ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. อาจจะอนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบัน นางธาริษา วัฒนเกส
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท. เริ่มผ่อนคลายให้นักลงทุนสถาบันในประเทศสามารถนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่พบว่า
4 ปีที่ผ่านมา ได้อนุมัติวงเงินให้นำออกไปลงทุนถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ยอดการนำเงินออกไปลงทุนจริงเพียงร้อยละ 18 หรือประมาณ
594 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น นักลงทุนยังไม่มีความรู้ความชำนาญมากนัก ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์มีผลิตภัณฑ์ใหม่ค่อนข้าง
น้อย รวมถึงระบบข้อมูลเดิมไม่ได้พิจารณาว่าสถาบันใดมีการใช้วงเงินที่รับอนุมัติไปมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ดี ธปท. ได้แก้ปัญหาโดยใช้วิธีกำหนด
วงเงินไว้ไม่เกินรายละ 50 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่หากรายใดต้องการนำเงินออกไปมากกว่านั้นให้ขออนุญาตเพิ่มเติมได้ ส่วนในอนาคตมีความ
เป็นไปได้ที่ ธปท. จะเปิดให้กองทุนส่วนบุคคลสามารถนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศได้เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบัน ซึ่ง ธปท. คงจะทยอยเพิ่ม
ทางเลือกตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การที่ ธปท. เปิดช่องทางให้นำเงินออกไปลงทุนได้สะดวกขึ้นในทางหนี่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อการแข็งค่า
ของเงินบาทและช่วยสร้างสมดุลระหว่างรายได้จากการส่งออกที่เร่งตัว ขณะเดียวกันมั่นใจว่าจะไม่เป็นปัญหาต่อเสถียรภาพของประเทศ เนื่องจาก
ปัจจุบันฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศมีกว่า 7 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยไม่น่าจะมีแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปมากกว่าปัจจุบัน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ
ธปท. เปิดเผยถึงทิศทางค่าเงินบาทในระยะยาวว่า แรงกดดันที่จะทำให้เงินบาทแข็งค่าคงไม่มากไปกว่าที่มีอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากแนวโน้มการ
ส่งออกของไทยในระยะต่อไปจากนี้น่าจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาตามภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของ สรอ. นอกจากนี้ การเกิน
ดุลชำระเงินในปีนี้จะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา และในปี 51 การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะเริ่มเดินหน้า ซึ่งจะทำให้มีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น
รวมถึงการนำเข้าเครื่องบินเชิงพาณิชย์ที่เริ่มทยอยนำเข้ามาบ้างแล้วในปีนี้ทำให้การนำเข้าจะต่อเนื่องถึงปีหน้า จึงมีโอกาสทำให้ดุลการค้าของ
ไทนเกินดุลน้อยลงและลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท ซึ่งทิศทางค่าเงินบาทเมื่อพิจารณาตามปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยไม่น่าจะมีแรงกดดันให้
แข็งค่าขึ้นไปมากกว่านี้ แต่ในระยะสั้นอาจมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงบ้าง (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. การปรับช่วงค่าเงินหยวนจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเสียเปรียบการแข่งขันทางการค้าน้อยลง นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาศ ผอ.สำนัก
