ด้านอุปสงค์ การใช้จ่ายภาคเอกชน ยังคงเข้มแข็งในไตรมาสที่ 2/2549 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ซึ่งเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายในหมวดอาการซึ่งเพิ่มสัดส่วนสูงขึ้นในค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายอื่นของภาคครัวเรือน และการบริโภคยาสูบ มียอดจำหน่ายสูงขึ้น ขณะที่ ค่าใช้จ่ายเพื่อการคมนาคมขนส่งและการสื่อสารลดลงเล็กน้อย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 13.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีสัดส่วนร้อยละ 14.2 การใช้จ่ายภาครัฐบาลในไตรมาสที่ 2/2549 เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่ลดลงร้อยละ 0.4 ขณะที่การลงทุนยังคงอ่อนแอ โดยการลงทุนในด้านการก่อสร้างและสินค้าคงทนลดลง และทำให้การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ลดลงตามไปด้วย ส่วนการค้าระหว่างประเทศของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 2/2549 มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มในส่วนของการนำเข้เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ และพลาสติก ขณะที่การนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราเร่ง โดยในเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 16.5 จากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 7.7 ในเดือนมิถุนายน ดัชนีอื่นๆด้านอุปสงค์ เช่น ดัชนีความเชื่อมมั่นของผู้บริโภคขยายตัวในไตรมาสที่ 3 และมีแนวโน้มที่ดีในช่วงไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ ยอดการจำหน่ายรถยนต์ และราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับทิศทางของความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ยังมีแนวโน้มเป็นบวก
ทางด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ระดับ 80.2 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งสองในสามของผู้ตอบแบบสอบถามมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 70 — 89 ขณะที่อีกส่วนมีอัตราการใช้กำลังการผลิตต่ำกว่าร้อยละ 70 ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 3.0 ในเดือนกรกฎาคม ส่วนยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเดือนเดียวกัน ขยายตัวร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ลดลงร้อยละ 4.9 เนื่องจากการลดการผลิตลง และเกิดภัยธรรมชาติ ทางด้านยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนกรกฎาคม ลดลงเช่นกัน
ทางด้านอุปทาน ผลผลิตภาคเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 6.7 โดยเฉพาะกล้วย และประมง เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลหลายประเภท ทางด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมเติบโตขึ้นเล็กน้อย โดยมีอัตราการเติบโตร้อยละ 4.5 โดยเฉพาะการผลิตปิโตรเลียมและถ่านหิน การผลิตอาหาร การผลิตเหล็กพื้นฐาน การผลิตสิ่งพิมพ์และการพิมพ์ การผลิตสิ่งทอ ยังคงขยายตัวได้ดี
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ทางด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ระดับ 80.2 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งสองในสามของผู้ตอบแบบสอบถามมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 70 — 89 ขณะที่อีกส่วนมีอัตราการใช้กำลังการผลิตต่ำกว่าร้อยละ 70 ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 3.0 ในเดือนกรกฎาคม ส่วนยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเดือนเดียวกัน ขยายตัวร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ลดลงร้อยละ 4.9 เนื่องจากการลดการผลิตลง และเกิดภัยธรรมชาติ ทางด้านยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนกรกฎาคม ลดลงเช่นกัน
ทางด้านอุปทาน ผลผลิตภาคเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 6.7 โดยเฉพาะกล้วย และประมง เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลหลายประเภท ทางด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมเติบโตขึ้นเล็กน้อย โดยมีอัตราการเติบโตร้อยละ 4.5 โดยเฉพาะการผลิตปิโตรเลียมและถ่านหิน การผลิตอาหาร การผลิตเหล็กพื้นฐาน การผลิตสิ่งพิมพ์และการพิมพ์ การผลิตสิ่งทอ ยังคงขยายตัวได้ดี
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-