การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๑๒ นาฬิกา โดยมีนายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุม เมื่อสมาชิกครบองค์ประชุม ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๒.๑ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราช
บัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษตาม
มาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกัน
พิจารณาเสร็จแล้ว
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๔. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว (ไม่มี)
เรื่องด่วน
๑. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ โดยนายอดิศร เพียงเกษ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก คณะรัฐมนตรีให้เป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แทน ซึ่งมีหลักการและเหตุผล เนื่องจากพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ใช้บังคับมานานและมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันอันมีผลให้การดำเนินการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานสถิติของรัฐขาดความชัดเจน รวมทั้งวิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลสถิติไม่ทันต่อเหตุการณ์ จึงควรมีการกำหนดวิธีการให้
สามารถดำเนินการอย่างรวดเร็ว ชัดเจนทันต่อเหตุการณ์ และมีการกำหนดบทบัญญัติคุ้มครองผู้ให้ ข้อมูล รวมทั้งมีบทลงโทษต่อผู้ที่ให้ข้อมูลเพื่อจัดทำสถิติในทางบิดเบือน ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับข้อมูลอย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการนำมาใช้ดำเนินการเพื่อการบริหารประเทศ
สมาชิกฯ ได้อภิปรายแสดงความเห็นในรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า สังคมมีความกังวลว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะเป็นการผูกขาดอำนาจทางข้อมูลสถิติ กระทั่งมีฉายาว่าเป็น “กฎหมายคลุมโพล” ลิดรอนสิทธิจะมีการกระทบต่อข้อมูลวิจัยทางวิชาการหรือไม่ ทั้งนี้ในความเป็นจริงสำนักงานสถิติแห่งชาติควรเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นกลางในเรื่องข้อมูลสูงสุด และไม่ควรผูกขาดข้อมูลทางสถิติ เพราะพระราชบัญญัติฉบับเดิมจะบริหารงานทางสถิติแบบองค์คณะ แต่ร่างพระราชบัญญัตินี้จะเป็นการให้อำนาจกับผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติสามารถเสนอข้อมูล ได้โดยตรงต่อคณะรัฐมนตรีได้โดยตรงซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะอาจขาดความรอบคอบและบุคคลคนเดียวย่อมไม่รอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง นอกจากนี้ในเรื่องของโครงสร้างการจัดทำ “สำมะโนที่เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ” นั้น กำหนดไว้ให้เฉพาะหน่วยงานนี้นั้นแสดงให้เห็นว่ามีการผูกขาดข้อมูลแสดงในเรื่องของ การเผด็จการทางข้อมูลโดยเฉพาะด้านวิชาการ
เนื่องจากมีสมาชิกฯ อภิปรายร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จำนวนมากและด้วยในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรคราวนี้ตรงกับวันลอยกระทง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องไปร่วมงานประเพณีในแต่ละท้องถิ่นของตน ประธานจึงเสนอให้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ต่อไปในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
ปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๔ นาฬิกา
------------------------------------------------------------
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๒.๑ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราช
บัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษตาม
มาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกัน
พิจารณาเสร็จแล้ว
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๔. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว (ไม่มี)
เรื่องด่วน
๑. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ โดยนายอดิศร เพียงเกษ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก คณะรัฐมนตรีให้เป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แทน ซึ่งมีหลักการและเหตุผล เนื่องจากพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ใช้บังคับมานานและมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันอันมีผลให้การดำเนินการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานสถิติของรัฐขาดความชัดเจน รวมทั้งวิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลสถิติไม่ทันต่อเหตุการณ์ จึงควรมีการกำหนดวิธีการให้
สามารถดำเนินการอย่างรวดเร็ว ชัดเจนทันต่อเหตุการณ์ และมีการกำหนดบทบัญญัติคุ้มครองผู้ให้ ข้อมูล รวมทั้งมีบทลงโทษต่อผู้ที่ให้ข้อมูลเพื่อจัดทำสถิติในทางบิดเบือน ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับข้อมูลอย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการนำมาใช้ดำเนินการเพื่อการบริหารประเทศ
สมาชิกฯ ได้อภิปรายแสดงความเห็นในรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า สังคมมีความกังวลว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะเป็นการผูกขาดอำนาจทางข้อมูลสถิติ กระทั่งมีฉายาว่าเป็น “กฎหมายคลุมโพล” ลิดรอนสิทธิจะมีการกระทบต่อข้อมูลวิจัยทางวิชาการหรือไม่ ทั้งนี้ในความเป็นจริงสำนักงานสถิติแห่งชาติควรเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นกลางในเรื่องข้อมูลสูงสุด และไม่ควรผูกขาดข้อมูลทางสถิติ เพราะพระราชบัญญัติฉบับเดิมจะบริหารงานทางสถิติแบบองค์คณะ แต่ร่างพระราชบัญญัตินี้จะเป็นการให้อำนาจกับผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติสามารถเสนอข้อมูล ได้โดยตรงต่อคณะรัฐมนตรีได้โดยตรงซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะอาจขาดความรอบคอบและบุคคลคนเดียวย่อมไม่รอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง นอกจากนี้ในเรื่องของโครงสร้างการจัดทำ “สำมะโนที่เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ” นั้น กำหนดไว้ให้เฉพาะหน่วยงานนี้นั้นแสดงให้เห็นว่ามีการผูกขาดข้อมูลแสดงในเรื่องของ การเผด็จการทางข้อมูลโดยเฉพาะด้านวิชาการ
เนื่องจากมีสมาชิกฯ อภิปรายร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จำนวนมากและด้วยในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรคราวนี้ตรงกับวันลอยกระทง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องไปร่วมงานประเพณีในแต่ละท้องถิ่นของตน ประธานจึงเสนอให้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ต่อไปในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
ปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๔ นาฬิกา
------------------------------------------------------------