ไตรมาส 3 ปี 2549 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียมีความผันผวนอย่างมาก โดยในช่วงแรกของไตรมาสราคามีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก
ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น โดยมีสาเหตุจากปัจจัยทางการเมืองเป็นสำคัญ ส่งผลให้เกิดความกังวลเรื่องซัพพลายน้ำมันดิบ ปัจจัยการเมืองได้แก่ การ
ทดลองนิวเคลียในอิหร่านที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้, การทดลองยิงขีปนาวุธในเกาหลีเหนือ, สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่ม Hizballah ในเลบานอน
และความไม่สงบทางการเมืองของไนจีเรีย อย่างไรก็ตามในช่วงปลายของไตรมาสปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้คลี่คลายลง ทำให้ราคาแนฟธาของตลาด
เอเชียปรับตัวลงเล็กน้อยตามราคาน้ำมันดิบ กอร์ปกับปริมาณแนฟธาในตลาดมีมาก เพราะอินเดียมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ปริมาณความต้อง
การใช้ลดลงเพราะเอทิลีนแครกเกอร์จำนวนมากในเอเชียปิดซ่อมบำรุง อีกทั้งหลายประเทศในเอเชียก้าวเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย
ปากีสถาน บังคลาเทศ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่งผลให้เกิดความตึงตัวของตลาดเอทิลีนเอเชีย
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ในช่วงแรกของไตรมาสค่อนข้างคึกคัก เนื่องมาจากมีแรงซื้อจากจีน ราคาจึงปรับตัวสูง
ขึ้น แต่ได้ชะลอตัวลงในปลายไตรมาส สถานการณ์ตลาดโพรพิลีนเอเชียประสบกับภาวะตึงตัวอย่างมาก เนื่องจาก ไต้หวันซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่มีแผนที่
จะทำการปิดซ่อมบำรุงเอทิลีนแครกเกอร์ ด้านปริมาณความต้องการ HDPE และ LDPE มีเพิ่มขึ้นมาก เพราะมีการเร่งผลิตสินค้าส่งไปยังสหภาพยุโรป
ก่อนถึงกำหนดที่สหภาพยุโรปจะประกาศใช้ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping Duties) กับผู้ผลิตถุงพลาสติก PE จากจีนและไทย ในวันที่ 1
ตุลาคม 2549
การผลิต
ไตรมาส 3 ปี 2549 ภาวะปิโตรเคมีในประเทศมีแผนขยายกำลังการผลิตดังนี้ คือ แผนการลงทุนด้าน Gas Based Olefins สายเอทิลี
น โครงการอีเทนแครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตัน/ปี ซึ่งเป็นหน่วยผลิต LDPE ขนาด 300,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต LLDPE ขนาด 400,000 ตัน/ปี
โดยมีกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2552 อีกทั้งยังได้มีการลงนามในข้อตกลงสำหรับหน่วยผลิต ethanolamines ซึ่งเป็นสารวัตถุดิบใน
อุตสาหกรรมสี ยา เครื่องสำอาง สารซักล้าง และซีเมนต์ จะเริ่มเดินเครื่องต้นปี 2551 ซึ่งจะมีสถานะกลายเป็นหน่วยผลิตสาร ethanolamines
รายแรกของไทย
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีโครงการขยายการผลิต ประเทศอินเดียมีแผนดำเนินการขยายกำลังการผลิตเอทิลิ
นแครกเกอร์จำนวนมาก โดยมีแผนการลงทุนในโครงการสร้างเอทิลีนแครกเกอร์ 5 แห่ง ประกอบด้วย โครงการแครกเกอร์ขนาด 857,000 ตัน/ปี
กำหนดเดินเครื่องในปี 2009 โครงการขนาด 1 ล้านตัน/ปี มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ในปี 2554 โครงการต่างๆ เหล่านี้เป็นผลมาจากรัฐบาลอินเดียให้
การสนับสนุน เพราะเล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้อินเดียอยู่ระหว่างการตรวจสอบการทุ่มตลาดเม็ดพลาสติก
PVC ที่ส่งมาจาก จีน, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไทย, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา หากพบว่ามีการทุ่มตลาดจริง จะดำเนินการตอบโต้โดย
มาตรการทางภาษี โดยเริ่มตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2549 มีกำหนดดำเนินการ 1 ปี
จีนมีแผนดำเนินการขยายกำลังการผลิตโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มอีก 10% เป็น 20 ล้านตัน/ปี ภายในปลายปี 2549 และจะใช้แนฟธาจากโรง
กลั่นนี้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับแครกเกอร์คอมเพล็กซ์ที่จะสร้างใหม่ขนาด 1 ล้านตัน/ปี มีกำหนดเดินเครื่องในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 อีกทั้งเมื่อกลาง
เดือนกันยายน 2549 ที่ผ่านมาได้เริ่มเดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ใหม่ขนาด 640,000 ตัน/ปี
