ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ชี้หากปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองคลี่คลายจะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ปลายไตรมาส 3 ถึงต้นไตรมาส 4 ปี 50 ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “ภาวะเศรษฐกิจไทยและภาคธุรกิจ” จัดขึ้นโดยสมาคมบริษัทจดทะเบียนวานนี้
(7 มิ.ย.) ว่า ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งนโยบายของ ธปท.และมาตรการภาครัฐขณะนี้ พร้อมสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ
ในช่วงครึ่งหลังปี 50 คงเหลือเพียงแค่ปัญหาด้านการเมืองเท่านั้น หากคลี่คลายไปได้จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ในปลายไตรมาส 3 ถึงต้นไตรมาส 4
ของปีนี้ โดยนโยบายของ ธปท.และมาตรการของภาครัฐที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคและนักลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในครึ่งหลังปีนี้ นอกจากนี้ ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี ทั้งแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ไม่น่าจะสูงเกินกว่าร้อยละ 1-2.5 ในช่วง 8 ไตรมาสข้างหน้า
การจ้างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง ฐานะการคลัง ทุนสำรองระหว่างประเทศ และหนี้ต่างประเทศที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ก็เป็นปัจจัยที่ช่วยให้การชะลอตัว
ของเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างจำกัด เพราะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นรองรับความผันผวนในอนาคตได้ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการ
รายวัน, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, แนวหน้า)
2. ธปท.เผยปีนี้จะเข้มงวดในการตรวจสอบธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น ผอส.ฝ่ายตรวจสอบ 1 สายกำกับสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การกำกับตรวจสอบระบบ ธพ.ในปีนี้จะมุ่งตรวจสอบ ธพ.ที่มีการตั้งเป้าขยายสินเชื่อไว้ในระดับสูง
แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อรถยนต์ ทั้งนี้ ในระยะต่อไปการตรวจสอบความเสี่ยงด้านชื่อเสียงของ
ธพ.จะเข้มงวดมากขึ้น และจะผลักดันให้ธนาคารจัดทำนโยบายที่ชัดเจนในการให้สินเชื่อบางประเภท เช่น สินเชื่อแก่ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ สินเชื่อ
นักการเมืองที่เกี่ยวข้องการทุจริต แม้ว่าสินเชื่อเหล่านี้จะไม่เกิดหนี้เสียเลย แต่ก็กระทบชื่อเสียงของธนาคาร (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนเดือน พ.ค.50 สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 9.01 รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า การเบิกจ่าย
งปม.เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้เบิกจ่ายเงินจาก ก.คลัง สูงถึง 1.31 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 8.38 ของเงิน
งปม.รายจ่ายประจำปี 50 ที่ตั้งไว้ 1.56 ล้านล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.34 ในจำนวนนี้ เป็นการเบิกจ่าย
งบประจำ 9.03 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 7.25 ของงบประจำ 1.24 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.42 ขณะที่งบลงทุนมี
การเบิกจ่ายรวม 4.09 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 12.78 ของงบลงทุน 3.2 แสนล้านบาท สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 9.01 เนื่องจากรัฐบาลมีการ
เร่งรัดเบิกจ่ายให้ก่อหนี้ผูกพันให้ได้ภายใน 30 มิ.ย.50 หากทำไม่ได้ก็ให้ปรับแผนการใช้เงินไปให้โครงการอื่นที่สามารถทำได้แทน เพื่อให้การ
เบิกจ่ายเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ (โพสต์ทูเดย์)
4. ผู้ประกอบการไทยคลายความกังวลปัญหาการเมืองในรอบ 1 ปี หลังจบคดียุบพรรคการเมือง ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้มีการสำรวจผลกระทบที่ผู้ประกอบการจำนวน 800 ตัวอย่างทั่วไป เกี่ยวกับผลกระทบที่จะได้รับจากอัตราดอกเบี้ย
อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง และการก่อวินาศกรรม ระหว่างวันที่ 1-2 มิ.ย.50 ซึ่งเป็นการสำรวจ
หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินคดียุบพรรคการเมืองไปแล้ว พบว่า สถานการณ์การเมืองในมุมมองนักธุรกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้น โดยผู้ประกอบการ
