ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ออกประกาศหลักเกณฑ์การตรวจสอบเงินให้สินเชื่อและภาระผูกพันใหม่ของ ธพ. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกประกาศถึงธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) และธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย.) ทุกแห่ง เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การสอบทานหรือ
ตรวจสอบเงินให้สินเชื่อและภาระผูกพันใหม่ หลังจากที่ ธปท.ได้ปรับเปลี่ยนการรายงานข้อมูลมาผ่านระบบบริหารข้อมูล (BMS) เพื่อเป็นการส่งเสริม
ให้สถาบันการเงินมีการพัฒนาระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตให้มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานสากลมากขึ้น
ซึ่งประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป โดยรายละเอียดประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดให้สถาบันการเงินตรวจสอบเงินให้สินเชื่อ
รวมถึงภาระผูกพันทั้งในและนอกงบการเงิน พร้อมทั้งกำหนดให้สถาบันการเงินต้องจัดทำแผนงานการตรวจสอบเงินให้สินเชื่อประจำปี และเสนอให้
คณะกรรมการของสถาบันการเงินเห็นชอบก่อนส่งเรื่องให้ ธปท.ทราบภายใน 60 วันนับจากวันสิ้นปีปฏิทิน ขณะเดียวกันให้รายงานความคืบหน้าปัญหา
และอุปสรรคในการตรวจสอบต่อคณะกรรมการสถาบันการเงินทราบทุกไตรมาส และจัดเก็บเอกสารลูกหนี้ทุกรายที่มีการตรวจสอบอย่างครบถ้วนและ
ง่ายต่อการตรวจสอบของ ธปท. (ผู้จัดการรายวัน 5)
2. ธปท.ยืนยันมาตรการกันสำรอง 30% ประสบความสำเร็จ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการใช้มาตรการ
กันสำรองร้อยละ 30 เพื่อสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาทว่า ที่ผ่านมาถือว่ามาตรการดังกล่าวประสบความสำเร็จ เพราะแม้เงินบาทจะแข็งค่า
ก็ไม่ได้แข็งค่าผิดปกติเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาค ซึ่งล่าสุด ธปท.ได้ผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง โดยเพิ่มทางเลือกแก่นักลงทุน โดยอาจใช้การ
กันสำรองร้อยละ 30 ตามเดิม หรือใช้วิธีการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนก็ได้ และคงไม่มีมาตรการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงมาตรการ
อีกในช่วงนี้ โดย ธปท.จะรอประเมินผลการใช้มาตการดังกล่าวไปอีกระยะหนึ่งก่อน (ไทยโพสต์ 5)
3. ธปท.ระบุความแข็งแกร่งทางการเงินช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือกับแรงกดดันจากกระแสโลกาภิวัฒน์ของระบบสถาบันการ
เงินได้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความท้าทายในระยะปานกลางและระยะยาวของภาคสถาบันการเงินว่า ระบบการ
เงินยุคโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันได้นำมาสู่ความซับซ้อนของเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ทำให้ต้องปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงและปรับตัวเพื่อรองรับ
มาตรฐานสากลระหว่างประเทศภายใต้กฎเกณฑ์ของบาเซิล 2 และมาตรฐานการบัญชี IAS39 และแม้ว่าปีที่ผ่านมาจะเป็นปีที่ท้าทายของภาค
สถาบันการเงิน แต่ภาคธนาคารยังมีความมั่นคงและมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง โดยมีกำไรอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
ประกอบกับคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และการเพิ่มทุนได้เพิ่มความแข็งแกร่งด้านเงินกองทุนของ ธพ. ขณะที่สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ใน
ระดับที่น่าพอใจ เช่นเดียวกับสัดส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้านการขยายตัวของสินเชื่อชะลอลงตาม
ภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งความแข็งแกร่งทางการเงินที่เพิ่มขึ้นและการปรับปรุงระบบการบริหารความเสี่ยงของ ธพ. ช่วยเพิ่มความสามารถของระบบ
การเงินในการรับมือกับแรงกดดันจากกระแสโลกาภิวัฒน์ และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจการธนาคาร (โลกวันนี้)
4. ผลการสำรวจพบว่าความต้องการบริโภคและการลงทุนในปี 50 จะขยายตัวดีขึ้น ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการสำรวจแนวโน้มธุรกิจปี 2550 พบว่า นักธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่า ในครึ่งหลังของปี 50
ความต้องการภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุน จะขยายตัวดีขึ้นจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนการส่งออก
