สศอ. ลุยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง หวังเพิ่มขีดความแข่งขันให้สูงขึ้น ขยายสัดส่วนการใช้ยางแปรรูปขั้นต้นผลิตสินค้าสนองตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางภายใต้ “โครงการศึกษาแนวทางพัฒนาเพื่อการเพิ่ม Value Creation อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน” โดยร่วมมือกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาแนวทางและโครงสร้างการผลิตการตลาด Value Chain สร้างคุณค่า (Value Creation) ในผลิตภัณฑ์ยางที่สำคัญและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตลอดจนศึกษาถึงความเป็นได้ทั้งการผลิตและการตลาด รวมถึงแนวโน้มความต้องการในอนาคตสำหรับผลิตภัณฑ์ยางทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ผลการศึกษาจะครอบคลุมถึงปัญหาและอุปสรรคทั้งในด้านการผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาส่งเสริมในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนวางกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
“ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีปริมาณการผลิตประมาณ 3 ล้านตันต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้จะส่งออกในรูปของยางแปรรูปขั้นต้น สูงถึงร้อยละ 90 และที่เหลือเพียงร้อยละ 10 นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในจำนวนนี้ถือว่ามีสัดส่วนที่น้อยมาก เนื่องจากภาคการผลิตของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางยังขาดการเชื่อมโยงและไม่เอื้อซึ่งกันและกัน โดยโครงสร้างการผลิตยังเป็นแบบต่างคนต่างทำ รวมทั้งขาดข้อมูลทั้งในด้านแหล่งวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต การตลาด และขาดการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย สศอ. จึงได้เร่งจัดทำโครงการศึกษาแนวทางพัฒนาเพื่อการเพิ่ม Value Creation อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไทยมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การจะพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางให้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำได้นั้นต้องสนับสนุนให้มีการผลิตอย่างครบวงจร โดยทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันตั้งแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบยางพารา ยางแปรรูปขั้นต้นผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ ประเทศไทยจึงต้องเร่งให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสนองตอบต่ออุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยอาศัยความได้เปรียบที่เป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นจุดแข็ง เติมด้วยนวัตกรรมและเทคนิคใหม่ๆ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่เป็นเอกลักษณ์และมีความหลากหลาย เพื่อสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นการเตรียมแผนงานที่มีความเหมาะสม จะเป็นการสนับสนุนการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยโครงการศึกษาแนวทางการเพิ่ม Value Creation อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจะทำให้มีทิศทางและแผนงานที่ชัดเจนในการนำพาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไทยให้ขยายตัวได้อย่างยั่งยืนและแข็งแกร่งต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางภายใต้ “โครงการศึกษาแนวทางพัฒนาเพื่อการเพิ่ม Value Creation อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน” โดยร่วมมือกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาแนวทางและโครงสร้างการผลิตการตลาด Value Chain สร้างคุณค่า (Value Creation) ในผลิตภัณฑ์ยางที่สำคัญและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตลอดจนศึกษาถึงความเป็นได้ทั้งการผลิตและการตลาด รวมถึงแนวโน้มความต้องการในอนาคตสำหรับผลิตภัณฑ์ยางทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ผลการศึกษาจะครอบคลุมถึงปัญหาและอุปสรรคทั้งในด้านการผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาส่งเสริมในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนวางกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
“ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีปริมาณการผลิตประมาณ 3 ล้านตันต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้จะส่งออกในรูปของยางแปรรูปขั้นต้น สูงถึงร้อยละ 90 และที่เหลือเพียงร้อยละ 10 นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในจำนวนนี้ถือว่ามีสัดส่วนที่น้อยมาก เนื่องจากภาคการผลิตของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางยังขาดการเชื่อมโยงและไม่เอื้อซึ่งกันและกัน โดยโครงสร้างการผลิตยังเป็นแบบต่างคนต่างทำ รวมทั้งขาดข้อมูลทั้งในด้านแหล่งวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต การตลาด และขาดการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย สศอ. จึงได้เร่งจัดทำโครงการศึกษาแนวทางพัฒนาเพื่อการเพิ่ม Value Creation อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไทยมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การจะพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางให้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำได้นั้นต้องสนับสนุนให้มีการผลิตอย่างครบวงจร โดยทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันตั้งแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบยางพารา ยางแปรรูปขั้นต้นผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ ประเทศไทยจึงต้องเร่งให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสนองตอบต่ออุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยอาศัยความได้เปรียบที่เป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นจุดแข็ง เติมด้วยนวัตกรรมและเทคนิคใหม่ๆ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่เป็นเอกลักษณ์และมีความหลากหลาย เพื่อสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นการเตรียมแผนงานที่มีความเหมาะสม จะเป็นการสนับสนุนการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยโครงการศึกษาแนวทางการเพิ่ม Value Creation อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจะทำให้มีทิศทางและแผนงานที่ชัดเจนในการนำพาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไทยให้ขยายตัวได้อย่างยั่งยืนและแข็งแกร่งต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-