ส่วนใหญ่มีความกังวลต่อปัญหาการเมืองไทยดีขึ้นในรอบ 1 ปี ทั้งนี้ สัญญาณความคลี่คลายทางการเมืองดังกล่าว คาดว่าเศรษฐกิจไทยในทัศนคติ
ของภาคธุรกิจจะหยุดทรุดตัว และกลับมาฟื้นตัวกลางไตรมาส 3 ปี 50 หรือประมาณช่วงเดือน ส.ค.นี้ ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เชื่อว่า
เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะกลับมาเติบโตในระดับร้อยละ 4.0-4.5 ได้อีกครั้ง เพิ่มขึ้นจากการสำรวจภาคธุรกิจเมื่อช่วงเดือน มี.ค.ที่เห็นว่า
เศรษฐกิจไทยเติบโตเพียงร้อยละ 3.5-4.0 (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ลดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 50 ก.แรงงาน
สรอ. เปิดเผยว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มิ.ย. ลดลงประมาณ 1,000 คน
อยู่ที่ 309,000 คน (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานมีเสถียรภาพ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจสรอ.จะชะลอตัวก็ตาม โดยผลการสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์ก่อนหน้านั้นคาดว่ายอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจะไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 310,000 คน ขณะที่ค่าเฉลี่ย
4 สัปดาห์ซึ่งเป็นตัวเลขที่สามารถชี้วัดได้ดีกว่าเนื่องจากปรับความผันผวนออกแล้วอยู่ที่ 307,250 คนเพิ่มขึ้นจาก 304,500 คน ส่วนจำนวนผู้ขอ
รับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 พ.ค. ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่มีข้อมูลล่าสุดเพิ่มขึ้นประมาณ 72,000 คนอยู่ที่ 2.54 ล้านคนทั้งนี้
ตัวเลขดังกล่าวส่งผลต่อตลาดการเงินเล็กน้อย เนื่องจากผู้ลงทุนกำลังจับตาตลาดพันธบัตรโดยเฉพาะพันธบัตรระยะ 10 ปีซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า
ร้อยละ 5.0 เนื่องจากการสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก ส่วนเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับผลตอบแทนพันธบัตรสรอ. ขณะที่
ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลง (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 5.5 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ
วันที่ 7 มิ.ย.50 ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 5.5 ในการประชุมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราสูงสุด
ในรอบ 6 ปี แต่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้านี้ หลังจากที่ได้ปรับขึ้นมาแล้ว
4 ครั้ง รวมร้อยละ 1 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 ในขณะที่ค่าเงินปอนด์และพันธบัตรลดลงเพราะตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบไม่คาด
คิดหลังจากที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือน ม.ค.50 ส่วนตลาดซื้อขายล่วงหน้ายังคงพอใจในอัตราดอกเบี้ย ณ ระดับ
ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นระดับสูงสุดของกลุ่มประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจสำคัญของโลก นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์กันว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้น
ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.75 ภายในฤดูร้อนนี้ รวมถึงมีโอกาสที่จะปรับขึ้นเป็นร้อยละ 6 ภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายหลายคนมีความ
กังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อพร้อมกับราคาพลังงานที่กำลังพุ่งทะยานเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจกำลังขยายตัว ด้านนักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าวว่า
แม้ ธ.กลางอังกฤษจะไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ แต่มั่นใจว่าด้วยสถานการณ์ที่บีบคั้นจะทำให้ต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.ค.นี้
ขณะที่อีกหลายคนกล่าวว่าการปรับขึ้นในเดือน ส.ค. จะเหมาะสมกว่า เพราะสิ่งพิมพ์เผยแพร่รายไตรมาสของ ธ.กลางอังกฤษจะเผยแพร่ในเดือน
ดังกล่าว (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีนจะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาสนี้ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 50 นาย Zhou
Xiaochuan ผวก.ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า จะดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงอย่างต่อเนื่องแต่อาจต้องรอตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของเดือน พ.ค.
