นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนเมษายน 2550 ซึ่งจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 8,811 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.0 ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — เมษายน 2550) ต่ำกว่าประมาณการ 6,925 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.0 แต่ยังสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 16,396 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 ทั้งนี้ ในเดือนนี้ได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ จำนวน 19,422 ล้านบาท สำหรับสาเหตุที่รัฐบาลจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการสรุปได้ ดังนี้
1. เดือนเมษายน 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 88,995 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,811 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.0 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.1) สาเหตุสำคัญมาจาก
ประการแรก การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 10,089 ล้านบาท เนื่องมาจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถนำส่งเงินปันผลในเดือนนี้ได้ทัน จำนวน 8,062 ล้านบาท เนื่องจากมีการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 30 เมษายน 2550 นอกจากนี้ มีรายได้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้านครหลวงอีกจำนวน 4,718 และ 795 ล้านบาท ตามลำดับ เหลื่อมไปเข้าเดือนหน้า
ประการที่สอง กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,593 ล้านบาท เนื่องจากกระทรวงการคลังได้ประกาศลดอัตราภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมเหลือ 0% (มีผลตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550) ทำให้กรมสรรพสามิตไม่มีรายได้ดังกล่าวขณะที่ประมาณการตั้งไว้ 1,553 ล้านบาท ดังนั้น หากไม่นับรวมภาษีโทรคมนาคมแล้ว กรมสรรพสามิตจะจัดเก็บรายได้ได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ตั้งไว้
สำหรับภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1,094 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.1) เนื่องจากในปีนี้ วันสุดท้ายของการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือวันที่ 2 เมษายน 2550 จึงทำให้มีผู้ยื่นชำระภาษีในวันนี้จำนวนมาก นอกจากนี้ยังได้รับรายได้ส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตร (premium) จำนวน 1,250 ล้านบาท จึงทำให้รายได้จากส่วนราชการอื่นสูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้
2. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — เมษายน 2550) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 701,309 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,925 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.4) เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรและการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้เป็นสำคัญ รวมทั้งการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการ 14,239 ล้านบาท (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 17,972 ล้านบาทหรือร้อยละ21.2)
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 508,243 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,145 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.2) สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 9,262 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.0) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าต่ำกว่าที่คาดไว้อย่างต่อเนื่อง ส่วนภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 4,799 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.5) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,535 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.5)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 173,526 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,942 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.7) และหากไม่รวมประมาณการภาษีโทรคมนาคมที่ได้ประกาศลดอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 แล้ว จะเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 8,495 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.1 โดยภาษีที่จัดเก็บส่วนใหญ่สูงกว่าประมาณการและช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ที่สำคัญได้แก่ ภาษีเบียร์ ยาสูบ สุราและน้ำมัน ส่วนภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,835 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.6 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.3)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 52,401ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 836 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.6 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.3) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 760 ล้านบาท
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 51,279 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,594 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.4) เนื่องจากในเดือนเมษายน 2550 รัฐวิสาหกิจบางแห่งไม่สามารถนำส่งรายได้ทันตามเป้าหมายที่คาดไว้ ทั้งนี้ รายได้ที่ขาดหายจะเหลื่อมไปเข้าในเดือนพฤษภาคม 2550
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 49,188 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,465 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 30.9) เนื่องจากได้รับเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตร 8,085 ล้านบาท ในขณะที่รายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมต่ำกว่าประมาณการเนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2550
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ที่ต่ำกว่าเป้าหมาย 6,925 ล้านบาท และจากคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ จะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ
(1.42 ล้านล้านบาท) ประมาณร้อยละ 1.0 - 1.5 ซึ่งการจัดเก็บรายได้ที่คาดว่าจะต่ำกว่าประมาณการนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมฐานะการคลังของรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3545, 3546, 3569
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 37/2550 9 พฤษภาคม 50--
1. เดือนเมษายน 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 88,995 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,811 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.0 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.1) สาเหตุสำคัญมาจาก
ประการแรก การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 10,089 ล้านบาท เนื่องมาจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถนำส่งเงินปันผลในเดือนนี้ได้ทัน จำนวน 8,062 ล้านบาท เนื่องจากมีการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 30 เมษายน 2550 นอกจากนี้ มีรายได้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้านครหลวงอีกจำนวน 4,718 และ 795 ล้านบาท ตามลำดับ เหลื่อมไปเข้าเดือนหน้า
ประการที่สอง กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,593 ล้านบาท เนื่องจากกระทรวงการคลังได้ประกาศลดอัตราภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมเหลือ 0% (มีผลตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550) ทำให้กรมสรรพสามิตไม่มีรายได้ดังกล่าวขณะที่ประมาณการตั้งไว้ 1,553 ล้านบาท ดังนั้น หากไม่นับรวมภาษีโทรคมนาคมแล้ว กรมสรรพสามิตจะจัดเก็บรายได้ได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ตั้งไว้
สำหรับภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1,094 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.1) เนื่องจากในปีนี้ วันสุดท้ายของการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือวันที่ 2 เมษายน 2550 จึงทำให้มีผู้ยื่นชำระภาษีในวันนี้จำนวนมาก นอกจากนี้ยังได้รับรายได้ส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตร (premium) จำนวน 1,250 ล้านบาท จึงทำให้รายได้จากส่วนราชการอื่นสูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้
2. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — เมษายน 2550) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 701,309 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,925 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.4) เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรและการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้เป็นสำคัญ รวมทั้งการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการ 14,239 ล้านบาท (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 17,972 ล้านบาทหรือร้อยละ21.2)
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 508,243 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,145 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.2) สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 9,262 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.0) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าต่ำกว่าที่คาดไว้อย่างต่อเนื่อง ส่วนภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 4,799 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.5) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,535 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.5)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 173,526 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,942 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.7) และหากไม่รวมประมาณการภาษีโทรคมนาคมที่ได้ประกาศลดอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 แล้ว จะเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 8,495 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.1 โดยภาษีที่จัดเก็บส่วนใหญ่สูงกว่าประมาณการและช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ที่สำคัญได้แก่ ภาษีเบียร์ ยาสูบ สุราและน้ำมัน ส่วนภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,835 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.6 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.3)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 52,401ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 836 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.6 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.3) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 760 ล้านบาท
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 51,279 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,594 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.4) เนื่องจากในเดือนเมษายน 2550 รัฐวิสาหกิจบางแห่งไม่สามารถนำส่งรายได้ทันตามเป้าหมายที่คาดไว้ ทั้งนี้ รายได้ที่ขาดหายจะเหลื่อมไปเข้าในเดือนพฤษภาคม 2550
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 49,188 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,465 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 30.9) เนื่องจากได้รับเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตร 8,085 ล้านบาท ในขณะที่รายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมต่ำกว่าประมาณการเนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2550
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ที่ต่ำกว่าเป้าหมาย 6,925 ล้านบาท และจากคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ จะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ
(1.42 ล้านล้านบาท) ประมาณร้อยละ 1.0 - 1.5 ซึ่งการจัดเก็บรายได้ที่คาดว่าจะต่ำกว่าประมาณการนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมฐานะการคลังของรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3545, 3546, 3569
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 37/2550 9 พฤษภาคม 50--