ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดคงค้างบัตรเครดิต ณ สิ้นเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อและปริมาณการใช้จ่ายลดลง รายงานจากธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ยอดคงค้างบัตรเครดิต ณ วันที่ 28 ก.พ.50 มีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น 11,006,451 บัตร หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
3,644 บัตร ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อมีจำนวน 116,740 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 2,036 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.21 ของสินเชื่อรวม โดยยอด
คงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตของสถาบันการเงินทุกประเภทลดลง ส่วนปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมของสถาบันการเงินทุกประเภทลดลง โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ลดลงถึง 9,664 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 13.04 จากปัจจุบันที่มีปริมาณการใช้จ่ายอยู่ที่ 64,432 ล้านบาท นอกจากนี้ ปริมาณการใช้จ่ายทุกประเภทก็ลดลง
เช่นกัน โดยปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมีปริมาณทั้งสิ้น 45,747 ล้านบาท หรือลดลงจากเดือนก่อน 7,537 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.14 ส่วนปริมาณ
การใช้จ่ายในต่างประเทศมีจำนวน 1,876 ล้านบาท ลดลง 297 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.68 และการเบิกจ่ายเงินสดล่วงหน้ามีจำนวน 16,809 ล้านบาท
ลดลง 1,830 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.82 (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
2. ธปท.เผยภายหลังการออกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิ 7,000 กว่าล้านบาท ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายหลังออกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 (ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.49 จนถึงปัจจุบัน) มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามา
ในประเทศมากกว่าเงินทุนไหลออกจากประเทศสุทธิ 7,000 กว่าล้านบาท โดยเงินดังกล่าวเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เนื่องจากปัจจัยเรื่องผลประกอบการ
บริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดี ไม่ได้เป็นเงินที่เข้ามาเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท แต่ก็ได้รับผลพลอยได้จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ เงินที่ไหลเข้ามาสามารถ
ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นได้ค่อนข้างเร็ว และเชื่อว่าจะมีเงินไหลเข้ามาอีกต่อเนื่อง หากเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4-5 ตามที่คาดการณ์ไว้
และอัตราเงินเฟ้อยังต่ำอยู่ (เดลินิวส์, มติชน)
3. ม.หอการค้าคาดว่าการส่งออกทั้งปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 9.64 ต่ำกว่าที่ ก.พาณิชย์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5 ผอ.ศูนย์การค้า
ระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงการคาดการณ์ภาวะส่งออกและนำเข้าสินค้าของไทยตลอดปี 50 ว่า การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 9.64 หรือ
มีมูลค่า 142,473 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งต่ำกว่าที่ ก.พาณิชย์คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5 คิดเป็นมูลค่า 145,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. สาเหตุ
ที่ทำให้การส่งออกลดลงมาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทจะกระทบต่อการส่งออกและนำเข้า รวมถึงดุลการค้า
กรณีเงินบาทแข็งค่า 1 บาท มูลค่าการส่งออกจะลดลงถึงร้อยละ 3.1 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ขณะที่การนำเข้าปีนี้คาดว่ายังเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10.17
คิดเป็นมูลค่า 139,744 ล้านดอลลาร์ สรอ.ทำให้เกินดุลการค้าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 2,729 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากปีก่อนที่เกินดุล 3,101 ล้านดอลลาร์ สรอ.
นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าในไตรมาส 2 ปี 50 จะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 33,140 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากไตรมาสแรกร้อยละ 0.81 ส่วนการนำเข้า
ในไตรมาส 2 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.33 (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ข่าวสด, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, แนวหน้า, แนวหน้า)
4. ผู้ประกอบการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสแรกปี 50 จำนวน 1,881 ล้านบาท ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ 1 (บีโอไอ)
เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการยังคงให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 50 พบว่า มีนักลงทุนไทยและ
นักลงทุนต่างชาติ ขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอจำนวนทั้งสิ้น 14 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนสูงถึง 1,881 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 49
โดยเมื่อปี 49 มีผู้ประกอบการขอเข้ารับการส่งเสริมจากบีโอไอ 13 โครงการ มูลค่าการลงทุนจำนวน 1,213 ล้านบาท สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในภาคเหนือ
ตอนบนมากที่สุด คือ ประเทศญี่ปุ่น รองลงมาได้แก่ นักลงทุนจากยุโรป โดยส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนธุรกิจประเภทซอฟต์แวร์ การแปรรูปโลหะ ส่วนนักลงทุนไทย
เข้ามาลงทุนในธุรกิจประเภทผลิตผลเกษตรแปรรูป การนำวัสดุเหลือใช้การเกษตรมาเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทน (กรุงเทพธุรกิจ)
5. ปริมาณการออกตราสารหนี้ในปี 50 อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.8 แสนล้านบาท กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(ThaiBMA) เปิดเผยว่า ในปี 50 ปริมาณการออกตราสารหนี้อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.8 แสนล้านบาท หลังประมาณจากตัวเลขการออก
ตราสารหนี้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งมีการออกพันธบัตรเพียง 1 หมื่นล้านบาท และแม้ว่าในเดือน เม.ย.50 จะมีบริษัทออกหุ้นกู้มูลค่ารวมเกือบ
30,000 ล้านบาทก็ตาม เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และยังไม่มีความชัดเจนทางการเมือง จึงทำให้ผู้ประกอบการไม่กล้าลงทุน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแม้จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลง และไม่ลดต่ำเกินไป ก็คาดว่าจะมีออกหุ้นกู้มากขึ้น เนื่องจากบางบริษัทต้องการระดมทุนเพื่อรีไฟแนนซ์
หรือเพื่อการลงทุน (สยามรัฐ, แนวหน้า)
6. ไอเอ็มเอฟเผยแผนความริเริ่มเชียงใหม่ไม่ช่วยขจัดวิกฤติเงินเอเชีย ผอ.กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวแสดงความเห็น
เกี่ยวกับแผนความริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกเอเชียรวมทั้งไทยในการทำสวอป
หรือการให้ยืมทุนสำรองระหว่างประเทศสมาชิกเมื่อเกิดปัญหากับสกุลเงินของแต่ละประเทศว่า เป็นข้อตกลงที่มีประโยชน์ แต่กลุ่มประเทศสมาชิกไม่ควรอาศัย
ข้อตกลงนี้เพื่อขจัดวิกฤติเศรษฐกิจให้หมดไปได้ อย่างไรก็ตาม สมาชิกความริเริ่มเชียงใหม่อาจจะขจัดวิกฤติการเงินให้หมดไปได้เป็นอันดับแรก คือ สร้าง
ความมั่นใจให้เกิดขึ้นในนโยบายเศรษฐกิจของตัวเองว่ามีความแข็งแกร่ง และสามารถจัดการความวุ่นวายได้อย่างรวดเร็ว และไม่พิจารณาถึงสภาพความ
เป็นจริงที่คิดว่าไม่มีภาวะแวดล้อมใด ๆ ภายใต้ข้อตกลงสวอปค่าเงินภายในภูมิภาคเอเชีย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปีตามที่ตลาดคาดไว้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 10 เม.ย.50 ธ.กลางญี่ปุ่นมีมติ
