กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมวางมาตรการรับกฎเหล็กอียู ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ปี 49 หวั่นกระทบผู้ส่งออกสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าเกี่ยวข้องกับเคมีภัณฑ์ กลุ่มยาและเวชภัณฑ์-พลาสติก-สิ่งทอ-ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เตือนเอกชนต้องศึกษาข้อมูลวางแผนรับมือเป็นระบบและปรับปรุงการผลิตให้ทันก่อนสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้คู่แข่งสำคัญอื่น
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งศึกษาและติดตามการวางกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งจะมีความเข้มงวดในเรื่องของนโยบายและกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เช่น ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ RoHs และระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งระเบียบเหล่านี้จะมีผลบังคับใช้ในปี 2549 นี้ โดยจะทำให้สินค้าอุตสาหกรรมในหลายผลิตภัณฑ์ได้รับผลกระทบจากการส่งออกลดลง ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้เตรียมการพิจารณากำหนดมาตรการรองรับให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถรับมือและขยายโอกาสการส่งออกในตลาดอียูได้อีกต่อไป
"นโยบายและกฎระเบียบต่างๆดังกล่าวออกมาเพื่อประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของผู้บริโภคที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าไปยังประเภทเหล่านี้ เนื่องจาก เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างเช่นในกรณีของสหภาพยุโรป(อียู) มีการประกาศสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ของ สหภาพยุโรป [EU White Paper on Chemicals
] ทำให้สินค้าเกี่ยวข้องกับเคมีภัณฑ์จะได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอ และไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งนี้ในแต่ละอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณการใช้สารเคมี" นางชุตาภรณ์กล่าว
จากการศึกษาสาระสำคัญของนโยบายและกฎระเบียบของสหภาพยุโรปในส่วนที่ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องเตรียมรับมือ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
1. กฎระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ RoHs เป็นการกำจัดการใช้สารอันตราย 6 ประเภท ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม โครเมียมเฮกซาวาเลนท์ โพลีโบรมิเนตเต็ดไบฟีนิล โพลีโบรมิเนตเต็ดไดฟินิลอีเทอร์ ในเครื่องมือผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โดยส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ประอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปที่จะต้องมีการหาสารอื่นทดแทนสารโลหะหนักตามระเบียบ RoHs ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และหากไม่สามารถทำได้ตามระเบียบก็อาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในสหภาพยุโรปให้กับประเทศคู่แข่งสำคัญอื่นๆ
2. ร่างระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ หรือ REACH เป็นระบบคุ้มครองความปลอดภัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของสารเคมี โดยคาดว่า คณะกรรมาธิการยุโรปจะสามารถประกาศระเบียบออกบังคับใช้ภายในปี 2549 นี้ โดยการดำเนินการ เช่น กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสารเคมีเกินกว่า 1 ตันต่อปีต่อราย ต้องยื่นจดทะเบียน หรือหากเกิน100ตันต่อปีต่อราย ต้องผ่านระบบการประเมิน เป็นต้น ทั้งนี้ ระเบียบฯดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรมที่มีเคมีภัณฑ์ในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร สิ่งทอ เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทั้งในการสืบค้นข้อมูลเพื่อประกอบการจดทะเบียน และการวิจัยและพัฒนา[R&D
] ในกรณีต้องใช้สารอื่นทดแทนสารที่ถูกห้ามหรือจำกัดการใช้
3. สมุดปกเขียวว่าด้วยนโยบายสินค้าครบวงจร หรือ Green paper on IPP เป็นการตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีการตรวจสอบตั้งแต่การหาวัตถุดิบ ขบวนการผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดเศษเหลือทิ้งของสินค้า โดยผู้ตรวจสอบและให้การรับรองพร้อมติดฉลากของกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งครอบคลุมในสินค้าทุกชนิดรวมถึงการบริการ อย่างไรตามขณะนี้ยังไม่ได้ประกาศเป็นระเบียบบังคับใช้ แต่ได้เตรียมโครงการนำร่องกับสินค้า 2 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ และเก้าอี้ไม้สัก
4. ระเบียบว่าด้วยเศษเหลือทิ้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ WEEE เป็นกฎข้อบังคับที่กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสินค้าต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งาน ตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ตามที่กำหนด ซึ่งระเบียบดังกล่าวบางประเทศในอียูเริ่มประกาศใช้ไปแล้ว คือ ประเทศไอร์แลนด์ และส่วนที่เหลือจะทยอยประกาศในเร็วๆนี้