เพื่อประกอบการตัดสินใจว่ามีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้อีกหรือไม่ ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อใน
เดือน พ.ค. จะอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในเดือน เม.ย. เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มขึ้น และตลาดการเงินปรับเพิ่มต้นทุน
การกู้ยืมเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ แต่ Na Lin นักเศรษฐศาสตร์จาก ธ.กลางจีนมีความเห็นว่ามีความเป็นไปน้อยที่จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในไตรมาสที่ 2 นี้ ส่วนธ.กลางจีนคาดว่าการดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดโดยใช้อัตราดอกเบี้ยสูงจะสามารถจัดการกับปัญหาสภาพ
คล่องส่วนเกินในระบบได้ และนอกจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้วทางการจีนยังได้สั่งการให้ ธพ. ต้องดำรงเงินสำรองเพิ่มขึ้น
เป็นครั้งที่ 5 แล้วในปีนี้
4. ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ 7 มิ.ย.50
The National Ststistical Office เปิดเผยว่า ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ (The consumer expectation index)
ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้บ่งชี้ความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 100.2 ในเดือน พ.ค.50 สูงสุด
ในรอบ 14 เดือนนับตั้งแต่เดือน มี.ค.49 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 100.3 โดยหลังจากการเปิดเผยดัชนีเพียง 1 วัน ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ตัดสินใจ
คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 4.5 สาเหตุจากการที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย แม้ว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัว
ของภาวะเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศก็ตาม ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า ธ.กลาง
เกาหลีใต้อาจต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะเวลาอันใกล้นี้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนมีความเห็นว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปี หากเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องส่วนเกิน
ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว ยังไม่หมดไป (รอยเตอร์)
5. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อปี รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.50 ทางการมาเลเซียแถลงว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.4 จากปีก่อน แม้ว่าผลผลิตจากโรงงานและการผลิตกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นก็ตาม ซึ่งต่ำกว่าผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์
ของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เทียบต่อปี โดยให้เหตุผลในการคาดการณ์ไว้ว่ามาเลเซียจะได้รับผลดีจากการความ
ต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นของ สรอ. ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นดัชนีที่คำนวณจากผลผลิตจากโรงงาน การทำเหมือง
และการผลิตกระแสไฟฟ้าลดลงร้อยละ 2.7 ในเดือน มี.ค.50 จากปีก่อน นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 มิ.ย. 50 7 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.615 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4001/34.7350 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.68156 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 758.83/16.46 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,900/11,000 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.57 65.29 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ชี้หากปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองคลี่คลายจะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ปลายไตรมาส 3 ถึงต้นไตรมาส 4 ปี 50 ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “ภาวะเศรษฐกิจไทยและภาคธุรกิจ” จัดขึ้นโดยสมาคมบริษัทจดทะเบียนวานนี้
(7 มิ.ย.) ว่า ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งนโยบายของ ธปท.และมาตรการภาครัฐขณะนี้ พร้อมสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ
ในช่วงครึ่งหลังปี 50 คงเหลือเพียงแค่ปัญหาด้านการเมืองเท่านั้น หากคลี่คลายไปได้จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ในปลายไตรมาส 3 ถึงต้นไตรมาส 4
ของปีนี้ โดยนโยบายของ ธปท.และมาตรการของภาครัฐที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคและนักลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในครึ่งหลังปีนี้ นอกจากนี้ ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี ทั้งแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ไม่น่าจะสูงเกินกว่าร้อยละ 1-2.5 ในช่วง 8 ไตรมาสข้างหน้า
การจ้างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง ฐานะการคลัง ทุนสำรองระหว่างประเทศ และหนี้ต่างประเทศที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ก็เป็นปัจจัยที่ช่วยให้การชะลอตัว
ของเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างจำกัด เพราะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นรองรับความผันผวนในอนาคตได้ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการ
รายวัน, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, แนวหน้า)
