รัฐธรรมนูญจะผ่านต้องด้วยความเข้าใจในสาระ
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
5 กรกฎาคม 2550
บทความนี้เขียนในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา เพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคิดว่าอย่างไรเสียก็คงจะพิจารณาให้ความเห็นชอบในที่สุด
ที่ผมคิดว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญ คงจะพิจารณาให้ความเห็นชอบก็เพราะว่า ในชั้นพิจารณาของสภาร่างรัฐธรรมนูญหลายวันหลายคืนที่ผ่านมานั้น จะมีอยู่สองส่วน ส่วนหนึ่งก็คือพิจารณาให้ความเห็นชอบในบทมาตราต่าง ๆ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างเสนอมาโดยไม่มีการขอแก้ไข กับอีกส่วนหนึ่งก็คือบทมาตราที่สมาชิกฯ ขอแก้ไข ที่เรียกว่าขอแปรญัตติ ซึ่งในที่สุดก็จะมีที่ตกลงกันได้ คือมีการแก้ไขปรับปรุงบ้างตามที่ตกลงกัน และที่ตกลงกันไม่ได้ก็ใช้วิธีลงคะแนนตัดสินกันโดยเสียงข้างมากในสภาฯ ว่าควรจะมีการแก้ไขหรือไม่อย่างไร ซึ่งก็มีทั้งที่แก้ไขได้และไม่ได้ ตามเสียงข้างมาก เพราะฉะนั้นเมื่อทุกบทมาตรา ต่างก็เป็นไปตามความเห็นของเสียงข้างมากด้วยกันทั้งสิ้นจึงไม่มีเหตุที่เสียงข้างมากของสภาร่างรัฐธรรมนูญจะไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
ที่จะเป็นปัญหายุ่งยากแน่นอนก็คือในขั้นตอนของการออกเสียงประชามติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่จะมีการดำเนินการต่อไป ซึ่งขณะนี้ก็พอมองเห็นเค้าลางแห่งปัญหาอยู่บ้างแล้ว
ความจริงเค้าลางแห่งปัญหายุ่งยากนี้ก็ปรากฎให้เห็นมาตั้งแต่ตอนเริ่มต้นจัดทำร่างรัฐธรรมนูญกันอยู่แล้วคือมีคนบางกลุ่มได้ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เพราะมีที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหารอันเป็นเผด็จการ และพร้อม ๆ กันนั้นก็ได้มีความพยายามในการรณรงค์ให้มีการขยายแนวความคิดดังกล่าวนี้ให้แพร่หลายขยายออกไปอีกด้วย ซึ่งขณะนี้ก็ยังรณรงค์กันอยู่แต่ก็ดูยังไม่ค่อยจะได้ผลมากมายนัก เพราะเท่าที่ฟังดูยังไม่ค่อยมีใครคิดว่าประเด็นนี้จะมีผลกระทบถึงกับทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ผ่านการออกเสียงประชามติ
แต่ที่เป็นประเด็นที่ชวนให้ต้องคิดกันมากตามสมควร ว่าอาจมีผลกระทบได้ก็คือเมื่อกลุ่มนักการเมืองพรรคไทยรักไทยแต่เดิมกว่า 200 คนประชุมกันเมื่อวันสองวันที่ผ่านมา แล้วมีมติร่วมกันว่าจะไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ และจะรณรงค์ให้ประชาชนออกเสียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย ซึ่งความจริงก็เป็นเรื่องที่พอจะคาดหมายได้อยู่แล้วว่ากลุ่มพรรคไทยรักไทยเดิม คงจะต้องดำเนินการทางการเมืองในแนวทางเช่นนี้
เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณบอกเหตุให้เห็นถึงความสับสนวุ่นวายที่จะเกิดมีขึ้นในช่วงเวลาระหว่างการจัดทำประชามติ ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ก็ควรจะได้เข้าใจกันว่า เป็นเรื่องปรกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตยและหากจะมองในอีกด้านหนึ่งก็อาจเป็นเรื่องดีที่จะมีแรงกระตุ้นให้เกิดความสนใจในรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้นทั้งยังจะก่อให้เกิดความเข้าใจในรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะเหตุที่ได้รับฟังเหตุผลในการโต้แย้งระหว่างกัน ทั้งของฝ่ายที่จะรับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นนี้กระบวนการขับเคลื่อนของฝ่ายไม่รับร่างรัฐธรรมนูญอาจจะดูมีพลัง ก่อให้เกิดความหวั่นไหว ต่อรัฐบาลและคมช. ได้มากพอสมควรแต่เมื่อหันมาดูบรรยากาศแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการรับฟังความเห็นของบุคคลในวงการต่าง ๆ โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ผมคิดว่า ดูจะมีความเอื้ออำนวยให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านการจัดทำประชามติไปได้มากกว่า กล่าวคือว่า