ยังน่าจะชะลอตัวจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะสหรัฐที่น่าจะชะลอตัวลงอีก ด้าน
ราคาสินค้าโดยรวมยังปรับขึ้นได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากภาวะการแข่งขันในประเทศที่รุนแรงมากขึ้น ส่วนข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจนั้น
นักธุรกิจมีความเห็นว่าอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจมาจากการที่นโยบายของหน่วยงานภาครัฐมีความไม่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ ผลการสำรวจดังกล่าว
เป็นการสำรวจในโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจระหว่าง ธปท.กับนักธุรกิจ โดยสอบถามจากผู้ประกอบการทั่วประเทศจำนวน 129
ราย ในช่วง ต.ค.-ธ.ค.49 (กรุงเทพธุรกิจ)
5. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการปรับตัวลดลงในเดือน ม.ค.50 ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(สสว.) เปิดเผยถึงการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการประจำเดือน ม.ค.50 ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ธ.ค.49
ที่ผ่านมาพบว่า ภาคการค้าส่วนใหญ่มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง ทั้งในส่วนของค่าดัชนีปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า โดยในส่วนของ
ค่าดัชนีปัจจุบัน ภาคการค้าและบริการ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.9 จากระดับ 49.4 ภาคการค้าส่งและค้าปลีกอยู่ที่ระดับ 54.7 จากระดับ
48.3 และภาคบริการอยู่ที่ระดับ 48.7 จากระดับ 51.0 ทั้งนี้มีผลมาจากการปรับตัวลดลงขององค์ประกอบด้านกำไรและยอดจำหน่าย เช่นเดียว
กับดัชนีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจตนเองของเอสเอ็มอี และดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 45.1 และ
34.1 จากระดับ 49.4 และ 40.7 ตามลำดับ ส่วนดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าพบว่า ทุกภาคการค้าจะมีการปรับตัวในทิศทางที่ลดลง (ข่าวสด)
6. สศค.-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่าขณะนี้
ได้ขอให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปประเมินความเสียหายของกองทุน
ฟื้นฟูฯ ในอนาคตว่าจะมีความเสียหายเพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้ที่ 1.4 ล้านล้านบาทหรือไม่ เพื่อที่จะได้หาแนวทางในการรองรับความเสียหายที่
จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธปท.ได้ขาดทุนจากการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท ทำให้ไม่มีเงินชำระหนี้ FIDF1 จำนวน 4.63 แสน
ล.บาท และ FIDF3 จำนวน 6.85 แสน ล.บาท ซึ่งทำให้ ก.คลังต้องแบกรับภาระชำระดอกเบี้ยประมาณ 6 หมื่น ล.บาทต่อปี ซึ่งจะมีผลกระทบ
กับ งปม.ของรัฐบาลในอนาคต จึงควรเร่งดำเนินการแก้ไขเพื่อไม่ให้หนี้สาธารณะเกินกรอบความยั่งยืนทางการคลัง (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. Global PMI เดือน ก.พ.50 ชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 55.6 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 5 มี.ค.50
JP Margan ร่วมกับ Research and Supply Organisations เปิดเผยว่า Global Purchasing Managers’ Index (Global PMI)
ในเดือน ก.พ.50 ชะลอตัวลงต่ำสุดในรอบ 5 เดือนอยู่ที่ระดับ 55.6 จากระดับ 57.0 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็น
เส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและหดตัว โดย Global Services PMI ในเดือน ก.พ.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ 55.7 จากระดับ 58.6 ในเดือน
ก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นการชะลอตัวต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ย.49 ที่ผ่านมาด้วย ขณะที่ Global Manufacturing PMI เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.3 จาก
ระดับ 53.1 ในเดือน ม.ค.50 ทั้งนี้ ดัชนี Global PMI เป็นตัวเลขที่ได้จากการสำรวจกิจกรรมภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมการผลิตจาก
ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศ สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ และจีน (รอยเตอร์)
2. IMF ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้ รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 50 กองทุนการ
เงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้จากเดิมร้อยละ 2.75 เป็นร้อยละ 2.90