เป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปีตามที่ตลาดคาดไว้ โดยให้เหตุผลว่า ธ.กลางญี่ปุ่นต้องการดูผลกระทบของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เมื่อเดือน ก.พ.50 ที่มีต่อเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับคงที่ แต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในระยะยาว โดยการบริโภคในประเทศขยายตัวสูงขึ้น
นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในญี่ปุ่นจากผลสำรวจรายไตรมาสโดย ธ.กลางญี่ปุ่นในช่วงระหว่างปลายเดือน ก.พ.ถึงกลางเดือน
มี.ค.50 ที่ผ่านมายังคงแข็งแกร่งโดยลดลงเล็กน้อยจากระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีเมื่อเดือน ธ.ค.49 แต่อย่างไรก็ดีความเห็นของ ธ.กลางญี่ปุ่นในครั้งนี้ไม่ได้
ส่งผลกระทบต่อความเห็นของนักวิเคราะห์ในตลาดที่ส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งเป็นร้อยละ 0.75 ต่อปีในเดือน ก.ย.50 นี้
(รอยเตอร์)
2. ยอดเกินดุลการค้าของจีนในเดือน มี.ค.50 ลดลงอย่างผิดปกติ รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.50 ยอดเกินดุลการค้า
ของจีนในเดือน มี.ค.50 ลดลงอย่างมากอยู่ที่จำนวน 6.87 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สวนทางกับการคาดการณ์ที่คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะใกล้เคียงกับจำนวน
23.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นตัวเลขของเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกเทียบต่อปีลดลงถึงร้อยละ 6.9 ต่ำสุดในรอบ 5 ปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 51.7
ในเดือน ก.พ.50 โดยมีสาเหตุจากสินค้าประเภทเสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์ขยายตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่าการที่ยอดการส่งออก
ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเกิดจากผู้ส่งออกของจีนมีความกังวลว่าทางการจะปรับลดการเรียกคืนภาษีสินค้าที่ส่งออก จึงเร่งรีบส่งสินค้าออกไป
ขายต่างประเทศ ทำให้เหลือสินค้าที่จะส่งออกในเดือน มี.ค.50 ไม่มากนัก ขณะที่นักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งเห็นด้วยว่าตัวเลขการส่งออกในเดือน มี.ค.50 อาจจะ
ผิดปกติ แต่จะทำให้ สรอ. ลดการกดดันรัฐบาลจีนในเรื่องการเกินดุลการค้าลงได้ ทั้งนี้ จีนได้เสนอให้มีการปรับลดการคืนภาษีสินค้าส่งออกเป็นจำนวนมาก
เพื่อขัดขวางไม่ให้มีการส่งออกสินค้าประเภทเหล็กพื้นฐานและสิ่งทอไปยังต่างประเทศ และมีการคาดการณ์กันว่าอาจจะมีมาตรการอื่นมากกว่านี้จึงทำให้เกิด
การเร่งการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของปี ในขณะที่กรมศุลกากรแถลงว่าตัวเลขการส่งออกในเดือน มี.ค.50 ชี้ว่าการเกินดุลลดลงอย่างชัดเจน แต่
นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าแนวโน้มการเกินดุลยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ เพราะตัวเลขการเกินดุลการค้าทั้งไตรมาสยังมีจำนวนสูงอยู่ ดังนั้น ตัวเลขของทั้งปีก็คงจะสูง
ตามไปด้วย โดยในไตรมาสแรกจีนมียอดเกินดุลการค้า 46.44 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากช่วงเดียวกันของปี 49 (รอยเตอร์)
3. ยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีในเดือน ก.พ.50 ลดลงเนื่องจากการนำเข้าเพิ่มขึ้น รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 10 เม.ย.50 Federal
Statistics Office เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้า(หลังปรับฤดูกาล)ของเยอรมนีในเดือน ก.พ.50 มีจำนวน 13.8 พัน ล.ยูโร (18.42 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.)