เศรษฐกิจมหภาพ ธปท. กล่าวว่า การปรับช่วงค่าเงินหยวนจาก +/-0.3% เป็น +/-0.5% น่าจะทำให้ค่าเงินหยวนมีโอกาสแข็งค่าได้มากขึ้น
กว่าปัจจุบัน จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเสียเปรียบการแข่งขันทางการค้าน้อยลงและจะช่วยแก้ปัญหาความไม่สมดุลทางการเงินของโลก เพราะถ้า
จีนเติบโตอย่างมีเสถียรภาพก็จะช่วยให้ภูมิภาคนี้รวมทั้งไทยได้รับประโยชน์เพิ่ม ซึ่งในระยะต่อไปถ้าเงินหยวนยืดหยุ่นและปรับมาแข็งค่าได้มากขึ้น
สินค้าจีนน่าจะแพงขึ้นและช่วยลดการขาดดุลของ สรอ. ได้บ้าง และเงินทุนไหลเข้าที่เคยเข้ามาหาประโยชน์จากประเทศเล็กในภูมิภาค เช่น
ไทย ก็อาจไหลไปหาผลตอบแทนที่จีนมากขึ้น เพราะค่าเงินหยวนยืดหยุ่นได้มากขึ้นจากเดิมที่กำหนดให้ค่าคงที่ ซึ่งจุดนี้จะช่วยให้เงินที่ไหลเข้า
ในภูมิภาคกระจายไปที่จีนมากขึ้นและไหลมาที่ไทยน้อยลง ลดแรงกดดันไม่ให้ค่าเงินแข็งค่าได้ นอกจากนี้ การที่จีนปรับช่วงค่าเงินหยวนและปรับ
ขึ้นดอกเบี้ยน่าจะเป็นผลดีช่วยให้เศรษฐกิจจีนลดความร้อนแรงและมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ จีนเป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญของไทย โดยข้อมูลการ
ส่งออกของไทยไปจีนในปี 44 มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 4.4 แต่ในปี 49 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9 เฉลี่ยแล้วมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 33.1
ของการส่งออกทั้งหมด ขณะที่การนำเข้าจากจีนในปี 44 มีสัดส่วนร้อยละ 6 แต่ปี 49 เพิ่มเป็นร้อยละ 10.6 เฉลี่ยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 29.6
ถือเป็นการเติบโตที่สูงมาก สำหรับภาวะค่าเงินในภูมิภาคนี้เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.49 จนถึงปัจจุบันมีการปรับตัว
แข็งค่าขึ้นเรื่อย ๆ จน ธปท. ต้องออกมาตรการกันสำรองเงินไหลเข้าร้อยละ 30 โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 4 ถือว่าแข็งค่าในระดับกลาง
ขณะที่อินเดียแข็งค่ามากที่สุดกว่าร้อยละ 10 รองลงมาเป็นฟิลิปปินส์แข็งขึ้นร้อยละ 8 อินโดนีเซียร้อยละ 6 และมาเลเซียร้อยละ 5 ส่วนค่า
เงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 2.5 (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าอีก 1-2 เดือน ความเชื่อมั่นด้านการลงทุนจะฟื้นตัวดีขึ้น นางฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวในการแถลง
ผลงานรัฐบาล 6 เดือน ให้กับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า รัฐบาลต้องสร้างความชัดเจนทางการเมือง ไม่เฉพาะแค่การกำหนดวันเลือกตั้ง
ให้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ รวมถึงเรื่องความชัดเจนของทิศทางการดำเนินนโยบายหลังการเลือกตั้งด้วยว่าจะเป็นอย่างไร เพราะถ้าสถานการณ์
ตรงนี้คลี่คลายเชื่อว่าความเชื่อมั่นจะฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในส่วนของนักลงทุนต่างประเทศที่คาดว่าหลังจากนี้ 1-2 เดือน
น่าจะเห็นสัญญาณความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวมากขึ้น สำหรับเศรษฐกิจไทยในขณะนี้เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวหลายด้าน โดยนับตั้งแต่เดือน เม.ย.