เนื่องจากมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม IMF เตือนผู้ดำเนินนโยบายการเงินว่าจำเป็นต้องควบคุมการสูงขึ้นของ
ค่าจ้างเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเงินเฟ้อที่จะสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าจ้าง ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานาย Gordon Brown รมว.คลังอังกฤษได้กำหนดค่าจ้าง
ของภาครัฐเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.9 ซึ่ง IMF เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญหากสามารถควบคุมการสูงขึ้นของค่าจ้างได้ก็จะช่วยให้โอกาสที่จะปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายน้อยลง แต่หากค่าจ้างขยายตัวก็มีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้นับ
ตั้งแต่เดือน ส.ค. เป็นต้นมา ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในช่วง 2 — 3 เดือนข้างหน้าหรือเร็วที่สุดอาจจะเป็นในสัปดาห์หน้า สำหรับผลการสำรวจอัตราค่าจ้างขององค์กร
อิสระชี้ว่าในช่วง 3 เดือนนับถึงเดือน ม.ค. 50 อัตราค่าจ้างของอังกฤษสูงขึ้นถึงร้อยละ 3.5 สูงที่สุดในรอบมากกว่า 5 ปี(รอยเตอร์)
3. คาดว่ายอดขาดดุลการค้าของ สรอ. ในเดือน ม.ค.50 จะลดลงเหลือ 59.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงนิวยอร์ค
ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 5 มี.ค.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์ 80 คน คาดว่า ยอดขาดดุลการค้าระหว่าง
ประเทศของ สรอ. ในเดือน ม.ค.50 อาจจะลดลงเหลือประมาณ 59.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากเดือน ธ.ค.49 ที่ขาดดุลการค้า
61.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยตัวเลขดุลการค้าที่คาดคะเนกันอยู่ในช่วงขาดดุล 65 ถึง 56 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับปัจจัยที่ทำให้ยอด
ขาดดุลการค้าลดลงมาจากการนำเข้าน้ำมันที่ราคาในตลาดโลกลดลง รวมถึงการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงอัตราการ
เติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนตัวลง ทั้งนี้ ด้วยการปรับปรุงสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องทำให้
คาดว่าดุลการค้าที่ปรับตัวดีขึ้นจะส่งผลในทางบวกต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ สรอ. ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ (รอยเตอร์)
4. ภาคบริการของ สรอ.ในเดือน ก.พ.50 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 47 ติดต่อกัน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 5 มี.ค.50
ดัชนีชี้วัดธุรกรรมภาคบริการของ สรอ.จากผลสำรวจโดยสถาบันเพื่อการบริหารด้านจัดซื้อจัดหาหรือ ISM ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 54.3 ในเดือน
ก.พ.50 จากระดับ 59.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนในเดือน ม.ค.50 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 57.2 จากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์
โดยรอยเตอร์ และถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.46 แต่อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ซึ่งชี้ว่าภาคบริการของ
สรอ.ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 47 ติดต่อกัน โดยครั้งสุดท้ายที่ดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 คือเดือน มี.ค.46 ทั้งนี้ภาคบริการมีสัดส่วนถึงร้อยละ
80 ของผลผลิตรวมในประเทศของ สรอ.โดยรวมถึงธุรกิจต่าง ๆ เช่น ภัตตาคาร โรงแรม ร้านทำผม ธนาคารและสายการบิน อย่างไรก็ดี
นักลงทุนจะให้ความสนใจต่อรายงานการจ้างงานประจำเดือนซึ่งมีอิทธิพลต่อตลาดการเงินมากกว่ารายงานข้างต้น โดยมีกำหนดจะเผยแพร่ในวันที่
9 มี.ค.50 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 มี.ค. 50 2 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.357 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.1934/35.5110 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63813 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 679.02/11.11 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/11,850 11,050/11,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.38 58.01 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.79*/23.34** 26.39/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 4 มี.ค. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ออกประกาศหลักเกณฑ์การตรวจสอบเงินให้สินเชื่อและภาระผูกพันใหม่ของ ธพ. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกประกาศถึงธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) และธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย.) ทุกแห่ง เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การสอบทานหรือ
