1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (31 ม.ค.— 4 ก.พ. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 654.62 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 301.67 ตัน สัตว์น้ำจืด 352.95 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.38 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.23 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 55.33 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.17 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 42.30 ตัน
การตลาด
สหรัฐอเมริกากำหนดมาตรฐานACCบังคับผู้ส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.)เปิดเผยว่า ขณะนี้ห้างสรรพสินค้า Wal mart และ Daren Restaurant ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้ากุ้งรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการรับรองจาก ACC (Aquacuture Certification Council, Inc.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐานของภาคเอกชนในสหรัฐอเมริกา และผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน “ หลักปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นเลิศ ” หรือ BAP (Best Aquaculture Practice) ด้วย โดยเริ่มมีผลบังคับใช้กับโรงงานแปรรูป ห้องเย็นที่ส่งสินค้ากุ้งให้กับผู้ซื้อทั้งสองราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาและจะมีผลบังคับใช้กับฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โรงเพาะฟัก โรงเพาะอนุบาลกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 นี้เป็นต้นไป ถึงแม้มาตรฐานดังกล่าวจะเน้นสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยด้านอาหาร การตรวจสอบย้อนกลับที่มาของสินค้า และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม แต่ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกกุ้งของไทย เนื่องจากผู้นำเข้าสินค้ากุ้งรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า สินค้าต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐาน BAP ของ ACC โดยผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและแบบฟอร์มที่กำหนดไว้เท่านั้น ที่ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัคร ค่าตรวจรับรองฟาร์ม และค่ารับรองฟาร์ม ซึ่งคิดคำนวณตามปริมาณผลผลิตที่ได้ จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น มาตรฐาน ACC ของภาคเอกชนสหรัฐอเมริกานี้ถือเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าอย่างหนึ่งที่กระทบต่อการผลิตและส่งออกกุ้งไทยในอนาคต ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับตัวและพัฒนาระบบการผลิต เพื่อให้พร้อมรับกับเงื่อนไขดังกล่าว
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 119.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.99 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.83 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.56 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.44 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.89 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 12 - 16 ก.พ. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12 - 18 กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (31 ม.ค.— 4 ก.พ. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 654.62 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 301.67 ตัน สัตว์น้ำจืด 352.95 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.38 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.23 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 55.33 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.17 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 42.30 ตัน
การตลาด
สหรัฐอเมริกากำหนดมาตรฐานACCบังคับผู้ส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.)เปิดเผยว่า ขณะนี้ห้างสรรพสินค้า Wal mart และ Daren Restaurant ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้ากุ้งรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการรับรองจาก ACC (Aquacuture Certification Council, Inc.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐานของภาคเอกชนในสหรัฐอเมริกา และผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน “ หลักปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นเลิศ ” หรือ BAP (Best Aquaculture Practice) ด้วย โดยเริ่มมีผลบังคับใช้กับโรงงานแปรรูป ห้องเย็นที่ส่งสินค้ากุ้งให้กับผู้ซื้อทั้งสองราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาและจะมีผลบังคับใช้กับฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โรงเพาะฟัก โรงเพาะอนุบาลกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 นี้เป็นต้นไป ถึงแม้มาตรฐานดังกล่าวจะเน้นสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยด้านอาหาร การตรวจสอบย้อนกลับที่มาของสินค้า และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม แต่ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกกุ้งของไทย เนื่องจากผู้นำเข้าสินค้ากุ้งรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า สินค้าต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐาน BAP ของ ACC โดยผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและแบบฟอร์มที่กำหนดไว้เท่านั้น ที่ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัคร ค่าตรวจรับรองฟาร์ม และค่ารับรองฟาร์ม ซึ่งคิดคำนวณตามปริมาณผลผลิตที่ได้ จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น มาตรฐาน ACC ของภาคเอกชนสหรัฐอเมริกานี้ถือเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าอย่างหนึ่งที่กระทบต่อการผลิตและส่งออกกุ้งไทยในอนาคต ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับตัวและพัฒนาระบบการผลิต เพื่อให้พร้อมรับกับเงื่อนไขดังกล่าว
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 119.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.99 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.83 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.56 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.44 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.89 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 12 - 16 ก.พ. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12 - 18 กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-