2. ธปท.เผยปีนี้จะเข้มงวดในการตรวจสอบธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น ผอส.ฝ่ายตรวจสอบ 1 สายกำกับสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การกำกับตรวจสอบระบบ ธพ.ในปีนี้จะมุ่งตรวจสอบ ธพ.ที่มีการตั้งเป้าขยายสินเชื่อไว้ในระดับสูง
แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อรถยนต์ ทั้งนี้ ในระยะต่อไปการตรวจสอบความเสี่ยงด้านชื่อเสียงของ
ธพ.จะเข้มงวดมากขึ้น และจะผลักดันให้ธนาคารจัดทำนโยบายที่ชัดเจนในการให้สินเชื่อบางประเภท เช่น สินเชื่อแก่ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ สินเชื่อ
นักการเมืองที่เกี่ยวข้องการทุจริต แม้ว่าสินเชื่อเหล่านี้จะไม่เกิดหนี้เสียเลย แต่ก็กระทบชื่อเสียงของธนาคาร (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนเดือน พ.ค.50 สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 9.01 รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า การเบิกจ่าย
งปม.เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้เบิกจ่ายเงินจาก ก.คลัง สูงถึง 1.31 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 8.38 ของเงิน
งปม.รายจ่ายประจำปี 50 ที่ตั้งไว้ 1.56 ล้านล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.34 ในจำนวนนี้ เป็นการเบิกจ่าย
งบประจำ 9.03 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 7.25 ของงบประจำ 1.24 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.42 ขณะที่งบลงทุนมี
การเบิกจ่ายรวม 4.09 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 12.78 ของงบลงทุน 3.2 แสนล้านบาท สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 9.01 เนื่องจากรัฐบาลมีการ
เร่งรัดเบิกจ่ายให้ก่อหนี้ผูกพันให้ได้ภายใน 30 มิ.ย.50 หากทำไม่ได้ก็ให้ปรับแผนการใช้เงินไปให้โครงการอื่นที่สามารถทำได้แทน เพื่อให้การ
เบิกจ่ายเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ (โพสต์ทูเดย์)
4. ผู้ประกอบการไทยคลายความกังวลปัญหาการเมืองในรอบ 1 ปี หลังจบคดียุบพรรคการเมือง ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้มีการสำรวจผลกระทบที่ผู้ประกอบการจำนวน 800 ตัวอย่างทั่วไป เกี่ยวกับผลกระทบที่จะได้รับจากอัตราดอกเบี้ย
อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง และการก่อวินาศกรรม ระหว่างวันที่ 1-2 มิ.ย.50 ซึ่งเป็นการสำรวจ
หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินคดียุบพรรคการเมืองไปแล้ว พบว่า สถานการณ์การเมืองในมุมมองนักธุรกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้น โดยผู้ประกอบการ
ส่วนใหญ่มีความกังวลต่อปัญหาการเมืองไทยดีขึ้นในรอบ 1 ปี ทั้งนี้ สัญญาณความคลี่คลายทางการเมืองดังกล่าว คาดว่าเศรษฐกิจไทยในทัศนคติ
ของภาคธุรกิจจะหยุดทรุดตัว และกลับมาฟื้นตัวกลางไตรมาส 3 ปี 50 หรือประมาณช่วงเดือน ส.ค.นี้ ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เชื่อว่า
เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะกลับมาเติบโตในระดับร้อยละ 4.0-4.5 ได้อีกครั้ง เพิ่มขึ้นจากการสำรวจภาคธุรกิจเมื่อช่วงเดือน มี.ค.ที่เห็นว่า
เศรษฐกิจไทยเติบโตเพียงร้อยละ 3.5-4.0 (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ลดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 50 ก.แรงงาน
สรอ. เปิดเผยว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มิ.ย. ลดลงประมาณ 1,000 คน
อยู่ที่ 309,000 คน (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานมีเสถียรภาพ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจสรอ.จะชะลอตัวก็ตาม โดยผลการสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์ก่อนหน้านั้นคาดว่ายอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจะไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 310,000 คน ขณะที่ค่าเฉลี่ย
4 สัปดาห์ซึ่งเป็นตัวเลขที่สามารถชี้วัดได้ดีกว่าเนื่องจากปรับความผันผวนออกแล้วอยู่ที่ 307,250 คนเพิ่มขึ้นจาก 304,500 คน ส่วนจำนวนผู้ขอ
รับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 พ.ค. ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่มีข้อมูลล่าสุดเพิ่มขึ้นประมาณ 72,000 คนอยู่ที่ 2.54 ล้านคนทั้งนี้
ตัวเลขดังกล่าวส่งผลต่อตลาดการเงินเล็กน้อย เนื่องจากผู้ลงทุนกำลังจับตาตลาดพันธบัตรโดยเฉพาะพันธบัตรระยะ 10 ปีซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า
ร้อยละ 5.0 เนื่องจากการสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก ส่วนเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับผลตอบแทนพันธบัตรสรอ. ขณะที่
ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลง (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 5.5 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ
วันที่ 7 มิ.ย.50 ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 5.5 ในการประชุมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราสูงสุด
ในรอบ 6 ปี แต่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้านี้ หลังจากที่ได้ปรับขึ้นมาแล้ว
4 ครั้ง รวมร้อยละ 1 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 ในขณะที่ค่าเงินปอนด์และพันธบัตรลดลงเพราะตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบไม่คาด
คิดหลังจากที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือน ม.ค.50 ส่วนตลาดซื้อขายล่วงหน้ายังคงพอใจในอัตราดอกเบี้ย ณ ระดับ
ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นระดับสูงสุดของกลุ่มประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจสำคัญของโลก นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์กันว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้น
ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.75 ภายในฤดูร้อนนี้ รวมถึงมีโอกาสที่จะปรับขึ้นเป็นร้อยละ 6 ภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายหลายคนมีความ
กังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อพร้อมกับราคาพลังงานที่กำลังพุ่งทะยานเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจกำลังขยายตัว ด้านนักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าวว่า
แม้ ธ.กลางอังกฤษจะไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ แต่มั่นใจว่าด้วยสถานการณ์ที่บีบคั้นจะทำให้ต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.ค.นี้
ขณะที่อีกหลายคนกล่าวว่าการปรับขึ้นในเดือน ส.ค. จะเหมาะสมกว่า เพราะสิ่งพิมพ์เผยแพร่รายไตรมาสของ ธ.กลางอังกฤษจะเผยแพร่ในเดือน
ดังกล่าว (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีนจะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาสนี้ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 50 นาย Zhou
Xiaochuan ผวก.ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า จะดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงอย่างต่อเนื่องแต่อาจต้องรอตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของเดือน พ.ค.
เพื่อประกอบการตัดสินใจว่ามีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้อีกหรือไม่ ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อใน
เดือน พ.ค. จะอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในเดือน เม.ย. เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มขึ้น และตลาดการเงินปรับเพิ่มต้นทุน
การกู้ยืมเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ แต่ Na Lin นักเศรษฐศาสตร์จาก ธ.กลางจีนมีความเห็นว่ามีความเป็นไปน้อยที่จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในไตรมาสที่ 2 นี้ ส่วนธ.กลางจีนคาดว่าการดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดโดยใช้อัตราดอกเบี้ยสูงจะสามารถจัดการกับปัญหาสภาพ
คล่องส่วนเกินในระบบได้ และนอกจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้วทางการจีนยังได้สั่งการให้ ธพ. ต้องดำรงเงินสำรองเพิ่มขึ้น
เป็นครั้งที่ 5 แล้วในปีนี้
4. ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ 7 มิ.ย.50
The National Ststistical Office เปิดเผยว่า ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ (The consumer expectation index)
ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้บ่งชี้ความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 100.2 ในเดือน พ.ค.50 สูงสุด
ในรอบ 14 เดือนนับตั้งแต่เดือน มี.ค.49 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 100.3 โดยหลังจากการเปิดเผยดัชนีเพียง 1 วัน ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ตัดสินใจ
คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 4.5 สาเหตุจากการที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย แม้ว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัว
ของภาวะเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศก็ตาม ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า ธ.กลาง
เกาหลีใต้อาจต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะเวลาอันใกล้นี้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนมีความเห็นว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปี หากเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องส่วนเกิน
ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว ยังไม่หมดไป (รอยเตอร์)
5. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อปี รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.50 ทางการมาเลเซียแถลงว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.4 จากปีก่อน แม้ว่าผลผลิตจากโรงงานและการผลิตกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นก็ตาม ซึ่งต่ำกว่าผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์
ของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เทียบต่อปี โดยให้เหตุผลในการคาดการณ์ไว้ว่ามาเลเซียจะได้รับผลดีจากการความ
ต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นของ สรอ. ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นดัชนีที่คำนวณจากผลผลิตจากโรงงาน การทำเหมือง
และการผลิตกระแสไฟฟ้าลดลงร้อยละ 2.7 ในเดือน มี.ค.50 จากปีก่อน นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 มิ.ย. 50 7 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.615 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4001/34.7350 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.68156 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 758.83/16.46 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,900/11,000 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.57 65.29 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--