1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 โดยพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.26 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 20.12 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าฮาร์ตดิสไดรฟ์ (HDD) และ semiconductor ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 3.71 โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดเล็ก พัดลม สายไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อน เป็นต้น
ภาวะการตลาดโดยรวมในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.72เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ HDD และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ยูนิต ร้อยละ 25.24 และ 18.05 ตามลำดับ
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 7.38 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู ซึ่งในปี 2549 ในช่วงดังกล่าวค่อนข้างชะลอตัวจากมาตรการ NTBs ทำให้ฐานตัวเลขต่ำ ประกอบกับในช่วงนี้ภูมิอากาศแถบยุโรปค่อนข้างร้อนอาจจะมีคำสั่งซื้อขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การขยายตัวจากตลาดตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นอีกตลาดหนึ่งด้วย ทำให้ภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
หากพิจารณาแนวโน้มภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 พบว่าปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 2.34 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรก ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.15%YoY เครื่องรับโทรทัศน์ ค่อนข้างทรงตัว 0.15%YoY และตู้เย็นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.56%YoY ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการขายในประเทศที่ชะลอตัวเป็นหลัก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550โดยประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 11.20 ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน HDD ในอัตราการขยายตัวเดียวกันกับภาพรวมอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ แนวโน้มในช่วง 9 เดือนแรกของปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 17.10%YoY โดยที่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.22 ในช่วง 9 เดือนแรก เนื่องจากการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปีที่แล้ว และต้นปีของบริษัท HDD ในประเทศไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดที่นำอุปกรณ์และชิ้นส่วนนี้ไปประกอบต่อสินค้าสำเร็จรูป เช่น ตลาดจีน และอาเซียน ที่มีการขยายตัวมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ดังปรากฎใน Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีมูลค่า 28.70 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.85%YoY
แนวโน้มรายรับ (revenue) ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกในช่วงปี 2006-2011 พบว่า ทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Semiconductor) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยลดต่ำลง ตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาชะลอตัวลง และการอิ่มตัวของสินค้าเทคโนโลยีที่มีลักษณะราคาสูงเมื่อออกสู่ตลาดช่วงแรก และมีอายุสินค้าค่อนข้างสั้น ราคาต่ำลงบ้าง และมีสินค้าทดแทนลักษณะเดียวกันที่เพิ่มเทคโนโลยีเข้าไปเพื่อเพิ่มราคาขายเฉลี่ยต่อไป
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เช่น ประมาณกลางปี 2550 อียูจะมีผลบังคับใช้ REACH ในการขึ้นและจดทำเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับลดลงถือเป็นการกระตุ้นภาคเอกชนโดยรวมในการลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วนต่างๆของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีดัชนีผลผลิต
เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 132.75 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.39 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) พัดลม และโทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.87 11.02 9.55 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 3.71 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงได้แก่ โทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว พัดลม สายไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 28.37 20.37 7.43 และ 5.34 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว ที่มีการปรับตัวลดลง เนื่องมาจากความนิยมในตัวสินค้าแบบเดิมลดต่ำลง มีสินค้าทดแทนที่มีคุณภาพ ความคมชัดมากกว่าเข้ามาแทนที่ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเป็น LCD/Plasma TV และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป นอกจากนี้ ราคาขายของสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ที่เป็น LCD มีราคาต่ำลงประมาณ 20-30% ขณะที่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีเทคโนโลยีแบบเดิมยังคงมีขายในประเทศไทยในราคาที่ถูกลงเช่นกัน สนองตอบความต้องการของระดับกลางถึงล่างได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงประสบปัญหาวัตถุดิบสำคัญอย่าง LCD panel ที่ต้องนำเข้ามาเป็นหลัก นอกจากนี้ ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลอด CRT ที่ยังคงใช้ในการผลิตโทรทัศน์ขนาดเล็กเพื่อส่งออกในบางประเทศ อาจขาดแคลนได้เนื่องจากโรงงานผลิตส่วนประกอบนี้ปิดตัวลง ทำให้กำลังการผลิตปรับตัวลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้ากึ่งสำเร็จรูปมาประกอบและส่งออกอีกต่อหนึ่ง (Re-export)
สายไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง คือ วัตถุดิบที่นำมาผลิตสายไฟฟ้ามีราคาค่อนข้างสูงทำให้นำเข้าเป็นชุดสายไฟฟ้าสำเร็จรูปมากขึ้นมาประกอบไว้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เนื่องจากได้อานิสงค์ส่วนหนึ่งจากค่าเงินบาทค่อนข้างแข็งตัว โดยการนำเข้า 5 เดือนแรกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73 และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเองกว่า 70% ขณะที่ สายไฟฟ้าบางอย่างมีปริมาณการใช้ชะลอตัวลงตามอุตสาหกรรมอื่นๆในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
สำหรับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน พัดลม มีการผลิตปรับตัวลดลงในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกระติกน้ำร้อนปรับตัวลดลงเนื่องจากความต้องการในต่างประเทศค่อนข้างซบเซาในผลิตภัณฑ์นี้ ทำให้มูลค่าส่งออกลดลงใน 5 เดือนแรก ถึง 24.94 % ในเกือบทุกตลาดหลัก ยกเว้นตลาดอาเซียน ขณะที่ ตลาดในประเทศหันมานำเข้าจะถูกกว่าการผลิตในประเทศ โดยมูลค่านำเข้า 5 เดือนแรกปี 2550 มีมูลค่า 4.22 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวประมาณ 5.89% และจึงสามารถลดราคาขายให้ต่ำกว่าผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าบางรายมีการทบทวนแผนการลงทุนในสินค้าบางรายการ เช่น การผลิตไมโครเวฟ อาจจะย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามต้นปี 2551 และคอมเพรสเซอร์อาจย้ายไปผลิตที่อินเดีย เป็นต้น (“แอลจีเตรียมชะลอแผนการลงทุนในไทย”, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 16 ก.ค.50, หน้า 34) ทั้งนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกที่อาจจะลดลงได้ ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้การขยายตัวของเตาไมโครเวฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.30 มูลค่าส่งออก 224.54 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ การขายในประเทศก็อาจมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากการแข่งขันเบาบางลงจากพฤติกรรมในอดีตที่ผู้ผลิตรายใหญ่มักแข่งขันด้านราคาในห้างโมเดริ์นเทรดต่างๆ เพื่อหวังเพิ่มปริมาณจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันราคาอยู่ประมาณ 1,990 ถึงประมาณ 3,500 บาทแล้วแต่ยี่ห้อ ระบบและความจุ ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลักเพียง 5 ราย ได้แก่ Sharp, Toshiba, Samsung, LG, และ Haier
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 5.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 5.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ กล้องวีดีโอ Digital เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า ลดลงร้อยละ 10.49 10.01 และ 7.89 ตามลำดับ
ขณะที่ สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น ลดลง ร้อยละ 19.46 8.52 และ 3.85
จากดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น จะพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจะมีการปรับตัวลดลงในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เนื่องจากปัจจุบันในกลุ่มนี้มีการผลิตในประเทศค่อนข้างน้อย และย้ายฐานการผลิตไปยังจีนและประเทศอื่นๆมากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นชะลอตัว แต่ในกลุ่มสินค้า Consumer electronics ซึ่งยังขยายตัวได้ดีอยู่ ยกเว้น เครื่องเล่น DVD
จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ประเทศ นั้น พบว่า การผลิตตู้เย็นมีการปรับตัวลดลง อาจเนื่องจากการผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศชะลอตัวลง โดยเฉพาะในประเทศไทย ประกอบกับการนำเข้าของไทยจากกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเองมาขายในประเทศมีการขยายตัวร้อยละ 186.44 ในช่วง 5 เดือนแรก ขณะที่ ยังคงมีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัว ใน 5 เดือนแรก 13.34% จึงทำให้การผลิตชะลอตัวไม่มากนัก
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และทรงตัวร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.86 20.54 และ 19.78 ตามลำดับ
ขณะที่ สินค้าปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) พัดลม และสายไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 29.90 20.37 และ 10.84 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดโดยรวมของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมยังคงทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะตลาดในประเทศค่อนข้างชะลอตัว จากสินค้าที่ปรับตัวลดลงในไตรมาส 2 ปี 2550 ในทุกรายการยกเว้นเครื่องซักผ้า และเตาไมโครเวฟ ซึ่งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องซักผ้ารุ่นๆใหม่มีมากมาย เพื่อรองรับหน้าฝน ประกอบกับการจัดแคมเปญร่วมกับศูนย์สรรพสินค้า เช่น เพาเวอร์มอลล์ จัดงาน “Washing in style” กระตุ้นตลาดในช่วงหน้าฝนนี้ ราคาขายโดยรวม อยู่ระหว่าง 5,990 — 20,900 บาท พร้อมผ่อนชำระสินเชื่อ 0% และของสมมนาคุณ เช่น เตารีด เครื่องดูดฝุ่น เตาไมโครเวฟ เป็นต้น นอกจากนี้ เครื่องซักผ้า และไมโครเวฟ ยังได้รับแรงหนุนจากการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก โดยเฉพาะเตาไมโครเวฟมีมูลค่าส่งออกขยายตัว 38.30% ส่งผลให้ภาวะการตลาดของ 2 ผลิตภัณฑ์นี้ ยังคงขยายตัวได้ตามภาวะความต้องการของประเทศคู่ค้า และการส่งเสริมการขายในประเทศ
