วันนี้(6พ.ค.50) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ จาก พล.อ. สุรยุทธ จุลานนท์ นายกฯ ให้เข้าร่วมประชุมหารือร่วมกันในเรื่องของรัฐธรรมนูญ ในช่วงบ่าย วันอังคาร ที่ 8 พ.ค.นี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จึงได้มอบหมายให้ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ประธานคณะทำงานพิจารณาติดตามการยกร่างรัฐธรรมนูญของคณะสสร. ได้พิจารณาและมีข้อสรุปที่จะให้นายอภิสิทธิ์ จะนำไปประชุมหารือร่วม กับนายกฯ หลายประเด็น กล่าวคือในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้น มีจุดยืนชัดเจนว่าในสภาวะปัจจุบันสภาพปัญหาของประชาชน และประเทศ จะคลี่คลายได้อย่างยั่งยืน ก็ต่อเมื่อสังคมต้องหวนคืนสภาวะปกติ และกลับสู่บรรยากาศท่างการเมืองเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยจะต้องมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเป็นพื้นฐาน
อย่างไรก็ดีตนคิดว่า พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตย์ทรงเป็นประมุข พรรคมีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง โดยนเฉพาะช่วงที่ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างหลากหลายในขณะนี้
จากการหารือของพรรคฯเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่เผยแพร่ในขณะนนี้มีทั้งข้อเด่น และข้อด้อย ในส่วนของข้อเด่น คือ 1.ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิ และเสรีภาพมากขึ้น เช่นสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญด้วยตนเอง สิทธิเสนอร่างกฎหมาย และถอดถอนผู้ดำรงทางการเมืองได้ง่ายขึ้น ประชาชนมีสิทธิลงประชาชมติในเรื่องที่กระทบต่อประชาชนในท้องถิ่น 2.มีการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง เช่น ห้าม ส.ส.ดำรงตำแหน่ง หรือหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
3.มีข้อห้ามไม่ให้นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงสื่อมวลชน มากขึ้น เช่น ห้ามเป็นเจ้าของ หรือถือหุ้น 4.มีการตรวจสอบนักการเมืองมากขึ้น คือ เมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้ว ต้องเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณชน 5.มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมากขึ้น เช่นการทำสัญญาต่างๆที่มีผลกระทบต่อประชาชน อันนี้ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เป็นต้น 6. รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการขจัดการผูกขาดอำนาจ และป้องกันการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมมากขึ้น
ส่วนข้อด้อย คือ 1. เรื่องของมาตรา 68 ที่ระบุให้มีคณะบุคคลคณะหนึ่งมาร่วมประชุมพิจารณาหาทางป้องกัน หรือแก้ปัญหากรณีประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤติ อันนี้ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย เพราะคณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่มีอะไรที่ไปยึดโยงกับประชาชน และพรรคเชื่อว่าเหตุการณ์ใดๆที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ย่อมมีหนทางแก้ไขตามครรลองระบอบประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้และที่สำคัญมาตรา 68 อาจเป็นกลไกลในการสืบทอดอำนาจทางการเมืองอีกช่องทางหนึ่ง
2.มาตรา 261-265 ซึ่งเกี่ยวข้องกับวุฒิสภา พรรคไม่เห็นด้วยในกรณีที่ระบุว่าวุฒิสภามาจากการสรรหา เพราะวุฒิสภามาจากการสรรหาแต่มีอำนาจในการถอดถอนนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตรงนี้พรรคเห็นว่าไม่มีความชอบธรรม และไม่ยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ
พรรคมีความเห็นว่าอำนาจหน้าที่ของวุฒิสมาชิกนั้น ควรมีเพียงกลั่นกรองหรือให้ความเห็นชอบในการดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น
3. มีหลายส่วนในบทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอิสระที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในองค์กรอิสระ ซึ่งได้รับการแต่งสืบเนื่องมาจากรัฐประหาร 19. ก.ย.49 ตรงนี้พรรคเห็นว่าไม่ควรอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระ เหมือนกับองค์กรอิสระในภาวะปกติ เพราะบุคคลเหล่านี้ได้รับการแต่งตั้งสืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร
4.พรรคเห็นว่าไม่ควรมีบทบัญญัติในเรื่องการนิรโทษกรรม เพราะในกฎหมายรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้มีบัญญัติไว้แล้ว ยกเว้นการทำหน้าที่ของคตส. อาจจะมีการออกเป็นพระราชบัญญํติ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นการเฉพาะ แต่ไม่ควรนำไปบรรจุไว้ในกฏหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้คณะทำงานได้มอบหมายให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นำไปเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ในการประชุมในวันอังคารที่จะถึงนี้