ประการแรก ข้อกล่าวอ้างของฝ่ายไม่รับร่างรัฐธรรมนูญถูกหักล้างจากฝ่ายที่เห็นควรรับร่างรัฐธรรมนูญได้ เช่น เมื่อกล่าวอ้างว่า ไม่อาจรับได้เพราะร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรัฐประหารของ คมช. ก็จะถูกอีกฝ่ายหักล้างว่า ยิ่งไม่รับก็จะยิ่งมีผลเท่ากับรับรองอำนาจของ คมช. มากกว่าเสียอีก เพราะคมช. กับครม. จะมีอำนาจพิจารณาเลือกเอารัฐธรรมนูญที่เคยประกาศใช้มาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงและดำเนินการประกาศใช้แทนต่อไป เพราะฉะนั้นจึงเห็นว่า อย่างไรเสียร่างฉบับของสภาร่างฯ ซึ่งในการจัดทำยังมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอยู่บ้างจึงน่าจะดีกว่า
หรือแม้แต่การกล่าวอ้างให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาใช้แทน ก็ดูจะถูกหักล้างว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ก็มีต้นร่างมาจากฉบับปี 2540 ซึ่งจะเรียกว่าเป็นฉบับปี 2540 ที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงแล้วเหล่านี้เป็นต้น
ประการที่สอง มติคว่ำรัฐธรรมนูญจากที่ประชุมกลุ่ม ส.ส.พรรคไทยรักไทยเดิม ภายใต้การนำของแกนนำซึ่งมีความแนบแน่นเป็นพิเศษกับอดีตนายกฯ ทักษิณ น่าจะทำให้น้ำหนักของเหตุผลในการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญลดลง เพราะประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป มีความรู้สึกว่านี่เป็นเรื่องของสงครามตัวแทน เพราะเป็นคู่กรณีกันอยู่ซึ่งน้ำหนักในการต่อสู้จะแตกต่างกัน กับกรณีที่เป็นการต่อสู้ของ กลุ่มบุคคลที่ต่อต้านด้วยแนวความคิดที่เป็นอิสระหรือแม้แต่จะเป็นการต่อสู้โดยกลุ่มไทยรักไทยเดิมบางส่วนที่ประสงค์จะสลัดภาพการครอบงำของอดีตนายกฯ ทักษิณให้หลุดพ้นไปเสียจากตน
ประการที่สามประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป ต่างมีความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ชัดว่า การชุมนุมของกลุ่ม นปก. ที่อ้างว่าต่อต้าน คมช. ก็ลดจำนวนลงทุกทีจนต้องเปลี่ยนยุทธวิธีไปชุมนุมต่างจังหวัด และที่ชัดเจนก็คือโพลล์จากหลายสำนักต่างแสดงให้เห็นว่าประชาชนต่างมีความเบื่อหน่ายต่อสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ และเห็นว่าการเลือกตั้งจะเป็นทางออกที่ดีการรับร่างรัฐธรรมนูญให้ผ่านไปได้จึงน่าจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งได้ด้วยความราบรื่น ยิ่งถ้าเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจด้วยแล้ว ดูจะยิ่งแสดงออกถึงความรู้สึกในทำนองเดียวกันนี้อย่างชัดเจน
แม้ว่าจะมีปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีโอกาสที่จะผ่านการจัดทำประชามติไปได้มากอยู่แล้วก็ตาม ผมมีความเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่มีความสำคัญมาก จะเรียกว่ามากที่สุดในขณะนี้ก็เป็นได้ เพราะหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านคือไม่ได้รับความเห็นชอบในการจัดทำประชามติแม้จะมีทางออกคือ คมช. กับครม. ยังมีโอกาสที่จะร่วมกันพิจารณาเลือกเอารัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งฉบับใดมาดำเนินการต่อไปได้ก็ตามแต่นั่นคงไม่ใช่ทางออกที่สง่างามอย่างแน่นอนซึ่งอาจจะมีปัญหาแทรกซ้อนตามมาอีกมาก
ความตั้งใจทุ่มเท ให้การจัดทำประชามติเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไป ได้เข้าใจในเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการออกเสียงประชามติอย่างปราศจากการครอบงำของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ทั้งรัฐบาล คมช. สภาร่างรัฐธรรมนูญและ กกต. ต้องถือเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ มิให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ของแต่ละส่วนเพื่อให้การจัดทำประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเห็นว่าที่จะต้องเป็นเจ้าภาพใหญ่ตัวจริงในการสร้างความเข้าใจในสาระ ก็คือ คณะกรรมาธิการยกร่างและสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้มาด้วยตนเองนั่นเอง.