ส่วนภาวะการตลาดโดยรวมของเครื่องปรับอากาศ มีการขยายตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอานิสงค์ของการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดอียู ใน 5 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 66.26 ซึ่งปีนี้เผชิญกับสภาพอากาศร้อนในหลายประเทศ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัว ทำให้การส่งออกกระเตื้องขึ้นหลังจากปีก่อนมีชะลอบ้างจากมาตรการที่มิใช่ภาษีที่ประกาศใช้ในช่วงกลางปี (RoHS) อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดในประเทศค่อนข้างชะลอตัวถึงแม้มีการจัดแคมเปญกระตุ้นการซื้ออยู่บ้างแต่ก็เพิ่มได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายพร้อมติดตั้งไปกับงานโครงการคอนโดมิเนียม/ที่พักอาศัย เพื่อกระตุ้นยอดขายอีกทางหนึ่ง
ส่วนภาวะตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ ปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากตลาดส่งออกสหรัฐอเมริกา ถูกตัดจีเอสพี ปรับตัวลดลงในช่วง 5 เดือนแรก 55.20% ส่วนตลาดในประเทศของเครื่องรับโทรทัศน์ในไตรมาส 2 ปรับตัวลดลง ถึงแม้ราคาจะถูกลงมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาดประมาณ 21-29 นิ้ว มีราคาตั้งแต่ 3,500 ถึง 8,500 บาท ซึ่งยังคงวางขายตาม Modern trade ต่างๆ มากมาย หากขนาดใหญ่กว่านี้จะนิยมใช้จอ LCD และ plasma TV ที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไป และแนวโน้มราคาเริ่มลดลงด้วย ส่วนใหญ่วางขายผ่าน dealer และห้างสรรพสินค้าใหญ่ เช่น PowerMall, PowerBuy เป็นต้น
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ กล้องวีดีโอ Digital ตู้เย็น และ LCD ลดลงร้อยละ 8.42 6.49 และ 4.27 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ กล้องถ่ายรูป Digital LCD และ กล้องวีดีโอ Digital เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.84 15.37 และ 10.65
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ลดลง ร้อยละ 5.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.12 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ HDD และ Semiconductor เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.25 และ 12.44 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะHDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับการขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะจีนที่ไทยส่งออกขยายตัวร้อยละ 29.95 ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2550 มีมูลค่าที่ไทยส่งออก 1,144.88 ล้านเหรียญสหรัฐ สอดคล้องกับรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association: SIA) พบว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2550 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าจำหน่าย 28.70 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำโดยเฉพาะ consumer electronicsประเภทโทรศัพท์มือถือ แต่ต้องขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท และที่สำคัญต้องเข้าสู่ตลาดก่อนเพื่อตักตวงยอดขายก่อน
ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็นหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ (CRT) ลดลงมากถึงร้อยละ 26.30 ซึ่งมีโรงงานแห่งหนึ่งปิดตัวในช่วงไตรมาส 4/49 ทำให้การผลิตลดลงกว่าครึ่ง โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น มีการเข้ามาแทนของเทคโนโลยีอื่นๆทำให้การผลิตลดลง รวมถึงราคาของ LCD/Plasma ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของจอ CRT ลดลง
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี2550 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.01 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ร้อยละ 21.54 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Semiconductor ร้อยละ 25.24 และ 12.08 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จากการรายงานของ Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 59.86 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.96 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาคยกเว้นญี่ปุ่นที่ค่อนข้างทรงตัว และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าทรงตัวร้อยละ 0.87 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดไอทีหลัก ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.78 เนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศนี้เอง จากตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของสหรัฐ พบว่า ในไตรมาสที่ 