วันที่ 25 ก.พ. 50 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวในประเด็นที่มีการกล่าวพาดพิงถึงอดีตพรรคฝ่ายค้านเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามจังหวัดต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่พรรคไทยรักไทยกำลังทำอยู่ในปัจจุบันนั้น ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ กล่าวว่า ทางพรรค ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค หรือผู้บริหารท่านอื่น ๆ ของพรรค ไม่ได้มีการเดินทางไปทำกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ ในช่วงที่ผ่านมา ฉะนั้นคงไม่สามารถที่จะนำพรรคฝ่ายค้าน โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ไปเปรียบเทียบว่าทางพรรคได้ดำเนินการในลักษณะนั้นเช่นเดียวกัน
นายองอาจกล่าวว่า หลังจากที่มีประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 27 ทางพรรคประชาธิปัตย์ เข้าใจถึงประกาศฉบับต่าง ๆ เหล่านี้ดี และไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการขัด ถึงแม้ว่าทางพรรคจะไม่เห็นด้วยกับประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้ก็ตาม และทางพรรคประชาธิปัตย์ โดยหัวหน้าพรรคได้เรียกร้องกับ คมช. และรัฐบาลมาโดยตลอดว่า ควรยกเลิกประกาศคปค. ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 27 และแม้ว่าจะมีการยกเลิกประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้แล้ว และถ้า คมช. เห็นว่าอะไรที่พรรคการเมืองไม่ควรปฏิบัติหรือไม่ควรทำก็สามารถที่จะมีหมายเหตุได้ว่าไม่ให้ปฏิบัติอะไรบ้าง
นายองอาจเห็นว่า การพบปะทางการเมืองตามปกติ น่าจะเป็นเรื่องที่พรรคการเมืองสามารถทำได้ เพราะฉะนั้นการที่ คมช. ยังคงประกาศเหล่านี้ไว้ อาจจะทำให้มีคนพยายามฝ่าฝืนประกาศของ คปค. ทั้ง 2 ฉบับเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขทางการเมือง ดังนั้นหากรัฐบาลหรือคมช. ทำอะไรที่เกินกว่าที่ควรจะเป็น ก็จะเข้าเงื่อนไขที่บุคคลบางกลุ่ม บางพวก ที่ฝ่าฝืนประกาศนี้ต้องการ
“ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ เราไม่ได้มีกิจกรรมทางการเมืองที่ไปตามที่ต่าง ๆ หรือเดินสายทางการเมืองไปตามจังหวัดต่างๆ แต่อย่างใดทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นไม่ควรจะนำพวกเราไปเปรียบเทียบกับการดำเนินการของใครทั้งสิ้น รวมทั้งถ้า คมช. และรัฐบาล ไม่อยากให้ใครนำเรื่องนี้ไปสร้างเป็นเงื่อนไขทางการเมือง ก็ควรที่จะยกเลิกประกาศเหล่านี้เสีย เพื่อที่จะได้หมดปัญหาไป และถ้าอยากจะห้ามอะไรก็ทำเป็นเรื่อง ๆ ไป ดีกว่าที่จะให้พรรคการเมืองขออนุญาตเป็นเรื่อง ๆ ” นายองอาจกล่าว
นอกจากนี้นายองอาจยังแถลงข่าวเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาด้วย ว่ามีการดำเนินการหลายอย่างที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและเป็นการทำลายหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย
โดยนายองอาจชี้ว่า การดำเนินการที่ขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญและทำลายหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย ดังกล่าวมี 3 ประการ คือ
1. มีบทบาทของการละเมิดสิทธิ และเสรีภาพอย่างชัดเจน โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการอุ้มฆ่า การฆ่าตัดตอน รวมทั้งการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของสื่อสารมวลชน ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ เสรีภาพ
2. บทบาทในทางละเมิดกฎหมาย หรือนิติธรรมทั้งหลาย การเข้าไปแทรกแซงระบบกฎหมาย ระบบตรวจสอบ หรือทำลายระบบตรวจสอบต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่นการพยายามควบรวมพรรคการเมืองจนกระทั่งไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้
3. บทบาทของทุนทางการเมือง ใน 5 ปีที่ผ่านมานั้น ทุนทางการเมืองเข้าไปทำลายหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย อย่างมาก มีทุนทางการเมืองเข้ามาครอบงำการทำงานของ สส. สว. จำนวนมาก และที่สำคัญที่สุดคือทุนเข้าไปแทรกแซง การทำงานขององค์กรอิสระ
ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ จึงต้องการเสนอให้คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญได้คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ซึ่งทางพรรคเห็นด้วยว่าบทบัญญัติในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2540 นั้นมีความหมายที่ดี ถูกต้องและเหมาะสมเป็นอย่างมาก แต่กลับไม่มีผลในทางปฏิบัติที่สามารถสัมผัสได้อย่างแท้จริง