ที่ผ่านมา ธปท. ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้วรวมร้อยละ 1 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว นอกจากนี้ รัฐบาลยังเร่งเรื่อง
การเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ขณะที่การส่งออกเริ่มมีสัญญาณการขยายตัวดีขึ้น โดยในเดือน เม.ย.50 ขยายตัวร้อยละ 18.5
แต่ยังมีบางสาขาที่ต้องเร่งปรับตัว เช่น สินค้าที่แข่งขันกับจีน เช่นเดียวกับตัวเลขการลงทุนที่ขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 21 ถือว่าเป็นระดับดีที่สุด
ในรอบ 22 เดือน ส่วนด้านตลาดเงินตลาดทุนเชื่อว่ายังเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน เนื่องจากไทยได้พัฒนาตลาดทุนค่อนข้างสมบูรณ์และมีตราสาร
ให้เลือกลงทุนหลายประเภท ทำให้มีเงินทุนไหลเข้าในช่วง 3 เดือนหลังของปีที่ผ่านมา (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 สูงสุดในรอบ 14 ปี รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
24 พ.ค.50 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านเดี่ยวใหม่ของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 สูงสุดในรอบ 14 ปี หรือเพิ่มขึ้น
เป็นจำนวน 981,000 หลัง จากจำนวน 844,000 หลังในเดือนก่อนหน้า สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 860,000 หลัง
สาเหตุหลักจากการที่ผู้ผลิตลดราคาลงถึงร้อยละ 11 ซึ่งส่งผลให้ราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่หลังละ 229,100 ดอลลาร์ สรอ. จากราคาเฉลี่ยหลังละ
257,600 ดอลลาร์ สรอ. โดยการที่ยอดขายบ้านเพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้จำนวนบ้านที่มีอยู่พร้อมขายลดลงเหลือ 538,000 หลัง จากจำนวน
546,000 หลังในเดือนก่อนหน้า และส่งผลให้ระยะเวลาเฉลี่ยในการขายบ้านที่มีอยู่พร้อมขายลดลงเหลือ 6.5 เดือนจาก 8.1 เดือน ซึ่ง
นักวิเคราะห์บางส่วนกล่าวว่า ยอดขายบ้านใหม่ที่เพิ่มขึ้นสะท้อนความแข็งแกร่งของตลาดบ้าน และอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจ สรอ.ให้
ฟื้นตัวขึ้นจากภาวะชะลอตัวได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือน
เดียวกันที่เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายร้อยละ 0.6 บ่งชี้การฟื้นตัวของภาคการผลิต เช่นเดียวกับดัชนีที่ใช้ชี้วัดการลงทุนและความเชื่อมั่นต่อการ
ลงทุนในอนาคตก็มีแนวโน้มดีขึ้น รวมถึงตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ก็ปรับตัวลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.49 เหลือ
จำนวน 302,750 คน สะท้อนการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน สรอ. (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.50 ลดลงในอัตราที่ชะลอตัวลงตามที่คาดไว้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ
25 พ.ค.50 ตัวเลขจากรัฐบาลชี้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย.50 เมื่อเทียบต่อปี
ลดลงในอัตราที่ชะลอตัวลงหลังจากลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน มี.ค.50 สอดคล้องกับผลสำรวจรอยเตอร์ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 ต่อปี
และคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานจะลดลงเมื่อเทียบต่อปีต่อไปอีกหลายเดือนจนถึงประมาณเดือน ต.ค.50 โดยมีโอกาสที่บางเดือนดัชนีจะ
แตะระดับร้อยละ 0 แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางญี่ปุ่นได้เคยแถลงเมื่อต้นเดือน พ.ค.50 ที่ผ่านมาว่า ธ.กลางญี่ปุ่นอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแม้ว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคจะลดลงก็ตามหากมีสัญญาณที่ชัดเจนว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังเห็นว่าการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับ
ต่ำเป็นเวลานานเกินไปจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยอาจทำให้เกิดการหนุนการส่งออกและการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มากเกินไป โดยนักลงทุน
ส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปจนถึงเดือน ส.ค.50 เป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ ธ.กลางญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้ง
ล่าสุดเมื่อเดือน ก.พ.50 ที่ผ่านมาจากร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 0.50 ต่อปี หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 0.25
เมื่อเดือน ก.ค.49 (รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นยังคงครองตำแหน่งประเทศเจ้าหนี้อันดับใหญ่ที่สุดในโลก รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 50 รมว.คลังญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า ณ สิ้นสุดปี 49 สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดส่งผลให้ญี่ปุ่นครองอันดับประเทศที่เป็นเจ้าหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ติดต่อกันเป็นปีที่ 16 ทั้งนี้สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของญี่ปุ่นในปี 49 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าร้อยละ 10.3 ทำสถิติสูงสุดที่
