นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้มีการนำระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 มาใช้ทดแทนระบบฮาร์โมไนซ์ 2002 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าวเป็นเรื่องปกติที่ประเทศซึ่งเป็นสมาชิกขององค์การศุลกากรโลกทุกประเทศจะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงระบบฮาร์โมไนซ์ดังกล่าวเป็นประจำทุกๆ 4-5 ปี เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี และการค้าระหว่างประเทศ ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการทบทวนและปรับปรุงระบบฮาร์โมไนซ์ตามอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลกมาแล้วทั้งหมด 3 ครั้ง คือ เมื่อปี 2535 (1992) ปี 2539 (1996) และปี 2545 (2002) นอกจากนี้ ยังได้มีการนำระบบ e-Customs ซึ่งเป็นระบบทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร มาใช้แทนระบบการผ่านพิธีการศุลกากรแบบ EDI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานศุลกากรให้เป็น electronic อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการบริการเข้าสู่ระบบไร้เอกสาร (Paperless) รองรับเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐานทางการค้า และมาตรฐานศุลกากรโลก
สาระสำคัญของระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 และรายการสินค้าที่อยู่ในระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 ซึ่งมีความแตกต่างจากระบบฮาร์โมไนซ์ 2002 สรุปได้ ดังนี้
1. ระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 เป็นการใช้รหัสตัวเลข 8 หลักกับสินค้าที่มีการนำเข้าจากทุกประเทศ ในขณะที่ระบบฮาร์โมไนซ์ 2002 เดิม มีการใช้รหัสตัวเลข 2 ระบบ โดยแบ่งเป็นรหัสตัวเลข 6/7 หลัก ซึ่งจะใช้กับการนำเข้าจากประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกอาเซียน ในขณะที่รหัสตัวเลข 8 หลัก (รหัส AHTN) จะใช้กับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเท่านั้น ซึ่งตามระบบเดิมจะก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อผู้นำเข้าที่จะต้องสำแดงรหัสตัวเลขที่แตกต่างกันสำหรับการนำเข้าจากแต่ละประเทศ
2. ระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 มีการจำแนกรายละเอียดของสินค้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในการตีความเพื่อกำหนดประเภทพิกัดอัตราศุลกากร และอัตราอากรขาเข้าในการชำระภาษี โดยระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 จะมีจำนวนพิกัดอัตราศุลกากรทั้งสิ้น 8,301 ประเภทย่อย (ระบบฮาร์โมไนซ์ 2002 มีจำนวนพิกัดอัตราศุลกากร 5,505 ประเภทย่อย)
3. การนำระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 เพื่อมาใช้ทดแทนระบบฮาร์โมไนซ์ 2002 ในภาพรวมจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราอากรขาเข้าที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้าบางรายการ เนื่องจากมีการกำหนดจำนวนของประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้าเพิ่มมากขึ้น และมีการขยายขอบเขตของสินค้าในบางประเภทพิกัดเพื่อให้มีความทันสมัยเพิ่มมากขึ้น
สำหรับในส่วนของการนำระบบ e-Customs มาใช้ทดแทนระบบ EDI จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดทั้งทรัพยากรและเวลา ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ ทั้งนี้ กรมศุลกากรคาดว่าจะเริ่มให้บริการอย่างเต็มรูปแบบได้ภายในเดือนมกราคม 2550
ขั้นตอนของการใช้ระบบ e-Customs ผู้ประกอบการทุกบริษัท จะต้องมาลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารกับกรมศุลกากรก่อนวันที่ 1 มกราคม 2550 เพื่อรองรับระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของกรมศุลกากร
ระบบ e-Customs จะช่วยลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรต่างๆ ให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะขั้นตอนในส่วนที่ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยใช้การส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบขนสินค้า ข้อมูลบัญชีสินค้า ผ่านทางระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร อย่างไรก็ตาม โครงการ e-Customs
จะประสบผลสำเร็จก็ต้องได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนในการส่งผ่านข้อมูลต่างๆ
คุณวราทิพย์ อากาหยี่
ผู้อำนวยการส่วนนโยบายภาษีศุลกากร
สำนักนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3522
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 7/2550 31 มกราคม 50--
สาระสำคัญของระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 และรายการสินค้าที่อยู่ในระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 ซึ่งมีความแตกต่างจากระบบฮาร์โมไนซ์ 2002 สรุปได้ ดังนี้
1. ระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 เป็นการใช้รหัสตัวเลข 8 หลักกับสินค้าที่มีการนำเข้าจากทุกประเทศ ในขณะที่ระบบฮาร์โมไนซ์ 2002 เดิม มีการใช้รหัสตัวเลข 2 ระบบ โดยแบ่งเป็นรหัสตัวเลข 6/7 หลัก ซึ่งจะใช้กับการนำเข้าจากประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกอาเซียน ในขณะที่รหัสตัวเลข 8 หลัก (รหัส AHTN) จะใช้กับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเท่านั้น ซึ่งตามระบบเดิมจะก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อผู้นำเข้าที่จะต้องสำแดงรหัสตัวเลขที่แตกต่างกันสำหรับการนำเข้าจากแต่ละประเทศ
2. ระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 มีการจำแนกรายละเอียดของสินค้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในการตีความเพื่อกำหนดประเภทพิกัดอัตราศุลกากร และอัตราอากรขาเข้าในการชำระภาษี โดยระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 จะมีจำนวนพิกัดอัตราศุลกากรทั้งสิ้น 8,301 ประเภทย่อย (ระบบฮาร์โมไนซ์ 2002 มีจำนวนพิกัดอัตราศุลกากร 5,505 ประเภทย่อย)
3. การนำระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 เพื่อมาใช้ทดแทนระบบฮาร์โมไนซ์ 2002 ในภาพรวมจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราอากรขาเข้าที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้าบางรายการ เนื่องจากมีการกำหนดจำนวนของประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้าเพิ่มมากขึ้น และมีการขยายขอบเขตของสินค้าในบางประเภทพิกัดเพื่อให้มีความทันสมัยเพิ่มมากขึ้น
สำหรับในส่วนของการนำระบบ e-Customs มาใช้ทดแทนระบบ EDI จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดทั้งทรัพยากรและเวลา ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ ทั้งนี้ กรมศุลกากรคาดว่าจะเริ่มให้บริการอย่างเต็มรูปแบบได้ภายในเดือนมกราคม 2550
ขั้นตอนของการใช้ระบบ e-Customs ผู้ประกอบการทุกบริษัท จะต้องมาลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารกับกรมศุลกากรก่อนวันที่ 1 มกราคม 2550 เพื่อรองรับระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารของกรมศุลกากร
ระบบ e-Customs จะช่วยลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรต่างๆ ให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะขั้นตอนในส่วนที่ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยใช้การส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบขนสินค้า ข้อมูลบัญชีสินค้า ผ่านทางระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร อย่างไรก็ตาม โครงการ e-Customs
จะประสบผลสำเร็จก็ต้องได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนในการส่งผ่านข้อมูลต่างๆ
คุณวราทิพย์ อากาหยี่
ผู้อำนวยการส่วนนโยบายภาษีศุลกากร
สำนักนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3522
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 7/2550 31 มกราคม 50--