ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ส่งเสริมให้มีการใช้จ่ายและชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในงาน
สัมมนาแผนกลยุทธ์ระบบชำระเงินปี 2553 ว่า ระบบชำระเงินในปัจจุบันต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากแบบอนุรักษ์นิยมหรือยังยึดติดกับการใช้เงินสด
และเช็คที่มีต้นทุนสูงมาใช้ทางเลือกอื่น หรือการชำระแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต้นทุนต่ำกว่า โดยแนวทางที่ ธปท. ต้องเร่งดำเนินการคือลดการ
ใช้เงินสดและพยายามส่งเสริมให้มีการใช้จ่ายและชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
มากขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ เพราะตอนนี้ไทยมีการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 10.9 ครั้งต่อคน อยู่ในลำดับที่ 10 ขณะที่ฟินแลนด์มี
349.7 ครั้งต่อคน ด้าน นายฉิม ตันติยาสวัสดิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายระบบข้อสนเทศ ธปท. กล่าวว่า ปริมาณการใช้เงินสดของไทยยังสูงมาก
ถึงร้อยละ 11.3 ของจีดีพี สูงกว่ามาเลเซียที่มีการใช้เงินสดเพียงร้อยละ 6.4 ของจีดีพี สิงคโปร์ร้อยละ 8.4 ของจีดีพี ทำให้มีผลเสียคือ
มีต้นทุนสูง ทั้งค่ากระดาษและค่าขนส่ง จึงต้องพยายามปรับลดค่าใช้จ่ายเงินสดลงเพื่อจูงใจให้ประชาชนมาใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
สำหรับปัญหาในขณะนี้คือค่าบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีค่าธรรมเนียมสูงจนไม่สามารถแข่งขันกับบริการอื่นได้ แม้ว่าประชาชนเริ่มลด
การใช้เงินสดลงบ้างแล้วแต่ยังไม่พอ ดังนั้น ในระยะต่อไป ธปท. จะเข้าไปพิจารณาโครงสร้างค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมและสะท้อนต้นทุนการ
ให้บริการที่แท้จริงมากขึ้น เพื่อดึงให้ประชาชนหันมาชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ส่วนเรื่องผู้ใช้บริการยังมีความไม่เท่าเทียมระหว่างค
นในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยคนในเมืองนิยมชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ แต่คนต่างจังหวัดไม่นิยมเพราะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอัตราสูง
ซึ่งจุดนี้ต้องปรับปรุงและส่งเสริมให้คนทั่วประเทศใช้การชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งการชำระผ่านอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์
เคลื่อนที่ เอทีเอ็ม เพื่อให้คนต่างจังหวัดหันมาใช้มากขึ้น ซึ่ง ธปท. จะเร่งผลักดันร่างกฎหมาย พรบ.ว่าด้วยการกำกับธุรกิจการชำระเงินทาง
อิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการดำเนินการเหล่านี้อีกทางหนึ่ง (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท. กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท. ร้อยละ 4.25 — 5.00 น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาด
การเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท. ประเภทออมทรัพย์ ครั้งที่ 1 ปี 50 วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ที่จะ
ออกขายให้กับประชาชนทั่วไป โดยพันธบัตรอายุ 4 ปี ให้ดอกเบี้ยร้อยละ 4.25 และอายุ 7 ปี ให้ดอกเบี้ยร้อยละ 5 วงเงินซื้อขั้นต่ำ
5 หมื่นบาทต่อราย ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 5 ก.ย.54 และ 5 ก.ย.57 (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังถอนร่างกฎหมายหักลดหย่อนภาษีเพิ่มจาก 6 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษก
ประจำสำนัก นรม. แถลงภายหลังการประชุม ครม. เมื่อวานนี้ว่า ที่ประชุม ครม. อนุมัติตามที่ ก.คลังเสนอให้ถอนร่างกฎหมายของ
ก.สรรพากรตามแผนพัฒนากฎหมายประจำปี 48 และ 49 รวม 15 ฉบับ ออกจากขั้นตอนการพิจารณาของ สนง.กฤษฎีกา เนื่องจากเห็นว่า
ร่างกฎหมายทั้ง 15 ฉบับ ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ทำให้การจัดเก็บภาษี
ทำได้ยาก และในร่างกฎหมาย 15 ฉบับ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีที่ให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น ร่าง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่...) พ.ศ....เกี่ยวกับการปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) ที่เดิมระบุว่าให้หักค่าใช้จ่ายเหมา
รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 6 หมื่นบาท เพิ่มเป็นร้อยละ 60 แต่รวมกันไม่เกิน 1 แสนบาท จะทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้นับ
หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าร่างกฎหมายทั้ง 15 ฉบับ เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดก่อน ไม่ใช่นโยบายปัจจุบัน ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็น
