ท่ามกลางสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้ราคาเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกปรับสูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อประกอบกับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ ได้กระตุ้นให้หลายประเทศจำกัดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเคมีและหันมาใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ (Biodegradable Plastic) ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติกชีวภาพที่มีพืชอาทิ มันสำปะหลัง ข้าวโพด และข้าว เป็นองค์ประกอบหลัก
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด อาทิ ฝรั่งเศส ออกกฎหมายห้ามจำหน่ายและแจกถุงพลาสติกทุกประเภท ยกเว้นถุงพลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกชีวภาพ ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 จีน ห้ามใช้ถุงพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้บนรถไฟ ขณะเดียวกันธุรกิจขนาดใหญ่หลายรายเริ่มหันมาใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติมากขึ้น อาทิ ห้างสรรพสินค้าอิออนมอลล์ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นห้างที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลก ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ในแผนกอาหารของห้าง ร้าน Mc Donald’s ในออสเตรเลีย ใช้ช้อนส้อมพลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกชีวภาพซึ่งผลิตจากข้าวโพด เป็นต้น
การพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยในการลดผลกระทบจากการปรับสูงขึ้นของราคาเม็ดพลาสติกและตอบสนองต่อกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ของไทยจะมีอยู่สูง จากปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญ ดังนี้
- ความพร้อมด้านวัตถุดิบ จากการที่ไทยเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก(รองจากไนจีเรีย และบราซิล) ด้วยปริมาณผลผลิตราว 25 ล้านตันต่อปี จึงเอื้อต่อการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ(Biopolymer) ซึ่งผลิตจากพืชที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบ อาทิ แป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง เพื่อนำไปใช้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้
- อุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจากเม็ดพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเคมีของไทยเข้มแข็งและแข่งขันได้ในระดับโลก ทำให้เอื้อต่อการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ เนื่องจากขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ไม่แตกต่างจากการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจากเม็ดพลาสติกซึ่ง
ผลิตจากปิโตรเคมี
- แป้งมันสำปะหลังดิบมีราคาต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับแป้งดิบประเภทอื่น ส่งผลให้การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้จากเม็ดพลาสติกชีวภาพซึ่งทำจากแป้งมันสำปะหลังที่เป็นวัตถุดิบที่ไทยผลิตได้มาก มีศักยภาพในการแข่งขันในเชิงพาณิชย์เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ที่ผลิตจากแป้งข้าวโพดทั้งนี้ ปัจจุบันแป้งข้าวโพดดิบมีราคาประมาณตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่แป้งมันสำปะหลังดิบมีราคาราวตันละ 300 ดอลลาร์สหรัฐ
- ตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ของโลกมีโอกาสขยายตัวสูง จากกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันหลายประเทศ โดยเฉพาะ EU และญี่ปุ่น มีการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้อย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายของไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และยังมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการผลิต ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าเม็ดพลาสติกชีวภาพจากบริษัทNatureWork LLC. ของสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพจากแป้งข้าวโพดเพียงรายเดียวของโลกต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ของไทยจึงยังอยู่ในระดับสูง เป็นที่คาดว่าเมื่อการวิจัยและพัฒนาการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพจากพืชชนิดต่าง ๆ รวมทั้งมันสำปะหลังที่ไทยมีอยู่มากแพร่หลายขึ้น คาดว่าจะทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ของไทยมีทางเลือกมากขึ้นและทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้ในที่สุด
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2550--
-พห-
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด อาทิ ฝรั่งเศส ออกกฎหมายห้ามจำหน่ายและแจกถุงพลาสติกทุกประเภท ยกเว้นถุงพลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกชีวภาพ ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 จีน ห้ามใช้ถุงพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้บนรถไฟ ขณะเดียวกันธุรกิจขนาดใหญ่หลายรายเริ่มหันมาใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติมากขึ้น อาทิ ห้างสรรพสินค้าอิออนมอลล์ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นห้างที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลก ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ในแผนกอาหารของห้าง ร้าน Mc Donald’s ในออสเตรเลีย ใช้ช้อนส้อมพลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกชีวภาพซึ่งผลิตจากข้าวโพด เป็นต้น
การพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยในการลดผลกระทบจากการปรับสูงขึ้นของราคาเม็ดพลาสติกและตอบสนองต่อกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ของไทยจะมีอยู่สูง จากปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญ ดังนี้
- ความพร้อมด้านวัตถุดิบ จากการที่ไทยเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก(รองจากไนจีเรีย และบราซิล) ด้วยปริมาณผลผลิตราว 25 ล้านตันต่อปี จึงเอื้อต่อการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ(Biopolymer) ซึ่งผลิตจากพืชที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบ อาทิ แป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง เพื่อนำไปใช้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้
- อุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจากเม็ดพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเคมีของไทยเข้มแข็งและแข่งขันได้ในระดับโลก ทำให้เอื้อต่อการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ เนื่องจากขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ไม่แตกต่างจากการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจากเม็ดพลาสติกซึ่ง
ผลิตจากปิโตรเคมี
- แป้งมันสำปะหลังดิบมีราคาต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับแป้งดิบประเภทอื่น ส่งผลให้การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้จากเม็ดพลาสติกชีวภาพซึ่งทำจากแป้งมันสำปะหลังที่เป็นวัตถุดิบที่ไทยผลิตได้มาก มีศักยภาพในการแข่งขันในเชิงพาณิชย์เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ที่ผลิตจากแป้งข้าวโพดทั้งนี้ ปัจจุบันแป้งข้าวโพดดิบมีราคาประมาณตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่แป้งมันสำปะหลังดิบมีราคาราวตันละ 300 ดอลลาร์สหรัฐ
- ตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ของโลกมีโอกาสขยายตัวสูง จากกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันหลายประเทศ โดยเฉพาะ EU และญี่ปุ่น มีการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้อย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายของไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และยังมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการผลิต ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าเม็ดพลาสติกชีวภาพจากบริษัทNatureWork LLC. ของสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพจากแป้งข้าวโพดเพียงรายเดียวของโลกต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ของไทยจึงยังอยู่ในระดับสูง เป็นที่คาดว่าเมื่อการวิจัยและพัฒนาการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพจากพืชชนิดต่าง ๆ รวมทั้งมันสำปะหลังที่ไทยมีอยู่มากแพร่หลายขึ้น คาดว่าจะทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ของไทยมีทางเลือกมากขึ้นและทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้ในที่สุด
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2550--
-พห-