แท็ก
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประกาศภาวะฉุกเฉิน
มหาวิทยาลัยบูรพา
สถานการณ์ฉุกเฉิน
นายกรัฐมนตรี
คงประกาศ คปค.ถึงเดือนกันยายนเพื่ออะไร
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑ เมษายน ๑๕๕๐
www.abhisit.org
การประกาศวันเลือกตั้งโดยพลเอกสุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และการตัดสินใจไม่ประกาศภาวะฉุกเฉินตามพรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง และช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในทางการเมืองลงได้ในระดับหนึ่ง ในฐานะที่เคยเสนอให้รัฐบาลยึดหลักประชาธิปไตย และประกาศแผนการคืนอำนาจให้ประชาชน ความชัดเจนที่เป็นผลพวงจากการตัดสินใจครั้งนี้ ทำให้ผมเกิดความสบายใจขึ้น
แต่การประกาศว่าจะมีการยกเลิก ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษตริย์เป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ ๑๕ และ ฉบับที่ ๒๗ ซึ่งห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจการใดๆในทางการเมือง ในเดือนกันยายนนั้น ทำให้ผมยังไม่มั่นใจว่า
นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลมีความเข้าใจและเชื่อมั่นในกระบวนการประชาธิปไตยมากน้อยเพียงไร
ประกาศ ๒ ฉบับนี้ ประกาศไว้เมื่อวันที่ ๒๑ และ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ ในช่วง ๒ สัปดาห์แรกของการรัฐประหาร บรรยากาศในขณะนั้น ยังเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหลังจากการยึดอำนาจ ก็พอเข้าใจได้ว่า ไม่ต้องการให้พรรคการเมืองเคลื่อนไหว
แต่ขณะนี้เวลาผ่านมากว่า ๖ เดือนแล้ว
เหตุการณ์ต่างๆก็พิสูจน์แล้วว่า ประกาศทั้ง ๒ ฉบับ ไม่ได้มีส่วนช่วยในการรักษาความมั่นคงแต่ประการใด
ความวุ่นวายหรือการท้าทายอำนาจรัฐที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ไม่มีการดำเนินการในนามพรรคการเมือง และก็คงจะไม่มีอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการเผาโรงเรียน วางระเบิด ก่อการร้าย หรือ การชุมนุมประท้วงที่มีมากขึ้นทุกวัน
เพราะพรรคการเมืองเกือบทุกพรรคไม่มีความประสงค์ใดๆที่จะไปทำเช่นนั้น อยากเห็นช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนการคืนอำนาจให้ประชาชน เป็นไปโดยรวดเร็ว และราบรื่นที่สุด
ส่วนพรรคที่เชื่อมโยงกับกลุ่มอำนาจเก่า คิดจะทำอะไรที่ผิดกฎหมายก็คงไม่ทำอย่างเปิดเผยอยู่แล้ว
จะทำอะไรที่ล่อแหลมหน่อย ก็ให้สมาชิกลาออกก่อนจะไปทำ
ยกเว้นเรื่องเดียว
นั่นคือการกระทำที่ไม่กระทบความมั่นคง แต่อาจฝ่าฝืนประกาศ ๒ ฉบับนี้ เพื่อตอกย้ำความไม่เป็นประชาธิปไตยของการเมืองในปัจจุบัน
การคงประกาศไว้ จึงกลายเป็นเรื่องปวดหัวสำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลมากกว่า โดยเฉพาะกกต. ซึ่งกำลังต้องสอบสวนและตัดสินใจ กรณีการลงพื้นที่ของรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
ผมจึงได้ย้ำมาตลอดว่า การรักษาความมั่นคงอย่างมีประสิทธิภาพคือ การบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ตามปกติมากกว่า
