1. จีนเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 3 ของโลกในปี 2549 มูลค่าการนำเข้าประมาณร้อยละ 6.7 ของการนำเข้าในตลาดโลก
มีมูลค่าการนำเข้า 660,211.766 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้าของจีนในเดือน ม.ค.-เม.ย 2550 มีมูลค่ารวม 286,235.483
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.00
2. แหล่งผลิตสำคัญที่จีนนำเข้าในเดือน ม.ค.-เม.ย. 2550 ได้แก่
- ญี่ปุ่น ร้อยละ 14.50 มูลค่า 41,492.151 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.48
- เกาหลีใต้ ร้อยละ 11.10 มูลค่า 31,761.029 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.27
- ไต้หวัน ร้อยละ 10.16 มูลค่า 29,082.493 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.04
ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 10 สัดส่วนร้อยละ 2.33 มูลค่า 6,665.218 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.12
3. สมาชิกคณะกรรมการฝ่ายนโยบายการเงินแห่งธนาคารกลางจีนระบุว่า เศรษฐกิจจีนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและจะไม่
ชะลอตัวในทันที ซึ่งมีปัจจัยหลักที่ผลักดันให้เศรษฐกิจจีนขยายตัว ได้แก่ การที่จีนดำเนินการปฏิรูปหลายด้าน เพื่อยกระดับผล
ประกอบการของวิสาหกิจรัฐและประโยชน์ของประเทศ ขณะเดียวกันจีนยังเปิดเสรีต่างชาติเข้ามาลงทุน โดยจีนเปิดรับการ
ลงทุนทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการลงทุนด้านการศึกษาและพัฒนานอกจากนี้รัฐบาลจีนยังมีโครงการที่จะพัฒนาชนบทให้กลายเป็นเมือง
เพื่อเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศและผลักดันให้เศรษฐกิจจีนขยายตัว โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะไม่เพียงมาจากแรงสนับสนุน
ของชนชั้นกลางเท่านั้น แต่จะมาจากการบริโภคของกลุ่มคนระดับล่างด้วย ทั้งนี้มอร์แกน สแตนเลย์ (วาณิชธนกิจรายใหญ่ของสหรัฐฯ)
ได้คาดการณ์ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในปี 2550 จะเป็น 10.5% จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ 9.3%
4. จีนได้เปรียบดุลการค้ากับทั่วโลกในเดือน ม.ค.-เม.ย. 2550 มูลค่า 63,353.951 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้ดุลการค้า
กับฮ่องกงเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 50,285.519 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.20 สหรัฐฯ เป็นอันดับ 2 มูลค่า
47,228.780 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.10 แต่เสียเปรียบดุลการค้าให้กับ ไต้หวันเป็นมูลค่า 22,080.718
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.54
5. ในช่วงม.ค-เม.ย 2550 จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยโดยมีสัดส่วนร้อยละ 9.05 ของมูลค่าการส่งออก
โดยรวมของไทย หรือมูลค่า 4,135.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.05
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับประเทศจีน
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ 2549 2549 2550 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ) สัดส่วน(ร้อยละ
ม.ค-เม.ย ม.ค-เม.ย 2547 2548 2549 2550 2549 2550
ม.ค-เม.ย ม.ค-เม.ย
1.สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 11,708.88 3,321.32 4,135.24 25.07 28.85 27.72 24.51 100.00 100.00
2.สินค้าเกษตรกรรม 2,335.99 621.39 728.84 27.85 9.19 49.62 17.29 19.95 17.63
3.สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 196.37 31.93 77.94 27.08 -3.08 89.13 144.08 1.68 1.88
4.สินค้าอุตสาหกรรม 8,139.31 2,271.52 2,979.78 27.54 36.10 22.61 31.18 69.51 72.06
5.สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 1,003.95 387.23 339.46 7.01 22.68 21.86 -12.34 8.57 8.21
6.สินค้าอื่นๆ 33.26 9.25 9.22 -15.37 39.04 -17.55 -0.30 0.28 0.22
