แท็ก
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา
วิกฤติเศรษฐกิจ
โรงแรมคอนราด
กรมการปกครอง
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ผลการดำเนินงานของ ธปท. ปี 49 ขาดทุนต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ธปท.มีผลการดำเนินงานขาดทุนในปี 49 ส่งผลให้ปีนี้ ธปท.ไม่สามารถนำส่งกำไรให้กับ ก.คลัง เพื่อใช้ชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการที่รัฐ
เข้ารับภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 เป็นจำนวนเงิน 1.4 ล้านล้านบาท ในส่วนที่ ธปท.ต้องรับภาระเงินต้นในการไถ่ถอนพันธบัตร
ที่ออกมาชดเชยความเสียหายได้ ทั้งนี้ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพการเงิน ธปท.ชี้แจงว่า การขาดทุนของ ธปท.ในปี 49
เกิดจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น โดยหากคิดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในช่วงต้นปีประมาณ 60,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นเงินบาท
โดยเทียบระดับอัตราแลกเปลี่ยน 41 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในช่วงต้นปี กับช่วงปลายปีที่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ก็จะ
เห็นว่า ธปท.ขาดทุนดอลลาร์ สรอ.ละ 5 บาท หรือขาดทุนประมาณ 300,000 ล้านบาทแล้ว อย่างไรก็ตาม จำนวนขาดทุนดังกล่าวยังไม่ใช่การ
ขาดทุนสุทธิ โดยหากคิดเป็นการขาดทุนสุทธิแล้ว ธปท.ขาดทุนไม่ถึง 300,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากที่ผ่านมา ธปท.ได้นำเงินทุนสำรอง
ระหว่างประเทศไปลงทุนได้ผลตอบแทนประมาณร้อยละ 7 ซึ่งหากเทียบกับต้นทุนจากการออกพันธบัตรดูดซับสภาพคล่องหลังจากที่แทรกแซงค่าเงินที่อยู่
ที่ประมาณร้อยละ 4-5 แล้วยังถือว่ามีกำไรร้อยละ 2-3 แต่กำไรส่วนนี้เมื่อแปลงเป็นเงินบาทก็ยังทำให้ ธปท.ขาดทุน (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ไทยได้ดุลการค้าจากการทำเอฟทีเอไทย-ออสเตรเลียปี 49 จำนวน 3.5 หมื่นล้านบาท อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามความคืบหน้าความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ที่มีผลบังคับใช้มา 2 ปี ซึ่งส่งผลให้การค้า
2 ฝ่ายขยายตัวเป็นที่น่าพอใจ โดยปี 49 มีมูลค่าการค้าร่วม 295,523 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ไทยส่งออก 165,317 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 30 นำเข้ามูลค่า 130,206 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้า 35,111 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิประโยชน์จาก
เอฟทีเอคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 98,820 ล้านบาท หรือร้อยละ 63 ของมูลค่าการส่งออกไทยไปออสเตรเลียทั้งหมด โดยสินค้าที่ขอใบรับรองถิ่น
กำเนิดสินค้ามาก คือ ยานยนต์สำหรับขนส่งสิ่งของ รถยนต์และยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ปลาที่ปรุงแต่งและเครื่องจักร ส่วนออสเตรเลียใช้
สิทธิเอฟทีเอเป็นมูลค่า 17,913 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.7 ของการส่งออกออสเตรเลียมาไทย โดยมีสินค้าส่งออกหลัก คือ อลูมิเนียม ข้าวสาลี
และเมสลินอื่น ๆ มอลต์ไม่คั่ว สินแร่และหัวแร่สังกะสี (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ตลท.และ บล.พัฒนสิน ร่วมจัดโรดโชว์ที่ญี่ปุ่นชี้แจงสถานการณ์เศรษฐกิจและนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลท.มีกำหนดเดินทางไปให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนที่ประเทศญี่ปุ่นและ บล.พัฒนสิน ระหว่างวันที่
10-13 มี.ค.50 โดยมีนายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง เป็นผู้นำคณะ ทั้งนี้ ข้อมูลที่จะไปนำเสนอโดย รมช.คลังนั้น จะประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ
เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในการเร่งสร้างความเข้าใจเรื่องแนวคิดระบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะสร้างความเติบโตแก่ระบบเศรษฐกิจ
ของประเทศอย่างมั่นคงในระยะยาว ควบคู่ไปกับการให้ข้อมูลแก่ชาวญี่ปุ่นเรื่องการส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันจะให้ข้อมูล
เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นที่อยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น เพื่อความร่วมมือ
ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างทั้ง 2 ประเทศด้วย (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, สยามรัฐ, ข่าวสด)
4. รอง นรม.เปิดเผยถึงสาเหตุการจัดทำ งปม.ปี 51 แบบขาดดุล ม.ร.ว.ปรีดิยาธร รอง นรม. และ รมว.คลัง เปิดเผยถึง
กรณีรัฐบาลมีนโยบายจัดทำ งปม.รายจ่ายประจำปี 51 แบบขาดดุลต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ว่า เป็นผลจากรัฐบาลชุดก่อนมีภาระหนี้ผูกพันไว้มาก
ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ต้องการใช้ งปม.แบบขาดดุลเข้ามาช่วย ทั้งนี้ สัดส่วน งปม.ปี 51 จะมีสัดส่วนงบลงทุนจำนวนร้อยละ
25 ของวงเงิน งปม.รายจ่าย ขณะที่ ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การจัดทำ งปม.แบบขาดดุลในปี งปม.51 ถือว่า
ยังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง โดย สศค.ประมาณการรายได้ไว้ที่ 1.51 ล้านล้านบาท ภายใต้สมมติฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ที่ร้อยละ 5 อัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 3 และหากจะทำได้ตามเป้าหมายดังกล่าว งปม.จะต้องทำในลักษณะขาดดุล โดยปี 51 งปม.จะขาดดุล
1.2 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 ต่อผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) (มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในไตรมาสที่ 4 ธ.กลางสรอ.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่
22 ก.พ. 50 ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ของสรอ.จะชะลอตัวลง ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว และอัตราเงินเฟ้อไม่
สูงขึ้น อาจทำให้ธ.กลางสรอ. ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งแรกในปีนี้ ใกล้เคียงกับที่
บรรดานักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า ธ.กลางสรอ.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 อยู่ที่ร้อยละ 5.0
ในราวปลายเดือนมิ.ย. และจะปรับลดลงอีกครั้งอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ในไตรมาสที่ 4 ขณะที่ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 89 คนคาดว่า
เศรษฐกิจสรอ. จะขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี 50 ลดลงจากที่คาดไว้ในปี 49 ว่าจะเติบโตร้อยละ 3.4 แต่มากกว่าที่คาดไว้ล่าสุดเมื่อเดือน
ม.ค.ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.5 ส่วนปี 51 คาดว่าเศรษฐกิจสรอ.จะขยายตัวร้อยละ 3.0 สำหรับอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ
2.3 และร้อยละ 2.2 ในปี 50 และปี 51 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 รายงาน
จากบรัสเซลส์ เมื่อ 22 ก.พ.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ
Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 48
สูงกว่าที่คาดไว้มากว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ต่อเดือนและร้อยละ 0.7 ต่อปี ส่งผลให้ตลอดปี 49 คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับ
ปี 48 ทั้งนี้หากไม่รวมคำสั่งซื้อเรือ รถไฟและเครื่องบินโดยสารที่ค่อนข้างผันผวนแล้ว คำสั่งซื้อในเดือน ธ.ค.49 จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6
เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 48 โดยเป็นผลจากคำสั่งซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น
ถึงร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 48 ทำให้คำสั่งซื้อเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นมาก จากการที่คำสั่งซื้อเป็นตัวชี้แนวโน้ม
ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงหลายเดือนข้างหน้า คณะกรรมาธิการสภายุโรปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงคาดว่าเศรษฐกิจของ Euro zone ในปี 50
จะชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 49 โดยขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 2.7 ต่อปีในปี 49 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจสูงสุดในรอบ 6 ปี และจากการที่คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดไว้ซึ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี นักวิเคราะห์จึงคาดว่า
ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.75 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 8 มี.ค.50 ที่จะถึงนี้
(รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้จะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่งถ้าปัจจัยเสี่ยงลดลง รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่
22 ก.พ.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้จะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
ประมาณร้อยละ 2.7 แต่ปัจจัยเสี่ยงต้องลดลงถ้าการปรับดอกเบี้ยในระยะหลังสามารถควบคุมการใช้จ่ายผู้บริโภคได้และการส่งออกไม่ได้รับผล
กระทบจากเงินปอนด์ที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่ ธ.กลางอังกฤษคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 3 ในช่วงกลางปีนี้ ส่วนปีหน้าคาดว่าอัตรา
การเติบโตจะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 2.5 เนื่องจากหนี้สินจำนวนมากของผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นและจากการที่
เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งในระยะสั้นนักเศรษฐศาสตร์เกือบทั้งหมดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง โดยอย่างเร็วที่สุดนั้นคาดว่าจะ
เป็นเดือนหน้า เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งไว้ในช่วงครึ่งแรก
ของปีนี้ แม้ว่าในเดือน ม.ค.50 อัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 จากร้อยละ 3.0 ในเดือน ธ.ค.49 ซึ่งเป็นระดับ
สูงสุดในรอบทศวรรษก็ตาม (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจเยอรมนีในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 เติบโตร้อยละ 0.9 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 22 ก.พ.50
The Federal Statistics Office เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.9 โดยได้รับแรง
สนับสนุนหลักจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งสามารถชดเชยกับการชะลอตัวอย่างรุนแรงของความต้องการภายในประเทศได้ โดยการ
ส่งออกของเยรอมนีในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 49 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี ขณะที่การนำเข้าทรงตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เยอรมนี
เกินดุลการค้าสูงสุดซึ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนี นับตั้งแต่ช่วงการรวมเยอรมนีตะวันตกและตะวันออกในปี 2533 สำหรับ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีเมื่อเทียบต่อปี (หลังปรับฤดูกาล) ขยายตัวร้อยละ 3.7 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในช่วง
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนตัวเลขก่อนปรับฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 3.5 จากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 ก.พ. 50 22 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.737 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5307/35.8537 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.86375 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 693.61/11.12 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,250/11,350 11,250/11,350 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.25 56.01 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/22.94** 25.59*/22.94** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ผลการดำเนินงานของ ธปท. ปี 49 ขาดทุนต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ธปท.มีผลการดำเนินงานขาดทุนในปี 49 ส่งผลให้ปีนี้ ธปท.ไม่สามารถนำส่งกำไรให้กับ ก.คลัง เพื่อใช้ชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการที่รัฐ
เข้ารับภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 เป็นจำนวนเงิน 1.4 ล้านล้านบาท ในส่วนที่ ธปท.ต้องรับภาระเงินต้นในการไถ่ถอนพันธบัตร
ที่ออกมาชดเชยความเสียหายได้ ทั้งนี้ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพการเงิน ธปท.ชี้แจงว่า การขาดทุนของ ธปท.ในปี 49
เกิดจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น โดยหากคิดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในช่วงต้นปีประมาณ 60,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นเงินบาท
โดยเทียบระดับอัตราแลกเปลี่ยน 41 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในช่วงต้นปี กับช่วงปลายปีที่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ก็จะ
เห็นว่า ธปท.ขาดทุนดอลลาร์ สรอ.ละ 5 บาท หรือขาดทุนประมาณ 300,000 ล้านบาทแล้ว อย่างไรก็ตาม จำนวนขาดทุนดังกล่าวยังไม่ใช่การ
ขาดทุนสุทธิ โดยหากคิดเป็นการขาดทุนสุทธิแล้ว ธปท.ขาดทุนไม่ถึง 300,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากที่ผ่านมา ธปท.ได้นำเงินทุนสำรอง
ระหว่างประเทศไปลงทุนได้ผลตอบแทนประมาณร้อยละ 7 ซึ่งหากเทียบกับต้นทุนจากการออกพันธบัตรดูดซับสภาพคล่องหลังจากที่แทรกแซงค่าเงินที่อยู่
ที่ประมาณร้อยละ 4-5 แล้วยังถือว่ามีกำไรร้อยละ 2-3 แต่กำไรส่วนนี้เมื่อแปลงเป็นเงินบาทก็ยังทำให้ ธปท.ขาดทุน (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ไทยได้ดุลการค้าจากการทำเอฟทีเอไทย-ออสเตรเลียปี 49 จำนวน 3.5 หมื่นล้านบาท อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามความคืบหน้าความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ที่มีผลบังคับใช้มา 2 ปี ซึ่งส่งผลให้การค้า
2 ฝ่ายขยายตัวเป็นที่น่าพอใจ โดยปี 49 มีมูลค่าการค้าร่วม 295,523 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ไทยส่งออก 165,317 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 30 นำเข้ามูลค่า 130,206 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้า 35,111 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิประโยชน์จาก
เอฟทีเอคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 98,820 ล้านบาท หรือร้อยละ 63 ของมูลค่าการส่งออกไทยไปออสเตรเลียทั้งหมด โดยสินค้าที่ขอใบรับรองถิ่น
กำเนิดสินค้ามาก คือ ยานยนต์สำหรับขนส่งสิ่งของ รถยนต์และยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ปลาที่ปรุงแต่งและเครื่องจักร ส่วนออสเตรเลียใช้
สิทธิเอฟทีเอเป็นมูลค่า 17,913 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.7 ของการส่งออกออสเตรเลียมาไทย โดยมีสินค้าส่งออกหลัก คือ อลูมิเนียม ข้าวสาลี
และเมสลินอื่น ๆ มอลต์ไม่คั่ว สินแร่และหัวแร่สังกะสี (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ตลท.และ บล.พัฒนสิน ร่วมจัดโรดโชว์ที่ญี่ปุ่นชี้แจงสถานการณ์เศรษฐกิจและนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลท.มีกำหนดเดินทางไปให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนที่ประเทศญี่ปุ่นและ บล.พัฒนสิน ระหว่างวันที่
10-13 มี.ค.50 โดยมีนายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง เป็นผู้นำคณะ ทั้งนี้ ข้อมูลที่จะไปนำเสนอโดย รมช.คลังนั้น จะประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ
เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในการเร่งสร้างความเข้าใจเรื่องแนวคิดระบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะสร้างความเติบโตแก่ระบบเศรษฐกิจ
ของประเทศอย่างมั่นคงในระยะยาว ควบคู่ไปกับการให้ข้อมูลแก่ชาวญี่ปุ่นเรื่องการส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันจะให้ข้อมูล
เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นที่อยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น เพื่อความร่วมมือ
ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างทั้ง 2 ประเทศด้วย (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, สยามรัฐ, ข่าวสด)
4. รอง นรม.เปิดเผยถึงสาเหตุการจัดทำ งปม.ปี 51 แบบขาดดุล ม.ร.ว.ปรีดิยาธร รอง นรม. และ รมว.คลัง เปิดเผยถึง
กรณีรัฐบาลมีนโยบายจัดทำ งปม.รายจ่ายประจำปี 51 แบบขาดดุลต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ว่า เป็นผลจากรัฐบาลชุดก่อนมีภาระหนี้ผูกพันไว้มาก
ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ต้องการใช้ งปม.แบบขาดดุลเข้ามาช่วย ทั้งนี้ สัดส่วน งปม.ปี 51 จะมีสัดส่วนงบลงทุนจำนวนร้อยละ
25 ของวงเงิน งปม.รายจ่าย ขณะที่ ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การจัดทำ งปม.แบบขาดดุลในปี งปม.51 ถือว่า
ยังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง โดย สศค.ประมาณการรายได้ไว้ที่ 1.51 ล้านล้านบาท ภายใต้สมมติฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ที่ร้อยละ 5 อัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 3 และหากจะทำได้ตามเป้าหมายดังกล่าว งปม.จะต้องทำในลักษณะขาดดุล โดยปี 51 งปม.จะขาดดุล
1.2 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 ต่อผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) (มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในไตรมาสที่ 4 ธ.กลางสรอ.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่
22 ก.พ. 50 ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ของสรอ.จะชะลอตัวลง ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว และอัตราเงินเฟ้อไม่
สูงขึ้น อาจทำให้ธ.กลางสรอ. ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งแรกในปีนี้ ใกล้เคียงกับที่
บรรดานักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า ธ.กลางสรอ.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 อยู่ที่ร้อยละ 5.0
ในราวปลายเดือนมิ.ย. และจะปรับลดลงอีกครั้งอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ในไตรมาสที่ 4 ขณะที่ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 89 คนคาดว่า
เศรษฐกิจสรอ. จะขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี 50 ลดลงจากที่คาดไว้ในปี 49 ว่าจะเติบโตร้อยละ 3.4 แต่มากกว่าที่คาดไว้ล่าสุดเมื่อเดือน
ม.ค.ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.5 ส่วนปี 51 คาดว่าเศรษฐกิจสรอ.จะขยายตัวร้อยละ 3.0 สำหรับอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ
2.3 และร้อยละ 2.2 ในปี 50 และปี 51 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 รายงาน
จากบรัสเซลส์ เมื่อ 22 ก.พ.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ
Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 48
สูงกว่าที่คาดไว้มากว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ต่อเดือนและร้อยละ 0.7 ต่อปี ส่งผลให้ตลอดปี 49 คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับ
ปี 48 ทั้งนี้หากไม่รวมคำสั่งซื้อเรือ รถไฟและเครื่องบินโดยสารที่ค่อนข้างผันผวนแล้ว คำสั่งซื้อในเดือน ธ.ค.49 จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6
เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 48 โดยเป็นผลจากคำสั่งซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น
ถึงร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 48 ทำให้คำสั่งซื้อเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นมาก จากการที่คำสั่งซื้อเป็นตัวชี้แนวโน้ม
ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงหลายเดือนข้างหน้า คณะกรรมาธิการสภายุโรปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงคาดว่าเศรษฐกิจของ Euro zone ในปี 50
จะชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 49 โดยขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 2.7 ต่อปีในปี 49 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจสูงสุดในรอบ 6 ปี และจากการที่คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดไว้ซึ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี นักวิเคราะห์จึงคาดว่า
ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.75 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 8 มี.ค.50 ที่จะถึงนี้
(รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้จะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่งถ้าปัจจัยเสี่ยงลดลง รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่
22 ก.พ.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้จะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
ประมาณร้อยละ 2.7 แต่ปัจจัยเสี่ยงต้องลดลงถ้าการปรับดอกเบี้ยในระยะหลังสามารถควบคุมการใช้จ่ายผู้บริโภคได้และการส่งออกไม่ได้รับผล
กระทบจากเงินปอนด์ที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่ ธ.กลางอังกฤษคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 3 ในช่วงกลางปีนี้ ส่วนปีหน้าคาดว่าอัตรา
การเติบโตจะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 2.5 เนื่องจากหนี้สินจำนวนมากของผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นและจากการที่
เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งในระยะสั้นนักเศรษฐศาสตร์เกือบทั้งหมดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง โดยอย่างเร็วที่สุดนั้นคาดว่าจะ
เป็นเดือนหน้า เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งไว้ในช่วงครึ่งแรก
ของปีนี้ แม้ว่าในเดือน ม.ค.50 อัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 จากร้อยละ 3.0 ในเดือน ธ.ค.49 ซึ่งเป็นระดับ
สูงสุดในรอบทศวรรษก็ตาม (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจเยอรมนีในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 เติบโตร้อยละ 0.9 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 22 ก.พ.50
The Federal Statistics Office เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.9 โดยได้รับแรง
สนับสนุนหลักจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งสามารถชดเชยกับการชะลอตัวอย่างรุนแรงของความต้องการภายในประเทศได้ โดยการ
ส่งออกของเยรอมนีในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 49 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี ขณะที่การนำเข้าทรงตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เยอรมนี
เกินดุลการค้าสูงสุดซึ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนี นับตั้งแต่ช่วงการรวมเยอรมนีตะวันตกและตะวันออกในปี 2533 สำหรับ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีเมื่อเทียบต่อปี (หลังปรับฤดูกาล) ขยายตัวร้อยละ 3.7 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในช่วง
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนตัวเลขก่อนปรับฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 3.5 จากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 ก.พ. 50 22 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.737 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5307/35.8537 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.86375 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 693.61/11.12 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,250/11,350 11,250/11,350 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.25 56.01 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/22.94** 25.59*/22.94** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--