นางชุตาภรณ์กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยควรติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับระเบียบของอียูอย่างใกล้ชิด และควรสำรวจว่าสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตของตนจัดอยู่ในรายการที่ต้องจดทะเบียน ประเมิน ขออนุญาต หรือถูกจำกัดการใช้ รวมทั้งหารือกับคู่ค้าถึงภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อกฎระเบียบมีผลบังคับใช้ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการแข่งขันทางธุรกิจ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งศึกษาและติดตามการวางกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งจะมีความเข้มงวดในเรื่องของนโยบายและกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เช่น ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ RoHs และระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งระเบียบเหล่านี้จะมีผลบังคับใช้ในปี 2549 นี้ โดยจะทำให้สินค้าอุตสาหกรรมในหลายผลิตภัณฑ์ได้รับผลกระทบจากการส่งออกลดลง ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้เตรียมการพิจารณากำหนดมาตรการรองรับให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถรับมือและขยายโอกาสการส่งออกในตลาดอียูได้อีกต่อไป
"นโยบายและกฎระเบียบต่างๆดังกล่าวออกมาเพื่อประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของผู้บริโภคที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าไปยังประเภทเหล่านี้ เนื่องจาก เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างเช่นในกรณีของสหภาพยุโรป(อียู) มีการประกาศสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ของ สหภาพยุโรป [EU White Paper on Chemicals
] ทำให้สินค้าเกี่ยวข้องกับเคมีภัณฑ์จะได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอ และไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งนี้ในแต่ละอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณการใช้สารเคมี" นางชุตาภรณ์กล่าว
จากการศึกษาสาระสำคัญของนโยบายและกฎระเบียบของสหภาพยุโรปในส่วนที่ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องเตรียมรับมือ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
1. กฎระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ RoHs เป็นการกำจัดการใช้สารอันตราย 6 ประเภท ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม โครเมียมเฮกซาวาเลนท์ โพลีโบรมิเนตเต็ดไบฟีนิล โพลีโบรมิเนตเต็ดไดฟินิลอีเทอร์ ในเครื่องมือผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โดยส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ประอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปที่จะต้องมีการหาสารอื่นทดแทนสารโลหะหนักตามระเบียบ RoHs ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และหากไม่สามารถทำได้ตามระเบียบก็อาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในสหภาพยุโรปให้กับประเทศคู่แข่งสำคัญอื่นๆ
2. ร่างระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ หรือ REACH เป็นระบบคุ้มครองความปลอดภัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของสารเคมี โดยคาดว่า คณะกรรมาธิการยุโรปจะสามารถประกาศระเบียบออกบังคับใช้ภายในปี 2549 นี้ โดยการดำเนินการ เช่น กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสารเคมีเกินกว่า 1 ตันต่อปีต่อราย ต้องยื่นจดทะเบียน หรือหากเกิน100ตันต่อปีต่อราย ต้องผ่านระบบการประเมิน เป็นต้น ทั้งนี้ ระเบียบฯดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรมที่มีเคมีภัณฑ์ในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร สิ่งทอ เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทั้งในการสืบค้นข้อมูลเพื่อประกอบการจดทะเบียน และการวิจัยและพัฒนา[R&D
] ในกรณีต้องใช้สารอื่นทดแทนสารที่ถูกห้ามหรือจำกัดการใช้
3. สมุดปกเขียวว่าด้วยนโยบายสินค้าครบวงจร หรือ Green paper on IPP เป็นการตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีการตรวจสอบตั้งแต่การหาวัตถุดิบ ขบวนการผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดเศษเหลือทิ้งของสินค้า โดยผู้ตรวจสอบและให้การรับรองพร้อมติดฉลากของกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งครอบคลุมในสินค้าทุกชนิดรวมถึงการบริการ อย่างไรตามขณะนี้ยังไม่ได้ประกาศเป็นระเบียบบังคับใช้ แต่ได้เตรียมโครงการนำร่องกับสินค้า 2 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ และเก้าอี้ไม้สัก
4. ระเบียบว่าด้วยเศษเหลือทิ้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ WEEE เป็นกฎข้อบังคับที่กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสินค้าต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งาน ตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ตามที่กำหนด ซึ่งระเบียบดังกล่าวบางประเทศในอียูเริ่มประกาศใช้ไปแล้ว คือ ประเทศไอร์แลนด์ และส่วนที่เหลือจะทยอยประกาศในเร็วๆนี้
นางชุตาภรณ์กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยควรติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับระเบียบของอียูอย่างใกล้ชิด และควรสำรวจว่าสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตของตนจัดอยู่ในรายการที่ต้องจดทะเบียน ประเมิน ขออนุญาต หรือถูกจำกัดการใช้ รวมทั้งหารือกับคู่ค้าถึงภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อกฎระเบียบมีผลบังคับใช้ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการแข่งขันทางธุรกิจ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-