558.106 ล้าน ล้าน เยน (4.598 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากนักลงทุนในประเทศเพิ่มการถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศ
รวมทั้งมีการลงทุนในตลาดทุนต่างประเทศทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของนักลงทุนเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิเพิ่มขึ้น ส่วนหนี้สิน
ต่างประเทศอยู่ที่ 343.024 ล้าน ล้าน เยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องจากต่างชาติเพิ่มการถือครองหลักทรัพย์
ของญี่ปุ่น ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 อยู่ที่ระดับ 215.081 ล้าน ล้าน เยน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี
และสูงกว่าสถิติสูงสุดในปี 47 ขณะที่บางประเทศอาทิ จีน และอีกหลายประเทศในตะวันออกกลางต่างมิได้เปิดเผยข้อมูลสินทรัพย์ต่างประเทศ
ในลักษณะเดียวกับญี่ปุ่น ทั้งนี้เมื่อปลายปี 49 ญี่ปุ่นมีสินทรัพย์ต่างประเทศมากกว่าเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีสินทรัพย์ต่างประเทศมากเป็นดับที่
2 ของโลกจำนวน 87.873 ล้าน ล้าน เยน (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน เม.ย.50 จะฟื้นตัวขึ้นหลังจากลดลงถึงร้อยละ 9.3 ในเดือนก่อน รายงานจาก
สิงคโปร์ เมื่อ 24 พ.ค.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์จะเพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 5.0 ในเดือน เม.ย.50 หลังจากลดลงถึงร้อยละ 9.3 ในเดือน มี.ค.50 ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของผลผลิตอุตสาหกรรมยา
ซึ่งค่อนข้างผันผวน โดยนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมยาในเดือน เม.ย.50 จะเพิ่มขึ้น และคาดว่าผลผลิตโรงงานซึ่งมีสัดส่วน
ถึง 1 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศจะขยายตัวตามที่รัฐบาลคาดไว้ที่ระหว่างร้อยละ 5 ถึง 7 ในปี 50 แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีสัดส่วนถึงประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมดจะยังอยู่ในภาวะชะลอตัวในช่วงครึ่งปีแรกนี้ตามผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อ
หรือ PMI เมื่อเดือน เม.ย.50 ที่ผ่านมา แต่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์มีกำหนด
จะรายงานตัวเลขผลผลิตโรงงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 พ.ค.50 เวลา 13.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 พ.ค. 50 24 พ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.595
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3843/34.7180 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.71234 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 720.72/14.48 679.84/9.22 ตลท
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.73 66.73 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 30.39*/25.34** 30.39*/25.34** 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มเมื่อ 19 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. อาจจะอนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบัน นางธาริษา วัฒนเกส
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท. เริ่มผ่อนคลายให้นักลงทุนสถาบันในประเทศสามารถนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่พบว่า
4 ปีที่ผ่านมา ได้อนุมัติวงเงินให้นำออกไปลงทุนถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ยอดการนำเงินออกไปลงทุนจริงเพียงร้อยละ 18 หรือประมาณ
594 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น นักลงทุนยังไม่มีความรู้ความชำนาญมากนัก ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์มีผลิตภัณฑ์ใหม่ค่อนข้าง
น้อย รวมถึงระบบข้อมูลเดิมไม่ได้พิจารณาว่าสถาบันใดมีการใช้วงเงินที่รับอนุมัติไปมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ดี ธปท. ได้แก้ปัญหาโดยใช้วิธีกำหนด
วงเงินไว้ไม่เกินรายละ 50 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่หากรายใดต้องการนำเงินออกไปมากกว่านั้นให้ขออนุญาตเพิ่มเติมได้ ส่วนในอนาคตมีความ
เป็นไปได้ที่ ธปท. จะเปิดให้กองทุนส่วนบุคคลสามารถนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศได้เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบัน ซึ่ง ธปท. คงจะทยอยเพิ่ม
ทางเลือกตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การที่ ธปท. เปิดช่องทางให้นำเงินออกไปลงทุนได้สะดวกขึ้นในทางหนี่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อการแข็งค่า
ของเงินบาทและช่วยสร้างสมดุลระหว่างรายได้จากการส่งออกที่เร่งตัว ขณะเดียวกันมั่นใจว่าจะไม่เป็นปัญหาต่อเสถียรภาพของประเทศ เนื่องจาก
ปัจจุบันฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศมีกว่า 7 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยไม่น่าจะมีแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปมากกว่าปัจจุบัน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ
ธปท. เปิดเผยถึงทิศทางค่าเงินบาทในระยะยาวว่า แรงกดดันที่จะทำให้เงินบาทแข็งค่าคงไม่มากไปกว่าที่มีอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากแนวโน้มการ
ส่งออกของไทยในระยะต่อไปจากนี้น่าจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาตามภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของ สรอ. นอกจากนี้ การเกิน
ดุลชำระเงินในปีนี้จะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา และในปี 51 การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะเริ่มเดินหน้า ซึ่งจะทำให้มีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น
รวมถึงการนำเข้าเครื่องบินเชิงพาณิชย์ที่เริ่มทยอยนำเข้ามาบ้างแล้วในปีนี้ทำให้การนำเข้าจะต่อเนื่องถึงปีหน้า จึงมีโอกาสทำให้ดุลการค้าของ
ไทนเกินดุลน้อยลงและลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท ซึ่งทิศทางค่าเงินบาทเมื่อพิจารณาตามปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยไม่น่าจะมีแรงกดดันให้
แข็งค่าขึ้นไปมากกว่านี้ แต่ในระยะสั้นอาจมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงบ้าง (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. การปรับช่วงค่าเงินหยวนจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเสียเปรียบการแข่งขันทางการค้าน้อยลง นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาศ ผอ.สำนัก
เศรษฐกิจมหภาพ ธปท. กล่าวว่า การปรับช่วงค่าเงินหยวนจาก +/-0.3% เป็น +/-0.5% น่าจะทำให้ค่าเงินหยวนมีโอกาสแข็งค่าได้มากขึ้น
กว่าปัจจุบัน จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเสียเปรียบการแข่งขันทางการค้าน้อยลงและจะช่วยแก้ปัญหาความไม่สมดุลทางการเงินของโลก เพราะถ้า
จีนเติบโตอย่างมีเสถียรภาพก็จะช่วยให้ภูมิภาคนี้รวมทั้งไทยได้รับประโยชน์เพิ่ม ซึ่งในระยะต่อไปถ้าเงินหยวนยืดหยุ่นและปรับมาแข็งค่าได้มากขึ้น
สินค้าจีนน่าจะแพงขึ้นและช่วยลดการขาดดุลของ สรอ. ได้บ้าง และเงินทุนไหลเข้าที่เคยเข้ามาหาประโยชน์จากประเทศเล็กในภูมิภาค เช่น
ไทย ก็อาจไหลไปหาผลตอบแทนที่จีนมากขึ้น เพราะค่าเงินหยวนยืดหยุ่นได้มากขึ้นจากเดิมที่กำหนดให้ค่าคงที่ ซึ่งจุดนี้จะช่วยให้เงินที่ไหลเข้า
ในภูมิภาคกระจายไปที่จีนมากขึ้นและไหลมาที่ไทยน้อยลง ลดแรงกดดันไม่ให้ค่าเงินแข็งค่าได้ นอกจากนี้ การที่จีนปรับช่วงค่าเงินหยวนและปรับ
ขึ้นดอกเบี้ยน่าจะเป็นผลดีช่วยให้เศรษฐกิจจีนลดความร้อนแรงและมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ จีนเป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญของไทย โดยข้อมูลการ
ส่งออกของไทยไปจีนในปี 44 มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 4.4 แต่ในปี 49 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9 เฉลี่ยแล้วมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 33.1
ของการส่งออกทั้งหมด ขณะที่การนำเข้าจากจีนในปี 44 มีสัดส่วนร้อยละ 6 แต่ปี 49 เพิ่มเป็นร้อยละ 10.6 เฉลี่ยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 29.6
ถือเป็นการเติบโตที่สูงมาก สำหรับภาวะค่าเงินในภูมิภาคนี้เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.49 จนถึงปัจจุบันมีการปรับตัว
แข็งค่าขึ้นเรื่อย ๆ จน ธปท. ต้องออกมาตรการกันสำรองเงินไหลเข้าร้อยละ 30 โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 4 ถือว่าแข็งค่าในระดับกลาง
ขณะที่อินเดียแข็งค่ามากที่สุดกว่าร้อยละ 10 รองลงมาเป็นฟิลิปปินส์แข็งขึ้นร้อยละ 8 อินโดนีเซียร้อยละ 6 และมาเลเซียร้อยละ 5 ส่วนค่า
เงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 2.5 (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าอีก 1-2 เดือน ความเชื่อมั่นด้านการลงทุนจะฟื้นตัวดีขึ้น นางฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวในการแถลง
ผลงานรัฐบาล 6 เดือน ให้กับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า รัฐบาลต้องสร้างความชัดเจนทางการเมือง ไม่เฉพาะแค่การกำหนดวันเลือกตั้ง
ให้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ รวมถึงเรื่องความชัดเจนของทิศทางการดำเนินนโยบายหลังการเลือกตั้งด้วยว่าจะเป็นอย่างไร เพราะถ้าสถานการณ์
ตรงนี้คลี่คลายเชื่อว่าความเชื่อมั่นจะฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในส่วนของนักลงทุนต่างประเทศที่คาดว่าหลังจากนี้ 1-2 เดือน
น่าจะเห็นสัญญาณความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวมากขึ้น สำหรับเศรษฐกิจไทยในขณะนี้เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวหลายด้าน โดยนับตั้งแต่เดือน เม.ย.