จากสถิติโครงสร้างการส่งออกสินค้าไทยไปจีนปี 2550 (ม.ค-เม.ย) จะเห็นว่าทั้งสินค้าแต่ละกลุ่ม มีสถิติเพิ่มขึ้น
ในระดับที่แตกต่างกัน โดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.09 เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.29 และอุตสาหกรรมการ
เกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.78
7.1 การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมไปจีนในช่วงม.ค.-เม.ย. 2550 มีมูลค่า 728.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.29
เมื่อเทียบกับ 621.39 ของปี 2549 ในช่วงระยะเดียวกัน
สินค้าเกษตรกรรมสำคัญส่งออกไปจีน ได้แก่
- ยางพารา
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
- ข้าว
- ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง
- ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง
- อื่นๆ
ยางพารา : เป็นสินค้าเกษตรสำคัญอันดับหนึ่งที่ไทยส่งออกไปจีนได้เป็นมูลค่า 381.96 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในช่วงม.ค.-เม.ย. 2550 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.27 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้ายางพารา (HS.4001 Rubber Natural)
ในประเทศจีน ช่วงม.ค.-เม.ย. 2550 ซึ่งมีการนำเข้าจากตลาดโลก 887.978 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.40
โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ 46.47 มูลค่า 412.681 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.25 รองลง
ไปเป็นการนำเข้าจาก มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียดนาม สัดส่วนร้อยละ 29.46 19.11 และ 3.78 ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง : เป็นสินค้าเกษตรสำคัญอันดับที่สองซึ่งไทยส่งออกไปจีน โดยมีมูลค่า 219.76 ล้าน
เหรียญสหรัฐ ช่วงม.ค.-เม.ย. 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.62 และเมื่อไป ดูสถิติการนำเข้าของจีนในช่วงม.ค.-เม.ย.2550
พบว่าจีนนำเข้ามันสำปะหลัง (Hs.0714 Cassawa Arrowroot.etc) จากตลาดโลกเป็นมูลค่า 365.014 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.57 มีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ 70.40 มูลค่า 256.951 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.32 รองลงไปเป็นการนำเข้าจากเวียดนามและอินโดนีเซีย ในสัดส่วนร้อยละ 28.10 และ 1.42 ตามลำดับ
ข้าว : เป็นสินค้าเกษตรสำคัญอันดับที่สาม ซึ่งไทยส่งออกไปจีน โดยมีมูลค่า 64.18 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง
ม.ค.-เม.ย. 2550 ลดลงร้อยละ 20.74 เมื่อเทียบกับ 80.97 ของปี 2549 ในช่วงระยะเดียวกัน และเมื่อไปดูสถิติการ
นำเข้าข้าว (Hs.1006 Rice) ของจีนพบว่าในช่วง ม.ค.-เม.ย. 2550 มีการนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 87.314 ล้าน
เหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.62 มีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ 99.21 มูลค่า 86.619 ล้านเหรียญสหรัฐ
รองลงไปเป็นการนำเข้าจากเวียดนามในสัดส่วนร้อยละ 0.71
ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง : เป็นสินค้าเกษตรซึ่งไทยส่งออกไปจีนอันดับที่สี่ มูลค่า 31.25 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในช่วงม.ค-เม.ย 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.27 และเมื่อดูจากสถิติการนำเข้าผลไม้สดในประเทศจีนพบว่า (Hs.08 Edible
Fruit And Nut) พบว่าในช่วงม.ค.-เม.ย. 2550 จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 314.291 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
35.90 มีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 24.73 มูลค่า 77.709 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.24
ในขณะที่การนำเข้าจากเวียดนามสัดส่วนร้อยละ 14.69 มูลค่า 46.171 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.92
ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง : เป็นสินค้าเกษตรสำคัญอันดับที่ 4 ซึ่งไทยส่งออกไปจีน โดยมีมูลค่า 11.08 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.04 ในช่วงม.ค.-เม.ย.2550 ในด้านการนำเข้าของจีน (HS 0303 Frzn Fish, Not Fillets) ใน
ช่วงม.ค.-เม.ย. 2550 มีการนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่ารวม 864.022 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.86 มีการนำเข้า
จากรัสเซีย สหรัฐฯ และญี่ปุ่น เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 11 สัดส่วนร้อยละ 1.16 มูลค่า 10.013 ล้านเหรียญ
สหรัฐ ลดลงร้อยละ 32.49
สินค้าเกษตรส่งออกไปจีนที่มีความสำคัญรองลงไปคือ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง กล้วยไม้
และสินค้าปศุสัตว์ เป็นต้น
7.2 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรไปจีนที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
- น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
- ผลิตภัณฑ์ข้าว
- อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
น้ำตาลทราย : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปจีนเป็นมูลค่า 12.11 ล้านเหรียญสหรัฐ (ม.ค.-เม.ย.2550) เพิ่มขึ้นร้อยละ
2,235.70 แต่ในด้านสถิติการนำเข้าน้ำตาลของประเทศจีน (HS 17 SUGAR) (ม.ค.-เม.ย 2550.) จากตลาดโลกมีมูลค่า
109.612 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 5.92 มีการนำเข้าจาก กัวเตมาลา เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้า
จากไทยอยู่อันดับที่ 6 สัดส่วนร้อยละ 6.16 มูลค่า 6.748 เพิ่มขึ้นร้อยละ 612.49
ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปจีนมูลค่า 7.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงม.ค.-เม.ย.2550
เทียบกับ 2.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 182.27 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าในรหัส HS 15 FAT AND OILS
(ม.ค-เม.ย 2549) พบว่าจีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,951.421 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.24 มีการนำเข้า
จากมาเลเซีย อินโดนีเซีย และอารเจนตินา เป็นหลักในสัดส่วนร้อยละ 35.66 24.01 และ 21.69 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้า
จากไทยอยู่ในอันดับที่ 36 สัดส่วนร้อยละ 0.01 มูลค่า 0.106 ลดลงร้อยละ 67.92
ผลไม้กระป๋องและแปรรูป : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปจีนเป็นมูลค่า 1.60 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76
ในช่วงม.ค.-เม. ย. 2550 ในด้านการนำเข้าของจีน (HS 2008 OTHER FRUIT,NUT : PRESERVED FOOD) ในช่วง
ม.ค.-เม.ย. 2550 มีการนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 16.688 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.61 โดยนำเข้าจาก
สหรัฐ บราซิล และเกาหลีใต้ เป็นหลักในสัดส่วนร้อยละ 46.01 28.68 และ 3.75 ตามลำดับ โดยการนำเข้าจากไทยอยู่
อันดับที่ 4 สัดส่วนร้อยละ 3.42 มูลค่า 0.571 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.08
ผลิตภัณฑ์ข้าว : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปจีนเป็นมูลค่า 1.16 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.58 ในช่วง
ม.ค.-เม.ย. 2550 ส่วนในด้านการนำเข้าของจีนในรหัส HS 1102 CEREAL FLOURS,NT 1101 จากตลาดโลกมีมูลค่า
2.471 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 150.56 (ม.ค.-เม.ย. 2550) นำเข้าจากไทย สหรัฐฯ และเยอรมนี เป็นหลัก
ในสัดส่วนร้อยละ 98.47 0.56 และ 0.45 ตามลำดับ โดยการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 98.47 มูลค่า
2.434 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 159.05
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปจีนเป็นมูลค่า 1.60 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.76 ในช่วงม.ค.-เม.ย. 2550 และในด้านการนำเข้าของจีน (ม.ค.-เม.ย.2550) ในรหัส HS 16 PREPARE MEAT,