โอมานได้ร่วมลงทุนกับเกาหลีใต้และคูเวตเพื่อดำเนินการก่อสร้างหน่วยผลิต PP ขนาด 340,000 ตัน/ปี และจะเริ่มเดินเครื่องผลิตเชิง
พาณิชย์ในเดือนกันยายน 2549 โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ 40% จะขายในประเทศโอมาน ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง อาฟริกาใต้ ปากีสถาน และ
อินเดีย ส่วนอีก 60% ที่เหลือจะส่งขายในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป สหรัฐอเมริกา ตุรกี อิสราเอล และอียิปต์
ฟิลิปปินส์ยังคงเดินหน้าโครงการเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 350,000 ตัน/ปี แม้ว่าจะประสบปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน โดยมีกำหนดเดิน
เครื่องในปี 2553
อิหร่านเริ่มทดลองเดินเครื่องหน่วยผลิต PP ขนาด 300,000 ตัน/ปี มีแผนเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนกันยายน 2549 รวมทั้งได้เริ่ม
เดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี และหน่วยผลิต HDPE ขนาด 300,000 ตัน/ปี แล้วตั้งแต่เดือนเมษายน 2549 ที่ผ่านมา
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2549 ระดับราคาปรับเพิ่มขึ้น โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE
Asia CIF) ในเดือนกันยายน 2549 ของ LDPE, HDPE, และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 51.02, 51.07 และ 51.63 บาท/กิโลกรัม ตาม
ลำดับ ทั้งนี้ LDPE, HDPE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ที่ระดับราคา 48.35, 48.84 และ 48.26 บาท/กิโลกรัม ตาม
ลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2549 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 5,787.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและ
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 120.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 8,770.68 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.34 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้วและลดลงร้อยละ 21.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 16,436.03 ล้านบาทเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 1.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 15.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3(2548) Q2(2549) Q3(2549) Q3/Q2(2549) Q3(2549)/Q3(2548)
ขั้นต้น 2,756.47 5,787.10 5,787.75 0.01 120.85
ขั้นกลาง 11,238.68 10,610.97 8,770.68 -17.34 -21.96
ขั้นปลาย 19,391.27 16,163.24 16,436.03 1.69 -15.24
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2549 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,591.33 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
และลดลงร้อยละ 37.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 14,522.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.44 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 151.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 40,042.42 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3(2548) Q2(2549) Q3(2549) Q3/Q2(2549) Q3(2549)/Q3(2548)
ขั้นต้น 10,515.73 8,025.93 6,591.33 -17.87 -37.32
ขั้นกลาง 5,778.49 11,860.82 14,522.12 22.44 151.31
ขั้นปลาย 39,724.61 38,451.84 40,042.42 4.14 0.8
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
แนวโน้ม
สถานการณ์ตลาดเม็ดพลาสติกเอเชียค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวในหลายประเทศของเอเชีย แต่อย่างไรก็ตามการ
บริโภคเม็ดพลาสติกยังสามารถขยายตัวได้ต่อไปอีก เนื่องจากประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะอินเดียและจีน ยังคงมีการขยายตัวในภาคก่อสร้าง และการ
ลงทุนในด้านสาธารณูปโภคต่างๆ อยู่
สำหรับประเทศไทยแนวโน้มความต้องการใช้เม็ดพลาสติกยังคงทรงตัวอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยสาเหตุหลักประการหนึ่งได้แก่ สหภาพ
ยุโรปได้ประกาศใช้ภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด (Anti-Dumping Duties) กับผู้ผลิตถุงพลาสติก PE ของไทยและจีน ซึ่งจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม
2549 โดยอัตราภาษีที่ใช้กับผู้ผลิตจีนอยู่ที่ 10-12% และใช้กับผู้ผลิตไทยอยู่ที่ 5-6%
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น โดยมีสาเหตุจากปัจจัยทางการเมืองเป็นสำคัญ ส่งผลให้เกิดความกังวลเรื่องซัพพลายน้ำมันดิบ ปัจจัยการเมืองได้แก่ การ
ทดลองนิวเคลียในอิหร่านที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้, การทดลองยิงขีปนาวุธในเกาหลีเหนือ, สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่ม Hizballah ในเลบานอน
และความไม่สงบทางการเมืองของไนจีเรีย อย่างไรก็ตามในช่วงปลายของไตรมาสปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้คลี่คลายลง ทำให้ราคาแนฟธาของตลาด
เอเชียปรับตัวลงเล็กน้อยตามราคาน้ำมันดิบ กอร์ปกับปริมาณแนฟธาในตลาดมีมาก เพราะอินเดียมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ปริมาณความต้อง
การใช้ลดลงเพราะเอทิลีนแครกเกอร์จำนวนมากในเอเชียปิดซ่อมบำรุง อีกทั้งหลายประเทศในเอเชียก้าวเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย
ปากีสถาน บังคลาเทศ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่งผลให้เกิดความตึงตัวของตลาดเอทิลีนเอเชีย
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ในช่วงแรกของไตรมาสค่อนข้างคึกคัก เนื่องมาจากมีแรงซื้อจากจีน ราคาจึงปรับตัวสูง
ขึ้น แต่ได้ชะลอตัวลงในปลายไตรมาส สถานการณ์ตลาดโพรพิลีนเอเชียประสบกับภาวะตึงตัวอย่างมาก เนื่องจาก ไต้หวันซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่มีแผนที่
จะทำการปิดซ่อมบำรุงเอทิลีนแครกเกอร์ ด้านปริมาณความต้องการ HDPE และ LDPE มีเพิ่มขึ้นมาก เพราะมีการเร่งผลิตสินค้าส่งไปยังสหภาพยุโรป
ก่อนถึงกำหนดที่สหภาพยุโรปจะประกาศใช้ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping Duties) กับผู้ผลิตถุงพลาสติก PE จากจีนและไทย ในวันที่ 1
ตุลาคม 2549
การผลิต
ไตรมาส 3 ปี 2549 ภาวะปิโตรเคมีในประเทศมีแผนขยายกำลังการผลิตดังนี้ คือ แผนการลงทุนด้าน Gas Based Olefins สายเอทิลี
น โครงการอีเทนแครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตัน/ปี ซึ่งเป็นหน่วยผลิต LDPE ขนาด 300,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต LLDPE ขนาด 400,000 ตัน/ปี
โดยมีกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2552 อีกทั้งยังได้มีการลงนามในข้อตกลงสำหรับหน่วยผลิต ethanolamines ซึ่งเป็นสารวัตถุดิบใน
อุตสาหกรรมสี ยา เครื่องสำอาง สารซักล้าง และซีเมนต์ จะเริ่มเดินเครื่องต้นปี 2551 ซึ่งจะมีสถานะกลายเป็นหน่วยผลิตสาร ethanolamines
รายแรกของไทย
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีโครงการขยายการผลิต ประเทศอินเดียมีแผนดำเนินการขยายกำลังการผลิตเอทิลิ
นแครกเกอร์จำนวนมาก โดยมีแผนการลงทุนในโครงการสร้างเอทิลีนแครกเกอร์ 5 แห่ง ประกอบด้วย โครงการแครกเกอร์ขนาด 857,000 ตัน/ปี
กำหนดเดินเครื่องในปี 2009 โครงการขนาด 1 ล้านตัน/ปี มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ในปี 2554 โครงการต่างๆ เหล่านี้เป็นผลมาจากรัฐบาลอินเดียให้
การสนับสนุน เพราะเล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้อินเดียอยู่ระหว่างการตรวจสอบการทุ่มตลาดเม็ดพลาสติก
PVC ที่ส่งมาจาก จีน, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไทย, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา หากพบว่ามีการทุ่มตลาดจริง จะดำเนินการตอบโต้โดย
มาตรการทางภาษี โดยเริ่มตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2549 มีกำหนดดำเนินการ 1 ปี
จีนมีแผนดำเนินการขยายกำลังการผลิตโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มอีก 10% เป็น 20 ล้านตัน/ปี ภายในปลายปี 2549 และจะใช้แนฟธาจากโรง
กลั่นนี้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับแครกเกอร์คอมเพล็กซ์ที่จะสร้างใหม่ขนาด 1 ล้านตัน/ปี มีกำหนดเดินเครื่องในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 อีกทั้งเมื่อกลาง
เดือนกันยายน 2549 ที่ผ่านมาได้เริ่มเดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ใหม่ขนาด 640,000 ตัน/ปี
โอมานได้ร่วมลงทุนกับเกาหลีใต้และคูเวตเพื่อดำเนินการก่อสร้างหน่วยผลิต PP ขนาด 340,000 ตัน/ปี และจะเริ่มเดินเครื่องผลิตเชิง