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในขณะนี้ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ จึงออกมาเรียกร้องให้การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน หรือการป้องกันการละเมิดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน สามารถเป็นไปได้จริง และจากข้อเสนอนี้ พรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นเบื้องต้น 5 ประการ ประกอบด้วย
1. ให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ของสถานะความเป็นชนชาวไทย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการได้สิทธิ หรือการเสียสิทธิ ต่าง ๆ ของชนชาวไทย ที่รัฐธรรมนูญต้องรับรอง และคุ้มครองได้ โดยไม่ต้องมีการตีความภายหลังให้เกิดความยุ่งยาก และเมื่อมีการตีความภายหลังประชาชนก็มักเสียสิทธิ์เกือบทั้งนั้น
2. ควรกำหนดให้ชนชาวไทย ที่ถูกละเมิดสิทธิ เสรีภาพ สามารถยกหรืออ้างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองหรือป้องกันสิทธิ เสรีภาพของตนได้ และการอ้างนี้เป็นการต่อองค์กรของรัฐ หรือการไปใช้สิทธิ์ทางศาล หรือองค์กรอื่น ๆ ที่ใช้อำนาจตุลาการ อาจรวมถึงศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลเลือกตั้งได้ นอกจากนี้ควรกำหนดกฎหมายที่จะมารองรับสิทธิ์ และควรกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นสิทธิของการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นต้น ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กล่าวไว้ว่าให้จัดให้มีองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค การจัดให้องค์กรเหล่านี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด แต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาไม่ออกกฎหมายในเรื่องนี้เลย ดังนั้นต่อไปควรมีการกำหนดระยะเวลา เหมือนอย่างที่กำหนดกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
3. กำหนดหลักทั่วไปในการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลในการถูกดำเนินคดีอาญา และการถูกตรวจค้นให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมมากขึ้น ไม่ควรใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือใช้อำนาจที่พยายามอ้างกฎหมาย ตัวอย่างเช่น การอ้างกฎหมาย ปปง. ตรวจทรัพย์สิน ตรวจเส้นทางการเงินของสื่อมวลชนบางส่วน ของนักการเมืองบางคนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ทั้ง ๆ ที่ไม่เข้ากับฐานทางกฎหมายที่จะใช้ตรวจสอบได้เป็นต้น
4. กำหนดให้บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐ และบุคคลที่ถูกดำเนินคดีอาญา โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐ มีสิทธิ์ได้รับการชดเชยความเสียหายนี้
5. กำหนดให้พยานของรัฐในคดีอาญา มีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครอง และป้องกันพยันตราย รวมทั้งได้รับการชดเชยความเสียหายและค่าขาดรายได้ ที่ผ่านมาชาวบ้านทั่วไปไม่มีใครอยากเป็นพยานให้กับหน่วยงานของรัฐทั้งหลายยกเว้นเรื่องส่วนตัว เมื่อไม่มีคนเป็นพยานก็ไม่สามารถเอาผิดค่อนข้างลำบาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทุจริต คอร์รัปชั่น หรือเรื่องอื่น ๆ
นายองอาจกล่าวว่าใน 5 ประการข้างต้นเป็นเรื่องเพิ่มเติมจากที่มีในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สำหรับปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และการใช้ตำแหน่งหน้าที่ช่วยเหลือญาติพี่น้อง เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้ง ๆ ที่บุคคลนั้นยังอยู่ในตำแหน่งออกจากตำแหน่งไปแล้วก็ตาม นายองอาจกล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ควรจะต้องหาทางป้องกัน พร้อมทั้งได้เสนอข้อห้ามที่ควรมีในรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้
1. ห้ามนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการการเมือง กรรมการองค์กรอิสระไปทำงานในหน่วยงานธุรกิจ หรือเอกชน หรือของตนเองก็ตามเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจากวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่
2. ห้ามข้าราชการระดับสูง หรือผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ทำงานในหน่วยงานธุรกิจของเอกชน หรือของตนเองที่เกี่ยวข้องกับงานของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการรับตำแหน่งครั้งหลังสุด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับจากวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่
