สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยไทยสามารถเพิ่มช่องทางตลาดผลไม้ไปจีนได้มากขึ้น ซึ่งผลจากการทำ FTA ไทยกับจีน เมื่อปี 46 ทำให้ผลไม้ไทยส่งออกไปยังจีนไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า เป็นผลให้มีการขยายการส่งออกผ่านเส้นทางขนส่งทางทะเล แม่น้ำโขง และทางบกได้หลายเส้นทาง
นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงแนวทางการขยายตลาดผลไม้ในประเทศจีน โดยการขยายและกระจายช่องทางการส่งออก จากทางเรือเป็นหลักไปผ่านฮ่องกงก่อนเข้าตลาดเจียงหนาน เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นตลาดค้าส่งผลไม้ที่ใหญ่ ที่สุดของจีน กระจายไปยังเมืองและมณฑลต่าง ๆ
จากการทำ FTA ไทยกับจีนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 เป็นต้นมา ทำให้ผลไม้ไทยส่งออกไปยังจีนไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ส่งผลให้ไทยมีการขยายการส่งออกไปยังจีนได้มากขึ้น โดยสามารถขนส่งผ่านเส้นทางขนส่งทางทะเล แม่น้ำโขง และทางบกโดยรถยนต์บรรทุก ได้หลายเส้นทาง คือ
- เส้นทางขนส่งทางทะเล สามารถขนส่งจากแหลมฉบังไปยังท่าเรือฝั่งตะวันออกของจีน โดยไม่ต้องผ่านฮ่องกง ได้แก่ ท่าเรือจูไห่ (Zhuhai) เข้าเมืองจงซาน มณฑลกวางตุ้ง สู่ตลาดขายส่งผลไม้แห่งใหม่ คือ Jin Tao (Zhongshan) Fresh Produce Logistic Centrue ภายใน 4 — 5 วัน ท่าเรือ Longpu เมืองเซี่ยงไฮ้ สู่ตลาดขายส่งผลไม้ Shanghai Longwu Imported Fruit and Vegetable Wholesale market ภายใน 7 — 8 วัน ท่าเรือเซี้ยะเหมิน มณฑลฟูเจี้ยน ภายใน 5 — 6 วัน และท่าเรือเจียงจิง มหานครเทียนสิน ภายใน 8 — 10 วัน ซึ่งจะกระจายสินค้าด้วยรถบรรทุก 6 — 8 ล้อ ไปยังเมืองและมณฑลต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางภายใน 1 — 2 วันได้มากขึ้น
- เส้นทางแม่น้ำโขง จาก อ. เชียงแสน จ. เชียงราย ไปยังท่าเรือก้วนเหล่ย และท่าเรือจิ่งหง เมืองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ภายใน 2 วัน และขนส่งด้วยรถบรรทุกภายในประเทศจีน ไปยังเมืองคุนหมิง ภายใน 13 — 15 ชั่วโมง กระจายสินค้าไปยังเมืองซิ่งยี่ มณฑลกุ้ยโจว เมืองหนานหนิง มณฑลกวางสี และเมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเส้นทางนี้ประเทศจีนได้มีการพัฒนาท่าเรือก้วนเหล่ยรองรับสินค้าประมาณ 1 แสน 5 หมื่นตัน ภายในปี 2551 และท่าเรือกันลันปา (GAN LAN BA) ซึ่งก่อนถึงท่าเรือจิ่งหง 30 กิโลเมตร รองรับสินค้า 1 ล้าน 5 แสนตัน ภายในปี 2552
- เส้นทางขนส่งทางบก ไปยังเมืองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน จาก อ. แม่สาย จ. เชียงราย ผ่านพม่าที่ท่าขี้เหล็ก เข้าไปเมืองยอง หรือเมืองเชียงตุง จาก อ. เชียงของ จ. เชียงราย ผ่านประเทศลาวที่เมืองห้วยทรายใน แขวงหลวงน้ำท่า เข้าบ่อเตน บ่อหาน หรือโม้หัน จาก อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. น่าน ผ่านประเทศลาวที่เมืองห้วยโกร๋น ปากแบ่ง เข้าบ่อเตน บ่อหาน หรือโม้หัน ซึ่งใช้เวลาเดินทาง 2 — 21/2 วัน และเส้นทางจากท่านาแล้ง จ. หนองคาย ผ่านประเทศลาวที่เวียงจันทร์ ผ่านประเทศเวียดนามที่เมืองฮวน (HOU) เข้าสู่เมืองผิงเสียง เขตการปกครองอิสระกวางสี ชายแดนเวียดนามกับจีน ภายในเวลา 21/2 — 3 วัน ผ่านไปยังเมืองหนานหนิง ต่อไป
จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยสามารถเพิ่มช่องทางตลาดผลไม้ไทยไปยังจีนได้มากขึ้น โดยเลือกใช้เส้นทางขนส่งทั้งทางบก และทางเรือในปัจจุบันและอนาคต อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรต้องเร่งเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว พม่า และเวียดนาม เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่งทางบก และพิธีศุลกากรผ่านแดนให้มีความคล่องตัวและลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทเดินเรือเพิ่มระวางขนส่งในเส้นทางใหม่ ๆ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มการขยายการส่งออกผลไม้ไทยไปยังจีนได้มากขึ้น นางนารีณัฐ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงแนวทางการขยายตลาดผลไม้ในประเทศจีน โดยการขยายและกระจายช่องทางการส่งออก จากทางเรือเป็นหลักไปผ่านฮ่องกงก่อนเข้าตลาดเจียงหนาน เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นตลาดค้าส่งผลไม้ที่ใหญ่ ที่สุดของจีน กระจายไปยังเมืองและมณฑลต่าง ๆ
