กรุงเทพ--11 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
- การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบ 5 มีการเจรจาทั้งหมด 13 หัวข้อ ได้แก่ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การเปิดตลาดสินค้าเกษตร อุปสรรคเทคนิคทางการค้า มาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ ระเบียบพิธีการด้านศุลกากร การลงทุน การค้าบริการ นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แรงงาน สิ่งแวดล้อม และกลุ่มกฎหมาย โดยการเจรจามีความคืบหน้าด้วยดี สรุปผลการเจรจาในกลุ่มสำคัญๆ ได้ ดังนี้
- การเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตร ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันต่อเกี่ยวกับแนวทางการลดภาษีสินค้าเกษตร ซึ่งฝ่ายไทยมีกว่า 800 ชนิด และฝ่ายสหรัฐฯ มีกว่า 1800 ชนิด นอกจากนี้ ได้ตกลงที่จะแลกเปลี่ยนรายการสินค้าที่ต่างฝ่ายจะเรียกร้องให้มีการลดภาษีให้กันและกัน (Initial Request) ในเบื้องต้นต่อไป
- การเจรจากฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าสินค้าใดจะสามารถเข้าตลาดของแต่ละฝ่ายโดยได้รับการลดภาษีนั้น ไทยได้หยิบยกสินค้าหลายรายการที่ยังมีประเด็นเกี่ยวกับกฎเกณฑ์แหล่งกำเนิดในทางที่จะเอื้ออำนวยต่อการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ของสินค้าเหล่านั้น โดยเห็นว่า หากสหรัฐฯ ใช้กฎฯที่เข้มงวด ไทยก็จะใช้กฎฯที่เข้มงวดต่อสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ เช่นกัน ทั้งนี้ ฝ่ายไทยจะยื่นข้อเสนอกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าแต่ละรายการสินค้าเกษตรในเดือนตุลาคมนี้
- ในเรื่องมาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ (Sanitary and Phytosanitary Standards-SPS) ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับสินค้าเกษตรของไทยในการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ฝ่ายไทยได้ผลักดันให้บรรจุเรื่องการจัดตั้งกลไกถาวรในการแก้ไขปัญหามาตรฐานสินค้าเกษตรที่เป็นอุปสรรคทางการค้า ซึ่งกลไกนี้จะเป็นส่วนสำคัญของการคลี่คลายอุปสรรคการนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยในปัจจุบัน อาทิ ผลไม้หลายชนิดที่ยังนำเข้าไม่ได้ และมีมูลค่าตอบแทนสูงสำหรับผู้ผลิตและส่งออกของไทย
- ในประเด็นอุปสรรคเทคนิคทางการค้า (Technical Barriers to Trade: TBT) ซึ่งเป็นอุปสรรคทางการค้าสำคัญสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ไทยได้หยิบยกสินค้าอุตสากรรมที่ประสบปัญหาด้านมาตรฐานในการเข้าตลาดสหรัฐฯ หลายรายการ โดยสหรัฐฯ ได้เสนอให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับไทยในเรื่องกฎระเบียบทางเทคนิคและมาตรฐานในสินค้าดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถส่งสินค้าเข้าไปยังสหรัฐฯ ได้สะดวก
- ในด้านระเบียบพิธีการด้านศุลกากร ไทยและสหรัฐฯ มีท่าทีคล้ายคลึงกัน เนื่องจากระเบียบปฏิบัติด้านศุลกากรของทั้งสองฝ่ายสอดคล้องกับหลักการสากลที่ได้รับการยอมรับกันอยู่แล้ว เช่น ในกรอบ World Customs Organization (WCO) ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือกันในรายละเอียดทางเทคนิค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีมาตรการอำนวยความสะดวกด้านการนำเข้า/ ส่งออก และเพื่อให้การนำเข้า/ ส่งออกสินค้ามีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีความโปร่งใสแก่ทั้งสองฝ่าย
- ทรัพย์สินทางปัญญา ฝ่ายไทยได้ยื่นข้อเสนอในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า ต่อเนื่องจากที่ได้เจรจากันใน 4 รอบที่ผ่านมา โดยฝ่ายสหรัฐฯ ยืนยันข้อเสนอให้ไทยยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในระดับที่เข้มงวดกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ฝ่ายไทยยังคงยืนยันการบังคับใช้กฎหมายเท่าที่มีอยู่ และในรอบนี้ ไทยได้ยื่นข้อเสนอประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาของไทย รวม 4 เรื่อง คือ (1) เรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเน้นหลักการแบ่งปันผลประโยชน์กับเจ้าของภูมิปัญญา หากมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของอีกฝ่ายไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (2) เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมถึงการคุ้มครองผ้าไหมและข้าวหอมมะลิของไทย (3) ความร่วมมือระหว่างกัน เช่น ในการอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของ SMEs ไทย และ (4) เรื่องการเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกัน (co-ownership) ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างกัน อนึ่ง การเจรจารอบนี้ ยังไม่มีการหารือกันในเรื่องสิทธิบัตรแต่อย่างใด