ที่ผ่านมา ธปท. ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้วรวมร้อยละ 1 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว นอกจากนี้ รัฐบาลยังเร่งเรื่อง
การเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ขณะที่การส่งออกเริ่มมีสัญญาณการขยายตัวดีขึ้น โดยในเดือน เม.ย.50 ขยายตัวร้อยละ 18.5
แต่ยังมีบางสาขาที่ต้องเร่งปรับตัว เช่น สินค้าที่แข่งขันกับจีน เช่นเดียวกับตัวเลขการลงทุนที่ขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 21 ถือว่าเป็นระดับดีที่สุด
ในรอบ 22 เดือน ส่วนด้านตลาดเงินตลาดทุนเชื่อว่ายังเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน เนื่องจากไทยได้พัฒนาตลาดทุนค่อนข้างสมบูรณ์และมีตราสาร
ให้เลือกลงทุนหลายประเภท ทำให้มีเงินทุนไหลเข้าในช่วง 3 เดือนหลังของปีที่ผ่านมา (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 สูงสุดในรอบ 14 ปี รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
24 พ.ค.50 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านเดี่ยวใหม่ของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 สูงสุดในรอบ 14 ปี หรือเพิ่มขึ้น
เป็นจำนวน 981,000 หลัง จากจำนวน 844,000 หลังในเดือนก่อนหน้า สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 860,000 หลัง
สาเหตุหลักจากการที่ผู้ผลิตลดราคาลงถึงร้อยละ 11 ซึ่งส่งผลให้ราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่หลังละ 229,100 ดอลลาร์ สรอ. จากราคาเฉลี่ยหลังละ
257,600 ดอลลาร์ สรอ. โดยการที่ยอดขายบ้านเพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้จำนวนบ้านที่มีอยู่พร้อมขายลดลงเหลือ 538,000 หลัง จากจำนวน
546,000 หลังในเดือนก่อนหน้า และส่งผลให้ระยะเวลาเฉลี่ยในการขายบ้านที่มีอยู่พร้อมขายลดลงเหลือ 6.5 เดือนจาก 8.1 เดือน ซึ่ง
นักวิเคราะห์บางส่วนกล่าวว่า ยอดขายบ้านใหม่ที่เพิ่มขึ้นสะท้อนความแข็งแกร่งของตลาดบ้าน และอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจ สรอ.ให้
ฟื้นตัวขึ้นจากภาวะชะลอตัวได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือน
เดียวกันที่เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายร้อยละ 0.6 บ่งชี้การฟื้นตัวของภาคการผลิต เช่นเดียวกับดัชนีที่ใช้ชี้วัดการลงทุนและความเชื่อมั่นต่อการ
ลงทุนในอนาคตก็มีแนวโน้มดีขึ้น รวมถึงตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ก็ปรับตัวลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.49 เหลือ
จำนวน 302,750 คน สะท้อนการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน สรอ. (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.50 ลดลงในอัตราที่ชะลอตัวลงตามที่คาดไว้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ
25 พ.ค.50 ตัวเลขจากรัฐบาลชี้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย.50 เมื่อเทียบต่อปี
ลดลงในอัตราที่ชะลอตัวลงหลังจากลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน มี.ค.50 สอดคล้องกับผลสำรวจรอยเตอร์ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 ต่อปี
และคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานจะลดลงเมื่อเทียบต่อปีต่อไปอีกหลายเดือนจนถึงประมาณเดือน ต.ค.50 โดยมีโอกาสที่บางเดือนดัชนีจะ
แตะระดับร้อยละ 0 แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางญี่ปุ่นได้เคยแถลงเมื่อต้นเดือน พ.ค.50 ที่ผ่านมาว่า ธ.กลางญี่ปุ่นอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแม้ว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคจะลดลงก็ตามหากมีสัญญาณที่ชัดเจนว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังเห็นว่าการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับ
ต่ำเป็นเวลานานเกินไปจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยอาจทำให้เกิดการหนุนการส่งออกและการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มากเกินไป โดยนักลงทุน
