แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยบูรพา
โรงแรมคอนราด
กรมศุลกากร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ยืนยันอาหารประมง ผลผลิตสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เผยพบกลุ่มผู้ผลิตระดับฟาร์มยังขาดแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ รวมทั้งขาดแรงจูงใจในการพัฒนาเข้าสู่ระบบ เสนอควรช่วยกำหนดราคากุ้งให้นิ่ง
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามงานพัฒนาคุณภาพสินค้าประมงให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) ของศูนย์ประเมินผล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง สุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์
พบว่า กลุ่มบ้านฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง มีการพัฒนาการเลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชัง เพื่อจำหน่ายและบริโภคค่อนข้างมาก ได้แก่ ปลาทับทิม ปลานิล ปลาสวาย และปลาแรด ซึ่งมีการพัฒนาการเลี้ยงอย่างถูกอนามัยไร้สารพิษ จนได้ใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม (GAP : Good Agricultural Practice) จากกรมประมง นอกจากนี้ กลุ่มดังกล่าวยังมีการรวมตัวกันพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง คือ ผลิตเพื่อบริโภค ที่เหลือจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น และร่วมกันจัดการทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อให้อาชีพการเลี้ยงปลาในกระชังมีความยั่งยืน
สำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีความตื่นตัวในการเข้าร่วมโครงการความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) มากขึ้น เพราะเห็นถึงประโยชน์ของการได้รับใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม (GAP) และ COC (Code Of Conduct) โดยผู้บริโภคจะเลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพเท่านั้น แม้แต่ห้องเย็นก็รับซื้อเฉพาะกุ้งจากฟาร์มที่ได้รับใบรับรอง เพราะเกรงจะเกิดปัญหามีสารตกค้าง
ส่วนผู้บริโภคในต่างประเทศ ซึ่งพิถีพิถันในเรื่องการบริโภค ได้ส่งตัวแทนเดินทางมาตรวจสภาพฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งที่จะนำไปแปรรูปเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในวัตถุดิบที่ได้รับว่าเป็นวัตถุดิบที่มีการผลิตอย่างมีมาตรฐานและปลอดสารพิษอย่างแท้จริง นอกจากนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเสนอแนะว่า ถ้าจะให้เกษตรกรมีการเลี้ยงกุ้งอย่างมีคุณภาพและเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยง ควรกำหนดราคากลางมาตรฐานตามขนาดกุ้ง อันจะทำให้เกษตรกรมีเป้าหมายการผลิตที่ชัดเจน
นายมณฑล กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัญหาที่พบจากการติดตามในพื้นที่ดังกล่าว พบว่ากลุ่มผู้ผลิตระดับฟาร์ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟาร์มขนาดเล็ก ขาดแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพและขาดแรงจูงใจในการพัฒนาเข้าสู่ระบบมาตรฐาน โดยเฉพาะสัตว์น้ำจืด เพราะส่วนใหญ่บริโภคในประเทศไม่มีความจำเป็นต้องใช้ใบรับรองมาตรฐาน ประกอบกับราคากุ้งทะเลที่เกษตรกรได้รับยังไม่คงที่ และมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงและค่าเงินบาทแข็งตัว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามงานพัฒนาคุณภาพสินค้าประมงให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) ของศูนย์ประเมินผล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง สุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์
พบว่า กลุ่มบ้านฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง มีการพัฒนาการเลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชัง เพื่อจำหน่ายและบริโภคค่อนข้างมาก ได้แก่ ปลาทับทิม ปลานิล ปลาสวาย และปลาแรด ซึ่งมีการพัฒนาการเลี้ยงอย่างถูกอนามัยไร้สารพิษ จนได้ใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม (GAP : Good Agricultural Practice) จากกรมประมง นอกจากนี้ กลุ่มดังกล่าวยังมีการรวมตัวกันพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง คือ ผลิตเพื่อบริโภค ที่เหลือจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น และร่วมกันจัดการทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อให้อาชีพการเลี้ยงปลาในกระชังมีความยั่งยืน
สำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีความตื่นตัวในการเข้าร่วมโครงการความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) มากขึ้น เพราะเห็นถึงประโยชน์ของการได้รับใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม (GAP) และ COC (Code Of Conduct) โดยผู้บริโภคจะเลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพเท่านั้น แม้แต่ห้องเย็นก็รับซื้อเฉพาะกุ้งจากฟาร์มที่ได้รับใบรับรอง เพราะเกรงจะเกิดปัญหามีสารตกค้าง
ส่วนผู้บริโภคในต่างประเทศ ซึ่งพิถีพิถันในเรื่องการบริโภค ได้ส่งตัวแทนเดินทางมาตรวจสภาพฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งที่จะนำไปแปรรูปเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในวัตถุดิบที่ได้รับว่าเป็นวัตถุดิบที่มีการผลิตอย่างมีมาตรฐานและปลอดสารพิษอย่างแท้จริง นอกจากนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเสนอแนะว่า ถ้าจะให้เกษตรกรมีการเลี้ยงกุ้งอย่างมีคุณภาพและเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยง ควรกำหนดราคากลางมาตรฐานตามขนาดกุ้ง อันจะทำให้เกษตรกรมีเป้าหมายการผลิตที่ชัดเจน
นายมณฑล กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัญหาที่พบจากการติดตามในพื้นที่ดังกล่าว พบว่ากลุ่มผู้ผลิตระดับฟาร์ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟาร์มขนาดเล็ก ขาดแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพและขาดแรงจูงใจในการพัฒนาเข้าสู่ระบบมาตรฐาน โดยเฉพาะสัตว์น้ำจืด เพราะส่วนใหญ่บริโภคในประเทศไม่มีความจำเป็นต้องใช้ใบรับรองมาตรฐาน ประกอบกับราคากุ้งทะเลที่เกษตรกรได้รับยังไม่คงที่ และมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงและค่าเงินบาทแข็งตัว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-