บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงาน
รัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. .... ซึ่งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงาน
รัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒ ทีละฉบับ ตามลำดับ
โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓
ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ. .... เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. .... ซึ่งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนถึงมาตรา ๑๘ คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอถอนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงใหม่ ซึ่งที่ประชุม ยินยอมให้ถอนได้ โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
รองประธาน สภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยตัวแทนออกของ) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
๖. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยตัวแทนออกของ) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง นายอนุรักษ์ จุรีมาศ
และนายเอกพจน์ ปานแย้ม เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๑๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์)
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นายชาติชาย ศุภคติธรรม
๓. นายสุริยา สุขอนันต์ ๔. นายชูชาติ อัศวโรจน์
๕. นางสาวจีรภัทร์ การประเสริฐกิจ ๖. นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์
๗. นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ ๘. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร
๙. นายเรวัต สิรินุกุล ๑๐. นายฉัตรชัย ศิลาพร
๑๑. พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย ๑๒. นายสมชัย เจริญชัยฤทธิ์
๑๓. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ๑๔. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์
๑๕. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๖. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
๑๗. นายฉลาด ขามช่วง ๑๘. นายพิทยา บุญเฉลียว
๑๙. นายเจริญ จรรย์โกมล ๒๐. นายชวลิต มหาจันทร์
๒๑. นายรณฤทธิชัย คานเขต ๒๒. นายธีระชัย แสนแก้ว
๒๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๒๔. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล
๒๕. นายจำนงค์ โพธิสาโร ๒๖. ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
๒๗. นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ ๒๘. นายเจือ ราชสีห์
๒๙. นายเชน เทือกสุบรรณ ๓๐. นายศิริโชค โสภา
๓๑. นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ ๓๒. นายณรงค์ ดูดิง
๓๓. นายประสิทธิ์ ไหมสีเสน ๓๔. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ
๓๕. นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายไชยยศ สะสมทรัพย์)ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ๒. นายทรงกลด อุบลสิงห์
๓. นายพรชัย จุลาณุกะ ๔. นางสาววราภรณ์ พิริยะอารยะกูล
๕. นายสมศักดิ์ พันไพศาล ๖. นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์
๗. นายมานะ คงวุฒิปัญญา ๘. นายสุชาติ ลายน้ำเงิน
๙. นายพศ อดิเรกสาร ๑๐. นายปราโมทย์ วีระพันธ์
๑๑. นายธารา ปิตุเตชะ ๑๒. นางสาวอรุณี ชำนาญยา
๑๓. นายวิทยา ทรงคำ ๑๔. นายเอี่ยม ทองใจสด
๑๕. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ๑๖. นายพงษ์พิช รุ่งเป้า
๑๗. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๑๘. นายไพจิต ศรีวรขาน
๑๙. นางมาลินี อินฉัตร ๒๐. นายทองดี มนิสสาร
๒๑. นายอมรเทพ สมหมาย ๒๒. นายเฉลิมชาติ การุญ
๒๓. นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ ๒๔. นายทวี สุระบาล
๒๕. นายปกิต พัฒนกุล ๒๖. นายสิน กุมภะ
๒๗. นายราชศักดิ์ คล้ายคลึง ๒๘. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
๒๙. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ๓๐. นายศุภชัย ศรีหล้า
๓๑. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๓๒. นายประมวล เอมเปีย
๓๓. นายธนิตพล ไชยนันทน์ ๓๔. นางสาวสุภัตรา วิมลสมบัติ
๓๕. นายปิลันธน์ จิตต์ธรรม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายไพโรจน์ ตันบรรจง ๒. นายดุสิต อุชุพงศ์อมร
๓. นางสาวสุภาภรณ์ ใจอ่อนน้อม ๔. นายนที วิพุธกุล
๕. นางสาวธำรงลักษณ์ ลาพินี ๖. นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์
๗. นางสาวภูวนิดา คุนผลิน ๘. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง
๙. นายชัยวัฒน์ ทรัพย์รวงทอง ๑๐. นายวิทยา บุรณศิริ
๑๑. นายนิยม วรปัญญา ๑๒. นางมยุรา มนะสิการ
๑๓. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ๑๔. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
๑๕. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ๑๖. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
๑๗. นายพิทยา บุญเฉลียว ๑๘. นางสาวรสพิมล จิรเมธากร
๑๙. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๒๐. นายไพจิต ศรีวรขาน
๒๑. นางสาวอรดี สุทธศรี ๒๒. นางมาลินี อินฉัตร
๒๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๒๔. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
๒๕. นายชัยพร ธนถาวรลาภ ๒๖. นายสมาน ภุมมะกาญจนะ
๒๗. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๒๘. รองศาสตราจารย์โกเมศ ขวัญเมือง
๒๙. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ๓๐. นายอิสสระ สมชัย
๓๑. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ๓๒. นายพร้อม พรหมพันธุ์
๓๓. นายอดุลย์ สาฮีบาตู ๓๔. นายเอกพจน์ ปานแย้ม
๓๕. นางสาวปอรรัชม์ ยอดเณร
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๓๒ นาฬิกา
(นายทวี พวงทะวาย)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. ....