จากการทำ FTA ไทยกับจีนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 เป็นต้นมา ทำให้ผลไม้ไทยส่งออกไปยังจีนไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ส่งผลให้ไทยมีการขยายการส่งออกไปยังจีนได้มากขึ้น โดยสามารถขนส่งผ่านเส้นทางขนส่งทางทะเล แม่น้ำโขง และทางบกโดยรถยนต์บรรทุก ได้หลายเส้นทาง คือ
- เส้นทางขนส่งทางทะเล สามารถขนส่งจากแหลมฉบังไปยังท่าเรือฝั่งตะวันออกของจีน โดยไม่ต้องผ่านฮ่องกง ได้แก่ ท่าเรือจูไห่ (Zhuhai) เข้าเมืองจงซาน มณฑลกวางตุ้ง สู่ตลาดขายส่งผลไม้แห่งใหม่ คือ Jin Tao (Zhongshan) Fresh Produce Logistic Centrue ภายใน 4 — 5 วัน ท่าเรือ Longpu เมืองเซี่ยงไฮ้ สู่ตลาดขายส่งผลไม้ Shanghai Longwu Imported Fruit and Vegetable Wholesale market ภายใน 7 — 8 วัน ท่าเรือเซี้ยะเหมิน มณฑลฟูเจี้ยน ภายใน 5 — 6 วัน และท่าเรือเจียงจิง มหานครเทียนสิน ภายใน 8 — 10 วัน ซึ่งจะกระจายสินค้าด้วยรถบรรทุก 6 — 8 ล้อ ไปยังเมืองและมณฑลต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางภายใน 1 — 2 วันได้มากขึ้น
- เส้นทางแม่น้ำโขง จาก อ. เชียงแสน จ. เชียงราย ไปยังท่าเรือก้วนเหล่ย และท่าเรือจิ่งหง เมืองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ภายใน 2 วัน และขนส่งด้วยรถบรรทุกภายในประเทศจีน ไปยังเมืองคุนหมิง ภายใน 13 — 15 ชั่วโมง กระจายสินค้าไปยังเมืองซิ่งยี่ มณฑลกุ้ยโจว เมืองหนานหนิง มณฑลกวางสี และเมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเส้นทางนี้ประเทศจีนได้มีการพัฒนาท่าเรือก้วนเหล่ยรองรับสินค้าประมาณ 1 แสน 5 หมื่นตัน ภายในปี 2551 และท่าเรือกันลันปา (GAN LAN BA) ซึ่งก่อนถึงท่าเรือจิ่งหง 30 กิโลเมตร รองรับสินค้า 1 ล้าน 5 แสนตัน ภายในปี 2552
- เส้นทางขนส่งทางบก ไปยังเมืองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน จาก อ. แม่สาย จ. เชียงราย ผ่านพม่าที่ท่าขี้เหล็ก เข้าไปเมืองยอง หรือเมืองเชียงตุง จาก อ. เชียงของ จ. เชียงราย ผ่านประเทศลาวที่เมืองห้วยทรายใน แขวงหลวงน้ำท่า เข้าบ่อเตน บ่อหาน หรือโม้หัน จาก อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. น่าน ผ่านประเทศลาวที่เมืองห้วยโกร๋น ปากแบ่ง เข้าบ่อเตน บ่อหาน หรือโม้หัน ซึ่งใช้เวลาเดินทาง 2 — 21/2 วัน และเส้นทางจากท่านาแล้ง จ. หนองคาย ผ่านประเทศลาวที่เวียงจันทร์ ผ่านประเทศเวียดนามที่เมืองฮวน (HOU) เข้าสู่เมืองผิงเสียง เขตการปกครองอิสระกวางสี ชายแดนเวียดนามกับจีน ภายในเวลา 21/2 — 3 วัน ผ่านไปยังเมืองหนานหนิง ต่อไป
จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยสามารถเพิ่มช่องทางตลาดผลไม้ไทยไปยังจีนได้มากขึ้น โดยเลือกใช้เส้นทางขนส่งทั้งทางบก และทางเรือในปัจจุบันและอนาคต อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรต้องเร่งเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว พม่า และเวียดนาม เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่งทางบก และพิธีศุลกากรผ่านแดนให้มีความคล่องตัวและลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทเดินเรือเพิ่มระวางขนส่งในเส้นทางใหม่ ๆ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มการขยายการส่งออกผลไม้ไทยไปยังจีนได้มากขึ้น นางนารีณัฐ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-