ลดลงจากจำนวน 15.8 พัน ล.ยูโรในเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวน 15.4 พัน ล.ยูโร เนื่องจากการนำเข้า
ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.6 เป็นจำนวน 66.4 พัน ล.ยูโร สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.9
เป็นจำนวน 80.1 พัน ล.ยูโร สำหรับมูลค่าการส่งออกและนำเข้าเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ทั้งนี้ การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อ
เทียบกับการส่งออก สะท้อนว่าความต้องการจากต่างประเทศอาจไม่สามารถช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีได้ อย่างไรก็ตาม
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศกลับมีทิศทางที่แข็งแกร่ง เห็นได้จากตัวเลขผลผลิตภาคการผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับยอดขายปลีกที่ฟื้นตัวขึ้น
จากภาวะชะลอตัวในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะยังไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะนี้ รายงานจากโซล เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 50 ผลการ
สำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 12 คนโดยรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมที่ร้อยละ 4.50 ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้
ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 4.50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 นับตั้งแต่เดือน ส.ค. 49 โดยนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 9 คนคาดว่าธ.กลาง
เกาหลีใต้จะยังไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะ 6 เดือน แต่อีก 3 คนคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยนาย Lim Roh-joong
นักเศรษฐศาสตร์จาก Kyobo Investment Trust Management เห็นว่าปัจจุบันราคาอสังหาริมทรัพย์ค่อยๆลดลงขณะที่การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังไม่
ชัดเจนดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงยังไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงแม้ว่าจะมีการคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มในช่วงครึ่งหลังของปีนี้แต่ก็ยังคงอยู่ในเป้าหมายเงินเฟ้อของ
ธ.กลางที่ตั้งไว้ระหว่างร้อยละ 2.5 — 3.5 ในช่วงปี 50 — 52 อย่างไรก็ตามแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเคลื่อนไหวภายในเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่การที่ภาวะ
เศรษฐกิจยังคงไม่แข็งแกร่งเช่นนี้จึงเป็นการยากที่ ธ.กลางจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้ แต่ในช่วงหลังของปีการมีสภาพคล่องจำนวนมหาศาล
ในระบบการเงินอาจสร้างความกดดันให้แก่ธ.กลางที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็เป็นได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 เม.ย. 50 10 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.922 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7004/35.0306 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.5075 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 689.48/6.48 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 11,050/11,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 60.89 60.38 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.79*/24.94* 28.39/24.54 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ยอดคงค้างบัตรเครดิต ณ สิ้นเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อและปริมาณการใช้จ่ายลดลง รายงานจากธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ยอดคงค้างบัตรเครดิต ณ วันที่ 28 ก.พ.50 มีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น 11,006,451 บัตร หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
3,644 บัตร ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อมีจำนวน 116,740 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 2,036 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.21 ของสินเชื่อรวม โดยยอด
คงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตของสถาบันการเงินทุกประเภทลดลง ส่วนปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมของสถาบันการเงินทุกประเภทลดลง โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ลดลงถึง 9,664 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 13.04 จากปัจจุบันที่มีปริมาณการใช้จ่ายอยู่ที่ 64,432 ล้านบาท นอกจากนี้ ปริมาณการใช้จ่ายทุกประเภทก็ลดลง