ส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปจนถึงเดือน ส.ค.50 เป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ ธ.กลางญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้ง
ล่าสุดเมื่อเดือน ก.พ.50 ที่ผ่านมาจากร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 0.50 ต่อปี หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 0.25
เมื่อเดือน ก.ค.49 (รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นยังคงครองตำแหน่งประเทศเจ้าหนี้อันดับใหญ่ที่สุดในโลก รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 50 รมว.คลังญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า ณ สิ้นสุดปี 49 สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดส่งผลให้ญี่ปุ่นครองอันดับประเทศที่เป็นเจ้าหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ติดต่อกันเป็นปีที่ 16 ทั้งนี้สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของญี่ปุ่นในปี 49 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าร้อยละ 10.3 ทำสถิติสูงสุดที่
558.106 ล้าน ล้าน เยน (4.598 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากนักลงทุนในประเทศเพิ่มการถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศ
รวมทั้งมีการลงทุนในตลาดทุนต่างประเทศทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของนักลงทุนเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิเพิ่มขึ้น ส่วนหนี้สิน
ต่างประเทศอยู่ที่ 343.024 ล้าน ล้าน เยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องจากต่างชาติเพิ่มการถือครองหลักทรัพย์
ของญี่ปุ่น ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 อยู่ที่ระดับ 215.081 ล้าน ล้าน เยน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี
และสูงกว่าสถิติสูงสุดในปี 47 ขณะที่บางประเทศอาทิ จีน และอีกหลายประเทศในตะวันออกกลางต่างมิได้เปิดเผยข้อมูลสินทรัพย์ต่างประเทศ
ในลักษณะเดียวกับญี่ปุ่น ทั้งนี้เมื่อปลายปี 49 ญี่ปุ่นมีสินทรัพย์ต่างประเทศมากกว่าเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีสินทรัพย์ต่างประเทศมากเป็นดับที่
2 ของโลกจำนวน 87.873 ล้าน ล้าน เยน (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน เม.ย.50 จะฟื้นตัวขึ้นหลังจากลดลงถึงร้อยละ 9.3 ในเดือนก่อน รายงานจาก
สิงคโปร์ เมื่อ 24 พ.ค.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์จะเพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 5.0 ในเดือน เม.ย.50 หลังจากลดลงถึงร้อยละ 9.3 ในเดือน มี.ค.50 ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของผลผลิตอุตสาหกรรมยา
ซึ่งค่อนข้างผันผวน โดยนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมยาในเดือน เม.ย.50 จะเพิ่มขึ้น และคาดว่าผลผลิตโรงงานซึ่งมีสัดส่วน
ถึง 1 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศจะขยายตัวตามที่รัฐบาลคาดไว้ที่ระหว่างร้อยละ 5 ถึง 7 ในปี 50 แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีสัดส่วนถึงประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมดจะยังอยู่ในภาวะชะลอตัวในช่วงครึ่งปีแรกนี้ตามผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อ
หรือ PMI เมื่อเดือน เม.ย.50 ที่ผ่านมา แต่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์มีกำหนด
จะรายงานตัวเลขผลผลิตโรงงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 พ.ค.50 เวลา 13.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 พ.ค. 50 24 พ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.595
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3843/34.7180 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.71234 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 720.72/14.48 679.84/9.22 ตลท
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.73 66.73 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 30.39*/25.34** 30.39*/25.34** 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มเมื่อ 19 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--