นายอภิชาต ศักดิ์เศรษฐ์ อดีต ส.ส. นครศรีธรรมราช รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ให้ความเห็นเมื่อวันที่ 13 เมษายนว่า มติโดยเสียงข้างมากของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แม้จะทำให้เห็นความชัดเจนถึงทิศทางของรัฐธรรมนูญมากขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ตามมามีมากด้วยเช่นกัน สะท้อนได้จากความคิดเห็นจากพรรคการเมืองที่เป็นผู้เกี่ยวข้องกับการใช้รัฐธรรมนูญโดยตรง นักวิชาการ และความเห็นของประชาชนทั่วไปผ่านทางโพลของสำนักต่าง ๆ ที่มีความเห็นแย้งเป็นตรงข้ามกับมติกรรมาธิการเสียงข้างมากในหลายประเด็น เช่น การลดจำนวน ส.ส.ระบบเขต หรือการให้ ส.ว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งหรือการจัดตั้งองค์กรแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศ ฯลฯ
นายอภิชาต กล่าวว่า ปรากฎการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยว่า กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ในระหว่างการยกร่างฯ ที่ผ่านมา ได้ผ่านกระบวนการรับฟังที่กว้างขวางแค่ไหน และนำไปใช้ประกอบการยกร่างของคณะกรรมาธิการมากน้อยแค่ไหน เพราะเท่าที่ติดตามมาพบว่า แต่ละประเด็นที่มีข้อขัดแย้งถกเถียงกัน กรรมาธิการยกร่างฯ รายใดเคยมีความเห็นอย่างไร ก็มักจะลงมติตามความคิดเดิมทั้งสิ้น เท่ากับเสียงสะท้อนจากประชาชนที่ผ่าน ๆ มาแทบจะไม่มีความหมายการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ
“มาถึงขั้นนี้แล้ว อยู่ที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ซึ่งจะเป็นผู้ปรับแต่งแก้ไขในอีกขั้นตอนหนึ่ง คงจะรับเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจากสังคมเข้าสู่กระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้น เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง อันจะเป็นหลักประกันถึงความราบรื่นในการลงประชามติต่อไป” นายอภิชาต กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 เม.ย. 2550--จบ--
นายอภิชาต กล่าวว่า ปรากฎการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยว่า กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ในระหว่างการยกร่างฯ ที่ผ่านมา ได้ผ่านกระบวนการรับฟังที่กว้างขวางแค่ไหน และนำไปใช้ประกอบการยกร่างของคณะกรรมาธิการมากน้อยแค่ไหน เพราะเท่าที่ติดตามมาพบว่า แต่ละประเด็นที่มีข้อขัดแย้งถกเถียงกัน กรรมาธิการยกร่างฯ รายใดเคยมีความเห็นอย่างไร ก็มักจะลงมติตามความคิดเดิมทั้งสิ้น เท่ากับเสียงสะท้อนจากประชาชนที่ผ่าน ๆ มาแทบจะไม่มีความหมายการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ
“มาถึงขั้นนี้แล้ว อยู่ที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ซึ่งจะเป็นผู้ปรับแต่งแก้ไขในอีกขั้นตอนหนึ่ง คงจะรับเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจากสังคมเข้าสู่กระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้น เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง อันจะเป็นหลักประกันถึงความราบรื่นในการลงประชามติต่อไป” นายอภิชาต กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 เม.ย. 2550--จบ--