แต่ในขณะที่ประโยชน์ของประกาศ ๒ ฉบับไม่ปรากฏชัด ผลเสียจากการคงประกาศฯไว้ก็เห็นได้มากขึ้นๆ
เช่น การเลือกตั้งท้องถิ่นทั้งหลายที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เป็นการเลือกตั้งที่ประชาชนไปลงคะแนนน้อย เพราะพรรคการเมืองและนักการเมืองแทบไม่สามารถให้ข้อมูลแก่ประชาชนได้เลย เนื่องจาก กกต. ไปออกประกาศ ห้ามสมาชิกพรรคการเมือง (ซึ่งมีอยู่กว่า ๒๐ ล้านคน) เข้าไปเกี่ยวข้องกับการหาเสียง ใครอยากหาเสียง ก็ต้องลาออกจากพรรคการเมือง ยิ่งทำให้การเมือง การเลือกตั้ง เป็นเรื่องของการซื้อเสียงและการใช้ระบบอุปถัมภ์ ขณะที่พรรคการเมืองอ่อนแอลง ไม่สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ
ยิ่งไปกว่านั้น หน้าที่ของพรรคการเมืองไม่ได้มีเฉพาะในช่วงการเลือกตั้ง หากจะเลือกตั้งกันปลายปีนี้ พรรคการเมืองที่ดี ควรทำกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับนโยบายหลักๆของประเทศได้แล้ว
จะคลี่คลายสถานการณ์ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร
จะฟื้นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจอย่างไร
ไม่นับการเข้าไปดูแล ช่วยเหลือเวลาประชาชนประสบภัยพิบัติ หรือภัยธรรมชาติ
มีความคิดความเข้าใจว่า หากอยากจะทำสิ่งเหล่านี้ ก็ให้ขออนุญาต คมช. แต่ข้อเท็จจริงคือทำไม่ได้
ประกาศของ คปค. เป็นกฎหมาย แม้แต่คมช. ก็ไม่มีอำนาจที่จะอนุญาตให้ใครทำผิดกฎหมาย มีเพียงคณะรัฐมนตรี (ครม.) เท่านั้น ที่จะออกมติตามประกาศฉบับที่ ๒๗ ที่จะสามารถยกเลิก หรือ แก้ไขประกาศ ซึ่งผมเห็นว่า ถึงเวลาที่ ครม.จะพิจารณาเรื่องนี้ได้แล้ว
ว่ากันว่าที่จะต้องคงประกาศฯไว้ถึงเดือนกันยายน ก็ เพราะต้องรอให้ ๒ เหตุการณ์ผ่านพ้นไปก่อน คือ เรื่องคดียุบพรรค กับการลงประชามติ
สำหรับเรื่องคดียุบพรรคนั้น ก็เหลือการสืบพยานอีก ๒ สัปดาห์ ที่ผ่านมาทุกอย่างก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ต่อสู้คดีกันไปตามกระบวนการ ที่ล้ำเส้นไปหน่อย ก็มีแต่การให้สัมภาษณ์ของโฆษกอัยการสูงสุด ซึ่งศาลก็ตักเตือนไปแล้ว
หากใครคิดจะไปชุมนุมกดดันศาลก่อนตัดสิน ก็มีกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาลอยู่แล้ว
หากศาลตัดสินยุบพรรค แล้วเกิดความวุ่นวาย ความวุ่นวายนั้นก็จะไม่เกี่ยวข้องกับพรรคอยู่ดี เพราะพรรคถูกยุบไปแล้ว
ในส่วนของประชามตินั้น รัฐบาล และ คมช. ก็ไม่ควรเกรงกลัวบทบาทของพรรคการเมือง
ความคิดที่จะให้มีการจัดทำประชามติก็เพื่อต้องการสร้างความชอบธรรมให้รัฐธรรมนูญหลังรัฐประหาร แต่การประชามติจะมีความหมาย เป็นที่ยอมรับ ก็ต่อเมื่อ การประชามตินั้นเกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศของสิทธิเสรีภาพ และประชาชนผู้ลงคะแนนได้ข้อมูลทุกด้าน รวมทั้งทราบทางเลือกเกี่ยวกับเรื่องที่ทำประชามติอย่างชัดเจน
การประชามติในโลกประชาธิปไตย จึงต้องทำขึ้นโดยเปิดโอกาสทุกกลุ่ม รวมทั้งพรรคการเมืองเคลื่อนไหว หากตั้งเป้าว่า การประชามติต้องให้ประชาชน “เห็นชอบ” เท่านั้น ก็ไม่ต้องทำประชามติให้สิ้นเปลืองงบประมาณ