ตรวจสอบเงินให้สินเชื่อและภาระผูกพันใหม่ หลังจากที่ ธปท.ได้ปรับเปลี่ยนการรายงานข้อมูลมาผ่านระบบบริหารข้อมูล (BMS) เพื่อเป็นการส่งเสริม
ให้สถาบันการเงินมีการพัฒนาระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตให้มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานสากลมากขึ้น
ซึ่งประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป โดยรายละเอียดประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดให้สถาบันการเงินตรวจสอบเงินให้สินเชื่อ
รวมถึงภาระผูกพันทั้งในและนอกงบการเงิน พร้อมทั้งกำหนดให้สถาบันการเงินต้องจัดทำแผนงานการตรวจสอบเงินให้สินเชื่อประจำปี และเสนอให้
คณะกรรมการของสถาบันการเงินเห็นชอบก่อนส่งเรื่องให้ ธปท.ทราบภายใน 60 วันนับจากวันสิ้นปีปฏิทิน ขณะเดียวกันให้รายงานความคืบหน้าปัญหา
และอุปสรรคในการตรวจสอบต่อคณะกรรมการสถาบันการเงินทราบทุกไตรมาส และจัดเก็บเอกสารลูกหนี้ทุกรายที่มีการตรวจสอบอย่างครบถ้วนและ
ง่ายต่อการตรวจสอบของ ธปท. (ผู้จัดการรายวัน 5)
2. ธปท.ยืนยันมาตรการกันสำรอง 30% ประสบความสำเร็จ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการใช้มาตรการ
กันสำรองร้อยละ 30 เพื่อสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาทว่า ที่ผ่านมาถือว่ามาตรการดังกล่าวประสบความสำเร็จ เพราะแม้เงินบาทจะแข็งค่า
ก็ไม่ได้แข็งค่าผิดปกติเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาค ซึ่งล่าสุด ธปท.ได้ผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง โดยเพิ่มทางเลือกแก่นักลงทุน โดยอาจใช้การ
กันสำรองร้อยละ 30 ตามเดิม หรือใช้วิธีการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนก็ได้ และคงไม่มีมาตรการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงมาตรการ
อีกในช่วงนี้ โดย ธปท.จะรอประเมินผลการใช้มาตการดังกล่าวไปอีกระยะหนึ่งก่อน (ไทยโพสต์ 5)
3. ธปท.ระบุความแข็งแกร่งทางการเงินช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือกับแรงกดดันจากกระแสโลกาภิวัฒน์ของระบบสถาบันการ
เงินได้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความท้าทายในระยะปานกลางและระยะยาวของภาคสถาบันการเงินว่า ระบบการ
เงินยุคโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันได้นำมาสู่ความซับซ้อนของเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ทำให้ต้องปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงและปรับตัวเพื่อรองรับ
มาตรฐานสากลระหว่างประเทศภายใต้กฎเกณฑ์ของบาเซิล 2 และมาตรฐานการบัญชี IAS39 และแม้ว่าปีที่ผ่านมาจะเป็นปีที่ท้าทายของภาค
สถาบันการเงิน แต่ภาคธนาคารยังมีความมั่นคงและมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง โดยมีกำไรอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
ประกอบกับคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และการเพิ่มทุนได้เพิ่มความแข็งแกร่งด้านเงินกองทุนของ ธพ. ขณะที่สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ใน
ระดับที่น่าพอใจ เช่นเดียวกับสัดส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้านการขยายตัวของสินเชื่อชะลอลงตาม
ภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งความแข็งแกร่งทางการเงินที่เพิ่มขึ้นและการปรับปรุงระบบการบริหารความเสี่ยงของ ธพ. ช่วยเพิ่มความสามารถของระบบ
การเงินในการรับมือกับแรงกดดันจากกระแสโลกาภิวัฒน์ และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจการธนาคาร (โลกวันนี้)
4. ผลการสำรวจพบว่าความต้องการบริโภคและการลงทุนในปี 50 จะขยายตัวดีขึ้น ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการสำรวจแนวโน้มธุรกิจปี 2550 พบว่า นักธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่า ในครึ่งหลังของปี 50
ความต้องการภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุน จะขยายตัวดีขึ้นจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนการส่งออก
ยังน่าจะชะลอตัวจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะสหรัฐที่น่าจะชะลอตัวลงอีก ด้าน