เช่นกัน โดยปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมีปริมาณทั้งสิ้น 45,747 ล้านบาท หรือลดลงจากเดือนก่อน 7,537 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.14 ส่วนปริมาณ
การใช้จ่ายในต่างประเทศมีจำนวน 1,876 ล้านบาท ลดลง 297 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.68 และการเบิกจ่ายเงินสดล่วงหน้ามีจำนวน 16,809 ล้านบาท
ลดลง 1,830 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.82 (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
2. ธปท.เผยภายหลังการออกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิ 7,000 กว่าล้านบาท ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายหลังออกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 (ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.49 จนถึงปัจจุบัน) มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามา
ในประเทศมากกว่าเงินทุนไหลออกจากประเทศสุทธิ 7,000 กว่าล้านบาท โดยเงินดังกล่าวเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เนื่องจากปัจจัยเรื่องผลประกอบการ
บริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดี ไม่ได้เป็นเงินที่เข้ามาเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท แต่ก็ได้รับผลพลอยได้จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ เงินที่ไหลเข้ามาสามารถ
ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นได้ค่อนข้างเร็ว และเชื่อว่าจะมีเงินไหลเข้ามาอีกต่อเนื่อง หากเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4-5 ตามที่คาดการณ์ไว้
และอัตราเงินเฟ้อยังต่ำอยู่ (เดลินิวส์, มติชน)
3. ม.หอการค้าคาดว่าการส่งออกทั้งปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 9.64 ต่ำกว่าที่ ก.พาณิชย์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5 ผอ.ศูนย์การค้า
ระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงการคาดการณ์ภาวะส่งออกและนำเข้าสินค้าของไทยตลอดปี 50 ว่า การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 9.64 หรือ
มีมูลค่า 142,473 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งต่ำกว่าที่ ก.พาณิชย์คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5 คิดเป็นมูลค่า 145,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. สาเหตุ
ที่ทำให้การส่งออกลดลงมาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทจะกระทบต่อการส่งออกและนำเข้า รวมถึงดุลการค้า
กรณีเงินบาทแข็งค่า 1 บาท มูลค่าการส่งออกจะลดลงถึงร้อยละ 3.1 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ขณะที่การนำเข้าปีนี้คาดว่ายังเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10.17
คิดเป็นมูลค่า 139,744 ล้านดอลลาร์ สรอ.ทำให้เกินดุลการค้าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 2,729 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากปีก่อนที่เกินดุล 3,101 ล้านดอลลาร์ สรอ.
นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าในไตรมาส 2 ปี 50 จะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 33,140 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากไตรมาสแรกร้อยละ 0.81 ส่วนการนำเข้า
ในไตรมาส 2 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.33 (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ข่าวสด, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, แนวหน้า, แนวหน้า)
4. ผู้ประกอบการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสแรกปี 50 จำนวน 1,881 ล้านบาท ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ 1 (บีโอไอ)
เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการยังคงให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 50 พบว่า มีนักลงทุนไทยและ
นักลงทุนต่างชาติ ขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอจำนวนทั้งสิ้น 14 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนสูงถึง 1,881 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 49
โดยเมื่อปี 49 มีผู้ประกอบการขอเข้ารับการส่งเสริมจากบีโอไอ 13 โครงการ มูลค่าการลงทุนจำนวน 1,213 ล้านบาท สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในภาคเหนือ
ตอนบนมากที่สุด คือ ประเทศญี่ปุ่น รองลงมาได้แก่ นักลงทุนจากยุโรป โดยส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนธุรกิจประเภทซอฟต์แวร์ การแปรรูปโลหะ ส่วนนักลงทุนไทย