คมช.และรัฐบาลอย่าดูถูกประชาชนว่า จะถูกพรรคการเมืองครอบงำ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ประชาชนเป็นผู้เรียกร้องกดดันให้พรรคการเมืองรับรัฐธรรมนูญในสภา ไม่ใช่พรรคการเมืองชี้นำประชาชน
หากรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ดี เป็นประชาธิปไตย ต่อให้พรรคการเมืองรุมค้านก็มีสิทธิผ่านได้ แต่หากไม่ดี ไม่เป็นประชาธิปไตย ถึงคงประกาศทั้ง ๒ ฉบับไว้ รัฐธรรมนูญก็คงจะไม่ผ่าน
ที่สำคัญ หากประชาชนคว่ำรัฐธรรมนูญของ สสร. อำนาจก็กลับไปอยู่ในมือของ คมช. และรัฐบาลอย่างเต็มที่
การดูแลให้การประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงอยู่ที่การตรากฎหมายเกี่ยวกับการประชามติ เหมือนกับที่ต้องมีกฎหมายเลือกตั้ง
วันนี้ จึงมองไม่เห็นเหตุผลที่จะคงประกาศทั้งสองฉบับไว้
อย่างน้อยที่สุด ครม. ควรผ่อนคลายโดยระบุเพียงการห้ามกิจกรรมที่คิดว่าล่อแหลมต่อการทำให้เกิดการเผชิญหน้า
แต่ถ้าคงไว้เช่นในปัจจุบัน พรรคการเมืองที่อยากจะทำกิจกรรมดีๆ ตามหน้าที่ ทั้งในเรื่องนโยบาย การช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาของประชาชน การส่งเสริมประชาธิปไตย ก็ทำอะไรไม่ได้
ขณะที่พรรคการเมืองที่ต้องการสร้างปัญหา ก็ทำทุกอย่างได้ตามต้องการโดยไม่ใช้ชื่อพรรคการเมือง
แถมเราจะได้เห็นกลุ่มการเมืองอาศัยจังหวะนี้ เคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ ทำไม่ได้เพียงอย่างเดียว คือ ตั้งพรรคการเมือง
รัฐบาลและคมช.ต้องการการเมืองอย่างนี้หรือ การเมืองที่ไม่ตรงไปตรงมา การเมืองที่หลบซ่อน การเมืองใต้ดิน นี้ย่อมสวนทางโดยสิ้นเชิงกับคำว่า การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 เม.ย. 2550--จบ--
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑ เมษายน ๑๕๕๐
www.abhisit.org
การประกาศวันเลือกตั้งโดยพลเอกสุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และการตัดสินใจไม่ประกาศภาวะฉุกเฉินตามพรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง และช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในทางการเมืองลงได้ในระดับหนึ่ง ในฐานะที่เคยเสนอให้รัฐบาลยึดหลักประชาธิปไตย และประกาศแผนการคืนอำนาจให้ประชาชน ความชัดเจนที่เป็นผลพวงจากการตัดสินใจครั้งนี้ ทำให้ผมเกิดความสบายใจขึ้น
แต่การประกาศว่าจะมีการยกเลิก ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษตริย์เป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ ๑๕ และ ฉบับที่ ๒๗ ซึ่งห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจการใดๆในทางการเมือง ในเดือนกันยายนนั้น ทำให้ผมยังไม่มั่นใจว่า
นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลมีความเข้าใจและเชื่อมั่นในกระบวนการประชาธิปไตยมากน้อยเพียงไร
ประกาศ ๒ ฉบับนี้ ประกาศไว้เมื่อวันที่ ๒๑ และ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ ในช่วง ๒ สัปดาห์แรกของการรัฐประหาร บรรยากาศในขณะนั้น ยังเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหลังจากการยึดอำนาจ ก็พอเข้าใจได้ว่า ไม่ต้องการให้พรรคการเมืองเคลื่อนไหว
แต่ขณะนี้เวลาผ่านมากว่า ๖ เดือนแล้ว
