วันนี้(27 ม.ค.) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสภาร่างรัฐธรรมนูญ เร่งร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ เพราะจะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ในบ้านเมืองได้ระดับหนึ่ง และเชื่อว่าประชาชนรอให้มีการเลือกตั้ง และมีสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง พร้อมฝากไปยังรัฐบาล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้ระมัดระวังการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ
“การแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล แต่เมื่อเป็นรัฐบาล หรือ คมช. การแสดงความเห็นอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ว่าเป็นการชี้นำ หรือแทรกแซงการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรืออาจถูกกล่าวหาว่า คมช. มีธงล่วงหน้าไว้แล้ว ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อทั้งรัฐบาล และ คมช.” นายองอาจ กล่าว
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวถึงข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีที่ให้ลดจำนวน ส.ส. และ ส.ว. ลง ว่า ถ้าต้องการลดจำนวน ส.ส. เพื่อแก้ปัญหาการซื้อเสียง คงไม่ตรงประเด็น และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ การป้องกันการซื้อเสียงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่จะต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหา และทุกฝ่ายจะต้องรณรงค์เรื่องการป้องกันการซื้อเสียงอย่างหนัก จึงจะแก้ปัญหาได้ ฉะนั้น หากจะลดจำนวน ส.ส. และ ส.ว.ลง จะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนมากกว่านี้
ส่วนที่นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เห็นด้วยกับการลดจำนวน ส.ส. และอาจจะตัด ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อออกไป เพราะที่ผ่านมา ปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และเป็นช่องทางให้เกิดระบบประธานาธิบดีนั้น นายองอาจ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์มีการหารือถึง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ แต่ยังมีความเห็นที่หลากหลาย ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าควรมีหรือไม่มี แต่ยอมรับว่า ในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ กลายเป็นช่องทางให้นักธุรกิจการเมืองเข้ามาสู่อำนาจ ทำให้จุดมุ่งหมายของระบบบัญชีรายชื่อเปลี่ยนแปลงไป
“แต่พรรคยังไม่ได้วิเคราะห์ลงลึกว่า เป็นช่องทางไปสู่ระบบประธานาธิบดี แต่พรรคจะสรุปประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสอบถามความเห็นมา” นายองอาจ กล่าว
นายองอาจ ยังกล่าวถึงที่มาของ ส.ว. ว่า ส่วนตัวเห็นว่า ส.ว.ควรมาจากการเลือกตั้งตามเดิม แต่ต้องกำหนดอำนาจ หน้าที่ให้แตกต่างจาก ส.ส. และกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องคิดว่าจะใช้วิธีใดเพื่อให้ได้ผู้ทรงคุณวุฒิจริง ๆ ส่วนที่ กกต. คาดว่าจะมีการเลือกตั้งประมาณเดือนกันยายนนั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลังปัญหาการยุบพรรคเสร็จสิ้นลง จะเลือกตั้งเมื่อไร ไม่มีปัญหา เพราะพรรคมีความพร้อมทั้งโครงสร้าง และบุคลากรของพรรค
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ม.ค. 2550--จบ--
“การแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล แต่เมื่อเป็นรัฐบาล หรือ คมช. การแสดงความเห็นอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ว่าเป็นการชี้นำ หรือแทรกแซงการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรืออาจถูกกล่าวหาว่า คมช. มีธงล่วงหน้าไว้แล้ว ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อทั้งรัฐบาล และ คมช.” นายองอาจ กล่าว
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวถึงข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีที่ให้ลดจำนวน ส.ส. และ ส.ว. ลง ว่า ถ้าต้องการลดจำนวน ส.ส. เพื่อแก้ปัญหาการซื้อเสียง คงไม่ตรงประเด็น และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ การป้องกันการซื้อเสียงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่จะต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหา และทุกฝ่ายจะต้องรณรงค์เรื่องการป้องกันการซื้อเสียงอย่างหนัก จึงจะแก้ปัญหาได้ ฉะนั้น หากจะลดจำนวน ส.ส. และ ส.ว.ลง จะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนมากกว่านี้
ส่วนที่นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เห็นด้วยกับการลดจำนวน ส.ส. และอาจจะตัด ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อออกไป เพราะที่ผ่านมา ปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และเป็นช่องทางให้เกิดระบบประธานาธิบดีนั้น นายองอาจ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์มีการหารือถึง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ แต่ยังมีความเห็นที่หลากหลาย ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าควรมีหรือไม่มี แต่ยอมรับว่า ในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ กลายเป็นช่องทางให้นักธุรกิจการเมืองเข้ามาสู่อำนาจ ทำให้จุดมุ่งหมายของระบบบัญชีรายชื่อเปลี่ยนแปลงไป
“แต่พรรคยังไม่ได้วิเคราะห์ลงลึกว่า เป็นช่องทางไปสู่ระบบประธานาธิบดี แต่พรรคจะสรุปประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสอบถามความเห็นมา” นายองอาจ กล่าว
นายองอาจ ยังกล่าวถึงที่มาของ ส.ว. ว่า ส่วนตัวเห็นว่า ส.ว.ควรมาจากการเลือกตั้งตามเดิม แต่ต้องกำหนดอำนาจ หน้าที่ให้แตกต่างจาก ส.ส. และกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องคิดว่าจะใช้วิธีใดเพื่อให้ได้ผู้ทรงคุณวุฒิจริง ๆ ส่วนที่ กกต. คาดว่าจะมีการเลือกตั้งประมาณเดือนกันยายนนั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลังปัญหาการยุบพรรคเสร็จสิ้นลง จะเลือกตั้งเมื่อไร ไม่มีปัญหา เพราะพรรคมีความพร้อมทั้งโครงสร้าง และบุคลากรของพรรค
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ม.ค. 2550--จบ--