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยตัวแทนออกของ) (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
*********************************
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงาน
รัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. .... ซึ่งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงาน
รัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒ ทีละฉบับ ตามลำดับ
โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓
ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ. .... เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. .... ซึ่งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนถึงมาตรา ๑๘ คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอถอนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงใหม่ ซึ่งที่ประชุม ยินยอมให้ถอนได้ โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
รองประธาน สภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยตัวแทนออกของ) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
๖. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยตัวแทนออกของ) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง นายอนุรักษ์ จุรีมาศ
และนายเอกพจน์ ปานแย้ม เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๑๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์)
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นายชาติชาย ศุภคติธรรม
๓. นายสุริยา สุขอนันต์ ๔. นายชูชาติ อัศวโรจน์
๕. นางสาวจีรภัทร์ การประเสริฐกิจ ๖. นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์
๗. นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ ๘. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร
๙. นายเรวัต สิรินุกุล ๑๐. นายฉัตรชัย ศิลาพร
๑๑. พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย ๑๒. นายสมชัย เจริญชัยฤทธิ์
๑๓. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ๑๔. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์
๑๕. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๖. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
๑๗. นายฉลาด ขามช่วง ๑๘. นายพิทยา บุญเฉลียว
๑๙. นายเจริญ จรรย์โกมล ๒๐. นายชวลิต มหาจันทร์
๒๑. นายรณฤทธิชัย คานเขต ๒๒. นายธีระชัย แสนแก้ว
๒๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๒๔. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล
๒๕. นายจำนงค์ โพธิสาโร ๒๖. ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
๒๗. นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ ๒๘. นายเจือ ราชสีห์
๒๙. นายเชน เทือกสุบรรณ ๓๐. นายศิริโชค โสภา
๓๑. นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ ๓๒. นายณรงค์ ดูดิง
๓๓. นายประสิทธิ์ ไหมสีเสน ๓๔. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ
๓๕. นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายไชยยศ สะสมทรัพย์)ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ๒. นายทรงกลด อุบลสิงห์
๓. นายพรชัย จุลาณุกะ ๔. นางสาววราภรณ์ พิริยะอารยะกูล
๕. นายสมศักดิ์ พันไพศาล ๖. นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์
๗. นายมานะ คงวุฒิปัญญา ๘. นายสุชาติ ลายน้ำเงิน
๙. นายพศ อดิเรกสาร ๑๐. นายปราโมทย์ วีระพันธ์
๑๑. นายธารา ปิตุเตชะ ๑๒. นางสาวอรุณี ชำนาญยา
๑๓. นายวิทยา ทรงคำ ๑๔. นายเอี่ยม ทองใจสด
๑๕. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ๑๖. นายพงษ์พิช รุ่งเป้า
๑๗. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๑๘. นายไพจิต ศรีวรขาน
๑๙. นางมาลินี อินฉัตร ๒๐. นายทองดี มนิสสาร
๒๑. นายอมรเทพ สมหมาย ๒๒. นายเฉลิมชาติ การุญ
๒๓. นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ ๒๔. นายทวี สุระบาล
๒๕. นายปกิต พัฒนกุล ๒๖. นายสิน กุมภะ
๒๗. นายราชศักดิ์ คล้ายคลึง ๒๘. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
๒๙. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ๓๐. นายศุภชัย ศรีหล้า
๓๑. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๓๒. นายประมวล เอมเปีย
๓๓. นายธนิตพล ไชยนันทน์ ๓๔. นางสาวสุภัตรา วิมลสมบัติ
๓๕. นายปิลันธน์ จิตต์ธรรม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายไพโรจน์ ตันบรรจง ๒. นายดุสิต อุชุพงศ์อมร
๓. นางสาวสุภาภรณ์ ใจอ่อนน้อม ๔. นายนที วิพุธกุล
๕. นางสาวธำรงลักษณ์ ลาพินี ๖. นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์
๗. นางสาวภูวนิดา คุนผลิน ๘. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง
๙. นายชัยวัฒน์ ทรัพย์รวงทอง ๑๐. นายวิทยา บุรณศิริ
๑๑. นายนิยม วรปัญญา ๑๒. นางมยุรา มนะสิการ
๑๓. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ๑๔. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
๑๕. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ๑๖. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
๑๗. นายพิทยา บุญเฉลียว ๑๘. นางสาวรสพิมล จิรเมธากร
๑๙. นายศุภชัย โพธิ์สุ ๒๐. นายไพจิต ศรีวรขาน
๒๑. นางสาวอรดี สุทธศรี ๒๒. นางมาลินี อินฉัตร
๒๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๒๔. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
๒๕. นายชัยพร ธนถาวรลาภ ๒๖. นายสมาน ภุมมะกาญจนะ
๒๗. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๒๘. รองศาสตราจารย์โกเมศ ขวัญเมือง
๒๙. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ๓๐. นายอิสสระ สมชัย
๓๑. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ๓๒. นายพร้อม พรหมพันธุ์
๓๓. นายอดุลย์ สาฮีบาตู ๓๔. นายเอกพจน์ ปานแย้ม
๓๕. นางสาวปอรรัชม์ ยอดเณร
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๓๒ นาฬิกา
(นายทวี พวงทะวาย)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. ....
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยตัวแทนออกของ) (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
*********************************