กรุงเทพ--16 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ซึ่งจัดขึ้นในลักษณะ retreat ก่อนหน้าการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 13 ณ นครปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีนาย Ban Ki-moon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าสาธารณรัฐเกาหลีเป็นประธาน ประเด็นสำคัญของการหารือฯ คือภัยคุกคามของโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้เรียกร้องให้ที่ประชุมฯ ร่วมกันต่อสู้กับปัญหาดังกล่าว ซึ่งที่ ผ่านมาบทบาทของไทยในเรื่องนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นประเทศที่มีการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคไข้หวัดนกได้ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยยังมีบทบาทเป็นผู้นำในการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนของความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศในการป้องกันการระบาดของโรคฯ ดังเห็นได้จากในการประชุม ผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2548 ไทยได้ริเริ่มความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนามในการรับมือกับภัยคุกคามของโรคฯ ด้วย
ดร. กันตธีร์ฯ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการประชุมฯ ว่า ตนได้ขอให้ ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญต่อความชัดเจนโปร่งใสในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยยาต่อต้านไวรัสที่เป็นต้นเหตุของโรคฯ ทั้งนี้ ไทยได้บริจาคเงินจำนวน 2.5 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐในการจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในการต่อสู้และป้องกันโรคฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเน้นว่าสมาชิกเอเปคไม่ควรให้ความสำคัญเรื่องความพร้อมในการจัดตั้งคลังสำรองยาต่อต้านไวรัส “Tamiflu” ของตนเองเท่านั้น แต่ยังจำเป็นที่จะต้องสร้างหลักประกันว่าประเทศที่ได้รับผลกระทบจะสามารถเข้าถึงยาฯ ดังกล่าว ได้ทันเวลาเมื่อเกิดการระบาดของโรคฯ ด้วย นอกจากนี้ ยังจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมการศึกษาเพื่อทำให้สาธารณชนตระหนักถึงอันตรายและวิธีการป้องกันโรคฯ อย่างถูกต้อง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวเสริมว่าได้ยกเรื่องอันตรายจากการที่หากมีผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดปกติติดเชื้อโรคไข้หวัดนก ซึ่งอาจทำให้บุคคลดังกล่าวกลายเป็นพาหะของโรคไข้หวัดนก และก่อให้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกระหว่างมนุษย์ได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงการหารือเรื่องความร่วมมือด้านพลังงานในสภาวะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงในปัจจุบัน ซึ่งไทยเห็นว่าควรมีการป้องกันการเก็งราคาน้ำมันโดยกองทุนเก็งกำไร (hedge fund) นอกจากนี้ ประเทศผู้ผลิตน้ำมันควรนำผลกำไรที่ได้รับมาลงทุนในสาขาที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค อาทิ
การลงทุนในพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond) นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังเห็นพ้องกันถึงความจำเป็นในการสำรวจแหล่งพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานชีวภาพด้วย
การต่อต้านการทุจริตเป็นประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีการหารือในที่ประชุมฯ ซึ่ง ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าไทยให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก และไทยได้ลงนามในอนุสัญญา ของสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตซึ่งครอบคลุมถึงการติดสินบนของภาคเอกชน ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในต่างประเทศ
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ที่ประชุมฯ ยังเห็นพ้องถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและการจัดการด้านงบประมาณของเอเปคด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามของสื่อมวลชนในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มาเลเซียว่า ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับ Dato Seri Syed Hamid Albar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียนอกห้องประชุมฯ ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันแก้ไข ปัญหา 131 คนโดยเร็วที่สุด ดร. กันตธีร์ฯ เห็นว่าขณะนี้มีสัญญาณที่ดีในเรื่องนี้จากฝ่ายมาเลเซีย และหวังว่าสัญญาณที่ดีดังกล่าวจะดำเนินต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ซึ่งจัดขึ้นในลักษณะ retreat ก่อนหน้าการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 13 ณ นครปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีนาย Ban Ki-moon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าสาธารณรัฐเกาหลีเป็นประธาน ประเด็นสำคัญของการหารือฯ คือภัยคุกคามของโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้เรียกร้องให้ที่ประชุมฯ ร่วมกันต่อสู้กับปัญหาดังกล่าว ซึ่งที่ ผ่านมาบทบาทของไทยในเรื่องนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นประเทศที่มีการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคไข้หวัดนกได้ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยยังมีบทบาทเป็นผู้นำในการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนของความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศในการป้องกันการระบาดของโรคฯ ดังเห็นได้จากในการประชุม ผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2548 ไทยได้ริเริ่มความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนามในการรับมือกับภัยคุกคามของโรคฯ ด้วย
ดร. กันตธีร์ฯ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการประชุมฯ ว่า ตนได้ขอให้ ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญต่อความชัดเจนโปร่งใสในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยยาต่อต้านไวรัสที่เป็นต้นเหตุของโรคฯ ทั้งนี้ ไทยได้บริจาคเงินจำนวน 2.5 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐในการจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในการต่อสู้และป้องกันโรคฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเน้นว่าสมาชิกเอเปคไม่ควรให้ความสำคัญเรื่องความพร้อมในการจัดตั้งคลังสำรองยาต่อต้านไวรัส “Tamiflu” ของตนเองเท่านั้น แต่ยังจำเป็นที่จะต้องสร้างหลักประกันว่าประเทศที่ได้รับผลกระทบจะสามารถเข้าถึงยาฯ ดังกล่าว ได้ทันเวลาเมื่อเกิดการระบาดของโรคฯ ด้วย นอกจากนี้ ยังจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมการศึกษาเพื่อทำให้สาธารณชนตระหนักถึงอันตรายและวิธีการป้องกันโรคฯ อย่างถูกต้อง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวเสริมว่าได้ยกเรื่องอันตรายจากการที่หากมีผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดปกติติดเชื้อโรคไข้หวัดนก ซึ่งอาจทำให้บุคคลดังกล่าวกลายเป็นพาหะของโรคไข้หวัดนก และก่อให้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกระหว่างมนุษย์ได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงการหารือเรื่องความร่วมมือด้านพลังงานในสภาวะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงในปัจจุบัน ซึ่งไทยเห็นว่าควรมีการป้องกันการเก็งราคาน้ำมันโดยกองทุนเก็งกำไร (hedge fund) นอกจากนี้ ประเทศผู้ผลิตน้ำมันควรนำผลกำไรที่ได้รับมาลงทุนในสาขาที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค อาทิ
การลงทุนในพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond) นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังเห็นพ้องกันถึงความจำเป็นในการสำรวจแหล่งพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานชีวภาพด้วย
การต่อต้านการทุจริตเป็นประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีการหารือในที่ประชุมฯ ซึ่ง ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าไทยให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก และไทยได้ลงนามในอนุสัญญา ของสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตซึ่งครอบคลุมถึงการติดสินบนของภาคเอกชน ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในต่างประเทศ
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ที่ประชุมฯ ยังเห็นพ้องถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและการจัดการด้านงบประมาณของเอเปคด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามของสื่อมวลชนในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มาเลเซียว่า ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับ Dato Seri Syed Hamid Albar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียนอกห้องประชุมฯ ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันแก้ไข ปัญหา 131 คนโดยเร็วที่สุด ดร. กันตธีร์ฯ เห็นว่าขณะนี้มีสัญญาณที่ดีในเรื่องนี้จากฝ่ายมาเลเซีย และหวังว่าสัญญาณที่ดีดังกล่าวจะดำเนินต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-