โดยข้อห้ามทั้ง 2 ข้อข้างต้นนายองอาจให้เหตุผลว่า การห้ามตรงนี้เพื่อที่จะป้องกันเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือใช้อำนาจหน้าที่ที่เคยมีมาในช่วงที่ดำรงตำแหน่งไปช่วยเหลือบริษัทที่ตนเองไปทำงาน หรือไปช่วยเหลือญาติพี่น้องพวกพ้องบริวารของตนเอง โดยเชื่อว่าจะช่วยป้องกันปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่นได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ก.พ. 2550--จบ--
นายองอาจกล่าวว่า หลังจากที่มีประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 27 ทางพรรคประชาธิปัตย์ เข้าใจถึงประกาศฉบับต่าง ๆ เหล่านี้ดี และไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการขัด ถึงแม้ว่าทางพรรคจะไม่เห็นด้วยกับประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้ก็ตาม และทางพรรคประชาธิปัตย์ โดยหัวหน้าพรรคได้เรียกร้องกับ คมช. และรัฐบาลมาโดยตลอดว่า ควรยกเลิกประกาศคปค. ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 27 และแม้ว่าจะมีการยกเลิกประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้แล้ว และถ้า คมช. เห็นว่าอะไรที่พรรคการเมืองไม่ควรปฏิบัติหรือไม่ควรทำก็สามารถที่จะมีหมายเหตุได้ว่าไม่ให้ปฏิบัติอะไรบ้าง
นายองอาจเห็นว่า การพบปะทางการเมืองตามปกติ น่าจะเป็นเรื่องที่พรรคการเมืองสามารถทำได้ เพราะฉะนั้นการที่ คมช. ยังคงประกาศเหล่านี้ไว้ อาจจะทำให้มีคนพยายามฝ่าฝืนประกาศของ คปค. ทั้ง 2 ฉบับเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขทางการเมือง ดังนั้นหากรัฐบาลหรือคมช. ทำอะไรที่เกินกว่าที่ควรจะเป็น ก็จะเข้าเงื่อนไขที่บุคคลบางกลุ่ม บางพวก ที่ฝ่าฝืนประกาศนี้ต้องการ
“ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ เราไม่ได้มีกิจกรรมทางการเมืองที่ไปตามที่ต่าง ๆ หรือเดินสายทางการเมืองไปตามจังหวัดต่างๆ แต่อย่างใดทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นไม่ควรจะนำพวกเราไปเปรียบเทียบกับการดำเนินการของใครทั้งสิ้น รวมทั้งถ้า คมช. และรัฐบาล ไม่อยากให้ใครนำเรื่องนี้ไปสร้างเป็นเงื่อนไขทางการเมือง ก็ควรที่จะยกเลิกประกาศเหล่านี้เสีย เพื่อที่จะได้หมดปัญหาไป และถ้าอยากจะห้ามอะไรก็ทำเป็นเรื่อง ๆ ไป ดีกว่าที่จะให้พรรคการเมืองขออนุญาตเป็นเรื่อง ๆ ” นายองอาจกล่าว
นอกจากนี้นายองอาจยังแถลงข่าวเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาด้วย ว่ามีการดำเนินการหลายอย่างที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและเป็นการทำลายหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย
โดยนายองอาจชี้ว่า การดำเนินการที่ขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญและทำลายหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย ดังกล่าวมี 3 ประการ คือ
1. มีบทบาทของการละเมิดสิทธิ และเสรีภาพอย่างชัดเจน โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการอุ้มฆ่า การฆ่าตัดตอน รวมทั้งการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของสื่อสารมวลชน ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ เสรีภาพ
2. บทบาทในทางละเมิดกฎหมาย หรือนิติธรรมทั้งหลาย การเข้าไปแทรกแซงระบบกฎหมาย ระบบตรวจสอบ หรือทำลายระบบตรวจสอบต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่นการพยายามควบรวมพรรคการเมืองจนกระทั่งไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้
3. บทบาทของทุนทางการเมือง ใน 5 ปีที่ผ่านมานั้น ทุนทางการเมืองเข้าไปทำลายหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย อย่างมาก มีทุนทางการเมืองเข้ามาครอบงำการทำงานของ สส. สว. จำนวนมาก และที่สำคัญที่สุดคือทุนเข้าไปแทรกแซง การทำงานขององค์กรอิสระ
ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ จึงต้องการเสนอให้คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญได้คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ซึ่งทางพรรคเห็นด้วยว่าบทบัญญัติในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2540 นั้นมีความหมายที่ดี ถูกต้องและเหมาะสมเป็นอย่างมาก แต่กลับไม่มีผลในทางปฏิบัติที่สามารถสัมผัสได้อย่างแท้จริง
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในขณะนี้ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ จึงออกมาเรียกร้องให้การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน หรือการป้องกันการละเมิดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน สามารถเป็นไปได้จริง และจากข้อเสนอนี้ พรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นเบื้องต้น 5 ประการ ประกอบด้วย
