้ ว่า ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยไม่ใช่ปัญหาการกีดกันทางศาสนา และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันคัดค้านการใช้ความรุนแรง ตลอดจนหันมาอยู่ร่วมกันโดยสมานฉันท์ และร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหา
4. รัฐบาลไทยยืนยันการแก้ไขปัญหาภาคใต้โดยแนวทางสันติวิธีและสมานฉันท์ ทั้งนี้ ไทยเป็นสังคมเปิดและให้อิสระอย่างเต็มที่ตลอดมาในการนับถือศาสนา นอกจากนี้ สังคมไทยยังเคารพต่อค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนา
5. รัฐบาลไทยยืนยันการใช้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในแนวทาง “3Es” ประกอบด้วย การศึกษา การจ้างงาน และการเสริมสร้างทักษะด้านการประกอบการ เป็นเครื่องมือหลักในการแก้ปัญหาภาคใต้ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการมีส่วนร่วมทางสังคมในทุกด้าน (Enhanced Engagement) ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจและเคารพซึ่งกันและกัน
6. ต้องการให้มิตรประเทศมุสลิมทราบและเข้าใจในสถานการณ์ที่แท้จริงและแนวทางของรัฐบาลไทย และขอบคุณในความร่วมมือที่ใกล้ชิดจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย และ ความเข้าใจและความร่วมมือของ (OIC) ก็มีส่วนสำคัญในการนำสันติสุขมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้
7. ความพยายามของรัฐบาลไทยต้องใช้เวลา แต่เป็นการแก้ปัญหาระยะยาวเพื่อนำความผาสุขมาสู่พี่น้อง ชาวไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้(รายละเอียดถ้อยแถลงฯ สามารถเปิดดูได้จากข่าวสารนิเทศกระทรวงการต่างประเทศ)
อนึ่ง ในระหว่างการประชุมฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือทวิภาคีกับ เลขาธิการ (OIC) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถาน (เจ้าภาพการประชุมฯ) รัฐมนตรีแห่งรัฐด้านการต่างประเทศเซเนกัล (จะรับหน้าที่ประธาน (OIC) ระดับผู้นำต่อจากมาเลเซีย) และกาตาร์ ซึ่งทุกฝ่ายสนับสนุนแนวทางของรัฐบาลไทยและพร้อมจะให้ความร่วมมือกับไทยในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศองค์การการประชุมอิสลาม ครั้งที่ 34 (34th Session of the Islamic Conference of Foreign Ministers: ICFM 34) สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ไทยพร้อมเป็นหุ้นส่วนที่มีบทบาทมากขึ้นในองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) เมื่อต้นเดือนมกราคม ศกนี้ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านป้องกันและแก้ปัญหาไข้หวัดนกให้แก่ประเทศสมาชิก (OIC) ที่ประสบปัญหา ที่กรุงเทพฯ และกำลังจะขยายผลไปจัดการสัมมนาเรื่องนี้อีกครั้งที่อียิปต์ในเดือนกรกฎาคม 2550
2. ไทยจะร่วมกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของ (OIC) เป็นจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ครั้งที่ 2 (2nd International Economic, Culture and Tourism Conference) ที่กรุงเทพฯ และไทยยังเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์องค์กรการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม (Islamic Educational, Scientific and Cultural Organization : ISESCO) ด้วย
3. ไทยและ (OIC) มีปรัชญาและเป้าหมายเดียวกัน คือ ต่อต้านความรุนแรง (extremism) การขาดขันติธรรม (intolerance) การขจัดความยากจน และความอยุติธรรม แต่มีบางกลุ่มในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ยอมรับแนวทางนี้ ตลอดจนปฏิเสธการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และพยายามสร้างความเกลียดชังและใช้ความรุนแรงและฆ่าฟัน ซึ่งขัดต่อหลักการของอิสลามซ้ำยังนำศาสนาอิสลามมาอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมในการฆ่าฟัน ทำร้ายมนุษย์ ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กและสตรีที่เป็นชาวมุสลิมด้วยกัน
เลขาธิการ (OIC) ได้กล่าวในระหว่างการเยือนไทยเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ศกนี้ ว่า ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยไม่ใช่ปัญหาการกีดกันทางศาสนา และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันคัดค้านการใช้ความรุนแรง ตลอดจนหันมาอยู่ร่วมกันโดยสมานฉันท์ และร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหา
4. รัฐบาลไทยยืนยันการแก้ไขปัญหาภาคใต้โดยแนวทางสันติวิธีและสมานฉันท์ ทั้งนี้ ไทยเป็นสังคมเปิดและให้อิสระอย่างเต็มที่ตลอดมาในการนับถือศาสนา นอกจากนี้ สังคมไทยยังเคารพต่อค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนา
5. รัฐบาลไทยยืนยันการใช้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในแนวทาง “3Es” ประกอบด้วย การศึกษา การจ้างงาน และการเสริมสร้างทักษะด้านการประกอบการ เป็นเครื่องมือหลักในการแก้ปัญหาภาคใต้ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการมีส่วนร่วมทางสังคมในทุกด้าน (Enhanced Engagement) ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจและเคารพซึ่งกันและกัน
6. ต้องการให้มิตรประเทศมุสลิมทราบและเข้าใจในสถานการณ์ที่แท้จริงและแนวทางของรัฐบาลไทย และขอบคุณในความร่วมมือที่ใกล้ชิดจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย และ ความเข้าใจและความร่วมมือของ (OIC) ก็มีส่วนสำคัญในการนำสันติสุขมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้
7. ความพยายามของรัฐบาลไทยต้องใช้เวลา แต่เป็นการแก้ปัญหาระยะยาวเพื่อนำความผาสุขมาสู่พี่น้อง ชาวไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้(รายละเอียดถ้อยแถลงฯ สามารถเปิดดูได้จากข่าวสารนิเทศกระทรวงการต่างประเทศ)
อนึ่ง ในระหว่างการประชุมฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือทวิภาคีกับ เลขาธิการ (OIC) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถาน (เจ้าภาพการประชุมฯ) รัฐมนตรีแห่งรัฐด้านการต่างประเทศเซเนกัล (จะรับหน้าที่ประธาน (OIC) ระดับผู้นำต่อจากมาเลเซีย) และกาตาร์ ซึ่งทุกฝ่ายสนับสนุนแนวทางของรัฐบาลไทยและพร้อมจะให้ความร่วมมือกับไทยในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-