ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. กำลังพิจารณากรณีกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่ได้จ่ายชดเชยความเสียหายให้ ธ.ไทยธนาคาร นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.
ในฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวถึงกรณีที่กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่พิจารณาจ่ายชดเชยรายการที่เกี่ยวข้องกับสัญญาบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้กับ
ธ.ไทยธนาคารว่า ขณะนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะสามารถดำเนินการอะไรเพิ่มเติมในการจ่ายเงินชดเชยให้กับ ธ.ไทยธนาคารได้บ้าง
หรือไม่ เนื่องจากหากพิจารณาในแง่เจตนารมณ์แล้วถือว่าเป็นความเสียหายที่กองทุนฟื้นฟูฯ ควรจะชดเชยให้ แต่การที่กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่ได้จ่ายชดเชย
ให้ก่อนหน้านี้เนื่องจากหากพิจารณาตามตัวหนังสือที่ระบุไว้ในมติ ครม. เกี่ยวกับการพิจารณาจ่ายชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพดังกล่าวกองทุนฟื้นฟูฯ
ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายให้ ซึ่งต้องพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่งว่าจะมีทางทำอะไรได้หรือไม่ ต้องหาทางออกให้เพราะก็เป็นความเสียหายที่ส่วนหนึ่งควร
ชดเชยถ้ามองในแง่ของ spirit แต่ถ้าตาม wording ก็ไปไม่ถึงว่าต้องจ่าย (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
2. ก.คลังอนุมัติ บค.ไทยเคหะขึ้นเป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า
ได้ลงนามอนุมัติให้ บค.ไทยเคหะ ยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย รวมทั้งได้ส่งหนังสือตอบกลับไปให้ ธปท. เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ช่วงก่อนวันที่
25 ธ.ค.49 โดยยืนยันว่าเหตุที่ ก.คลังอนุมัติให้ บค.ไทยเคหะผ่านเกณฑ์คุณสมบัตินั้นมาจากที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้ง
ธ.พาณิชย์ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ตรวจสอบแล้วมีข้อสรุปชัดเจนว่า บค.ไทยเคหะไม่มีความเกี่ยวข้องกับความผิดกรณีการทุจริตใน
บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ก.คลังได้อนุมัติให้ บค.ไทยเคหะ ยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยเพิ่มอีกแห่งในปีนี้จากที่ก่อนหน้านี้
ได้อนุมัติให้ บง. เอไอจี ไฟแนนซ์ (ประเทศไทย) ยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยมาแล้ว (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังเสนอ ครม. ต่ออายุลดภาษีให้บริษัทจดทะเบียนรายใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีก 1 ปี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง
นรม. และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังเตรียมเสนอต่ออายุมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัทจดทะเบียนรายใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
จากเดิมสิ้นสุดปี 49 เป็นปี 50 ให้ ครม. พิจารณา เพื่อเป็นการจูงใจให้บริษัทเข้ามาจดทะเบียนเพิ่มขึ้น โดยบริษัทจดทะเบียนรายใดที่เข้าจด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (เอ็มเอไอ) ภายในปี 50 จะได้รับสิทธิในการลดหย่อนภาษีไป 3 ปี หรือ 3 รอบบัญชี
โดยจะลดภาษีนิติบุคคลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลงเหลือร้อยละ 25 จากร้อยละ 30 และตลาดเอ็มเอไอเหลือร้อยละ 20 จากร้อยละ
25 อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขยายเวลาดังกล่าวจะขยายไปอีกเพียงปีเดียวเท่านั้น และจะยกเลิกและมีการปรับปรุงมาตรการจากเดิมที่เคย
ลดหย่อนภาษีให้เป็นระยะเวลา 5 ปี หรือ 5 รอบบัญชี เป็นเพียง 3 ปี หรือ 3 รอบบัญชีเท่านั้น เพราะเห็นว่าความจริงมาตรการนี้สมควรที่จะ
ยกเลิกอยู่แล้ว แต่การต่ออายุเป็นการทำเพื่อจูงใจเพิ่มเติมเท่านั้น (มติชน, ไทยรัฐ)
4. มูดี้ส์ชี้เหตุระเบิดในกรุงเทพฯ ไม่กระทบอันดับเรทติ้งไทย มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง
ประเทศ ระบุว่าอันดับความน่าเชื่อถือของไทยไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุลอบวางระเบิดในช่วงปีใหม่ที่กรุงเทพฯ และแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือ
ของไทยยังคงมีเสถียรภาพ แต่จะมีความวิตกมากขึ้นหากพิสูจน์ได้ว่าเหตุลอบวางระเบิดดังกล่าวเป็นการทวีความรุนแรงขึ้นของการก่อความไม่สงบของ
กลุ่มแบ่งแยกดินแดน หรือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการเริ่มต้นของการตอบโต้ด้วยความรุนแรงจากการก่อรัฐประหารในเดือน ก.ย.49 ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้
มูดี้ส์ระบุว่าหากเกิดสถานการณ์รุนแรงต่อเนื่องนอก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเป็นปัจจัยลบต่อความน่าเชื่อถือของไทย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 50
ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่า ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ธ.ค. มีจำนวน 329,000 คนเพิ่มขึ้น 10,000 คน
จากจำนวน 319,000 คนเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) มากกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์จากวอลล์สตรีทที่คาดว่าจะมีจำนวน 318,000 คน ทั้งนี้นาย David Wyss หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor กล่าวว่า ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกดังกล่าวไม่น่าวิตกเนื่องจากการขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องซึ่งมีผลต่ออัตราการว่างงานลดลงเป็นจำนวนมาก จึงส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของเดือน ธ.ค. น่าจะเพิ่มขึ้น 100,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.5 (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 4 ม.ค.50
Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปประมาณการเบื้องต้นว่าอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 จะคงที่อยู่ที่ร้อยละ
1.9 ต่อปีเท่ากับเดือน พ.ย.49 นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ
3.50 ในเดือน มี.ค.50 หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 6 ครั้งนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากการขึ้นอัตราค่าจ้างใน
Euro zone และการขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 ในเยอรมนี นอกจากนี้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจในเดือน พ.ย.49
ยังขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 16 ปี ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจของ Euro zone ในปี 50 จะชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อยจากปี 49 ซึ่งคาดว่าจะ
ขยายตัวถึงร้อยละ 2.6 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ปี 43 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีภาคบริการของอังกฤษในเดือน ธ.ค.49 ขยายตัวสูงสุดในรอบเกือบทศวรรษที่ระดับ 60.6 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
4 ม.ค.50 The Chartered Institute of Purchasing and Supply/Royal Bank of Scotland เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของ
อังกฤษในเดือน ธ.ค.49 ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบเกือบทศวรรษที่ผ่านมา (ตั้งแต่เดือน ม.ค.40) โดยเพิ่มขึ้นถึงระดับ 60.6 และเพิ่มขึ้นจาก
ระดับ 59.8 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 59.5 เนื่องจากภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะ
เศรษฐกิจในอนาคตมากขึ้น ประกอบกับมีการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยดัชนีการจ้างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 9 ปีที่ระดับ 56.0 ทั้งนี้
ตัวเลขดังกล่าวสนับสนุนการคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในการประชุมเดือน
ก.พ.ที่จะถึงนี้ ซึ่งครั้งล่าสุด ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 เมื่อเดือน พ.ย.49 อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการ
กู้ยืมที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ดัชนีความคาดหวังของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นจากระดับ 74.3 มาอยู่ที่ระดับ 79.1 อันเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี
(รอยเตอร์)
4. PMI ของสิงคโปร์ขยายตัวชะลอลงในเดือน ธ.ค.49 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 4 ม.ค.49
The Singapore Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยผลการสำรวจ Purchasing Managers’ Index
(PMI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์ ในเดือน ธ.ค.49 ว่าอยู่ที่ระดับ 53.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งขยายตัวสูงสุด
ในรอบกว่า 2 ปีที่ระดับ 54.6 แต่ดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งยังคงสะท้อนภาพการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์ ทั้งนี้ PMI ที่ขยายตัวชะลอ
ลง มีสาเหตุหลักจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวลดลงที่ระดับ 55.4 จากระดับ 56.3 ในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวชะลอลงที่ระดับ 56.6 จากระดับ 60.8 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 56 จากระดับ
55.7 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมลดลงที่ระดับ 53.7 จากระดับ 57.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม
บรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดหมายว่าคำสั่งซื้อสินค้าเพื่อการส่งออกในช่วงเดือนหน้าจะช่วยให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของสิงคโปร์ปรับตัวดี
ขึ้นได้ อนึ่ง อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขยายตัวสูงสุดในรอบปี สาเหตุจากการขยายตัวของผลผลิต
อุตสาหกรรม แต่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปี 49 ว่าอาจชะลอลงเนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จาก
สรอ.ลดลง ซึ่งภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นภาคที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของสิงคโปร์ เนื่องจากมีสัดส่วนเป็นกว่า 1 ใน 3 ของ
ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม และมีสัดส่วนเป็นเกือบครึ่งของยอดการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ม.ค. 50 4 ม.ค. 50 31 ม.ค. 49 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.967 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.7419/36.1104 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.125 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.22/12.91 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,650/10,750 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 51.07 53.8 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 23 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.49*/23.34** 26.49*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. กำลังพิจารณากรณีกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่ได้จ่ายชดเชยความเสียหายให้ ธ.ไทยธนาคาร นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.
ในฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวถึงกรณีที่กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่พิจารณาจ่ายชดเชยรายการที่เกี่ยวข้องกับสัญญาบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้กับ
ธ.ไทยธนาคารว่า ขณะนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะสามารถดำเนินการอะไรเพิ่มเติมในการจ่ายเงินชดเชยให้กับ ธ.ไทยธนาคารได้บ้าง
หรือไม่ เนื่องจากหากพิจารณาในแง่เจตนารมณ์แล้วถือว่าเป็นความเสียหายที่กองทุนฟื้นฟูฯ ควรจะชดเชยให้ แต่การที่กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่ได้จ่ายชดเชย
ให้ก่อนหน้านี้เนื่องจากหากพิจารณาตามตัวหนังสือที่ระบุไว้ในมติ ครม. เกี่ยวกับการพิจารณาจ่ายชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพดังกล่าวกองทุนฟื้นฟูฯ
ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายให้ ซึ่งต้องพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่งว่าจะมีทางทำอะไรได้หรือไม่ ต้องหาทางออกให้เพราะก็เป็นความเสียหายที่ส่วนหนึ่งควร
ชดเชยถ้ามองในแง่ของ spirit แต่ถ้าตาม wording ก็ไปไม่ถึงว่าต้องจ่าย (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
2. ก.คลังอนุมัติ บค.ไทยเคหะขึ้นเป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า
ได้ลงนามอนุมัติให้ บค.ไทยเคหะ ยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย รวมทั้งได้ส่งหนังสือตอบกลับไปให้ ธปท. เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ช่วงก่อนวันที่
25 ธ.ค.49 โดยยืนยันว่าเหตุที่ ก.คลังอนุมัติให้ บค.ไทยเคหะผ่านเกณฑ์คุณสมบัตินั้นมาจากที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้ง
ธ.พาณิชย์ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้ตรวจสอบแล้วมีข้อสรุปชัดเจนว่า บค.ไทยเคหะไม่มีความเกี่ยวข้องกับความผิดกรณีการทุจริตใน
บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ก.คลังได้อนุมัติให้ บค.ไทยเคหะ ยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยเพิ่มอีกแห่งในปีนี้จากที่ก่อนหน้านี้
ได้อนุมัติให้ บง. เอไอจี ไฟแนนซ์ (ประเทศไทย) ยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยมาแล้ว (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังเสนอ ครม. ต่ออายุลดภาษีให้บริษัทจดทะเบียนรายใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีก 1 ปี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง
นรม. และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังเตรียมเสนอต่ออายุมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัทจดทะเบียนรายใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
จากเดิมสิ้นสุดปี 49 เป็นปี 50 ให้ ครม. พิจารณา เพื่อเป็นการจูงใจให้บริษัทเข้ามาจดทะเบียนเพิ่มขึ้น โดยบริษัทจดทะเบียนรายใดที่เข้าจด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (เอ็มเอไอ) ภายในปี 50 จะได้รับสิทธิในการลดหย่อนภาษีไป 3 ปี หรือ 3 รอบบัญชี
โดยจะลดภาษีนิติบุคคลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลงเหลือร้อยละ 25 จากร้อยละ 30 และตลาดเอ็มเอไอเหลือร้อยละ 20 จากร้อยละ
25 อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขยายเวลาดังกล่าวจะขยายไปอีกเพียงปีเดียวเท่านั้น และจะยกเลิกและมีการปรับปรุงมาตรการจากเดิมที่เคย
ลดหย่อนภาษีให้เป็นระยะเวลา 5 ปี หรือ 5 รอบบัญชี เป็นเพียง 3 ปี หรือ 3 รอบบัญชีเท่านั้น เพราะเห็นว่าความจริงมาตรการนี้สมควรที่จะ
ยกเลิกอยู่แล้ว แต่การต่ออายุเป็นการทำเพื่อจูงใจเพิ่มเติมเท่านั้น (มติชน, ไทยรัฐ)
4. มูดี้ส์ชี้เหตุระเบิดในกรุงเทพฯ ไม่กระทบอันดับเรทติ้งไทย มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง
ประเทศ ระบุว่าอันดับความน่าเชื่อถือของไทยไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุลอบวางระเบิดในช่วงปีใหม่ที่กรุงเทพฯ และแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือ
ของไทยยังคงมีเสถียรภาพ แต่จะมีความวิตกมากขึ้นหากพิสูจน์ได้ว่าเหตุลอบวางระเบิดดังกล่าวเป็นการทวีความรุนแรงขึ้นของการก่อความไม่สงบของ
กลุ่มแบ่งแยกดินแดน หรือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการเริ่มต้นของการตอบโต้ด้วยความรุนแรงจากการก่อรัฐประหารในเดือน ก.ย.49 ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้
มูดี้ส์ระบุว่าหากเกิดสถานการณ์รุนแรงต่อเนื่องนอก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเป็นปัจจัยลบต่อความน่าเชื่อถือของไทย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 50
ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่า ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ธ.ค. มีจำนวน 329,000 คนเพิ่มขึ้น 10,000 คน
จากจำนวน 319,000 คนเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) มากกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์จากวอลล์สตรีทที่คาดว่าจะมีจำนวน 318,000 คน ทั้งนี้นาย David Wyss หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor กล่าวว่า ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกดังกล่าวไม่น่าวิตกเนื่องจากการขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องซึ่งมีผลต่ออัตราการว่างงานลดลงเป็นจำนวนมาก จึงส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของเดือน ธ.ค. น่าจะเพิ่มขึ้น 100,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.5 (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 4 ม.ค.50
Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปประมาณการเบื้องต้นว่าอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.49 จะคงที่อยู่ที่ร้อยละ
1.9 ต่อปีเท่ากับเดือน พ.ย.49 นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ
3.50 ในเดือน มี.ค.50 หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 6 ครั้งนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากการขึ้นอัตราค่าจ้างใน
Euro zone และการขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 ในเยอรมนี นอกจากนี้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจในเดือน พ.ย.49
ยังขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 16 ปี ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจของ Euro zone ในปี 50 จะชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อยจากปี 49 ซึ่งคาดว่าจะ
ขยายตัวถึงร้อยละ 2.6 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ปี 43 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีภาคบริการของอังกฤษในเดือน ธ.ค.49 ขยายตัวสูงสุดในรอบเกือบทศวรรษที่ระดับ 60.6 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
4 ม.ค.50 The Chartered Institute of Purchasing and Supply/Royal Bank of Scotland เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของ
อังกฤษในเดือน ธ.ค.49 ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบเกือบทศวรรษที่ผ่านมา (ตั้งแต่เดือน ม.ค.40) โดยเพิ่มขึ้นถึงระดับ 60.6 และเพิ่มขึ้นจาก
ระดับ 59.8 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 59.5 เนื่องจากภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะ
เศรษฐกิจในอนาคตมากขึ้น ประกอบกับมีการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยดัชนีการจ้างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 9 ปีที่ระดับ 56.0 ทั้งนี้
ตัวเลขดังกล่าวสนับสนุนการคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในการประชุมเดือน
ก.พ.ที่จะถึงนี้ ซึ่งครั้งล่าสุด ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 เมื่อเดือน พ.ย.49 อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการ
กู้ยืมที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ดัชนีความคาดหวังของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นจากระดับ 74.3 มาอยู่ที่ระดับ 79.1 อันเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี
(รอยเตอร์)
4. PMI ของสิงคโปร์ขยายตัวชะลอลงในเดือน ธ.ค.49 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 4 ม.ค.49
The Singapore Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยผลการสำรวจ Purchasing Managers’ Index
(PMI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์ ในเดือน ธ.ค.49 ว่าอยู่ที่ระดับ 53.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งขยายตัวสูงสุด
ในรอบกว่า 2 ปีที่ระดับ 54.6 แต่ดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งยังคงสะท้อนภาพการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์ ทั้งนี้ PMI ที่ขยายตัวชะลอ
ลง มีสาเหตุหลักจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวลดลงที่ระดับ 55.4 จากระดับ 56.3 ในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวชะลอลงที่ระดับ 56.6 จากระดับ 60.8 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 56 จากระดับ
55.7 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมลดลงที่ระดับ 53.7 จากระดับ 57.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม
บรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดหมายว่าคำสั่งซื้อสินค้าเพื่อการส่งออกในช่วงเดือนหน้าจะช่วยให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของสิงคโปร์ปรับตัวดี
ขึ้นได้ อนึ่ง อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขยายตัวสูงสุดในรอบปี สาเหตุจากการขยายตัวของผลผลิต
อุตสาหกรรม แต่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปี 49 ว่าอาจชะลอลงเนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จาก
สรอ.ลดลง ซึ่งภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นภาคที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของสิงคโปร์ เนื่องจากมีสัดส่วนเป็นกว่า 1 ใน 3 ของ
ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม และมีสัดส่วนเป็นเกือบครึ่งของยอดการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ม.ค. 50 4 ม.ค. 50 31 ม.ค. 49 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.967 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.7419/36.1104 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.125 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 648.22/12.91 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,650/10,750 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 51.07 53.8 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 23 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.49*/23.34** 26.49*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--