1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 4.26 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 0.69 และ 22.26 ตามลำดับ สำหรับปริมาณการผลิตในปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 18.46 ล้าน
ชิ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ 9.77 เนื่องจากต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนปรับตัวสูงขึ้น จากการที่ราคาวัตถุดิบสำคัญคือไม้
ยางพารา รวมทั้งราคาน้ำมัน ค่าขนส่งและต้นทุนแรงงานยังอยู่ในระดับสูง จึงทำให้ผู้ผลิตปรับลดปริมาณการผลิตลง
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการจำหน่าย 0.77 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.39 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 66.37 สำหรับในปี 2549 มีปริมาณการจำหน่าย
ในประเทศ 3.72 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน การจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 54.47
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่ลดลงนี้ เนื่องจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยและ
ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้อง
ประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากสินค้านำเข้าจากประเทศจีนที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 570.00 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.14 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.63 สำหรับในปี 2549 มี
มูลค่าการส่งออก2,162.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.54 เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐ
อเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ยังขยายตัวได้ดี นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ เช่น จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ รัสเซีย
และละตินอเมริกา มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า
ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่น ๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาสนี้ มี
มูลค่าการส่งออก 283.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.34 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 4.44 สำหรับ
ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้น
ส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่ง
ออก 97.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกประมาณร้อยละ 18 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 4.05 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.78 ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์
ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และ
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 189.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 32 ของมูลค่าการส่ง
ออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.60 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.82 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือไม้แปรรูป รองลงมาคือ ไม้อัด และไฟเบอร์บอร์ด ตามลำดับ
สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้และไต้หวัน
2.3 การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีจำนวน 167.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 7.60 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 0.17 สำหรับในปี 2549 มี มูลค่าการนำเข้า 620.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 13.99 โดยการนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภท
ไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่องเช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้ซุงท่อนส่วนใหญ่จะนำเข้าจาก
ประเทศเมียนมาร์ และมาเลเซีย สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทไม้หรือไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ลาว และสหรัฐ
อเมริกา และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์จะนำเข้าจากประเทศจีน มาเลเซียและ อินโดนีเซีย ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย ในไตรมาสที่ 4 ปี2549 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ราคาไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ รวมทั้ง
ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ต้นทุนแรงงาน และอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขี้น ส่งผลให้มีการผลิตและการจำหน่ายสินค้าไม้
และเครื่องเรือนในประเทศลดลงตามไปด้วย สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2550
น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากสถาณการณ์ทางการเมืองที่เริ่มจะคลี่คลาย ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่ง
ออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังขยายตัวในอัตราสูง นอกจากนี้ ตลาดใหม่ เช่น จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง
แอฟริกาใต้ รัสเซีย และละตินอเมริกา ก็มีการขยายตัวที่ดีเช่นกัน
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2550 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุ
ธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ยังคงได้รับความนิยมจากตลาดต่างประเทศ อีกทั้งการส่งออกไปยังตลาดส่งออกหลัก และตลาดส่งออกรายใหม่ของไทยยังคง
ขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะตลาดของสหภาพยุโรป ที่ผู้ประกอบการยังมีโอกาสเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่สำคัญในการส่งออก คือ
การแข็งค่าของเงินบาท ต้นทุนการผลิตที่สูงและการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีน และเวียดนาม โดยเฉพาะเวียดนามที่เข้าไปบุกตลาดสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทย ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยจึงควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาคุณภาพสินค้า ตลอดจนการพัฒนา