พาณิชย์ในเดือนกันยายน 2549 โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ 40% จะขายในประเทศโอมาน ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง อาฟริกาใต้ ปากีสถาน และ
อินเดีย ส่วนอีก 60% ที่เหลือจะส่งขายในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป สหรัฐอเมริกา ตุรกี อิสราเอล และอียิปต์
ฟิลิปปินส์ยังคงเดินหน้าโครงการเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 350,000 ตัน/ปี แม้ว่าจะประสบปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน โดยมีกำหนดเดิน
เครื่องในปี 2553
อิหร่านเริ่มทดลองเดินเครื่องหน่วยผลิต PP ขนาด 300,000 ตัน/ปี มีแผนเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนกันยายน 2549 รวมทั้งได้เริ่ม
เดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี และหน่วยผลิต HDPE ขนาด 300,000 ตัน/ปี แล้วตั้งแต่เดือนเมษายน 2549 ที่ผ่านมา
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2549 ระดับราคาปรับเพิ่มขึ้น โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE
Asia CIF) ในเดือนกันยายน 2549 ของ LDPE, HDPE, และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 51.02, 51.07 และ 51.63 บาท/กิโลกรัม ตาม
ลำดับ ทั้งนี้ LDPE, HDPE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ที่ระดับราคา 48.35, 48.84 และ 48.26 บาท/กิโลกรัม ตาม
ลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2549 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 5,787.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและ
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 120.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 8,770.68 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.34 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้วและลดลงร้อยละ 21.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 16,436.03 ล้านบาทเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 1.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 15.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3(2548) Q2(2549) Q3(2549) Q3/Q2(2549) Q3(2549)/Q3(2548)
ขั้นต้น 2,756.47 5,787.10 5,787.75 0.01 120.85
ขั้นกลาง 11,238.68 10,610.97 8,770.68 -17.34 -21.96
ขั้นปลาย 19,391.27 16,163.24 16,436.03 1.69 -15.24
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2549 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,591.33 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
และลดลงร้อยละ 37.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 14,522.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.44 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 151.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 40,042.42 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3(2548) Q2(2549) Q3(2549) Q3/Q2(2549) Q3(2549)/Q3(2548)
ขั้นต้น 10,515.73 8,025.93 6,591.33 -17.87 -37.32
ขั้นกลาง 5,778.49 11,860.82 14,522.12 22.44 151.31
ขั้นปลาย 39,724.61 38,451.84 40,042.42 4.14 0.8
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
แนวโน้ม
สถานการณ์ตลาดเม็ดพลาสติกเอเชียค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวในหลายประเทศของเอเชีย แต่อย่างไรก็ตามการ
บริโภคเม็ดพลาสติกยังสามารถขยายตัวได้ต่อไปอีก เนื่องจากประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะอินเดียและจีน ยังคงมีการขยายตัวในภาคก่อสร้าง และการ
ลงทุนในด้านสาธารณูปโภคต่างๆ อยู่
สำหรับประเทศไทยแนวโน้มความต้องการใช้เม็ดพลาสติกยังคงทรงตัวอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยสาเหตุหลักประการหนึ่งได้แก่ สหภาพ
ยุโรปได้ประกาศใช้ภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด (Anti-Dumping Duties) กับผู้ผลิตถุงพลาสติก PE ของไทยและจีน ซึ่งจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม
2549 โดยอัตราภาษีที่ใช้กับผู้ผลิตจีนอยู่ที่ 10-12% และใช้กับผู้ผลิตไทยอยู่ที่ 5-6%
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-