อย่างไรก็ตามพรรคประชาธิปัตย์ ยังยืนจุดยืนของพรรค เจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทุกวิถีทาง และพร้อมที่จะแสดงจุดยืนในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 พ.ค. 2550--จบ--
อย่างไรก็ดีตนคิดว่า พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตย์ทรงเป็นประมุข พรรคมีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง โดยนเฉพาะช่วงที่ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างหลากหลายในขณะนี้
จากการหารือของพรรคฯเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่เผยแพร่ในขณะนนี้มีทั้งข้อเด่น และข้อด้อย ในส่วนของข้อเด่น คือ 1.ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิ และเสรีภาพมากขึ้น เช่นสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญด้วยตนเอง สิทธิเสนอร่างกฎหมาย และถอดถอนผู้ดำรงทางการเมืองได้ง่ายขึ้น ประชาชนมีสิทธิลงประชาชมติในเรื่องที่กระทบต่อประชาชนในท้องถิ่น 2.มีการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง เช่น ห้าม ส.ส.ดำรงตำแหน่ง หรือหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
3.มีข้อห้ามไม่ให้นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงสื่อมวลชน มากขึ้น เช่น ห้ามเป็นเจ้าของ หรือถือหุ้น 4.มีการตรวจสอบนักการเมืองมากขึ้น คือ เมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้ว ต้องเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณชน 5.มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมากขึ้น เช่นการทำสัญญาต่างๆที่มีผลกระทบต่อประชาชน อันนี้ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เป็นต้น 6. รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการขจัดการผูกขาดอำนาจ และป้องกันการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมมากขึ้น
ส่วนข้อด้อย คือ 1. เรื่องของมาตรา 68 ที่ระบุให้มีคณะบุคคลคณะหนึ่งมาร่วมประชุมพิจารณาหาทางป้องกัน หรือแก้ปัญหากรณีประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤติ อันนี้ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย เพราะคณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่มีอะไรที่ไปยึดโยงกับประชาชน และพรรคเชื่อว่าเหตุการณ์ใดๆที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ย่อมมีหนทางแก้ไขตามครรลองระบอบประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้และที่สำคัญมาตรา 68 อาจเป็นกลไกลในการสืบทอดอำนาจทางการเมืองอีกช่องทางหนึ่ง
2.มาตรา 261-265 ซึ่งเกี่ยวข้องกับวุฒิสภา พรรคไม่เห็นด้วยในกรณีที่ระบุว่าวุฒิสภามาจากการสรรหา เพราะวุฒิสภามาจากการสรรหาแต่มีอำนาจในการถอดถอนนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตรงนี้พรรคเห็นว่าไม่มีความชอบธรรม และไม่ยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ
พรรคมีความเห็นว่าอำนาจหน้าที่ของวุฒิสมาชิกนั้น ควรมีเพียงกลั่นกรองหรือให้ความเห็นชอบในการดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น
3. มีหลายส่วนในบทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอิสระที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในองค์กรอิสระ ซึ่งได้รับการแต่งสืบเนื่องมาจากรัฐประหาร 19. ก.ย.49 ตรงนี้พรรคเห็นว่าไม่ควรอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระ เหมือนกับองค์กรอิสระในภาวะปกติ เพราะบุคคลเหล่านี้ได้รับการแต่งตั้งสืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร
4.พรรคเห็นว่าไม่ควรมีบทบัญญัติในเรื่องการนิรโทษกรรม เพราะในกฎหมายรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้มีบัญญัติไว้แล้ว ยกเว้นการทำหน้าที่ของคตส. อาจจะมีการออกเป็นพระราชบัญญํติ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นการเฉพาะ แต่ไม่ควรนำไปบรรจุไว้ในกฏหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้คณะทำงานได้มอบหมายให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นำไปเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ในการประชุมในวันอังคารที่จะถึงนี้
อย่างไรก็ตามพรรคประชาธิปัตย์ ยังยืนจุดยืนของพรรค เจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทุกวิถีทาง และพร้อมที่จะแสดงจุดยืนในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 พ.ค. 2550--จบ--