1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550
มีปริมาณการผลิต 4.32 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 9.43 และ 5.47 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังปรับตัวสูงขึ้นจากการขาดแคลนวัตถุดิบหลักคือไม้ยางพารา ส่งผลให้ราคาไม้ยางพาราอยู่ในระดับสูง อีกทั้งผลกระทบของราคาน้ำมันและปัจจัยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก ทำให้ปริมาณการผลิตชะลอตัวลง
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2
ปี 2550 มีปริมาณการจำหน่าย 0.47 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 40.51 และ 59.48 ตามลำดับ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่ลดลงนี้ เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศและการบริโภคภายในประเทศยังอยู่ในภาวะชะลอตัว อันเนื่องมาจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายออกไป
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 560.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 0.74 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.96 ถึงแม้ว่าการส่งออกยังขยายตัวได้ดี ทั้งในตลาดหลักโดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร และในตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย แคนาดา แอฟริกาใต้และประเทศในตะวันออกกลาง แต่การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยอีกแห่งหนึ่งปรับตัวลดลง
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 272.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 48 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 4.22 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.08 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 93.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 17 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.29 และ 10.49 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 194.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 35 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.20 และ 8.00 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือไม้แปรรูป รองลงมาคือ ไม้อัด และไฟเบอร์บอร์ด ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้และไต้หวัน
2.3 การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีจำนวน 152.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.32 และ 2.46 ตามลำดับ โดยการนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ซุงและ ไม้แปรรูป ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่องเช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้แปรรูปส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา สำหรับไม้ซุงท่อนส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ และมาเลเซีย และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำเข้าจากประเทศจีน มาเลเซียและ อินโดนีเซีย
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากต้นทุนการผลิตยังมีอัตราที่สูงจากผลกระทบของราคาน้ำมันและการขาดแคลนวัตถุดิบ อีกทั้งอุปสงค์ภายในประเทศยังมีทิศทางที่ปรับตัวลดลง อันเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลกระทบให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัว
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 คาดว่าจะยังทรงตัว เพราะถึงแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง แต่ยังมีผลกระทบของปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว ค่าเงินบาทที่แข็งและราคาน้ำมันที่ผันผวน
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เพราะถึงแม้ว่าการส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร ยังขยายตัวในอัตราสูง อีกทั้งตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ ก็มีการขยายตัวที่ดีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยมีสัดส่วนที่ลดลง ทั้งนี้ไทยต้องประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีนและเวียดนามในตลาดสหรัฐอเมริกา อีกทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาก็อยู่ในสภาวะที่ซบเซาอีกด้วย
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2550
คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดส่งออกหลัก และตลาดส่งออกรายใหม่ของไทยยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะตลาดของญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่สำคัญในการส่งออก คือการแข็งค่าของเงินบาทและต้นทุนการผลิตที่สูง ซึ่งยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีนและเวียดนาม ซึ่งมีความได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบที่มีมากกว่าและแรงงานที่ถูกกว่า ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยจึงควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มมูลค่าและการยกระดับของผลิตภัณฑ์ โดยมีการออกแบบและการคิดริเริ่มในเชิงนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในการผลิต รวมทั้งการศึกษาแนวโน้มของผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า ผู้ประกอบการจึงควรถือโอกาสนำเข้าเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อีกทั้งควรขยายฐานตลาดภายในประเทศเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการส่งออก อีกทั้งควรปรับปรุงการบริหารจัดการและการลดต้นทุนการผลิต
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550
มีปริมาณการผลิต 4.32 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 9.43 และ 5.47 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังปรับตัวสูงขึ้นจากการขาดแคลนวัตถุดิบหลักคือไม้ยางพารา ส่งผลให้ราคาไม้ยางพาราอยู่ในระดับสูง อีกทั้งผลกระทบของราคาน้ำมันและปัจจัยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก ทำให้ปริมาณการผลิตชะลอตัวลง
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2
ปี 2550 มีปริมาณการจำหน่าย 0.47 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 40.51 และ 59.48 ตามลำดับ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่ลดลงนี้ เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศและการบริโภคภายในประเทศยังอยู่ในภาวะชะลอตัว อันเนื่องมาจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายออกไป
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 560.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 0.74 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.96 ถึงแม้ว่าการส่งออกยังขยายตัวได้ดี ทั้งในตลาดหลักโดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร และในตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย แคนาดา แอฟริกาใต้และประเทศในตะวันออกกลาง แต่การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยอีกแห่งหนึ่งปรับตัวลดลง
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 272.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 48 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 4.22 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.08 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 93.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 17 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.29 และ 10.49 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 194.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 35 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.20 และ 8.00 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือไม้แปรรูป รองลงมาคือ ไม้อัด และไฟเบอร์บอร์ด ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้และไต้หวัน
2.3 การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีจำนวน 152.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.32 และ 2.46 ตามลำดับ โดยการนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ซุงและ ไม้แปรรูป ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่องเช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้แปรรูปส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา สำหรับไม้ซุงท่อนส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ และมาเลเซีย และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำเข้าจากประเทศจีน มาเลเซียและ อินโดนีเซีย
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากต้นทุนการผลิตยังมีอัตราที่สูงจากผลกระทบของราคาน้ำมันและการขาดแคลนวัตถุดิบ อีกทั้งอุปสงค์ภายในประเทศยังมีทิศทางที่ปรับตัวลดลง อันเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลกระทบให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัว
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 คาดว่าจะยังทรงตัว เพราะถึงแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง แต่ยังมีผลกระทบของปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว ค่าเงินบาทที่แข็งและราคาน้ำมันที่ผันผวน
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เพราะถึงแม้ว่าการส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร ยังขยายตัวในอัตราสูง อีกทั้งตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ ก็มีการขยายตัวที่ดีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยมีสัดส่วนที่ลดลง ทั้งนี้ไทยต้องประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีนและเวียดนามในตลาดสหรัฐอเมริกา อีกทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาก็อยู่ในสภาวะที่ซบเซาอีกด้วย
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2550
คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดส่งออกหลัก และตลาดส่งออกรายใหม่ของไทยยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะตลาดของญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่สำคัญในการส่งออก คือการแข็งค่าของเงินบาทและต้นทุนการผลิตที่สูง ซึ่งยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีนและเวียดนาม ซึ่งมีความได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบที่มีมากกว่าและแรงงานที่ถูกกว่า ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยจึงควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มมูลค่าและการยกระดับของผลิตภัณฑ์ โดยมีการออกแบบและการคิดริเริ่มในเชิงนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในการผลิต รวมทั้งการศึกษาแนวโน้มของผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า ผู้ประกอบการจึงควรถือโอกาสนำเข้าเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อีกทั้งควรขยายฐานตลาดภายในประเทศเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการส่งออก อีกทั้งควรปรับปรุงการบริหารจัดการและการลดต้นทุนการผลิต
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-