เข้ามาลงทุนในธุรกิจประเภทผลิตผลเกษตรแปรรูป การนำวัสดุเหลือใช้การเกษตรมาเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทน (กรุงเทพธุรกิจ)
5. ปริมาณการออกตราสารหนี้ในปี 50 อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.8 แสนล้านบาท กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(ThaiBMA) เปิดเผยว่า ในปี 50 ปริมาณการออกตราสารหนี้อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.8 แสนล้านบาท หลังประมาณจากตัวเลขการออก
ตราสารหนี้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งมีการออกพันธบัตรเพียง 1 หมื่นล้านบาท และแม้ว่าในเดือน เม.ย.50 จะมีบริษัทออกหุ้นกู้มูลค่ารวมเกือบ
30,000 ล้านบาทก็ตาม เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และยังไม่มีความชัดเจนทางการเมือง จึงทำให้ผู้ประกอบการไม่กล้าลงทุน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแม้จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลง และไม่ลดต่ำเกินไป ก็คาดว่าจะมีออกหุ้นกู้มากขึ้น เนื่องจากบางบริษัทต้องการระดมทุนเพื่อรีไฟแนนซ์
หรือเพื่อการลงทุน (สยามรัฐ, แนวหน้า)
6. ไอเอ็มเอฟเผยแผนความริเริ่มเชียงใหม่ไม่ช่วยขจัดวิกฤติเงินเอเชีย ผอ.กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวแสดงความเห็น
เกี่ยวกับแผนความริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกเอเชียรวมทั้งไทยในการทำสวอป
หรือการให้ยืมทุนสำรองระหว่างประเทศสมาชิกเมื่อเกิดปัญหากับสกุลเงินของแต่ละประเทศว่า เป็นข้อตกลงที่มีประโยชน์ แต่กลุ่มประเทศสมาชิกไม่ควรอาศัย
ข้อตกลงนี้เพื่อขจัดวิกฤติเศรษฐกิจให้หมดไปได้ อย่างไรก็ตาม สมาชิกความริเริ่มเชียงใหม่อาจจะขจัดวิกฤติการเงินให้หมดไปได้เป็นอันดับแรก คือ สร้าง
ความมั่นใจให้เกิดขึ้นในนโยบายเศรษฐกิจของตัวเองว่ามีความแข็งแกร่ง และสามารถจัดการความวุ่นวายได้อย่างรวดเร็ว และไม่พิจารณาถึงสภาพความ
เป็นจริงที่คิดว่าไม่มีภาวะแวดล้อมใด ๆ ภายใต้ข้อตกลงสวอปค่าเงินภายในภูมิภาคเอเชีย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปีตามที่ตลาดคาดไว้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 10 เม.ย.50 ธ.กลางญี่ปุ่นมีมติ
เป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปีตามที่ตลาดคาดไว้ โดยให้เหตุผลว่า ธ.กลางญี่ปุ่นต้องการดูผลกระทบของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เมื่อเดือน ก.พ.50 ที่มีต่อเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับคงที่ แต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในระยะยาว โดยการบริโภคในประเทศขยายตัวสูงขึ้น
นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในญี่ปุ่นจากผลสำรวจรายไตรมาสโดย ธ.กลางญี่ปุ่นในช่วงระหว่างปลายเดือน ก.พ.ถึงกลางเดือน
มี.ค.50 ที่ผ่านมายังคงแข็งแกร่งโดยลดลงเล็กน้อยจากระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีเมื่อเดือน ธ.ค.49 แต่อย่างไรก็ดีความเห็นของ ธ.กลางญี่ปุ่นในครั้งนี้ไม่ได้
ส่งผลกระทบต่อความเห็นของนักวิเคราะห์ในตลาดที่ส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งเป็นร้อยละ 0.75 ต่อปีในเดือน ก.ย.50 นี้
(รอยเตอร์)
2. ยอดเกินดุลการค้าของจีนในเดือน มี.ค.50 ลดลงอย่างผิดปกติ รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.50 ยอดเกินดุลการค้า
ของจีนในเดือน มี.ค.50 ลดลงอย่างมากอยู่ที่จำนวน 6.87 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สวนทางกับการคาดการณ์ที่คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะใกล้เคียงกับจำนวน
23.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นตัวเลขของเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกเทียบต่อปีลดลงถึงร้อยละ 6.9 ต่ำสุดในรอบ 5 ปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 51.7
ในเดือน ก.พ.50 โดยมีสาเหตุจากสินค้าประเภทเสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์ขยายตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่าการที่ยอดการส่งออก
ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเกิดจากผู้ส่งออกของจีนมีความกังวลว่าทางการจะปรับลดการเรียกคืนภาษีสินค้าที่ส่งออก จึงเร่งรีบส่งสินค้าออกไป
ขายต่างประเทศ ทำให้เหลือสินค้าที่จะส่งออกในเดือน มี.ค.50 ไม่มากนัก ขณะที่นักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งเห็นด้วยว่าตัวเลขการส่งออกในเดือน มี.ค.50 อาจจะ
ผิดปกติ แต่จะทำให้ สรอ. ลดการกดดันรัฐบาลจีนในเรื่องการเกินดุลการค้าลงได้ ทั้งนี้ จีนได้เสนอให้มีการปรับลดการคืนภาษีสินค้าส่งออกเป็นจำนวนมาก
เพื่อขัดขวางไม่ให้มีการส่งออกสินค้าประเภทเหล็กพื้นฐานและสิ่งทอไปยังต่างประเทศ และมีการคาดการณ์กันว่าอาจจะมีมาตรการอื่นมากกว่านี้จึงทำให้เกิด