เหตุการณ์ต่างๆก็พิสูจน์แล้วว่า ประกาศทั้ง ๒ ฉบับ ไม่ได้มีส่วนช่วยในการรักษาความมั่นคงแต่ประการใด
ความวุ่นวายหรือการท้าทายอำนาจรัฐที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ไม่มีการดำเนินการในนามพรรคการเมือง และก็คงจะไม่มีอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการเผาโรงเรียน วางระเบิด ก่อการร้าย หรือ การชุมนุมประท้วงที่มีมากขึ้นทุกวัน
เพราะพรรคการเมืองเกือบทุกพรรคไม่มีความประสงค์ใดๆที่จะไปทำเช่นนั้น อยากเห็นช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนการคืนอำนาจให้ประชาชน เป็นไปโดยรวดเร็ว และราบรื่นที่สุด
ส่วนพรรคที่เชื่อมโยงกับกลุ่มอำนาจเก่า คิดจะทำอะไรที่ผิดกฎหมายก็คงไม่ทำอย่างเปิดเผยอยู่แล้ว
จะทำอะไรที่ล่อแหลมหน่อย ก็ให้สมาชิกลาออกก่อนจะไปทำ
ยกเว้นเรื่องเดียว
นั่นคือการกระทำที่ไม่กระทบความมั่นคง แต่อาจฝ่าฝืนประกาศ ๒ ฉบับนี้ เพื่อตอกย้ำความไม่เป็นประชาธิปไตยของการเมืองในปัจจุบัน
การคงประกาศไว้ จึงกลายเป็นเรื่องปวดหัวสำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลมากกว่า โดยเฉพาะกกต. ซึ่งกำลังต้องสอบสวนและตัดสินใจ กรณีการลงพื้นที่ของรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
ผมจึงได้ย้ำมาตลอดว่า การรักษาความมั่นคงอย่างมีประสิทธิภาพคือ การบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ตามปกติมากกว่า
แต่ในขณะที่ประโยชน์ของประกาศ ๒ ฉบับไม่ปรากฏชัด ผลเสียจากการคงประกาศฯไว้ก็เห็นได้มากขึ้นๆ
เช่น การเลือกตั้งท้องถิ่นทั้งหลายที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เป็นการเลือกตั้งที่ประชาชนไปลงคะแนนน้อย เพราะพรรคการเมืองและนักการเมืองแทบไม่สามารถให้ข้อมูลแก่ประชาชนได้เลย เนื่องจาก กกต. ไปออกประกาศ ห้ามสมาชิกพรรคการเมือง (ซึ่งมีอยู่กว่า ๒๐ ล้านคน) เข้าไปเกี่ยวข้องกับการหาเสียง ใครอยากหาเสียง ก็ต้องลาออกจากพรรคการเมือง ยิ่งทำให้การเมือง การเลือกตั้ง เป็นเรื่องของการซื้อเสียงและการใช้ระบบอุปถัมภ์ ขณะที่พรรคการเมืองอ่อนแอลง ไม่สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ
ยิ่งไปกว่านั้น หน้าที่ของพรรคการเมืองไม่ได้มีเฉพาะในช่วงการเลือกตั้ง หากจะเลือกตั้งกันปลายปีนี้ พรรคการเมืองที่ดี ควรทำกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับนโยบายหลักๆของประเทศได้แล้ว
จะคลี่คลายสถานการณ์ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร
จะฟื้นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจอย่างไร
ไม่นับการเข้าไปดูแล ช่วยเหลือเวลาประชาชนประสบภัยพิบัติ หรือภัยธรรมชาติ
มีความคิดความเข้าใจว่า หากอยากจะทำสิ่งเหล่านี้ ก็ให้ขออนุญาต คมช. แต่ข้อเท็จจริงคือทำไม่ได้
ประกาศของ คปค. เป็นกฎหมาย แม้แต่คมช. ก็ไม่มีอำนาจที่จะอนุญาตให้ใครทำผิดกฎหมาย มีเพียงคณะรัฐมนตรี (ครม.) เท่านั้น ที่จะออกมติตามประกาศฉบับที่ ๒๗ ที่จะสามารถยกเลิก หรือ แก้ไขประกาศ ซึ่งผมเห็นว่า ถึงเวลาที่ ครม.จะพิจารณาเรื่องนี้ได้แล้ว