ราคาสินค้าโดยรวมยังปรับขึ้นได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากภาวะการแข่งขันในประเทศที่รุนแรงมากขึ้น ส่วนข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจนั้น
นักธุรกิจมีความเห็นว่าอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจมาจากการที่นโยบายของหน่วยงานภาครัฐมีความไม่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ ผลการสำรวจดังกล่าว
เป็นการสำรวจในโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจระหว่าง ธปท.กับนักธุรกิจ โดยสอบถามจากผู้ประกอบการทั่วประเทศจำนวน 129
ราย ในช่วง ต.ค.-ธ.ค.49 (กรุงเทพธุรกิจ)
5. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการปรับตัวลดลงในเดือน ม.ค.50 ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(สสว.) เปิดเผยถึงการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการประจำเดือน ม.ค.50 ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ธ.ค.49
ที่ผ่านมาพบว่า ภาคการค้าส่วนใหญ่มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง ทั้งในส่วนของค่าดัชนีปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า โดยในส่วนของ
ค่าดัชนีปัจจุบัน ภาคการค้าและบริการ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.9 จากระดับ 49.4 ภาคการค้าส่งและค้าปลีกอยู่ที่ระดับ 54.7 จากระดับ
48.3 และภาคบริการอยู่ที่ระดับ 48.7 จากระดับ 51.0 ทั้งนี้มีผลมาจากการปรับตัวลดลงขององค์ประกอบด้านกำไรและยอดจำหน่าย เช่นเดียว
กับดัชนีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจตนเองของเอสเอ็มอี และดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 45.1 และ
34.1 จากระดับ 49.4 และ 40.7 ตามลำดับ ส่วนดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าพบว่า ทุกภาคการค้าจะมีการปรับตัวในทิศทางที่ลดลง (ข่าวสด)
6. สศค.-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่าขณะนี้
ได้ขอให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปประเมินความเสียหายของกองทุน
ฟื้นฟูฯ ในอนาคตว่าจะมีความเสียหายเพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้ที่ 1.4 ล้านล้านบาทหรือไม่ เพื่อที่จะได้หาแนวทางในการรองรับความเสียหายที่
จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธปท.ได้ขาดทุนจากการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท ทำให้ไม่มีเงินชำระหนี้ FIDF1 จำนวน 4.63 แสน
ล.บาท และ FIDF3 จำนวน 6.85 แสน ล.บาท ซึ่งทำให้ ก.คลังต้องแบกรับภาระชำระดอกเบี้ยประมาณ 6 หมื่น ล.บาทต่อปี ซึ่งจะมีผลกระทบ
กับ งปม.ของรัฐบาลในอนาคต จึงควรเร่งดำเนินการแก้ไขเพื่อไม่ให้หนี้สาธารณะเกินกรอบความยั่งยืนทางการคลัง (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. Global PMI เดือน ก.พ.50 ชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 55.6 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 5 มี.ค.50
JP Margan ร่วมกับ Research and Supply Organisations เปิดเผยว่า Global Purchasing Managers’ Index (Global PMI)
ในเดือน ก.พ.50 ชะลอตัวลงต่ำสุดในรอบ 5 เดือนอยู่ที่ระดับ 55.6 จากระดับ 57.0 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็น
เส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและหดตัว โดย Global Services PMI ในเดือน ก.พ.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ 55.7 จากระดับ 58.6 ในเดือน
ก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นการชะลอตัวต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ย.49 ที่ผ่านมาด้วย ขณะที่ Global Manufacturing PMI เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.3 จาก
ระดับ 53.1 ในเดือน ม.ค.50 ทั้งนี้ ดัชนี Global PMI เป็นตัวเลขที่ได้จากการสำรวจกิจกรรมภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมการผลิตจาก
ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศ สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ และจีน (รอยเตอร์)
2. IMF ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้ รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 50 กองทุนการ
เงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้จากเดิมร้อยละ 2.75 เป็นร้อยละ 2.90