รูปแบบเพื่อเพิ่มความแตกต่าง และเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
Apr-48 Mar-49 Apr-49 (ม.ค.- ธ.ค.) (ม.ค.- ธ.ค.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 5.48 4.29 4.26 20.46 18.46
เทียบกับไตรมาสก่อน -0.69
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -22.26 -9.77
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
Apr-48 Mar-49 Apr-49 (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 2.29 0.46 0.77 8.19 3.72
เทียบกับไตรมาสก่อน 67.39
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -66.37 -54.47
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2548 ปี 2549 เทียบกับช่วงเดียวกัน
Apr-48 Mar-49 Apr-49 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค) (ม.ค.-ธ.ค.) ของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 296.8 277.1 283.6 2.34 -4.44 1,110.20 1,098.80 -1.02
1.1 เครื่องเรือนไม้ 179.7 150.9 152.8 1.25 -14.96 662.2 612.4 -7.52
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 72.4 70.2 72.4 3.13 0 286.3 278.6 -2.68
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 44.7 56 58.4 4.28 30.64 161.7 207.8 28.5
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 95.4 101.2 97.1 -4.05 1.78 363.1 365.5 0.66
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 22 21.7 19.8 -8.75 -10 96.4 81.7 -15.24
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 29 34.8 35.2 1.14 21.37 124.6 124.9 0.24
2.3 กรอบรูปไม้ 25 30.9 28.2 -8.73 12.8 94.2 107.8 14.43
2.4 รูปแกะสลักไม้ 12.3 13.8 13.9 0.72 13 47.9 51.1 6.68
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 143.6 174.3 189.3 8.6 31.82 556.5 698.4 25.49
3.1 ไม้แปรรูป 47.2 70.1 73.2 4.42 55.08 205.5 268.4 30.6
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 2.1 2.7 2.3 -14.81 9.52 8.8 7.9 -10.22
3.3 ไม้อัด 39.3 51.8 56.8 9.65 44.52 148.2 217.1 46.49
3.4 Fiber Board 31.9 41.7 45.3 8.63 42 128.5 158.5 23.34
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 9.6 8 11.7 46.25 21.87 65.5 46.5 -29
รวม 515.2 552.6 570 3.14 10.63 2,029.80 2,162.70 6.54
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
รายการ ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2548 ปี 2549 เทียบกับ
Apr-48 Mar-49 Apr-49 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.) ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 28.3 26 35.8 37.69 26.5 116.9 109.8 -6.07
ไม้แปรรูป 110.5 92.4 89.4 -3.24 -19.09 482.9 370.3 -23.32
ไม้อัด วีเนียร์ 20.3 25 29 16 42.85 88 95.1 8.07
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 8.2 11.8 12.8 8.47 56.09 33.1 44.8 35.35
รวม 167.3 155.2 167 7.6 -0.17 720.9 620 -13.99
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 4.26 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 0.69 และ 22.26 ตามลำดับ สำหรับปริมาณการผลิตในปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 18.46 ล้าน
ชิ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ 9.77 เนื่องจากต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนปรับตัวสูงขึ้น จากการที่ราคาวัตถุดิบสำคัญคือไม้
ยางพารา รวมทั้งราคาน้ำมัน ค่าขนส่งและต้นทุนแรงงานยังอยู่ในระดับสูง จึงทำให้ผู้ผลิตปรับลดปริมาณการผลิตลง
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการจำหน่าย 0.77 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.39 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 66.37 สำหรับในปี 2549 มีปริมาณการจำหน่าย
ในประเทศ 3.72 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน การจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 54.47
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่ลดลงนี้ เนื่องจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยและ
ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้อง
ประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากสินค้านำเข้าจากประเทศจีนที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 570.00 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.14 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.63 สำหรับในปี 2549 มี
มูลค่าการส่งออก2,162.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.54 เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐ
อเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ยังขยายตัวได้ดี นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ เช่น จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ รัสเซีย
และละตินอเมริกา มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า
ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่น ๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาสนี้ มี
มูลค่าการส่งออก 283.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.34 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 4.44 สำหรับ
ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้น
ส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่ง
ออก 97.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกประมาณร้อยละ 18 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 4.05 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.78 ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์
ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และ
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 189.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 32 ของมูลค่าการส่ง
ออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.60 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.82 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือไม้แปรรูป รองลงมาคือ ไม้อัด และไฟเบอร์บอร์ด ตามลำดับ
สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้และไต้หวัน
2.3 การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีจำนวน 167.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 7.60 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 0.17 สำหรับในปี 2549 มี มูลค่าการนำเข้า 620.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 13.99 โดยการนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภท
ไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่องเช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้ซุงท่อนส่วนใหญ่จะนำเข้าจาก
ประเทศเมียนมาร์ และมาเลเซีย สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทไม้หรือไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ลาว และสหรัฐ
อเมริกา และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์จะนำเข้าจากประเทศจีน มาเลเซียและ อินโดนีเซีย ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย ในไตรมาสที่ 4 ปี2549 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ราคาไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ รวมทั้ง
ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ต้นทุนแรงงาน และอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขี้น ส่งผลให้มีการผลิตและการจำหน่ายสินค้าไม้
และเครื่องเรือนในประเทศลดลงตามไปด้วย สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2550
น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากสถาณการณ์ทางการเมืองที่เริ่มจะคลี่คลาย ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่ง
ออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังขยายตัวในอัตราสูง นอกจากนี้ ตลาดใหม่ เช่น จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง
แอฟริกาใต้ รัสเซีย และละตินอเมริกา ก็มีการขยายตัวที่ดีเช่นกัน
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2550 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุ
ธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ยังคงได้รับความนิยมจากตลาดต่างประเทศ อีกทั้งการส่งออกไปยังตลาดส่งออกหลัก และตลาดส่งออกรายใหม่ของไทยยังคง
ขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะตลาดของสหภาพยุโรป ที่ผู้ประกอบการยังมีโอกาสเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่สำคัญในการส่งออก คือ
การแข็งค่าของเงินบาท ต้นทุนการผลิตที่สูงและการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีน และเวียดนาม โดยเฉพาะเวียดนามที่เข้าไปบุกตลาดสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทย ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยจึงควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาคุณภาพสินค้า ตลอดจนการพัฒนา
รูปแบบเพื่อเพิ่มความแตกต่าง และเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
Apr-48 Mar-49 Apr-49 (ม.ค.- ธ.ค.) (ม.ค.- ธ.ค.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 5.48 4.29 4.26 20.46 18.46
เทียบกับไตรมาสก่อน -0.69
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -22.26 -9.77
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
Apr-48 Mar-49 Apr-49 (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 2.29 0.46 0.77 8.19 3.72
เทียบกับไตรมาสก่อน 67.39
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -66.37 -54.47
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2548 ปี 2549 เทียบกับช่วงเดียวกัน
Apr-48 Mar-49 Apr-49 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค) (ม.ค.-ธ.ค.) ของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 296.8 277.1 283.6 2.34 -4.44 1,110.20 1,098.80 -1.02
1.1 เครื่องเรือนไม้ 179.7 150.9 152.8 1.25 -14.96 662.2 612.4 -7.52
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 72.4 70.2 72.4 3.13 0 286.3 278.6 -2.68
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 44.7 56 58.4 4.28 30.64 161.7 207.8 28.5
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 95.4 101.2 97.1 -4.05 1.78 363.1 365.5 0.66
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 22 21.7 19.8 -8.75 -10 96.4 81.7 -15.24
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 29 34.8 35.2 1.14 21.37 124.6 124.9 0.24
2.3 กรอบรูปไม้ 25 30.9 28.2 -8.73 12.8 94.2 107.8 14.43
2.4 รูปแกะสลักไม้ 12.3 13.8 13.9 0.72 13 47.9 51.1 6.68
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 143.6 174.3 189.3 8.6 31.82 556.5 698.4 25.49
3.1 ไม้แปรรูป 47.2 70.1 73.2 4.42 55.08 205.5 268.4 30.6
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 2.1 2.7 2.3 -14.81 9.52 8.8 7.9 -10.22
3.3 ไม้อัด 39.3 51.8 56.8 9.65 44.52 148.2 217.1 46.49
3.4 Fiber Board 31.9 41.7 45.3 8.63 42 128.5 158.5 23.34
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 9.6 8 11.7 46.25 21.87 65.5 46.5 -29
รวม 515.2 552.6 570 3.14 10.63 2,029.80 2,162.70 6.54
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
รายการ ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2548 ปี 2549 เทียบกับ
Apr-48 Mar-49 Apr-49 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.) ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 28.3 26 35.8 37.69 26.5 116.9 109.8 -6.07
ไม้แปรรูป 110.5 92.4 89.4 -3.24 -19.09 482.9 370.3 -23.32
ไม้อัด วีเนียร์ 20.3 25 29 16 42.85 88 95.1 8.07
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 8.2 11.8 12.8 8.47 56.09 33.1 44.8 35.35
รวม 167.3 155.2 167 7.6 -0.17 720.9 620 -13.99
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-