แท็ก
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา
สุขภัณฑ์กะรัต
กรมราชทัณฑ์
บางจาก
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นชอบอนุมัติงบประมาณ กว่า 149 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างสินค้า ทั้งโคเนื้อ ชา ปาล์มน้ำมัน หวังลดปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ พร้อมมอบหมายสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นผู้ติดตาม ประเมินผล และรายงานให้ทราบอย่างต่อเนื่อง มั่นใจจะทำให้การใช้เงินของกองทุนปรับโครงสร้างฯ มีประสิทธิภาพต่อไป
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยหลังจาก นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมาว่า ทางคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ได้อนุมัติเงินจำนวน 148.79 ล้านบาท เพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างสินค้าโคเนื้อ ชา และปาล์มน้ำมัน
ซึ่งจากการที่ประเทศไทยได้จัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี FTA และ AFTA ทำให้ต้องทยอยลดภาษีเป็น 0 ภายใน 3 — 15 ปี โดยสินค้าโคเนื้อ ชา และปาล์น้ำมัน เป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อลดปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การปรับโครงสร้างสินค้าโคเนื้อจะช่วยให้ประเทศไทยมีโคเนื้อที่มีพันธุกรรมดีขึ้นอย่างน้อย 60,000 ตัว ใน 5 ปี และ 270,000 ตัว ใน 10 ปี
ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคพันธุ์มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายพ่อพันธุ์ประมาณ 120 ล้านบาท ในเวลา 5 ปี มีการผลิตน้ำเชื้อจาก พ่อพันธุ์ที่มีพันธุกรรมยอดเยี่ยม 155,000 โด๊ส ผลิตลูกโคพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น 77,500 ตัว ในเวลา 5 ปี มีตลาดกลางได้มาตรฐานซื้อขายโคเป็นระบบปีละไม่น้อยกว่า 2,400 ตัว มีการฝึกอบรมและถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ มีความรู้เรื่องการเลี้ยง การผสมเทียม และความปลอดภัยของเนื้อโค รวมทั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับไม่น้อยกว่า 1,500 คน
นอกจากนี้ กองทุนฯ ยังสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำศูนย์กระจายสินค้าเนื้อโคขุนคุณภาพดีสู่ตลาดเนื้อชั้นสูงในพื้นที่ที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อ ทดแทนการนำเข้า 2 จุด ได้แก่ บริเวณตลาด อ.ต.ก. กรุงเทพฯ และเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ทำให้สหกรณ์โคเนื้อสามารถเพิ่มยอดจำหน่ายโคเนื้อจากเดิม 1,560 ตัว เป็น 3,000 ตัว ยอดขายเพิ่มขึ้นจาก 70.2 ล้านบาท เป็น 135 ล้านบาท
ด้านการปรับโครงสร้างสินค้าชา เป็นการดำเนินการอย่างครบวงจร โดยกองทุนฯ สนับสนุนจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การผลิตชาคุณภาพ และการจัดซื้อเครื่องจักร รวมทั้งอุปกรณ์แปรรูปชา ช่วยเพิ่มมูลค่าและราคาที่เกษตรกรขายได้ของชาในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชาที่สำคัญของประเทศ ทำให้ราคาชาอัสสัมแห้งจากกิโลกรัมละ 80 บาท เป็น 120 — 150 บาท ชาจีนอู่หลงอบแห้งจากกิโลกรัมละ 400 - 500 บาท เป็น 1,000 — 1,500 บาท
สำหรับการปรับโครงสร้างสินค้าปาล์มน้ำมัน กองทุนฯ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเกษตรกร เนื่องจากเป็นเงื่อนไขที่กำหนดให้เกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันต้องผ่านการฝึกอบรมก่อนขอสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะช่วยพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้เรื่องการผลิตปาล์มน้ำมันไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพิ่มผลผลิตเฉลี่ยจาก 2.6 ตัน / ไร่ เป็น 3 ตัน / ไร่ ลดต้นทุนการผลิตจาก 1,646 บาท / ตัน เป็น 1,500 บาท / ตัน เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5,000 บาท / ไร่ และยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความต้องการผลผลิตปาล์มน้ำมันที่จะตามมาจากการกำหนดให้ใช้ B100 ผสมในน้ำมันดีเซลทั่วประเทศในอัตราร้อยละ 2 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกโครงการที่อนุมัติไปแล้วนั้นมีการติดตาม ประเมินผล โดยทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตลอดระยะเวลา และจะจต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานให้ทางคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทราบทุกปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ มีการใช้เงินกองทุนฯ อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยหลังจาก นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมาว่า ทางคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ได้อนุมัติเงินจำนวน 148.79 ล้านบาท เพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างสินค้าโคเนื้อ ชา และปาล์มน้ำมัน
