ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% ในการประชุม กนง.หากข้อมูลเศรษฐกิจชะตัวกว่าที่คาด ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 11 เม.ย.นี้
จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% หากข้อมูลสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัวกว่าที่คาดไว้ รวมทั้งหวังว่าอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
จะช่วยลดแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทด้วย อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว 4-5% เพราะยังคงมีปัจจัยสนับสนุน
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ การลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอลง ซึ่งเกิดจากความไม่เชื่อมั่นทางการเมือง ในส่วนของนโยบายการดูแลค่าเงินบาท ธปท.
คงไม่สามารถใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยผูกติดกับอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินบาทได้ เนื่องจากจะทำให้อัตราดอกเบี้ย
เกิดความผันผวน ประกอบกับการใช้นโยบายดังกล่าวยังขัดกับวัตถุประสงค์ที่ ธปท.ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจและ
อัตราเงินเฟ้อ (ไทยโพสต์)
2. ธุรกิจกองทุนรวมในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาขยายตัว 8.6 หมื่น ล.บาท สมาคมบริษัทจัดการลงทุน รายงานส่วนแบ่งการตลาด
(มาร์เกตแชร์) ของกองทุนรวมภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการกองทุนรวม (บลจ.) ทั้งระบบในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาว่า มีมูลค่าทรัพย์สิน
สุทธิประมาณ 1.12 ล้านล้านบาท โดยมีเงินลงทุนใหม่ไหลเข้ามาเพิ่มอีกประมาณ 86,202.05 ล้านบาท จากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1.04 ล้านล้านบาท
ในเดือน ธ.ค.49 สะท้อนว่าธุรกิจกองทุนรวม ยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า เงินลงทุนใหม่ที่เข้ามาส่วนใหญ่
มาจากกองทุนตราสารหนี้เป็นหลัก โดยมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 8.2 หมื่น ล.บาท ขณะที่กองทุนหุ้นยังขยายตัวได้โดยมีเงินลงทุนใหม่เข้ามา
ประมาณ 4.2 พัน ล.บาท (ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าปลายสัปดาห์นี้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น แหล่ง ข่าวจากวงการน้ำมันเปิดเผยว่า
ปลายสัปดาห์นี้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หากราคาสิงคโปร์ปิดตลาดวันที่ 29 มี.ค.มีทิศทางที่เพิ่มขึ้น
เนื่องจากค่าการตลาดของผู้ค้าได้ลดต่ำลง โดยเบนซิน 95 อยู่ที่ 30 สตางค์ต่อลิตร ขณะที่ดีเซลอยู่ที่ 60-70 สตางค์ต่อลิตร หลังจากที่
ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ปิดวันที่ 28 มี.ค.ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ปลายสัปดาห์หากราคาขายปลีกปรับเพิ่มขึ้นอีก 40 สตางค์ต่อลิตร
ทุกชนิด จะส่งผลให้เบนซินทะลุ 28 บาทต่อลิตร ปรับขึ้นไปอยู่ในระดับ 28.39 บาทต่อลิตร (ผู้จัดการรายวัน )
4. คาดว่าธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 50 จะยังคงขยายตัวชะลอลง บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่า ธุรกิจ
สินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 50 ยังคงขยายตัวในอัตราชะลอลง แม้มีปัจจัยบวกคือ การปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ที่อาจปรับลดลงอีก 0.25-0.5% จาก
ระดับปัจจุบัน แต่ปัจจัยลบที่ยังส่งผลต่อธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาความไม่สงบทางการเมือง ทิศทางเศรษฐกิจและมาตรการ
ภาครัฐ เป็นต้น ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม หากปัจจัยทางการเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ธุรกิจสินเชื่อ
ที่อยู่อาศัยน่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ในส่วนของการแข่งขันด้านการตลาด ราคายังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจ
ของผู้บริโภค (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจสรอ. ในไตรมาสที่ 4/49 ขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 50 ก.พาณิชย์ สรอ.
เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 4/49 เศรษฐกิจเติบโตค่อนข้างแข็งแกร่งมากกว่าที่คาดไว้เมื่อเดือนที่แล้ว เนื่องจากธุรกิจเริ่มเพิ่มสินค้าในสต็อกมากขึ้น
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดผลผลิตสินค้าและบริการในประเทศขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
(ตัวเลขที่ปรับแล้ว) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่ 3/49 และมากกว่าที่คาดไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่า GDP ในไตรมาสที่ 4/49 จะขยายตัว
ร้อยละ 2.2 รวมทั้งมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่า GDP ที่ปรับแล้วจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.2 ทั้งนี้เศรษฐกิจ สรอ. ในปี 49
ขยายตัวร้อยละ 3.3 และสูงกว่าร้อยละ 3.0 อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยปี 48 และ 47 เศรษฐกิจสรอ. ขยายตัวร้อยละ 3.2
และ 3.9 ตามลำดับ สำหรับยอดสินค้าคงคลังของธุรกิจในไตรมาสที่ 4/49 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 22.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. มากกว่าที่คาดไว้
เมื่อเดือนที่แล้วว่าจะเพิ่มขึ้นที่ 17.3 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นสินค้ารถยนต์ และเป็นเหตุผลสำคัญในการปรับเพิ่ม GDP ดังกล่าว
ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง จำนวนมากอาจสะท้อนได้ว่ามีสินค้าคงค้างที่ยังจำหน่ายไม่ได้ หรืออาจเป็นไปได้ว่าธุรกิจเริ่มเพิ่มสินค้า
ในสต็อกเนื่องจากเห็นว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นในอนาคต (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตภาคบริการของอังกฤษในรอบ 3 เดือนถึงเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 29 มี.ค.50
สำนักงานสถิติอังกฤษ เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคบริการของอังกฤษ ซึ่งมีอัตราส่วนถึง 3 ใน 4 ส่วนของระบบเศรษฐกิจ ในรอบ 3 เดือนถึง
เดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบกับรอบ 3 เดือนก่อนหน้าถึงเดือน ธ.ค.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ซึ่งเท่ากับอัตราการขยายตัว
ในช่วงครึ่งหลังปี 49 โดยในเดือน ม.ค.50 เดือนเดียวภาคบริการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ซึ่งนับเป็นอัตราการเติบโตต่ำสุดตั้งแต่
เดือน ก.ย.49 ขณะที่หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การชะลอตัวของผลผลิตภาคบริการในเดือน ม.ค.เนื่องจากยอดขายปลีกในเดือน ม.ค.50
ชะลอลง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผลผลิตภาคบริการล่าสุดไม่น่าจะส่งผลให้เปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายอีกครั้งในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้านี้เพื่อลดความกดดันด้านราคา (รอยเตอร์)
3. อัตราคนว่างงานของเยอรมนีเดือน มี.ค.50 ลดลงหลือ 3.8 ล้านคน ต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากเมืองนูเรมเบิร์ก
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 29 มี.ค.50 สนง.แรงงานกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน มี.ค.50 ลดลง
65,000 คน จากเดือนก่อน ทำให้ยอดรวมทั้งหมดอยู่ที่ 3.832 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.44 และเป็นการลดลงรายเดือน
เป็นเดือนที่ 7 รวมทั้งการลดลงครั้งนี้ยังมากเกินกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่าจะลดลง 40,000 คน
ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจของเยอรมนีขยายตัวอย่างแข็งแกร่งได้ช่วยสร้างงานใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้ ในขณะที่จำนวนคนที่มี
งานทำในเดือน ก.พ.50 พุ่งขึ้นอยู่ที่ระดับ 39.346 ล้านคน สูงสุดนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเยอรมนีในปี 2533 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นชะลอตัวลงในเดือน มี.ค.50 มาอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 25 เดือน รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 30 มี.ค.50 ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของธุรกิจในญี่ปุ่นหรือ PMI ลดลงหลังปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วมาอยู่ที่ระดับ 52.5 ในเดือน มี.ค.50 จากระดับ 53.0 ในเดือน ก.พ.50 อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.48 ซึ่งอยู่ที่
ระดับ 52.1 อันเป็นผลจากความต้องการในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซา แต่อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ซึ่งแสดง
ถึงการขยายตัวของผลผลิตเป็นเดือนที่ 46 ติดต่อกัน นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
โดยเป็นผลจากการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้นจากคำสั่งซื้อสินค้าจากจีนและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 มี.ค. 50 29 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.023 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7961/35.1306 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.64375 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 671.62/5.58 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.39 61.69 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.99*/24.14* 27.99*/24.14* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 29 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% ในการประชุม กนง.หากข้อมูลเศรษฐกิจชะตัวกว่าที่คาด ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 11 เม.ย.นี้
จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% หากข้อมูลสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัวกว่าที่คาดไว้ รวมทั้งหวังว่าอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
จะช่วยลดแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทด้วย อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว 4-5% เพราะยังคงมีปัจจัยสนับสนุน
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ การลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอลง ซึ่งเกิดจากความไม่เชื่อมั่นทางการเมือง ในส่วนของนโยบายการดูแลค่าเงินบาท ธปท.