2 GDP เติบโตเพียง 3.4% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ปริมาณความต้องการ Mobile PC ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 28% ขณะที่ โทรศัพท์มือถือแบบเดิม ขยายตัวเพียง 10% นอกจากนี้ราคาขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ยังคงตกต่ำลงเช่นกัน ส่งผลถึงยอดรายรับในปี 2550 คาดว่าเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลง เหลือเพียง 5% เท่านั้น สะท้อนภาพผลิตภัณฑ์จะต้องมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ต้องทำได้มากกว่า 1 อย่าง (multifunction) เช่น ทั้ง PC และโทรศัพท์ ทั้งนี้ จากปริมาณความต้องการ Mobile PC ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลให้การแข่งขันใน Mobile PC Storage ค่อนข้างรุนแรงของผู้ผลิตรายใหญ่ ทั้ง 6 ได้แก่ Seagate, Western Digital, Hitachi Global Storage, Samsung Electronics, Fujitsu, และ Toshiba ก่อให้เกิดอุปทานส่วนเกิน/สินค้าคงคลังได้ในอนาคต และก่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคาในที่สุด
สิ่งที่เป็นที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ภาพรวมของอัตราการเจริญเติบโตของรายรับ (worldwide revenue) จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในช่วงปี 2004-2006 พบว่า อัตราการขยายตัวส่วนใหญ่เป็นไปในอัตราที่ชะลอตัว กล่าวคือ อัตราการเจริญเติบโตในช่วงปี 2004-2006 ปรับตัวลดลงดังนี้ 11% 8% และ 7.7% ตามลำดับ ส่วนหนึ่งจากราคาขายเฉลี่ยตกต่ำลง ตลาดหลักสหรัฐชะลอตัวลง (GDP Growth ช่วงปี 2004-2006 ลดลงจาก 3.6% 3.1% 2.9% ตามลำดับ ) อย่างไรก็ตาม ก็มีการปรับเปลี่ยน/พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าสูงขึ้นเพื่อการแทนที่ผลิตภัณฑ์กลุ่มเดียวกันเสมอ เพื่อยืด/ต่อยอดวัฎจักรไม่ให้เข้าสู่ช่วงถดถอยต่อไปได้
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 ปี 2550
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 7.38 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู ซึ่งในปี 2549 ในช่วงดังกล่าวค่อนข้างชะลอตัวจากมาตรการ NTBs ทำให้ฐานตัวเลขต่ำ ประกอบกับในช่วงนี้ภูมิอากาศแถบยุโรปค่อนข้างร้อนอาจมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดตะวันออกกลางอีกตลาดหนึ่งด้วย ทำให้ภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยผลการประมาณการแนวโน้มไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เป็นรายผลิตภัณฑ์ ปรากฎผลดังนี้ คือ เครื่องปรับอากาศ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.04 และเครื่องรับโทรทัศน์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 2.95 ขณะที่ ตู้เย็น ปรับตัวลดลง ร้อยละ 6.46
หากพิจารณาแนวโน้มภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 พบว่าปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 2.34 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรก ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.15%YoY เครื่องรับโทรทัศน์ ค่อนข้างทรงตัว 0.15%YoY และตู้เย็นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.56%YoY ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการขายในประเทศที่ชะลอตัวเป็นหลัก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550โดยประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 11.20 ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน HDD ในอัตราการขยายตัวเดียวกันกับภาพรวมอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ แนวโน้มในช่วง 9 เดือนแรกของปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 17.10%YoY โดยที่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.22 ในช่วง 9 เดือนแรก เนื่องจากการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปีที่แล้ว และต้นปีของบริษัท HDD ในประเทศไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดที่นำอุปกรณ์และชิ้นส่วนนี้ไปประกอบต่อสินค้าสำเร็จรูป เช่น ตลาดจีน และอาเซียน ที่มีการขยายตัวมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ดังปรากฎใน Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีมูลค่า 28.70 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.85%YoY
หากพิจารณาแนวโน้มรายรับ (revenue) ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกในช่วงปี 2006-2011 พบว่า ทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Semiconductor) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยลดต่ำลง ตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาชะลอตัวลง และการอิ่มตัวของสินค้าเทคโนโลยีที่มีลักษณะราคาสูงเมื่อออกสู่ตลาดช่วงแรก และมีอายุสินค้าค่อนข้างสั้น ราคาต่ำลงบ้าง และมีสินค้าทดแทนลักษณะเดียวกันที่เพิ่มเทคโนโลยีเข้าไปเพื่อเพิ่มราคาขายเฉลี่ยต่อไป