FISH ETC มีมูลค่า 20.563 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.95 มีการนำเข้าจากเวียดนาม เปรู และ เม็กซิโก
เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 18.50 10.29 และ 9.34 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับ 11 สัดส่วนร้อยละ
3.37 มูลค่า 0.693 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.49
สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมที่สำคัญรองลงไปที่ไทยส่งไปจีน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ
ซุปและอาหารปรุงแต่ง เป็นต้น
7.3 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปจีน 5 อันดับ ได้แก่
- เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ
- เคมีภัณฑ์
- เม็ดพลาสติก
- แผงวงจรไฟฟ้า
- ผลิตภัณฑ์ยาง
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปจีนในช่วง ม.ค.-เม.ย. 2550 เป็นมูลค่า
933.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.12 แต่เมื่อไปดูสถิติการนำเข้าสินค้าในรหัส HS.8471 COMPUTER & COMPONENT
ของประเทศจีนในช่วงม.ค.-เม.ย. 2550 พบว่ามีการนำเข้าจากตลาดโลกรวม 5,703.164 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ
4.52 นำเข้าจากประเทศไทยเป็นอันดับสอง สัดส่วนร้อยละ 24.46 มูลค่า 1,394.770 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
44.08 รองลงไปเป็นการนำเข้าจากฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ และสิงคโปร์ เป็นต้น
เคมีภัณฑ์ ไทยส่งออกสินค้านี้ไปจีน (ม.ค.-เม.ย. 2550) มูลค่า 429.31 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.89
เคมีภัณฑ์ที่ไทยส่งออกไปจีนประกอบด้วย เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ปุ๋ย สีทาและวานิชและสีอื่นๆ สารสกัดใช้ในการ
ฟอกหนังและย้อมสี เป็นต้น ในด้านการนำเข้าเคมีภัณฑ์ของจีน (ม.ค.-เม.ย. 2550) มีการนำเข้าจากตลาดโลกในรหัส
HS29 ORGANIC CHEMICALS มูลค่า 12,410.177 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.80 โดยนำเข้าจากเกาหลีใต้
ญี่ปุ่น และไต้หวัน เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ที่อันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 4.03 มูลค่า 500.672 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.42
เม็ดพลาสติก : ไทยส่งสินค้านี้ออกไปจีน (ม.ค.-เม.ย 2550) เป็นมูลค่า 279.10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.87 ส่วนในด้านการนำเข้าเม็ดพลาสติก (HS 3901 ETHYLEN,PRIMARY FORM) ในตลาดจีน (ม.ค-เม.ย 2550)
มีมูลค่า 2,448.823 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.74 โดยนำเข้าจากเกาหลีใต้ สหรัฐฯ และซาอุดิอาระเบีย
เป็นหลัก และนำเข้าจากไทยอันดับที่ 9 สัดส่วนร้อยละ 3.65 มูลค่า 89.396 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.69
แผงวงจรไฟฟ้า : ไทยส่งออกสินค้านี้ (HS.85) ไปจีน (ม.ค.-เม.ย. 2550) มูลค่า 270.57 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.45 ส่วนในด้านการนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า HS 8542 Integrated Circuits จากตลาดโลก
(ม.ค-เม.ย 2550) มีมูลค่า37,715.445 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.52 โดยการนำเข้าจากไต้หวัน เกาหลีใต้
และ ญี่ปุ่น เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 9 สัดส่วนร้อยละ 2.07 มูลค่า 778.870 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.05
ผลิตภัณฑ์ยาง : ไทยส่งสินค้านี้ไปจีน (ม.ค.-เม.ย 2550.) HS 4002-4017 ไปจีนมูลค่า 124.52 ล้านเหรียญ
สหรัฐ เทียบกับ 65.12 ของปี 2549 ในช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 91.23 ในด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของจีน
(HS 40 RUBBER)(ม.ค-เม.ย 2550) มีมูลค่า 2,901.405 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.99 มีการนำเข้าจากไทย
มาเลเซีย และญี่ปุ่น เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 1 สัดส่วนร้อยละ 20.94 มูลค่า 607.408 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.53
สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปจีนที่สำคัญรองลงไป ได้แก่ สิ่งทอ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ
เลนซ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า นายกรัฐมนตรีของจีน นายเหวิน เจียเปา ให้ความเห็นว่า
ขณะนี้เศรษฐกิจจีนยังคงขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ส่งผลยอดดุลการค้าพุ่งสูงขึ้น
และก่อให้เกิดปัญหาสภาพคล่องส่วนเกิน โดยมีเงินไหลเข้าประเทศจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจีนจึงต้องดำเนินมาตรการ
ควบคุมระบบเศรษฐกิจมหภาคอย่างเข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะนโยบายด้านการเงิน และการคลังที่เอื้อต่อการปรับโครงสร้างใน
ภาคอุตสาหกรรมในประเทศมากขึ้น ประกอบกับการปรับนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยเปิดรับสินค้านำเข้าจากต่าง
ประเทศเพิ่มขึ้น พร้อมกับปรับอัตราคืนภาษีจากการส่งออกเพื่อลดปัญหาเกินดุลการค้าจำนวนมหาศาล
2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ให้ความเห็นเรื่องเศรษฐกิจไทย-จีนว่า
ขณะนี้ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับโอกาสการลงทุนที่จะเพิ่มสูงขึ้นภายในอีก 5 ปีที่จะเกิดเส้นทาง
การค้าระหว่างจีน ไทย และอินเดียหลายช่องทาง เช่น ด้านตะวันออกมีสะพานเชื่อมระหว่างมุกดาหารกับดานังของเวียดนาม
และอินเดียได้ตัดถนนผ่านบังกลาเทศเข้าประเทศพม่า เป็นต้น ทั้งนี้ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(บีโอไอ) มีนโยบายสนับสนุนให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น โดย บีโอไอได้ลงนามบันทึกความตกลงกับเวียดนาม
ลาว กัมพูชา และหลายมณฑลของจีน ซึ่งช่วยให้นักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวกขึ้น ทั้งนี้หากประเทศไทย
และจีนสามารถจับมือเป็นหุ้นส่วนทางการค้าร่วมกันได้ จะทำให้เกิดความแข็งแกร่งขึ้น ทั้งโครงสร้างพื้นฐานการลงทุนและ
พื้นฐานทางเศรษฐกิจ
3. ภายหลังจากอาเซียนและจีนได้เริ่มลดภาษีเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมลงทุนทุกพิกัด (พิกัด 01-97)
ครอบคลุมสัดส่วน 90% ของรายการลดภาษี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นมานั้น ประเทศไทยกลับเป็นฝ่าย
ขาดดุลการค้ากับจีนมากขึ้น ซึ่งรองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว
ว่าการที่ประเทศไทยขาดดุลการค้ากับประเทศจีนเพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจากการจัดทำเอฟทีเอระหว่างไทย-จีน ส่งผลให้การค้าระหว่าง
ทั้งสองประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น และไทยก็มีการนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็ลดการนำเข้าจากตลาดอื่นลง
เพราะภาษีเอื้ออำนวย อย่างไรก็ตามในปี 2550 การขาดดุลการค้าของไทยกับจีนมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากตามข้อตกลงปี 2550
ภาษีสินค้าปกติจะลดลงจากอัตราร้อยละ 20/15/10 และ 5 ลงเหลือร้อยละ 12/8/8 และ5 ตามลำดับ และในปี 2552
จะลดลงเหลือร้อยละ 0-5 และเป็นร้อยละ 0 ทุกรายการในปี 2553 หลังจากนั้นจะเริ่มลดภาษีกลุ่มสินค้าอ่อนไหว และอ่อนไหวสูง
ด้วยเหตุนี้การพิจารณาดุลการค้าต้องพิจารณาจากการขาดดุลการค้าในภาพรวมการค้ากับทุกประเทศ แม้ว่าไทยขาดดุลการค้ากับจีน
แต่อาจได้ดุลการค้ากับประเทศอื่นเพิ่มขึ้น จากการนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกลงจากจีนมาผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกมกขึ้นด้วย ซึ่งการ
ผลิตสินค้ามากขึ้น ก็สะท้อนให้เห็นว่าคนงานก็มีงานทำมากขึ้น สภาพก็เป็นอยู่ของประชาก้ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
ที่มา: http://www.depthai.go.th