เร่งด่วนที่จะต้องนำมาพิจารณา ประกอบกับสถานการณ์ของประเทศเปลี่ยนแปลงไปแล้ว หากจะนำมาใช้จริงก็ควรจะนำกลับมาปรับปรุงใน
รายละเอียดใหม่ นอกจากนี้ ควรรอผลการศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีใหม่จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อน(มติชน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ยอดส่งออกเดือน ก.ค.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 29 ปี นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงภาวะการค้า
ระหว่างประเทศของไทยว่า ในเดือน ก.ค.50 ไทยมีมูลค่าการส่งออก 11,801.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 จากเดือน
เดียวกันของปีก่อน แต่ต่ำสุดในรอบ 29 ปี ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำผิดปกติเพราะเดือนก่อนหน้าขยายตัวเกินร้อยละ 10 ทุกเดือน จึงได้สั่งให้
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์อย่างละเอียดเบื้องต้นคาดว่าเป็นผลจากเศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัว เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง ทำให้ตลาด สรอ.
นำเข้าสินค้าไทยลดลงร้อยละ 13.6 รวมถึงเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องทำให้ศักยภาพการแข่งขันของสินค้าบางประเภทลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการ
บางส่วนไม่มีแรงจูงใจในการส่งออก ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 11,599.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล
211 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนในช่วง 7 เดือนแรก (ม.ค. — ก.ค.) ของปีนี้มีมูลค่าการส่งออก 83,409.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 16.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 77,693.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เป็นเพราะค่าเงินบาท
แข็งค่าขึ้นราคาสินค้านำเข้าจึงถูกลง สำหรับสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 45.4 จากร้อยละ 43 ส่วนตลาดหลักลดลง
เหลือร้อยละ 54.6 จากร้อยละ 57 และในอนาคตอาจจะอยู่ที่ร้อยละ 50 ต่อ 50 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าไทยลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก
และเพิ่มการส่งออกไปตลาดใหม่มากขึ้น ส่งผลให้ช่วง 7 เดือนของปีนี้เกินดุลการค้า 5,716.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนที่ขาดดุลการค้า 2,385.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน มิ.ย.50 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมีจำนวน 5.3 พันล้านยูโรรายงาน
จากบรัสเซลส์ เมื่อ 21 ส.ค.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดเกินดุลการค้าของ 13 ประเทศที่ใช้เงินยูโร
เป็นเงินสกุลหลักหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมีจำนวน 5.3 พันล้านยูโรในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นจาก 3.9 พันล้านยูโรในเดือน พ.ค.50
จากยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีซึ่ง
มีจำนวนถึง 7.3 พันล้านยูโร ทั้งนี้โดยรวมแล้ว Euro zone มียอดเกินดุลการค้าสินค้าโรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 98.2 พันล้านยูโรในช่วงเดือน
ม.ค.- พ.ค.50 เทียบกับจำนวน 88.8 พันล้านยูโรในช่วงเวลาเดียวกันของปี 49 ในขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน Euro zone ขาดดุลการค้า
พลังงานลดลงเหลือ 89 พันล้านยูโร เทียบกับจำนวน 105.3 พันล้านยูโรในช่วงเวลาเดียวกันของปี 49 โดยประเทศที่ Euro zone มียอด
เกินดุลการค้าสูงสุดคือ สรอ.โดยมีจำนวนถึง 24.6 พันล้านยูโรในช่วงเดือน ม.ค.- พ.ค.50 ลดลงร้อยละ 2 จากจำนวน 28.4 พันล้านยูโร
ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 49 ในขณะที่ยอดขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 10.2 พันล้านยูโรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากช่วงเวลาเดียวกันของ
ปี 49 ซึ่งมีจำนวน 9.6 พันล้านยูโร (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ก.ค.50 ลดลงถึงร้อยละ 21.1 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 22 ส.ค.50 ก.คลังญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.50 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงอยู่ที่จำนวน 671.2 พัน ล.เยน (5.84 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือคิดเป็นร้อยละ 21.1
เทียบต่อปี นับเป็นการลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่จำนวน 764.9 พัน ล.เยน หรือลดลงร้อยละ 10.1 ขณะที่
เมื่อเทียบต่อเดือนญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ที่จำนวน 822.6 พัน ล.เยน โดยสาเหตุสำคัญ