ว่ากันว่าที่จะต้องคงประกาศฯไว้ถึงเดือนกันยายน ก็ เพราะต้องรอให้ ๒ เหตุการณ์ผ่านพ้นไปก่อน คือ เรื่องคดียุบพรรค กับการลงประชามติ
สำหรับเรื่องคดียุบพรรคนั้น ก็เหลือการสืบพยานอีก ๒ สัปดาห์ ที่ผ่านมาทุกอย่างก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ต่อสู้คดีกันไปตามกระบวนการ ที่ล้ำเส้นไปหน่อย ก็มีแต่การให้สัมภาษณ์ของโฆษกอัยการสูงสุด ซึ่งศาลก็ตักเตือนไปแล้ว
หากใครคิดจะไปชุมนุมกดดันศาลก่อนตัดสิน ก็มีกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาลอยู่แล้ว
หากศาลตัดสินยุบพรรค แล้วเกิดความวุ่นวาย ความวุ่นวายนั้นก็จะไม่เกี่ยวข้องกับพรรคอยู่ดี เพราะพรรคถูกยุบไปแล้ว
ในส่วนของประชามตินั้น รัฐบาล และ คมช. ก็ไม่ควรเกรงกลัวบทบาทของพรรคการเมือง
ความคิดที่จะให้มีการจัดทำประชามติก็เพื่อต้องการสร้างความชอบธรรมให้รัฐธรรมนูญหลังรัฐประหาร แต่การประชามติจะมีความหมาย เป็นที่ยอมรับ ก็ต่อเมื่อ การประชามตินั้นเกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศของสิทธิเสรีภาพ และประชาชนผู้ลงคะแนนได้ข้อมูลทุกด้าน รวมทั้งทราบทางเลือกเกี่ยวกับเรื่องที่ทำประชามติอย่างชัดเจน
การประชามติในโลกประชาธิปไตย จึงต้องทำขึ้นโดยเปิดโอกาสทุกกลุ่ม รวมทั้งพรรคการเมืองเคลื่อนไหว หากตั้งเป้าว่า การประชามติต้องให้ประชาชน “เห็นชอบ” เท่านั้น ก็ไม่ต้องทำประชามติให้สิ้นเปลืองงบประมาณ
คมช.และรัฐบาลอย่าดูถูกประชาชนว่า จะถูกพรรคการเมืองครอบงำ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ประชาชนเป็นผู้เรียกร้องกดดันให้พรรคการเมืองรับรัฐธรรมนูญในสภา ไม่ใช่พรรคการเมืองชี้นำประชาชน
หากรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ดี เป็นประชาธิปไตย ต่อให้พรรคการเมืองรุมค้านก็มีสิทธิผ่านได้ แต่หากไม่ดี ไม่เป็นประชาธิปไตย ถึงคงประกาศทั้ง ๒ ฉบับไว้ รัฐธรรมนูญก็คงจะไม่ผ่าน
ที่สำคัญ หากประชาชนคว่ำรัฐธรรมนูญของ สสร. อำนาจก็กลับไปอยู่ในมือของ คมช. และรัฐบาลอย่างเต็มที่
การดูแลให้การประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงอยู่ที่การตรากฎหมายเกี่ยวกับการประชามติ เหมือนกับที่ต้องมีกฎหมายเลือกตั้ง
วันนี้ จึงมองไม่เห็นเหตุผลที่จะคงประกาศทั้งสองฉบับไว้
อย่างน้อยที่สุด ครม. ควรผ่อนคลายโดยระบุเพียงการห้ามกิจกรรมที่คิดว่าล่อแหลมต่อการทำให้เกิดการเผชิญหน้า
แต่ถ้าคงไว้เช่นในปัจจุบัน พรรคการเมืองที่อยากจะทำกิจกรรมดีๆ ตามหน้าที่ ทั้งในเรื่องนโยบาย การช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาของประชาชน การส่งเสริมประชาธิปไตย ก็ทำอะไรไม่ได้
ขณะที่พรรคการเมืองที่ต้องการสร้างปัญหา ก็ทำทุกอย่างได้ตามต้องการโดยไม่ใช้ชื่อพรรคการเมือง
แถมเราจะได้เห็นกลุ่มการเมืองอาศัยจังหวะนี้ เคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ ทำไม่ได้เพียงอย่างเดียว คือ ตั้งพรรคการเมือง
รัฐบาลและคมช.ต้องการการเมืองอย่างนี้หรือ การเมืองที่ไม่ตรงไปตรงมา การเมืองที่หลบซ่อน การเมืองใต้ดิน นี้ย่อมสวนทางโดยสิ้นเชิงกับคำว่า การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 เม.ย. 2550--จบ--