การเร่งการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของปี ในขณะที่กรมศุลกากรแถลงว่าตัวเลขการส่งออกในเดือน มี.ค.50 ชี้ว่าการเกินดุลลดลงอย่างชัดเจน แต่
นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าแนวโน้มการเกินดุลยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ เพราะตัวเลขการเกินดุลการค้าทั้งไตรมาสยังมีจำนวนสูงอยู่ ดังนั้น ตัวเลขของทั้งปีก็คงจะสูง
ตามไปด้วย โดยในไตรมาสแรกจีนมียอดเกินดุลการค้า 46.44 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากช่วงเดียวกันของปี 49 (รอยเตอร์)
3. ยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีในเดือน ก.พ.50 ลดลงเนื่องจากการนำเข้าเพิ่มขึ้น รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 10 เม.ย.50 Federal
Statistics Office เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้า(หลังปรับฤดูกาล)ของเยอรมนีในเดือน ก.พ.50 มีจำนวน 13.8 พัน ล.ยูโร (18.42 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.)
ลดลงจากจำนวน 15.8 พัน ล.ยูโรในเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวน 15.4 พัน ล.ยูโร เนื่องจากการนำเข้า
ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.6 เป็นจำนวน 66.4 พัน ล.ยูโร สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.9
เป็นจำนวน 80.1 พัน ล.ยูโร สำหรับมูลค่าการส่งออกและนำเข้าเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ทั้งนี้ การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อ
เทียบกับการส่งออก สะท้อนว่าความต้องการจากต่างประเทศอาจไม่สามารถช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีได้ อย่างไรก็ตาม
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศกลับมีทิศทางที่แข็งแกร่ง เห็นได้จากตัวเลขผลผลิตภาคการผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับยอดขายปลีกที่ฟื้นตัวขึ้น
จากภาวะชะลอตัวในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะยังไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะนี้ รายงานจากโซล เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 50 ผลการ
สำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 12 คนโดยรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมที่ร้อยละ 4.50 ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้
ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 4.50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 นับตั้งแต่เดือน ส.ค. 49 โดยนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 9 คนคาดว่าธ.กลาง
เกาหลีใต้จะยังไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะ 6 เดือน แต่อีก 3 คนคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยนาย Lim Roh-joong
นักเศรษฐศาสตร์จาก Kyobo Investment Trust Management เห็นว่าปัจจุบันราคาอสังหาริมทรัพย์ค่อยๆลดลงขณะที่การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังไม่
ชัดเจนดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงยังไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงแม้ว่าจะมีการคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มในช่วงครึ่งหลังของปีนี้แต่ก็ยังคงอยู่ในเป้าหมายเงินเฟ้อของ
ธ.กลางที่ตั้งไว้ระหว่างร้อยละ 2.5 — 3.5 ในช่วงปี 50 — 52 อย่างไรก็ตามแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเคลื่อนไหวภายในเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่การที่ภาวะ
เศรษฐกิจยังคงไม่แข็งแกร่งเช่นนี้จึงเป็นการยากที่ ธ.กลางจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้ แต่ในช่วงหลังของปีการมีสภาพคล่องจำนวนมหาศาล
ในระบบการเงินอาจสร้างความกดดันให้แก่ธ.กลางที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็เป็นได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 เม.ย. 50 10 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.922 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7004/35.0306 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.5075 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 689.48/6.48 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 11,050/11,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 60.89 60.38 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.79*/24.94* 28.39/24.54 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--