ที่ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ก.ค.ลดลงเมื่อเทียบต่อปี เนื่องจากญี่ปุ่นส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 11.7 ที่จำนวน 7.0627 ล้านล้านเยน ขณะที่
การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.9 ที่จำนวน 6.3915 ล้านล้านเยน เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 และ
นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 ทั้งนี้ ในเดือน ก.ค.ญี่ปุ่นส่งออกไปยัง สรอ.จำนวน 1.442 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ขณะที่ส่งออก
ไปยังจีนจำนวน 1.1018 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางจีนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่ ธพ. เป็นครั้งที่ 4 ในปีนี้ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 50
ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า เพื่อเป็นการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายและป้องกันการขยายตัวอย่างร้อนแรงของภาวะเศรษฐกิจจีน รวมทั้ง
เพื่อควบคุมการขยายตัวของสินเชื่อในระบบการเงิน จึงได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่ ธพ. อีกร้อยละ 0.18 และร้อยละ 0.27
ตามลำดับ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคมเป็นต้นไป ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะเวลา 1 ปีอยู่ที่ร้อยละ 7.02 ส่วนอัตราดอกเบี้ย
เงินฝากระยะเวลา 1 ปีอยู่ที่ร้อยละ 3.60 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค. ของจีนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.6 เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็วที่สุดในรอบทศวรรษนับตั้งแต่ปี 40 เนื่องจากต้นทุนเนื้อสุกร ไข่ และอาหารประเภทอื่นๆ สูงขึ้น อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์
ส่วนใหญ่คาดว่าการที่ ธ.กลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้เศรษฐกิจลดความร้อนแรงลงแล้วยังสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
ได้ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการออมแทนการเพิ่มการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ทั้งนี้ ธ.กลางจีนมีความวิตกเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ที่แท้จริงลดลงซึ่งจะทำให้เงินฝากลดลงและไหลไปสู่ตลาดหุ้น ซึ่งไม่คิดว่าจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่นักวิเคราะห์ให้
ความเห็นว่าการที่ ธ.กลางจีนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้น้อยกว่าเงินฝากแม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
ร้อยละ 11.9 ทำให้เห็นว่าธ.กลางจีนให้ความสำคัญกับการควบคุมภาวะเงินเฟ้อมากกว่าการขยายตัวของการลงทุน (รอยเตอร์)
4. สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเกาหลีใต้ปรับลดจีดีพีครึ่งหลังปี 50 ลงอยู่ที่ร้อยละ 4.3 รายงานจากโซล เมื่อ 22 ส.ค.50 สถาบัน
วิจัยทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า จากสภาวะการชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัยและตลาดสินเชื่อของ สรอ.ที่ประสบอยู่ในขณะนี้ จะ
ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าส่งออกทั่วโลก ทำให้สถาบันฯ ประกาศปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
ของเกาหลีใต้ในครึ่งหลังปี 50 ลงอยู่ที่ร้อยละ 4.3 จากที่ประมาณการในเดือน พ.ค.50 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 สวนทางกับที่ผู้กำหนด
นโยบายการเงินของประเทศเกาหลีใต้ที่มีความเห็นว่า ปัญหาเกี่ยวกับตลาดสินเชื่อของ สรอ.ไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจ
ของเกาหลีใต้ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังคงแข็งแกร่งกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ขณะที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ประมาณการ
จีดีพีในช่วงครึ่งหลังปีนี้ว่าจะยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 ส่วน ก.คลังคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 อนึ่ง สถาบันฯ ยังคงยืนยันประมาณการเติบโต
ทางเศรษฐกิจสำหรับทั้งปี 50 ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.4 เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วในครึ่งแรกของปี 50 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5
เมื่อเทียบต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ส.ค. 50 21 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.451 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.2158/34.5448 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 764.40/20.49 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.54 67.00 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ส่งเสริมให้มีการใช้จ่ายและชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในงาน
สัมมนาแผนกลยุทธ์ระบบชำระเงินปี 2553 ว่า ระบบชำระเงินในปัจจุบันต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากแบบอนุรักษ์นิยมหรือยังยึดติดกับการใช้เงินสด
และเช็คที่มีต้นทุนสูงมาใช้ทางเลือกอื่น หรือการชำระแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต้นทุนต่ำกว่า โดยแนวทางที่ ธปท. ต้องเร่งดำเนินการคือลดการ
ใช้เงินสดและพยายามส่งเสริมให้มีการใช้จ่ายและชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
มากขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ เพราะตอนนี้ไทยมีการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 10.9 ครั้งต่อคน อยู่ในลำดับที่ 10 ขณะที่ฟินแลนด์มี
349.7 ครั้งต่อคน ด้าน นายฉิม ตันติยาสวัสดิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายระบบข้อสนเทศ ธปท. กล่าวว่า ปริมาณการใช้เงินสดของไทยยังสูงมาก
ถึงร้อยละ 11.3 ของจีดีพี สูงกว่ามาเลเซียที่มีการใช้เงินสดเพียงร้อยละ 6.4 ของจีดีพี สิงคโปร์ร้อยละ 8.4 ของจีดีพี ทำให้มีผลเสียคือ
มีต้นทุนสูง ทั้งค่ากระดาษและค่าขนส่ง จึงต้องพยายามปรับลดค่าใช้จ่ายเงินสดลงเพื่อจูงใจให้ประชาชนมาใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
สำหรับปัญหาในขณะนี้คือค่าบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีค่าธรรมเนียมสูงจนไม่สามารถแข่งขันกับบริการอื่นได้ แม้ว่าประชาชนเริ่มลด
การใช้เงินสดลงบ้างแล้วแต่ยังไม่พอ ดังนั้น ในระยะต่อไป ธปท. จะเข้าไปพิจารณาโครงสร้างค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมและสะท้อนต้นทุนการ
ให้บริการที่แท้จริงมากขึ้น เพื่อดึงให้ประชาชนหันมาชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ส่วนเรื่องผู้ใช้บริการยังมีความไม่เท่าเทียมระหว่างค
นในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยคนในเมืองนิยมชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ แต่คนต่างจังหวัดไม่นิยมเพราะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอัตราสูง
ซึ่งจุดนี้ต้องปรับปรุงและส่งเสริมให้คนทั่วประเทศใช้การชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งการชำระผ่านอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์
เคลื่อนที่ เอทีเอ็ม เพื่อให้คนต่างจังหวัดหันมาใช้มากขึ้น ซึ่ง ธปท. จะเร่งผลักดันร่างกฎหมาย พรบ.ว่าด้วยการกำกับธุรกิจการชำระเงินทาง
อิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการดำเนินการเหล่านี้อีกทางหนึ่ง (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท. กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท. ร้อยละ 4.25 — 5.00 น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาด
การเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท. ประเภทออมทรัพย์ ครั้งที่ 1 ปี 50 วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ที่จะ
ออกขายให้กับประชาชนทั่วไป โดยพันธบัตรอายุ 4 ปี ให้ดอกเบี้ยร้อยละ 4.25 และอายุ 7 ปี ให้ดอกเบี้ยร้อยละ 5 วงเงินซื้อขั้นต่ำ
5 หมื่นบาทต่อราย ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 5 ก.ย.54 และ 5 ก.ย.57 (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังถอนร่างกฎหมายหักลดหย่อนภาษีเพิ่มจาก 6 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษก
ประจำสำนัก นรม. แถลงภายหลังการประชุม ครม. เมื่อวานนี้ว่า ที่ประชุม ครม. อนุมัติตามที่ ก.คลังเสนอให้ถอนร่างกฎหมายของ
ก.สรรพากรตามแผนพัฒนากฎหมายประจำปี 48 และ 49 รวม 15 ฉบับ ออกจากขั้นตอนการพิจารณาของ สนง.กฤษฎีกา เนื่องจากเห็นว่า
ร่างกฎหมายทั้ง 15 ฉบับ ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ทำให้การจัดเก็บภาษี
ทำได้ยาก และในร่างกฎหมาย 15 ฉบับ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีที่ให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น ร่าง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่...) พ.ศ....เกี่ยวกับการปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) ที่เดิมระบุว่าให้หักค่าใช้จ่ายเหมา
รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 6 หมื่นบาท เพิ่มเป็นร้อยละ 60 แต่รวมกันไม่เกิน 1 แสนบาท จะทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้นับ
หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าร่างกฎหมายทั้ง 15 ฉบับ เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดก่อน ไม่ใช่นโยบายปัจจุบัน ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็น
เร่งด่วนที่จะต้องนำมาพิจารณา ประกอบกับสถานการณ์ของประเทศเปลี่ยนแปลงไปแล้ว หากจะนำมาใช้จริงก็ควรจะนำกลับมาปรับปรุงใน