คงไม่สามารถใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยผูกติดกับอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินบาทได้ เนื่องจากจะทำให้อัตราดอกเบี้ย
เกิดความผันผวน ประกอบกับการใช้นโยบายดังกล่าวยังขัดกับวัตถุประสงค์ที่ ธปท.ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจและ
อัตราเงินเฟ้อ (ไทยโพสต์)
2. ธุรกิจกองทุนรวมในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาขยายตัว 8.6 หมื่น ล.บาท สมาคมบริษัทจัดการลงทุน รายงานส่วนแบ่งการตลาด
(มาร์เกตแชร์) ของกองทุนรวมภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการกองทุนรวม (บลจ.) ทั้งระบบในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาว่า มีมูลค่าทรัพย์สิน
สุทธิประมาณ 1.12 ล้านล้านบาท โดยมีเงินลงทุนใหม่ไหลเข้ามาเพิ่มอีกประมาณ 86,202.05 ล้านบาท จากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1.04 ล้านล้านบาท
ในเดือน ธ.ค.49 สะท้อนว่าธุรกิจกองทุนรวม ยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า เงินลงทุนใหม่ที่เข้ามาส่วนใหญ่
มาจากกองทุนตราสารหนี้เป็นหลัก โดยมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 8.2 หมื่น ล.บาท ขณะที่กองทุนหุ้นยังขยายตัวได้โดยมีเงินลงทุนใหม่เข้ามา
ประมาณ 4.2 พัน ล.บาท (ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าปลายสัปดาห์นี้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น แหล่ง ข่าวจากวงการน้ำมันเปิดเผยว่า
ปลายสัปดาห์นี้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หากราคาสิงคโปร์ปิดตลาดวันที่ 29 มี.ค.มีทิศทางที่เพิ่มขึ้น
เนื่องจากค่าการตลาดของผู้ค้าได้ลดต่ำลง โดยเบนซิน 95 อยู่ที่ 30 สตางค์ต่อลิตร ขณะที่ดีเซลอยู่ที่ 60-70 สตางค์ต่อลิตร หลังจากที่
ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ปิดวันที่ 28 มี.ค.ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ปลายสัปดาห์หากราคาขายปลีกปรับเพิ่มขึ้นอีก 40 สตางค์ต่อลิตร
ทุกชนิด จะส่งผลให้เบนซินทะลุ 28 บาทต่อลิตร ปรับขึ้นไปอยู่ในระดับ 28.39 บาทต่อลิตร (ผู้จัดการรายวัน )
4. คาดว่าธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 50 จะยังคงขยายตัวชะลอลง บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่า ธุรกิจ
สินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 50 ยังคงขยายตัวในอัตราชะลอลง แม้มีปัจจัยบวกคือ การปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ที่อาจปรับลดลงอีก 0.25-0.5% จาก
ระดับปัจจุบัน แต่ปัจจัยลบที่ยังส่งผลต่อธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาความไม่สงบทางการเมือง ทิศทางเศรษฐกิจและมาตรการ
ภาครัฐ เป็นต้น ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม หากปัจจัยทางการเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ธุรกิจสินเชื่อ
ที่อยู่อาศัยน่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ในส่วนของการแข่งขันด้านการตลาด ราคายังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจ
ของผู้บริโภค (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจสรอ. ในไตรมาสที่ 4/49 ขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 50 ก.พาณิชย์ สรอ.
เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 4/49 เศรษฐกิจเติบโตค่อนข้างแข็งแกร่งมากกว่าที่คาดไว้เมื่อเดือนที่แล้ว เนื่องจากธุรกิจเริ่มเพิ่มสินค้าในสต็อกมากขึ้น
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดผลผลิตสินค้าและบริการในประเทศขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
(ตัวเลขที่ปรับแล้ว) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่ 3/49 และมากกว่าที่คาดไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่า GDP ในไตรมาสที่ 4/49 จะขยายตัว
ร้อยละ 2.2 รวมทั้งมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่า GDP ที่ปรับแล้วจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.2 ทั้งนี้เศรษฐกิจ สรอ. ในปี 49
ขยายตัวร้อยละ 3.3 และสูงกว่าร้อยละ 3.0 อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยปี 48 และ 47 เศรษฐกิจสรอ. ขยายตัวร้อยละ 3.2
และ 3.9 ตามลำดับ สำหรับยอดสินค้าคงคลังของธุรกิจในไตรมาสที่ 4/49 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 22.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. มากกว่าที่คาดไว้
เมื่อเดือนที่แล้วว่าจะเพิ่มขึ้นที่ 17.3 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นสินค้ารถยนต์ และเป็นเหตุผลสำคัญในการปรับเพิ่ม GDP ดังกล่าว
ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง จำนวนมากอาจสะท้อนได้ว่ามีสินค้าคงค้างที่ยังจำหน่ายไม่ได้ หรืออาจเป็นไปได้ว่าธุรกิจเริ่มเพิ่มสินค้า
ในสต็อกเนื่องจากเห็นว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นในอนาคต (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตภาคบริการของอังกฤษในรอบ 3 เดือนถึงเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 29 มี.ค.50
สำนักงานสถิติอังกฤษ เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคบริการของอังกฤษ ซึ่งมีอัตราส่วนถึง 3 ใน 4 ส่วนของระบบเศรษฐกิจ ในรอบ 3 เดือนถึง
เดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบกับรอบ 3 เดือนก่อนหน้าถึงเดือน ธ.ค.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ซึ่งเท่ากับอัตราการขยายตัว
ในช่วงครึ่งหลังปี 49 โดยในเดือน ม.ค.50 เดือนเดียวภาคบริการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ซึ่งนับเป็นอัตราการเติบโตต่ำสุดตั้งแต่
เดือน ก.ย.49 ขณะที่หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การชะลอตัวของผลผลิตภาคบริการในเดือน ม.ค.เนื่องจากยอดขายปลีกในเดือน ม.ค.50
ชะลอลง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผลผลิตภาคบริการล่าสุดไม่น่าจะส่งผลให้เปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายอีกครั้งในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้านี้เพื่อลดความกดดันด้านราคา (รอยเตอร์)
3. อัตราคนว่างงานของเยอรมนีเดือน มี.ค.50 ลดลงหลือ 3.8 ล้านคน ต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากเมืองนูเรมเบิร์ก
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 29 มี.ค.50 สนง.แรงงานกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน มี.ค.50 ลดลง
65,000 คน จากเดือนก่อน ทำให้ยอดรวมทั้งหมดอยู่ที่ 3.832 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.44 และเป็นการลดลงรายเดือน
เป็นเดือนที่ 7 รวมทั้งการลดลงครั้งนี้ยังมากเกินกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่าจะลดลง 40,000 คน
ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจของเยอรมนีขยายตัวอย่างแข็งแกร่งได้ช่วยสร้างงานใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้ ในขณะที่จำนวนคนที่มี
งานทำในเดือน ก.พ.50 พุ่งขึ้นอยู่ที่ระดับ 39.346 ล้านคน สูงสุดนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเยอรมนีในปี 2533 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นชะลอตัวลงในเดือน มี.ค.50 มาอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 25 เดือน รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 30 มี.ค.50 ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของธุรกิจในญี่ปุ่นหรือ PMI ลดลงหลังปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วมาอยู่ที่ระดับ 52.5 ในเดือน มี.ค.50 จากระดับ 53.0 ในเดือน ก.พ.50 อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.48 ซึ่งอยู่ที่
ระดับ 52.1 อันเป็นผลจากความต้องการในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซา แต่อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ซึ่งแสดง
ถึงการขยายตัวของผลผลิตเป็นเดือนที่ 46 ติดต่อกัน นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
โดยเป็นผลจากการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้นจากคำสั่งซื้อสินค้าจากจีนและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 มี.ค. 50 29 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.023 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7961/35.1306 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.64375 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 671.62/5.58 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.39 61.69 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.99*/24.14* 27.99*/24.14* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 29 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--