- ส่วนเรื่องการค้าบริการนั้น ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันต่อเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าบริการในรูปแบบต่างๆ กล่าวคือ การให้บริการข้ามพรมแดน การให้บริการแก่ผู้ที่เดินทางไปใช้บริการในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง การจัดตั้งธุรกิจบริการในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง และบุคคลเดินทางไปให้บริการในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งหารือกันต่อเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ของการเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างกัน เช่น การประติบัติเยี่ยงคนชาติ ทั้งนี้ การเจรจายังไม่ถึงขั้นตอนการเจรจาการเปิดตลาด (market access) รายสาขาบริการ
- ในหัวข้อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการหารือในด้านหลักเกณฑ์ของการดำเนินโครงการความร่วมมือซึ่งไทยได้เสนอแล้วในเบื้องต้น 5 สาขา ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี พลังงานทดแทน Life Science และเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศซึ่งจะรวมถึงการใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการป้องกันภัยธรรมชาติด้วย
- กลุ่มแรงงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งสองฝ่ายได้หารือ เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องกระบวนการระงับข้อพิพาทและการบังคับใช้กฎหมายของแต่ละประเทศที่มีอยู่ในเรื่องทั้งสองนี้ ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของแต่ละฝ่ายที่จะเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศในด้านสิ่งแวดล้อม
ทั้งสองฝ่ายยืนยันการเคารพสิทธิของแต่ละฝ่ายในการบังคับใช้กฎหมายและการกำหนดนโยบายคุ้มครองแรงงานและสิ่งแวดล้อม ของตนเอง นอกจากนี้ ได้มีการหารือด้านความร่วมมือระหว่างกัน ในเรื่องการพัฒนาขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ของไทย โดยการฝึกอบรมเรื่องแรงงานสัมพันธ์ การคุ้มครองแรงงาน และความปลอดภัยของแรงงาน ในด้านของความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม สหรัฐฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับฝ่ายไทยในการกำกับดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามกฎหมายและกฎระเบียบที่ไทยมีอยู่
- ส่วนกลุ่มเจรจานโยบายแข่งขันทางการค้านั้น ได้มีการหารือประเด็นเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าที่ยุติธรรมในกรอบกฎหมายและกฎระเบียบของแต่ละฝ่าย นอกจากนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับบทบาทของรัฐวิสาหกิจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานที่กำกับดูแลการแข่งขันทางการค้า ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ พร้อมจะให้ความร่วมมือกับไทยในการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ความชำนาญในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับพฤติกรรมที่กระทบต่อการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม
- นอกเหนือจากการเจรจาของกลุ่มต่างๆ ข้างต้นแล้ว กลุ่มโทรคมนาคม กลุ่มการจัดซื้อโดยรัฐ และกลุ่มการส่งเสริมขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (TCB/SMEs) ได้หารือนอกรอบที่กรุงวอชิงตัน ดังนี้
- กลุ่มโทรคมนาคม ได้หารือหลักการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในภาพรวม นอกจากนี้ ได้มีการศึกษาดูงานและหารือกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของสหรัฐฯ เพื่อหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดท่าทีของฝ่ายไทย อาทิ Federal Communication Commission (FCC) สมาคมผู้ประกอบการดาวเทียม (Satellite Industry Association-SIA) กลุ่มผู้ประกอบการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ตลอดจนกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม
- กลุ่มการจัดซื้อโดยรัฐ ได้เข้ารับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับนโยบาย กฎระเบียบ บทบาท หน้าที่ และการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหรัฐฯ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการจัดซื้อทั้งในระดับรัฐบาลกลาง และระดับมลรัฐ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์และแสวงหาโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าสู่ตลาด (market access) ของสหรัฐฯ ได้ดียิ่งขึ้น
- กลุ่ม TCB/SMEs ได้หารือความคืบหน้าโครงการความร่วมมือต่างๆ เฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่จะส่งเสริมการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ โดยสร้างความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน และ SMEs ไทยเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่มีความสลับซับซ้อน และมีความสำคัญยิ่งต่อการเข้าสู่ตลาดของสหรัฐฯ ตลอดจนส่งเสริมโอกาสทางการค้าของ SMEs ไทยโดยการจับคู่ทางธุรกิจ (business matching) และสร้างเครือข่าย (networking) กับภาคเอกชนสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังได้หารือกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับช่องทางความร่วมมือในเรื่องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านโลจิสติกส์ และพัฒนาศักยภาพในการวิจัยด้านยาอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
- การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบ 5 มีการเจรจาทั้งหมด 13 หัวข้อ ได้แก่ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การเปิดตลาดสินค้าเกษตร อุปสรรคเทคนิคทางการค้า มาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ ระเบียบพิธีการด้านศุลกากร การลงทุน การค้าบริการ นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แรงงาน สิ่งแวดล้อม และกลุ่มกฎหมาย โดยการเจรจามีความคืบหน้าด้วยดี สรุปผลการเจรจาในกลุ่มสำคัญๆ ได้ ดังนี้
- การเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตร ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันต่อเกี่ยวกับแนวทางการลดภาษีสินค้าเกษตร ซึ่งฝ่ายไทยมีกว่า 800 ชนิด และฝ่ายสหรัฐฯ มีกว่า 1800 ชนิด นอกจากนี้ ได้ตกลงที่จะแลกเปลี่ยนรายการสินค้าที่ต่างฝ่ายจะเรียกร้องให้มีการลดภาษีให้กันและกัน (Initial Request) ในเบื้องต้นต่อไป
- การเจรจากฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าสินค้าใดจะสามารถเข้าตลาดของแต่ละฝ่ายโดยได้รับการลดภาษีนั้น ไทยได้หยิบยกสินค้าหลายรายการที่ยังมีประเด็นเกี่ยวกับกฎเกณฑ์แหล่งกำเนิดในทางที่จะเอื้ออำนวยต่อการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ของสินค้าเหล่านั้น โดยเห็นว่า หากสหรัฐฯ ใช้กฎฯที่เข้มงวด ไทยก็จะใช้กฎฯที่เข้มงวดต่อสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ เช่นกัน ทั้งนี้ ฝ่ายไทยจะยื่นข้อเสนอกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าแต่ละรายการสินค้าเกษตรในเดือนตุลาคมนี้
- ในเรื่องมาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ (Sanitary and Phytosanitary Standards-SPS) ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับสินค้าเกษตรของไทยในการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ฝ่ายไทยได้ผลักดันให้บรรจุเรื่องการจัดตั้งกลไกถาวรในการแก้ไขปัญหามาตรฐานสินค้าเกษตรที่เป็นอุปสรรคทางการค้า ซึ่งกลไกนี้จะเป็นส่วนสำคัญของการคลี่คลายอุปสรรคการนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยในปัจจุบัน อาทิ ผลไม้หลายชนิดที่ยังนำเข้าไม่ได้ และมีมูลค่าตอบแทนสูงสำหรับผู้ผลิตและส่งออกของไทย
- ในประเด็นอุปสรรคเทคนิคทางการค้า (Technical Barriers to Trade: TBT) ซึ่งเป็นอุปสรรคทางการค้าสำคัญสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ไทยได้หยิบยกสินค้าอุตสากรรมที่ประสบปัญหาด้านมาตรฐานในการเข้าตลาดสหรัฐฯ หลายรายการ โดยสหรัฐฯ ได้เสนอให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับไทยในเรื่องกฎระเบียบทางเทคนิคและมาตรฐานในสินค้าดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถส่งสินค้าเข้าไปยังสหรัฐฯ ได้สะดวก
- ในด้านระเบียบพิธีการด้านศุลกากร ไทยและสหรัฐฯ มีท่าทีคล้ายคลึงกัน เนื่องจากระเบียบปฏิบัติด้านศุลกากรของทั้งสองฝ่ายสอดคล้องกับหลักการสากลที่ได้รับการยอมรับกันอยู่แล้ว เช่น ในกรอบ World Customs Organization (WCO) ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือกันในรายละเอียดทางเทคนิค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีมาตรการอำนวยความสะดวกด้านการนำเข้า/ ส่งออก และเพื่อให้การนำเข้า/ ส่งออกสินค้ามีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีความโปร่งใสแก่ทั้งสองฝ่าย
- ทรัพย์สินทางปัญญา ฝ่ายไทยได้ยื่นข้อเสนอในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า ต่อเนื่องจากที่ได้เจรจากันใน 4 รอบที่ผ่านมา โดยฝ่ายสหรัฐฯ ยืนยันข้อเสนอให้ไทยยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในระดับที่เข้มงวดกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ฝ่ายไทยยังคงยืนยันการบังคับใช้กฎหมายเท่าที่มีอยู่ และในรอบนี้ ไทยได้ยื่นข้อเสนอประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาของไทย รวม 4 เรื่อง คือ (1) เรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเน้นหลักการแบ่งปันผลประโยชน์กับเจ้าของภูมิปัญญา หากมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของอีกฝ่ายไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (2) เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมถึงการคุ้มครองผ้าไหมและข้าวหอมมะลิของไทย (3) ความร่วมมือระหว่างกัน เช่น ในการอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของ SMEs ไทย และ (4) เรื่องการเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกัน (co-ownership) ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างกัน อนึ่ง การเจรจารอบนี้ ยังไม่มีการหารือกันในเรื่องสิทธิบัตรแต่อย่างใด