รายละเอียดใหม่ นอกจากนี้ ควรรอผลการศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีใหม่จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อน(มติชน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ยอดส่งออกเดือน ก.ค.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 29 ปี นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงภาวะการค้า
ระหว่างประเทศของไทยว่า ในเดือน ก.ค.50 ไทยมีมูลค่าการส่งออก 11,801.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 จากเดือน
เดียวกันของปีก่อน แต่ต่ำสุดในรอบ 29 ปี ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำผิดปกติเพราะเดือนก่อนหน้าขยายตัวเกินร้อยละ 10 ทุกเดือน จึงได้สั่งให้
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์อย่างละเอียดเบื้องต้นคาดว่าเป็นผลจากเศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัว เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง ทำให้ตลาด สรอ.
นำเข้าสินค้าไทยลดลงร้อยละ 13.6 รวมถึงเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องทำให้ศักยภาพการแข่งขันของสินค้าบางประเภทลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการ
บางส่วนไม่มีแรงจูงใจในการส่งออก ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 11,599.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล
211 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนในช่วง 7 เดือนแรก (ม.ค. — ก.ค.) ของปีนี้มีมูลค่าการส่งออก 83,409.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 16.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 77,693.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เป็นเพราะค่าเงินบาท
แข็งค่าขึ้นราคาสินค้านำเข้าจึงถูกลง สำหรับสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 45.4 จากร้อยละ 43 ส่วนตลาดหลักลดลง
เหลือร้อยละ 54.6 จากร้อยละ 57 และในอนาคตอาจจะอยู่ที่ร้อยละ 50 ต่อ 50 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าไทยลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก
และเพิ่มการส่งออกไปตลาดใหม่มากขึ้น ส่งผลให้ช่วง 7 เดือนของปีนี้เกินดุลการค้า 5,716.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนที่ขาดดุลการค้า 2,385.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน มิ.ย.50 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมีจำนวน 5.3 พันล้านยูโรรายงาน
จากบรัสเซลส์ เมื่อ 21 ส.ค.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดเกินดุลการค้าของ 13 ประเทศที่ใช้เงินยูโร
เป็นเงินสกุลหลักหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมีจำนวน 5.3 พันล้านยูโรในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นจาก 3.9 พันล้านยูโรในเดือน พ.ค.50
จากยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีซึ่ง
มีจำนวนถึง 7.3 พันล้านยูโร ทั้งนี้โดยรวมแล้ว Euro zone มียอดเกินดุลการค้าสินค้าโรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 98.2 พันล้านยูโรในช่วงเดือน
ม.ค.- พ.ค.50 เทียบกับจำนวน 88.8 พันล้านยูโรในช่วงเวลาเดียวกันของปี 49 ในขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน Euro zone ขาดดุลการค้า
พลังงานลดลงเหลือ 89 พันล้านยูโร เทียบกับจำนวน 105.3 พันล้านยูโรในช่วงเวลาเดียวกันของปี 49 โดยประเทศที่ Euro zone มียอด
เกินดุลการค้าสูงสุดคือ สรอ.โดยมีจำนวนถึง 24.6 พันล้านยูโรในช่วงเดือน ม.ค.- พ.ค.50 ลดลงร้อยละ 2 จากจำนวน 28.4 พันล้านยูโร
ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 49 ในขณะที่ยอดขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 10.2 พันล้านยูโรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากช่วงเวลาเดียวกันของ
ปี 49 ซึ่งมีจำนวน 9.6 พันล้านยูโร (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ก.ค.50 ลดลงถึงร้อยละ 21.1 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 22 ส.ค.50 ก.คลังญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.50 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงอยู่ที่จำนวน 671.2 พัน ล.เยน (5.84 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือคิดเป็นร้อยละ 21.1
เทียบต่อปี นับเป็นการลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่จำนวน 764.9 พัน ล.เยน หรือลดลงร้อยละ 10.1 ขณะที่
เมื่อเทียบต่อเดือนญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ที่จำนวน 822.6 พัน ล.เยน โดยสาเหตุสำคัญ
