ภาพรวมอุตสาหกรรม
ในไตรมาสที่3 ของปี 2549 พบว่าดุลการค้าของประเทศไทยมีการขาดดุลสำหรับภาคอุตสาหกรรมนี้อยู่ประมาณ 60.6 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หรือประมาณ 2,282 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยมีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง (อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 37.66บาท/$ คำนวณจากอัตราเฉลี่ย
ประจำเดือน ก.ค.—ก.ย.49)
ยอดขายในประเทศของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 ลดลงเนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลงและมีการชะลอการบริโภค ทั้งนี้
ปัจจัยที่ทำให้ค่าใช้จ่ายแพงขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และความไม่มั่นใจต่อภาวะการเมืองของไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งภาค
อุตสาหกรรมพลาสติกส่วนใหญ่จึงต้องชะลอการลงทุนเพื่อประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
การส่งออกของภาคอุตสาหกรรมนับว่าได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและทำให้ความได้
เปรียบด้านการแข่งขันของไทยลดลง ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุด นอกจากนี้ปัจจัย
วัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรมพลาสติกได้แก่ปิโตรเคมีที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ราคาน้ำมันดิบได้ปรับสูงขึ้นมาก ประกอบกับจีนและเวียดนามมี
ความต้องการเม็ดพลาสติกค่อนข้างมากทำให้ผู้ประกอบการของไทยประสบปัญหาด้านต้นทุนที่ต้องมีการใช้เม็ดพลาสติกราคาสูง
ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังคงประสบปัญหาสินค้าราคาถูกจากจีนและเวียดนามเข้ามาตีตลาดจำนวนมากเนื่องจากภาษีนำเข้าที่มีอัตรา
ต่ำเพียงร้อยละ 5 ซี่งเกิดจากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-จีน และข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 519.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.66 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
และ กลุ่มประเทศในอาเซียน ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก
ของไทยสำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 146.2ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.26 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก
139.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.75 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ12.58 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกถุงและกระสอบพลาสติกมีอัตราการขยายตัวที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เกิดจากปัญหาการตอบ
โต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping) เช่น สหรัฐได้ตัดจีเอสพี(สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร)ของไทยในสินค้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกหมวด 392321.00
ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 49 เป็นต้นมา หรือกรณีที่อียูได้ปรับขึ้นภาษีขาเข้า AD ถุงพลาสติกจากจีนเป็นร้อยละ 28.8 และไทยที่ร้อยละ14.3
Q3/ Q3/
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 2549 เทียบกับQ2/ 2549 เทียบกับQ3/
2549 (ร้อยละ) 2548 (ร้อยละ)
2547 2548 Q2/2548 Q3/2548 Q2/2549 Q3/2549
ถุงและกระสอบพลาสติก 372.9 518.8 117 159 129 139 7.75 -12.58
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 466.1 536.7 129.9 146 136.3 146.2 7.26 0.14
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 25.8 22.6 6.4 6.2 4.2 4.6 9.52 -25.81
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 26.3 30.9 8.3 6.8 7.2 8.3 15.28 22.06
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 21.8 22.6 5.5 6.3 4.6 5 8.7 -20.63
หลอดและท่อพลาสติก 32.7 41.5 9.9 10.1 13.5 13.8 2.22 36.63
พลาสติกปูพื้นและผนัง 40.1 50.6 11.7 15 11.8 17.4 47.46 16
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 68.9 84 21.8 22.3 24.7 24.8 0.4 11.21
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 493.2 551.1 140.9 142.6 146.6 160.2 9.28 12.34
รวมทั้งสิ้น 1,547.80 1,858.80 451.4 514.3 477.9 519.3 8.66 0.97
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 579.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.69 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา เยอรมนี
และกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าลดลงร้อยละ 2.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการ
นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.79 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.45 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 23.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
Q3/ Q3/
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 2549 เทียบกับQ2/ 2549 เทียบกับQ3/
2549 (ร้อยละ) 2548 (ร้อยละ)
2547 2548 Q2/2548 Q3/2548 Q2/2549 Q3/2549
หลอดและท่อพลาสติก 79.3 79.7 20.1 18.7 21.3 23.1 8.45 23.53
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 658.7 742.4 187.3 190.2 197.3 191.7 -2.84 0.79
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,127.50 1,224.00 297 310.1 335.3 365.1 8.89 17.74
รวมทั้งสิ้น 1,865.50 2,046.10 510.7 519 553.9 579.9 4.69 11.73
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้ม
จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบทั้งห่วงโซ่อุป
ทาน และเป็นที่คาดว่าราคาเม็ดพลาสติกจะไม่ลดลงจนถึงปลายปี ทำให้ผู้ประกอบการต้องพยายามลดต้นทุนในการผลิตรวมทั้งระมัดระวังการสต๊อกวัตถุดิบ
ที่มีราคาผันผวน นอกจากนี้การเปิดเขตเสรีทางการค้ายังส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้น โดยในการส่งออกยังคงมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบสูง
ต่อยอดการส่งออก เช่น มาตรการ Anti-Dumping หรือ การตัดสิทธิ์จีเอสพี
ค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมานับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยสูญเสียความได้เปรียบด้านการแข่งขันเมื่อ
เปรียบเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน
ปัจจัยภายนอก เช่น ราคาน้ำมัน ค่าระวาง และค่าเงินบาทที่แข็งตัวยังคงส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง จึงควรมี
การนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
การผลิตไบโอพลาสติกนับเป็นอีกธุรกิจทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและควรให้การสนับสนุนเพราะสามารถตอบสนองอุปสงค์ในตลาดต่างประเทศ
ที่ได้เริ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เช่น อียูที่เริ่มมาตรการเก็บภาษีผู้ใช้ถุงพลาสติก รณรงค์ให้มีการรีไซเคิล และการใช้ไบโอพลาสติกที่มี
คุณสมบัติย่อยสลายเร็ว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในไตรมาสที่3 ของปี 2549 พบว่าดุลการค้าของประเทศไทยมีการขาดดุลสำหรับภาคอุตสาหกรรมนี้อยู่ประมาณ 60.6 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หรือประมาณ 2,282 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยมีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง (อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 37.66บาท/$ คำนวณจากอัตราเฉลี่ย
ประจำเดือน ก.ค.—ก.ย.49)
ยอดขายในประเทศของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 ลดลงเนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลงและมีการชะลอการบริโภค ทั้งนี้
ปัจจัยที่ทำให้ค่าใช้จ่ายแพงขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และความไม่มั่นใจต่อภาวะการเมืองของไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งภาค
อุตสาหกรรมพลาสติกส่วนใหญ่จึงต้องชะลอการลงทุนเพื่อประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
การส่งออกของภาคอุตสาหกรรมนับว่าได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและทำให้ความได้
เปรียบด้านการแข่งขันของไทยลดลง ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุด นอกจากนี้ปัจจัย
วัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรมพลาสติกได้แก่ปิโตรเคมีที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ราคาน้ำมันดิบได้ปรับสูงขึ้นมาก ประกอบกับจีนและเวียดนามมี
ความต้องการเม็ดพลาสติกค่อนข้างมากทำให้ผู้ประกอบการของไทยประสบปัญหาด้านต้นทุนที่ต้องมีการใช้เม็ดพลาสติกราคาสูง
ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังคงประสบปัญหาสินค้าราคาถูกจากจีนและเวียดนามเข้ามาตีตลาดจำนวนมากเนื่องจากภาษีนำเข้าที่มีอัตรา
ต่ำเพียงร้อยละ 5 ซี่งเกิดจากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-จีน และข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 519.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.66 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
และ กลุ่มประเทศในอาเซียน ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก
ของไทยสำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 146.2ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.26 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก
139.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.75 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ12.58 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกถุงและกระสอบพลาสติกมีอัตราการขยายตัวที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เกิดจากปัญหาการตอบ
โต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping) เช่น สหรัฐได้ตัดจีเอสพี(สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร)ของไทยในสินค้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกหมวด 392321.00
ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 49 เป็นต้นมา หรือกรณีที่อียูได้ปรับขึ้นภาษีขาเข้า AD ถุงพลาสติกจากจีนเป็นร้อยละ 28.8 และไทยที่ร้อยละ14.3
Q3/ Q3/
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 2549 เทียบกับQ2/ 2549 เทียบกับQ3/
2549 (ร้อยละ) 2548 (ร้อยละ)
2547 2548 Q2/2548 Q3/2548 Q2/2549 Q3/2549
ถุงและกระสอบพลาสติก 372.9 518.8 117 159 129 139 7.75 -12.58
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 466.1 536.7 129.9 146 136.3 146.2 7.26 0.14
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 25.8 22.6 6.4 6.2 4.2 4.6 9.52 -25.81
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 26.3 30.9 8.3 6.8 7.2 8.3 15.28 22.06
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 21.8 22.6 5.5 6.3 4.6 5 8.7 -20.63
หลอดและท่อพลาสติก 32.7 41.5 9.9 10.1 13.5 13.8 2.22 36.63
พลาสติกปูพื้นและผนัง 40.1 50.6 11.7 15 11.8 17.4 47.46 16
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 68.9 84 21.8 22.3 24.7 24.8 0.4 11.21
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 493.2 551.1 140.9 142.6 146.6 160.2 9.28 12.34
รวมทั้งสิ้น 1,547.80 1,858.80 451.4 514.3 477.9 519.3 8.66 0.97
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 579.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.69 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา เยอรมนี
และกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าลดลงร้อยละ 2.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการ
นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.79 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.45 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 23.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
Q3/ Q3/
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 2549 เทียบกับQ2/ 2549 เทียบกับQ3/
2549 (ร้อยละ) 2548 (ร้อยละ)
2547 2548 Q2/2548 Q3/2548 Q2/2549 Q3/2549
หลอดและท่อพลาสติก 79.3 79.7 20.1 18.7 21.3 23.1 8.45 23.53
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 658.7 742.4 187.3 190.2 197.3 191.7 -2.84 0.79
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,127.50 1,224.00 297 310.1 335.3 365.1 8.89 17.74
รวมทั้งสิ้น 1,865.50 2,046.10 510.7 519 553.9 579.9 4.69 11.73
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้ม
จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบทั้งห่วงโซ่อุป
ทาน และเป็นที่คาดว่าราคาเม็ดพลาสติกจะไม่ลดลงจนถึงปลายปี ทำให้ผู้ประกอบการต้องพยายามลดต้นทุนในการผลิตรวมทั้งระมัดระวังการสต๊อกวัตถุดิบ
ที่มีราคาผันผวน นอกจากนี้การเปิดเขตเสรีทางการค้ายังส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้น โดยในการส่งออกยังคงมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบสูง
ต่อยอดการส่งออก เช่น มาตรการ Anti-Dumping หรือ การตัดสิทธิ์จีเอสพี
ค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมานับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยสูญเสียความได้เปรียบด้านการแข่งขันเมื่อ
เปรียบเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน
ปัจจัยภายนอก เช่น ราคาน้ำมัน ค่าระวาง และค่าเงินบาทที่แข็งตัวยังคงส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง จึงควรมี
การนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
การผลิตไบโอพลาสติกนับเป็นอีกธุรกิจทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและควรให้การสนับสนุนเพราะสามารถตอบสนองอุปสงค์ในตลาดต่างประเทศ
ที่ได้เริ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เช่น อียูที่เริ่มมาตรการเก็บภาษีผู้ใช้ถุงพลาสติก รณรงค์ให้มีการรีไซเคิล และการใช้ไบโอพลาสติกที่มี
คุณสมบัติย่อยสลายเร็ว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-