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เช่น ประมาณกลางปี 2550 อียูจะมีผลบังคับใช้ REACH ในการขึ้นและจดทำเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับลดลงถือเป็นการกระตุ้นภาคเอกชนโดยรวมในการลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วนต่างๆของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 โดยพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.26 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 20.12 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าฮาร์ตดิสไดรฟ์ (HDD) และ semiconductor ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 3.71 โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดเล็ก พัดลม สายไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อน เป็นต้น
ภาวะการตลาดโดยรวมในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.72เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ HDD และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ยูนิต ร้อยละ 25.24 และ 18.05 ตามลำดับ
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 7.38 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู ซึ่งในปี 2549 ในช่วงดังกล่าวค่อนข้างชะลอตัวจากมาตรการ NTBs ทำให้ฐานตัวเลขต่ำ ประกอบกับในช่วงนี้ภูมิอากาศแถบยุโรปค่อนข้างร้อนอาจจะมีคำสั่งซื้อขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การขยายตัวจากตลาดตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นอีกตลาดหนึ่งด้วย ทำให้ภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
หากพิจารณาแนวโน้มภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 พบว่าปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 2.34 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรก ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.15%YoY เครื่องรับโทรทัศน์ ค่อนข้างทรงตัว 0.15%YoY และตู้เย็นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.56%YoY ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการขายในประเทศที่ชะลอตัวเป็นหลัก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550โดยประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 11.20 ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน HDD ในอัตราการขยายตัวเดียวกันกับภาพรวมอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ แนวโน้มในช่วง 9 เดือนแรกของปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 17.10%YoY โดยที่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.22 ในช่วง 9 เดือนแรก เนื่องจากการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปีที่แล้ว และต้นปีของบริษัท HDD ในประเทศไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดที่นำอุปกรณ์และชิ้นส่วนนี้ไปประกอบต่อสินค้าสำเร็จรูป เช่น ตลาดจีน และอาเซียน ที่มีการขยายตัวมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ดังปรากฎใน Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีมูลค่า 28.70 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.85%YoY
แนวโน้มรายรับ (revenue) ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกในช่วงปี 2006-2011 พบว่า ทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Semiconductor) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยลดต่ำลง ตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาชะลอตัวลง และการอิ่มตัวของสินค้าเทคโนโลยีที่มีลักษณะราคาสูงเมื่อออกสู่ตลาดช่วงแรก และมีอายุสินค้าค่อนข้างสั้น ราคาต่ำลงบ้าง และมีสินค้าทดแทนลักษณะเดียวกันที่เพิ่มเทคโนโลยีเข้าไปเพื่อเพิ่มราคาขายเฉลี่ยต่อไป
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เช่น ประมาณกลางปี 2550 อียูจะมีผลบังคับใช้ REACH ในการขึ้นและจดทำเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับลดลงถือเป็นการกระตุ้นภาคเอกชนโดยรวมในการลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วนต่างๆของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีดัชนีผลผลิต
เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 132.75 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.39 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) พัดลม และโทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.87 11.02 9.55 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 3.71 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงได้แก่ โทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว พัดลม สายไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 28.37 20.37 7.43 และ 5.34 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว ที่มีการปรับตัวลดลง เนื่องมาจากความนิยมในตัวสินค้าแบบเดิมลดต่ำลง มีสินค้าทดแทนที่มีคุณภาพ ความคมชัดมากกว่าเข้ามาแทนที่ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเป็น LCD/Plasma TV และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป นอกจากนี้ ราคาขายของสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ที่เป็น LCD มีราคาต่ำลงประมาณ 20-30% ขณะที่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีเทคโนโลยีแบบเดิมยังคงมีขายในประเทศไทยในราคาที่ถูกลงเช่นกัน สนองตอบความต้องการของระดับกลางถึงล่างได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงประสบปัญหาวัตถุดิบสำคัญอย่าง LCD panel ที่ต้องนำเข้ามาเป็นหลัก นอกจากนี้ ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลอด CRT ที่ยังคงใช้ในการผลิตโทรทัศน์ขนาดเล็กเพื่อส่งออกในบางประเทศ อาจขาดแคลนได้เนื่องจากโรงงานผลิตส่วนประกอบนี้ปิดตัวลง ทำให้กำลังการผลิตปรับตัวลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้ากึ่งสำเร็จรูปมาประกอบและส่งออกอีกต่อหนึ่ง (Re-export)
สายไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง คือ วัตถุดิบที่นำมาผลิตสายไฟฟ้ามีราคาค่อนข้างสูงทำให้นำเข้าเป็นชุดสายไฟฟ้าสำเร็จรูปมากขึ้นมาประกอบไว้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เนื่องจากได้อานิสงค์ส่วนหนึ่งจากค่าเงินบาทค่อนข้างแข็งตัว โดยการนำเข้า 5 เดือนแรกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73 และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเองกว่า 70% ขณะที่ สายไฟฟ้าบางอย่างมีปริมาณการใช้ชะลอตัวลงตามอุตสาหกรรมอื่นๆในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
สำหรับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน พัดลม มีการผลิตปรับตัวลดลงในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกระติกน้ำร้อนปรับตัวลดลงเนื่องจากความต้องการในต่างประเทศค่อนข้างซบเซาในผลิตภัณฑ์นี้ ทำให้มูลค่าส่งออกลดลงใน 5 เดือนแรก ถึง 24.94 % ในเกือบทุกตลาดหลัก ยกเว้นตลาดอาเซียน ขณะที่ ตลาดในประเทศหันมานำเข้าจะถูกกว่าการผลิตในประเทศ โดยมูลค่านำเข้า 5 เดือนแรกปี 2550 มีมูลค่า 4.22 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวประมาณ 5.89% และจึงสามารถลดราคาขายให้ต่ำกว่าผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าบางรายมีการทบทวนแผนการลงทุนในสินค้าบางรายการ เช่น การผลิตไมโครเวฟ อาจจะย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามต้นปี 2551 และคอมเพรสเซอร์อาจย้ายไปผลิตที่อินเดีย เป็นต้น (“แอลจีเตรียมชะลอแผนการลงทุนในไทย”, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 16 ก.ค.50, หน้า 34) ทั้งนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกที่อาจจะลดลงได้ ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้การขยายตัวของเตาไมโครเวฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.30 มูลค่าส่งออก 224.54 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ การขายในประเทศก็อาจมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากการแข่งขันเบาบางลงจากพฤติกรรมในอดีตที่ผู้ผลิตรายใหญ่มักแข่งขันด้านราคาในห้างโมเดริ์นเทรดต่างๆ เพื่อหวังเพิ่มปริมาณจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันราคาอยู่ประมาณ 1,990 ถึงประมาณ 3,500 บาทแล้วแต่ยี่ห้อ ระบบและความจุ ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลักเพียง 5 ราย ได้แก่ Sharp, Toshiba, Samsung, LG, และ Haier
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 5.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 5.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ กล้องวีดีโอ Digital เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า ลดลงร้อยละ 10.49 10.01 และ 7.89 ตามลำดับ
ขณะที่ สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น ลดลง ร้อยละ 19.46 8.52 และ 3.85
จากดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น จะพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจะมีการปรับตัวลดลงในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เนื่องจากปัจจุบันในกลุ่มนี้มีการผลิตในประเทศค่อนข้างน้อย และย้ายฐานการผลิตไปยังจีนและประเทศอื่นๆมากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นชะลอตัว แต่ในกลุ่มสินค้า Consumer electronics ซึ่งยังขยายตัวได้ดีอยู่ ยกเว้น เครื่องเล่น DVD
จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของทั้ง 2 ประเทศ นั้น พบว่า การผลิตตู้เย็นมีการปรับตัวลดลง อาจเนื่องจากการผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศชะลอตัวลง โดยเฉพาะในประเทศไทย ประกอบกับการนำเข้าของไทยจากกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเองมาขายในประเทศมีการขยายตัวร้อยละ 186.44 ในช่วง 5 เดือนแรก ขณะที่ ยังคงมีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัว ใน 5 เดือนแรก 13.34% จึงทำให้การผลิตชะลอตัวไม่มากนัก
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และทรงตัวร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.86 20.54 และ 19.78 ตามลำดับ
ขณะที่ สินค้าปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) พัดลม และสายไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 29.90 20.37 และ 10.84 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดโดยรวมของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมยังคงทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะตลาดในประเทศค่อนข้างชะลอตัว จากสินค้าที่ปรับตัวลดลงในไตรมาส 2 ปี 2550 ในทุกรายการยกเว้นเครื่องซักผ้า และเตาไมโครเวฟ ซึ่งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องซักผ้ารุ่นๆใหม่มีมากมาย เพื่อรองรับหน้าฝน ประกอบกับการจัดแคมเปญร่วมกับศูนย์สรรพสินค้า เช่น เพาเวอร์มอลล์ จัดงาน “Washing in style” กระตุ้นตลาดในช่วงหน้าฝนนี้ ราคาขายโดยรวม อยู่ระหว่าง 5,990 — 20,900 บาท พร้อมผ่อนชำระสินเชื่อ 0% และของสมมนาคุณ เช่น เตารีด เครื่องดูดฝุ่น เตาไมโครเวฟ เป็นต้น นอกจากนี้ เครื่องซักผ้า และไมโครเวฟ ยังได้รับแรงหนุนจากการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก โดยเฉพาะเตาไมโครเวฟมีมูลค่าส่งออกขยายตัว 38.30% ส่งผลให้ภาวะการตลาดของ 2 ผลิตภัณฑ์นี้ ยังคงขยายตัวได้ตามภาวะความต้องการของประเทศคู่ค้า และการส่งเสริมการขายในประเทศ