ซึ่งจากการที่ประเทศไทยได้จัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี FTA และ AFTA ทำให้ต้องทยอยลดภาษีเป็น 0 ภายใน 3 — 15 ปี โดยสินค้าโคเนื้อ ชา และปาล์น้ำมัน เป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อลดปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การปรับโครงสร้างสินค้าโคเนื้อจะช่วยให้ประเทศไทยมีโคเนื้อที่มีพันธุกรรมดีขึ้นอย่างน้อย 60,000 ตัว ใน 5 ปี และ 270,000 ตัว ใน 10 ปี
ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคพันธุ์มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายพ่อพันธุ์ประมาณ 120 ล้านบาท ในเวลา 5 ปี มีการผลิตน้ำเชื้อจาก พ่อพันธุ์ที่มีพันธุกรรมยอดเยี่ยม 155,000 โด๊ส ผลิตลูกโคพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น 77,500 ตัว ในเวลา 5 ปี มีตลาดกลางได้มาตรฐานซื้อขายโคเป็นระบบปีละไม่น้อยกว่า 2,400 ตัว มีการฝึกอบรมและถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ มีความรู้เรื่องการเลี้ยง การผสมเทียม และความปลอดภัยของเนื้อโค รวมทั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับไม่น้อยกว่า 1,500 คน
นอกจากนี้ กองทุนฯ ยังสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำศูนย์กระจายสินค้าเนื้อโคขุนคุณภาพดีสู่ตลาดเนื้อชั้นสูงในพื้นที่ที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อ ทดแทนการนำเข้า 2 จุด ได้แก่ บริเวณตลาด อ.ต.ก. กรุงเทพฯ และเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ทำให้สหกรณ์โคเนื้อสามารถเพิ่มยอดจำหน่ายโคเนื้อจากเดิม 1,560 ตัว เป็น 3,000 ตัว ยอดขายเพิ่มขึ้นจาก 70.2 ล้านบาท เป็น 135 ล้านบาท
ด้านการปรับโครงสร้างสินค้าชา เป็นการดำเนินการอย่างครบวงจร โดยกองทุนฯ สนับสนุนจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การผลิตชาคุณภาพ และการจัดซื้อเครื่องจักร รวมทั้งอุปกรณ์แปรรูปชา ช่วยเพิ่มมูลค่าและราคาที่เกษตรกรขายได้ของชาในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชาที่สำคัญของประเทศ ทำให้ราคาชาอัสสัมแห้งจากกิโลกรัมละ 80 บาท เป็น 120 — 150 บาท ชาจีนอู่หลงอบแห้งจากกิโลกรัมละ 400 - 500 บาท เป็น 1,000 — 1,500 บาท
สำหรับการปรับโครงสร้างสินค้าปาล์มน้ำมัน กองทุนฯ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเกษตรกร เนื่องจากเป็นเงื่อนไขที่กำหนดให้เกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันต้องผ่านการฝึกอบรมก่อนขอสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะช่วยพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้เรื่องการผลิตปาล์มน้ำมันไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพิ่มผลผลิตเฉลี่ยจาก 2.6 ตัน / ไร่ เป็น 3 ตัน / ไร่ ลดต้นทุนการผลิตจาก 1,646 บาท / ตัน เป็น 1,500 บาท / ตัน เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5,000 บาท / ไร่ และยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความต้องการผลผลิตปาล์มน้ำมันที่จะตามมาจากการกำหนดให้ใช้ B100 ผสมในน้ำมันดีเซลทั่วประเทศในอัตราร้อยละ 2 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกโครงการที่อนุมัติไปแล้วนั้นมีการติดตาม ประเมินผล โดยทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตลอดระยะเวลา และจะจต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานให้ทางคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทราบทุกปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ มีการใช้เงินกองทุนฯ อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-