เนื่องจากมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม IMF เตือนผู้ดำเนินนโยบายการเงินว่าจำเป็นต้องควบคุมการสูงขึ้นของ
ค่าจ้างเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเงินเฟ้อที่จะสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าจ้าง ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานาย Gordon Brown รมว.คลังอังกฤษได้กำหนดค่าจ้าง
ของภาครัฐเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.9 ซึ่ง IMF เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญหากสามารถควบคุมการสูงขึ้นของค่าจ้างได้ก็จะช่วยให้โอกาสที่จะปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายน้อยลง แต่หากค่าจ้างขยายตัวก็มีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้นับ
ตั้งแต่เดือน ส.ค. เป็นต้นมา ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในช่วง 2 — 3 เดือนข้างหน้าหรือเร็วที่สุดอาจจะเป็นในสัปดาห์หน้า สำหรับผลการสำรวจอัตราค่าจ้างขององค์กร
อิสระชี้ว่าในช่วง 3 เดือนนับถึงเดือน ม.ค. 50 อัตราค่าจ้างของอังกฤษสูงขึ้นถึงร้อยละ 3.5 สูงที่สุดในรอบมากกว่า 5 ปี(รอยเตอร์)
3. คาดว่ายอดขาดดุลการค้าของ สรอ. ในเดือน ม.ค.50 จะลดลงเหลือ 59.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงนิวยอร์ค
ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 5 มี.ค.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์ 80 คน คาดว่า ยอดขาดดุลการค้าระหว่าง
ประเทศของ สรอ. ในเดือน ม.ค.50 อาจจะลดลงเหลือประมาณ 59.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากเดือน ธ.ค.49 ที่ขาดดุลการค้า
61.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยตัวเลขดุลการค้าที่คาดคะเนกันอยู่ในช่วงขาดดุล 65 ถึง 56 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับปัจจัยที่ทำให้ยอด
ขาดดุลการค้าลดลงมาจากการนำเข้าน้ำมันที่ราคาในตลาดโลกลดลง รวมถึงการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงอัตราการ
เติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนตัวลง ทั้งนี้ ด้วยการปรับปรุงสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องทำให้
คาดว่าดุลการค้าที่ปรับตัวดีขึ้นจะส่งผลในทางบวกต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ สรอ. ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ (รอยเตอร์)
4. ภาคบริการของ สรอ.ในเดือน ก.พ.50 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 47 ติดต่อกัน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 5 มี.ค.50
ดัชนีชี้วัดธุรกรรมภาคบริการของ สรอ.จากผลสำรวจโดยสถาบันเพื่อการบริหารด้านจัดซื้อจัดหาหรือ ISM ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 54.3 ในเดือน
ก.พ.50 จากระดับ 59.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนในเดือน ม.ค.50 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 57.2 จากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์
โดยรอยเตอร์ และถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.46 แต่อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ซึ่งชี้ว่าภาคบริการของ
สรอ.ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 47 ติดต่อกัน โดยครั้งสุดท้ายที่ดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 คือเดือน มี.ค.46 ทั้งนี้ภาคบริการมีสัดส่วนถึงร้อยละ
80 ของผลผลิตรวมในประเทศของ สรอ.โดยรวมถึงธุรกิจต่าง ๆ เช่น ภัตตาคาร โรงแรม ร้านทำผม ธนาคารและสายการบิน อย่างไรก็ดี
นักลงทุนจะให้ความสนใจต่อรายงานการจ้างงานประจำเดือนซึ่งมีอิทธิพลต่อตลาดการเงินมากกว่ารายงานข้างต้น โดยมีกำหนดจะเผยแพร่ในวันที่
9 มี.ค.50 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 มี.ค. 50 2 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.357 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.1934/35.5110 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63813 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 679.02/11.11 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/11,850 11,050/11,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.38 58.01 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.79*/23.34** 26.39/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 4 มี.ค. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--