ที่ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ก.ค.ลดลงเมื่อเทียบต่อปี เนื่องจากญี่ปุ่นส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 11.7 ที่จำนวน 7.0627 ล้านล้านเยน ขณะที่
การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.9 ที่จำนวน 6.3915 ล้านล้านเยน เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 และ
นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 ทั้งนี้ ในเดือน ก.ค.ญี่ปุ่นส่งออกไปยัง สรอ.จำนวน 1.442 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ขณะที่ส่งออก
ไปยังจีนจำนวน 1.1018 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางจีนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่ ธพ. เป็นครั้งที่ 4 ในปีนี้ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 50
ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า เพื่อเป็นการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายและป้องกันการขยายตัวอย่างร้อนแรงของภาวะเศรษฐกิจจีน รวมทั้ง
เพื่อควบคุมการขยายตัวของสินเชื่อในระบบการเงิน จึงได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่ ธพ. อีกร้อยละ 0.18 และร้อยละ 0.27
ตามลำดับ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคมเป็นต้นไป ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะเวลา 1 ปีอยู่ที่ร้อยละ 7.02 ส่วนอัตราดอกเบี้ย
เงินฝากระยะเวลา 1 ปีอยู่ที่ร้อยละ 3.60 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค. ของจีนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.6 เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็วที่สุดในรอบทศวรรษนับตั้งแต่ปี 40 เนื่องจากต้นทุนเนื้อสุกร ไข่ และอาหารประเภทอื่นๆ สูงขึ้น อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์
ส่วนใหญ่คาดว่าการที่ ธ.กลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้เศรษฐกิจลดความร้อนแรงลงแล้วยังสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
ได้ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการออมแทนการเพิ่มการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ทั้งนี้ ธ.กลางจีนมีความวิตกเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ที่แท้จริงลดลงซึ่งจะทำให้เงินฝากลดลงและไหลไปสู่ตลาดหุ้น ซึ่งไม่คิดว่าจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่นักวิเคราะห์ให้
ความเห็นว่าการที่ ธ.กลางจีนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้น้อยกว่าเงินฝากแม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
ร้อยละ 11.9 ทำให้เห็นว่าธ.กลางจีนให้ความสำคัญกับการควบคุมภาวะเงินเฟ้อมากกว่าการขยายตัวของการลงทุน (รอยเตอร์)
4. สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเกาหลีใต้ปรับลดจีดีพีครึ่งหลังปี 50 ลงอยู่ที่ร้อยละ 4.3 รายงานจากโซล เมื่อ 22 ส.ค.50 สถาบัน
วิจัยทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า จากสภาวะการชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัยและตลาดสินเชื่อของ สรอ.ที่ประสบอยู่ในขณะนี้ จะ
ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าส่งออกทั่วโลก ทำให้สถาบันฯ ประกาศปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
ของเกาหลีใต้ในครึ่งหลังปี 50 ลงอยู่ที่ร้อยละ 4.3 จากที่ประมาณการในเดือน พ.ค.50 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 สวนทางกับที่ผู้กำหนด
นโยบายการเงินของประเทศเกาหลีใต้ที่มีความเห็นว่า ปัญหาเกี่ยวกับตลาดสินเชื่อของ สรอ.ไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจ
ของเกาหลีใต้ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังคงแข็งแกร่งกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ขณะที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ประมาณการ
จีดีพีในช่วงครึ่งหลังปีนี้ว่าจะยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 ส่วน ก.คลังคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 อนึ่ง สถาบันฯ ยังคงยืนยันประมาณการเติบโต
ทางเศรษฐกิจสำหรับทั้งปี 50 ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.4 เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วในครึ่งแรกของปี 50 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5
เมื่อเทียบต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ส.ค. 50 21 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.451 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.2158/34.5448 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 764.40/20.49 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.54 67.00 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--