ส่วนภาวะการตลาดโดยรวมของเครื่องปรับอากาศ มีการขยายตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอานิสงค์ของการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดอียู ใน 5 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 66.26 ซึ่งปีนี้เผชิญกับสภาพอากาศร้อนในหลายประเทศ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัว ทำให้การส่งออกกระเตื้องขึ้นหลังจากปีก่อนมีชะลอบ้างจากมาตรการที่มิใช่ภาษีที่ประกาศใช้ในช่วงกลางปี (RoHS) อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดในประเทศค่อนข้างชะลอตัวถึงแม้มีการจัดแคมเปญกระตุ้นการซื้ออยู่บ้างแต่ก็เพิ่มได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายพร้อมติดตั้งไปกับงานโครงการคอนโดมิเนียม/ที่พักอาศัย เพื่อกระตุ้นยอดขายอีกทางหนึ่ง
ส่วนภาวะตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ ปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากตลาดส่งออกสหรัฐอเมริกา ถูกตัดจีเอสพี ปรับตัวลดลงในช่วง 5 เดือนแรก 55.20% ส่วนตลาดในประเทศของเครื่องรับโทรทัศน์ในไตรมาส 2 ปรับตัวลดลง ถึงแม้ราคาจะถูกลงมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาดประมาณ 21-29 นิ้ว มีราคาตั้งแต่ 3,500 ถึง 8,500 บาท ซึ่งยังคงวางขายตาม Modern trade ต่างๆ มากมาย หากขนาดใหญ่กว่านี้จะนิยมใช้จอ LCD และ plasma TV ที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไป และแนวโน้มราคาเริ่มลดลงด้วย ส่วนใหญ่วางขายผ่าน dealer และห้างสรรพสินค้าใหญ่ เช่น PowerMall, PowerBuy เป็นต้น
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ กล้องวีดีโอ Digital ตู้เย็น และ LCD ลดลงร้อยละ 8.42 6.49 และ 4.27 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ กล้องถ่ายรูป Digital LCD และ กล้องวีดีโอ Digital เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.84 15.37 และ 10.65
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ลดลง ร้อยละ 5.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.12 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ HDD และ Semiconductor เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.25 และ 12.44 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะHDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับการขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะจีนที่ไทยส่งออกขยายตัวร้อยละ 29.95 ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2550 มีมูลค่าที่ไทยส่งออก 1,144.88 ล้านเหรียญสหรัฐ สอดคล้องกับรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association: SIA) พบว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2550 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าจำหน่าย 28.70 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำโดยเฉพาะ consumer electronicsประเภทโทรศัพท์มือถือ แต่ต้องขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท และที่สำคัญต้องเข้าสู่ตลาดก่อนเพื่อตักตวงยอดขายก่อน
ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็นหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ (CRT) ลดลงมากถึงร้อยละ 26.30 ซึ่งมีโรงงานแห่งหนึ่งปิดตัวในช่วงไตรมาส 4/49 ทำให้การผลิตลดลงกว่าครึ่ง โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น มีการเข้ามาแทนของเทคโนโลยีอื่นๆทำให้การผลิตลดลง รวมถึงราคาของ LCD/Plasma ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของจอ CRT ลดลง
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี2550 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.01 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ร้อยละ 21.54 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Semiconductor ร้อยละ 25.24 และ 12.08 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จากการรายงานของ Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 59.86 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.96 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาคยกเว้นญี่ปุ่นที่ค่อนข้างทรงตัว และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าทรงตัวร้อยละ 0.87 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดไอทีหลัก ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.78 เนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศนี้เอง จากตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของสหรัฐ พบว่า ในไตรมาสที่ 2 GDP