1. ให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ของสถานะความเป็นชนชาวไทย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการได้สิทธิ หรือการเสียสิทธิ ต่าง ๆ ของชนชาวไทย ที่รัฐธรรมนูญต้องรับรอง และคุ้มครองได้ โดยไม่ต้องมีการตีความภายหลังให้เกิดความยุ่งยาก และเมื่อมีการตีความภายหลังประชาชนก็มักเสียสิทธิ์เกือบทั้งนั้น
2. ควรกำหนดให้ชนชาวไทย ที่ถูกละเมิดสิทธิ เสรีภาพ สามารถยกหรืออ้างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองหรือป้องกันสิทธิ เสรีภาพของตนได้ และการอ้างนี้เป็นการต่อองค์กรของรัฐ หรือการไปใช้สิทธิ์ทางศาล หรือองค์กรอื่น ๆ ที่ใช้อำนาจตุลาการ อาจรวมถึงศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลเลือกตั้งได้ นอกจากนี้ควรกำหนดกฎหมายที่จะมารองรับสิทธิ์ และควรกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นสิทธิของการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นต้น ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กล่าวไว้ว่าให้จัดให้มีองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค การจัดให้องค์กรเหล่านี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด แต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาไม่ออกกฎหมายในเรื่องนี้เลย ดังนั้นต่อไปควรมีการกำหนดระยะเวลา เหมือนอย่างที่กำหนดกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
3. กำหนดหลักทั่วไปในการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลในการถูกดำเนินคดีอาญา และการถูกตรวจค้นให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมมากขึ้น ไม่ควรใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือใช้อำนาจที่พยายามอ้างกฎหมาย ตัวอย่างเช่น การอ้างกฎหมาย ปปง. ตรวจทรัพย์สิน ตรวจเส้นทางการเงินของสื่อมวลชนบางส่วน ของนักการเมืองบางคนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ทั้ง ๆ ที่ไม่เข้ากับฐานทางกฎหมายที่จะใช้ตรวจสอบได้เป็นต้น
4. กำหนดให้บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐ และบุคคลที่ถูกดำเนินคดีอาญา โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐ มีสิทธิ์ได้รับการชดเชยความเสียหายนี้
5. กำหนดให้พยานของรัฐในคดีอาญา มีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครอง และป้องกันพยันตราย รวมทั้งได้รับการชดเชยความเสียหายและค่าขาดรายได้ ที่ผ่านมาชาวบ้านทั่วไปไม่มีใครอยากเป็นพยานให้กับหน่วยงานของรัฐทั้งหลายยกเว้นเรื่องส่วนตัว เมื่อไม่มีคนเป็นพยานก็ไม่สามารถเอาผิดค่อนข้างลำบาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทุจริต คอร์รัปชั่น หรือเรื่องอื่น ๆ
นายองอาจกล่าวว่าใน 5 ประการข้างต้นเป็นเรื่องเพิ่มเติมจากที่มีในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สำหรับปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และการใช้ตำแหน่งหน้าที่ช่วยเหลือญาติพี่น้อง เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้ง ๆ ที่บุคคลนั้นยังอยู่ในตำแหน่งออกจากตำแหน่งไปแล้วก็ตาม นายองอาจกล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ควรจะต้องหาทางป้องกัน พร้อมทั้งได้เสนอข้อห้ามที่ควรมีในรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้
1. ห้ามนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการการเมือง กรรมการองค์กรอิสระไปทำงานในหน่วยงานธุรกิจ หรือเอกชน หรือของตนเองก็ตามเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจากวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่
2. ห้ามข้าราชการระดับสูง หรือผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ทำงานในหน่วยงานธุรกิจของเอกชน หรือของตนเองที่เกี่ยวข้องกับงานของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการรับตำแหน่งครั้งหลังสุด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับจากวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่
โดยข้อห้ามทั้ง 2 ข้อข้างต้นนายองอาจให้เหตุผลว่า การห้ามตรงนี้เพื่อที่จะป้องกันเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือใช้อำนาจหน้าที่ที่เคยมีมาในช่วงที่ดำรงตำแหน่งไปช่วยเหลือบริษัทที่ตนเองไปทำงาน หรือไปช่วยเหลือญาติพี่น้องพวกพ้องบริวารของตนเอง โดยเชื่อว่าจะช่วยป้องกันปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่นได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ก.พ. 2550--จบ--