- ส่วนเรื่องการค้าบริการนั้น ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันต่อเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าบริการในรูปแบบต่างๆ กล่าวคือ การให้บริการข้ามพรมแดน การให้บริการแก่ผู้ที่เดินทางไปใช้บริการในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง การจัดตั้งธุรกิจบริการในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง และบุคคลเดินทางไปให้บริการในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งหารือกันต่อเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ของการเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างกัน เช่น การประติบัติเยี่ยงคนชาติ ทั้งนี้ การเจรจายังไม่ถึงขั้นตอนการเจรจาการเปิดตลาด (market access) รายสาขาบริการ
- ในหัวข้อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการหารือในด้านหลักเกณฑ์ของการดำเนินโครงการความร่วมมือซึ่งไทยได้เสนอแล้วในเบื้องต้น 5 สาขา ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี พลังงานทดแทน Life Science และเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศซึ่งจะรวมถึงการใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการป้องกันภัยธรรมชาติด้วย
- กลุ่มแรงงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งสองฝ่ายได้หารือ เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องกระบวนการระงับข้อพิพาทและการบังคับใช้กฎหมายของแต่ละประเทศที่มีอยู่ในเรื่องทั้งสองนี้ ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของแต่ละฝ่ายที่จะเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศในด้านสิ่งแวดล้อม
ทั้งสองฝ่ายยืนยันการเคารพสิทธิของแต่ละฝ่ายในการบังคับใช้กฎหมายและการกำหนดนโยบายคุ้มครองแรงงานและสิ่งแวดล้อม ของตนเอง นอกจากนี้ ได้มีการหารือด้านความร่วมมือระหว่างกัน ในเรื่องการพัฒนาขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ของไทย โดยการฝึกอบรมเรื่องแรงงานสัมพันธ์ การคุ้มครองแรงงาน และความปลอดภัยของแรงงาน ในด้านของความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม สหรัฐฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับฝ่ายไทยในการกำกับดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามกฎหมายและกฎระเบียบที่ไทยมีอยู่
- ส่วนกลุ่มเจรจานโยบายแข่งขันทางการค้านั้น ได้มีการหารือประเด็นเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าที่ยุติธรรมในกรอบกฎหมายและกฎระเบียบของแต่ละฝ่าย นอกจากนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับบทบาทของรัฐวิสาหกิจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานที่กำกับดูแลการแข่งขันทางการค้า ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ พร้อมจะให้ความร่วมมือกับไทยในการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ความชำนาญในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับพฤติกรรมที่กระทบต่อการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม
- นอกเหนือจากการเจรจาของกลุ่มต่างๆ ข้างต้นแล้ว กลุ่มโทรคมนาคม กลุ่มการจัดซื้อโดยรัฐ และกลุ่มการส่งเสริมขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (TCB/SMEs) ได้หารือนอกรอบที่กรุงวอชิงตัน ดังนี้
- กลุ่มโทรคมนาคม ได้หารือหลักการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในภาพรวม นอกจากนี้ ได้มีการศึกษาดูงานและหารือกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของสหรัฐฯ เพื่อหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดท่าทีของฝ่ายไทย อาทิ Federal Communication Commission (FCC) สมาคมผู้ประกอบการดาวเทียม (Satellite Industry Association-SIA) กลุ่มผู้ประกอบการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ตลอดจนกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม
- กลุ่มการจัดซื้อโดยรัฐ ได้เข้ารับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับนโยบาย กฎระเบียบ บทบาท หน้าที่ และการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหรัฐฯ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการจัดซื้อทั้งในระดับรัฐบาลกลาง และระดับมลรัฐ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์และแสวงหาโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าสู่ตลาด (market access) ของสหรัฐฯ ได้ดียิ่งขึ้น
- กลุ่ม TCB/SMEs ได้หารือความคืบหน้าโครงการความร่วมมือต่างๆ เฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่จะส่งเสริมการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ โดยสร้างความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน และ SMEs ไทยเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่มีความสลับซับซ้อน และมีความสำคัญยิ่งต่อการเข้าสู่ตลาดของสหรัฐฯ ตลอดจนส่งเสริมโอกาสทางการค้าของ SMEs ไทยโดยการจับคู่ทางธุรกิจ (business matching) และสร้างเครือข่าย (networking) กับภาคเอกชนสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังได้หารือกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับช่องทางความร่วมมือในเรื่องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านโลจิสติกส์ และพัฒนาศักยภาพในการวิจัยด้านยาอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-