เติบโตเพียง 3.4% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ปริมาณความต้องการ Mobile PC ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 28% ขณะที่ โทรศัพท์มือถือแบบเดิม ขยายตัวเพียง 10% นอกจากนี้ราคาขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ยังคงตกต่ำลงเช่นกัน ส่งผลถึงยอดรายรับในปี 2550 คาดว่าเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลง เหลือเพียง 5% เท่านั้น สะท้อนภาพผลิตภัณฑ์จะต้องมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ต้องทำได้มากกว่า 1 อย่าง (multifunction) เช่น ทั้ง PC และโทรศัพท์ ทั้งนี้ จากปริมาณความต้องการ Mobile PC ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลให้การแข่งขันใน Mobile PC Storage ค่อนข้างรุนแรงของผู้ผลิตรายใหญ่ ทั้ง 6 ได้แก่ Seagate, Western Digital, Hitachi Global Storage, Samsung Electronics, Fujitsu, และ Toshiba ก่อให้เกิดอุปทานส่วนเกิน/สินค้าคงคลังได้ในอนาคต และก่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคาในที่สุด
สิ่งที่เป็นที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ภาพรวมของอัตราการเจริญเติบโตของรายรับ (worldwide revenue) จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในช่วงปี 2004-2006 พบว่า อัตราการขยายตัวส่วนใหญ่เป็นไปในอัตราที่ชะลอตัว กล่าวคือ อัตราการเจริญเติบโตในช่วงปี 2004-2006 ปรับตัวลดลงดังนี้ 11% 8% และ 7.7% ตามลำดับ ส่วนหนึ่งจากราคาขายเฉลี่ยตกต่ำลง ตลาดหลักสหรัฐชะลอตัวลง (GDP Growth ช่วงปี 2004-2006 ลดลงจาก 3.6% 3.1% 2.9% ตามลำดับ ) อย่างไรก็ตาม ก็มีการปรับเปลี่ยน/พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าสูงขึ้นเพื่อการแทนที่ผลิตภัณฑ์กลุ่มเดียวกันเสมอ เพื่อยืด/ต่อยอดวัฎจักรไม่ให้เข้าสู่ช่วงถดถอยต่อไปได้
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 ปี 2550
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 7.38 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู ซึ่งในปี 2549 ในช่วงดังกล่าวค่อนข้างชะลอตัวจากมาตรการ NTBs ทำให้ฐานตัวเลขต่ำ ประกอบกับในช่วงนี้ภูมิอากาศแถบยุโรปค่อนข้างร้อนอาจมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดตะวันออกกลางอีกตลาดหนึ่งด้วย ทำให้ภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยผลการประมาณการแนวโน้มไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เป็นรายผลิตภัณฑ์ ปรากฎผลดังนี้ คือ เครื่องปรับอากาศ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.04 และเครื่องรับโทรทัศน์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 2.95 ขณะที่ ตู้เย็น ปรับตัวลดลง ร้อยละ 6.46
หากพิจารณาแนวโน้มภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 พบว่าปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 2.34 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรก ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.15%YoY เครื่องรับโทรทัศน์ ค่อนข้างทรงตัว 0.15%YoY และตู้เย็นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.56%YoY ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการขายในประเทศที่ชะลอตัวเป็นหลัก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550โดยประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 11.20 ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน HDD ในอัตราการขยายตัวเดียวกันกับภาพรวมอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ แนวโน้มในช่วง 9 เดือนแรกของปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 17.10%YoY โดยที่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.22 ในช่วง 9 เดือนแรก เนื่องจากการขยายกำลังการผลิตในช่วงปลายปีที่แล้ว และต้นปีของบริษัท HDD ในประเทศไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดที่นำอุปกรณ์และชิ้นส่วนนี้ไปประกอบต่อสินค้าสำเร็จรูป เช่น ตลาดจีน และอาเซียน ที่มีการขยายตัวมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ดังปรากฎใน Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีมูลค่า 28.70 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.85%YoY
หากพิจารณาแนวโน้มรายรับ (revenue) ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกในช่วงปี 2006-2011 พบว่า ทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Semiconductor) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยลดต่ำลง ตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาชะลอตัวลง และการอิ่มตัวของสินค้าเทคโนโลยีที่มีลักษณะราคาสูงเมื่อออกสู่ตลาดช่วงแรก และมีอายุสินค้าค่อนข้างสั้น ราคาต่ำลงบ้าง และมีสินค้าทดแทนลักษณะเดียวกันที่เพิ่มเทคโนโลยีเข้าไปเพื่อเพิ่มราคาขายเฉลี่ยต่อไป
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เช่น ประมาณกลางปี 2550 อียูจะมีผลบังคับใช้ REACH ในการขึ้นและจดทำเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับลดลงถือเป็นการกระตุ้นภาคเอกชนโดยรวมในการลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วนต่างๆของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-