**************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ก.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
5 กรกฎาคม 2550
บทความนี้เขียนในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา เพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคิดว่าอย่างไรเสียก็คงจะพิจารณาให้ความเห็นชอบในที่สุด
ที่ผมคิดว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญ คงจะพิจารณาให้ความเห็นชอบก็เพราะว่า ในชั้นพิจารณาของสภาร่างรัฐธรรมนูญหลายวันหลายคืนที่ผ่านมานั้น จะมีอยู่สองส่วน ส่วนหนึ่งก็คือพิจารณาให้ความเห็นชอบในบทมาตราต่าง ๆ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างเสนอมาโดยไม่มีการขอแก้ไข กับอีกส่วนหนึ่งก็คือบทมาตราที่สมาชิกฯ ขอแก้ไข ที่เรียกว่าขอแปรญัตติ ซึ่งในที่สุดก็จะมีที่ตกลงกันได้ คือมีการแก้ไขปรับปรุงบ้างตามที่ตกลงกัน และที่ตกลงกันไม่ได้ก็ใช้วิธีลงคะแนนตัดสินกันโดยเสียงข้างมากในสภาฯ ว่าควรจะมีการแก้ไขหรือไม่อย่างไร ซึ่งก็มีทั้งที่แก้ไขได้และไม่ได้ ตามเสียงข้างมาก เพราะฉะนั้นเมื่อทุกบทมาตรา ต่างก็เป็นไปตามความเห็นของเสียงข้างมากด้วยกันทั้งสิ้นจึงไม่มีเหตุที่เสียงข้างมากของสภาร่างรัฐธรรมนูญจะไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
ที่จะเป็นปัญหายุ่งยากแน่นอนก็คือในขั้นตอนของการออกเสียงประชามติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่จะมีการดำเนินการต่อไป ซึ่งขณะนี้ก็พอมองเห็นเค้าลางแห่งปัญหาอยู่บ้างแล้ว
ความจริงเค้าลางแห่งปัญหายุ่งยากนี้ก็ปรากฎให้เห็นมาตั้งแต่ตอนเริ่มต้นจัดทำร่างรัฐธรรมนูญกันอยู่แล้วคือมีคนบางกลุ่มได้ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เพราะมีที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหารอันเป็นเผด็จการ และพร้อม ๆ กันนั้นก็ได้มีความพยายามในการรณรงค์ให้มีการขยายแนวความคิดดังกล่าวนี้ให้แพร่หลายขยายออกไปอีกด้วย ซึ่งขณะนี้ก็ยังรณรงค์กันอยู่แต่ก็ดูยังไม่ค่อยจะได้ผลมากมายนัก เพราะเท่าที่ฟังดูยังไม่ค่อยมีใครคิดว่าประเด็นนี้จะมีผลกระทบถึงกับทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ผ่านการออกเสียงประชามติ
แต่ที่เป็นประเด็นที่ชวนให้ต้องคิดกันมากตามสมควร ว่าอาจมีผลกระทบได้ก็คือเมื่อกลุ่มนักการเมืองพรรคไทยรักไทยแต่เดิมกว่า 200 คนประชุมกันเมื่อวันสองวันที่ผ่านมา แล้วมีมติร่วมกันว่าจะไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ และจะรณรงค์ให้ประชาชนออกเสียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย ซึ่งความจริงก็เป็นเรื่องที่พอจะคาดหมายได้อยู่แล้วว่ากลุ่มพรรคไทยรักไทยเดิม คงจะต้องดำเนินการทางการเมืองในแนวทางเช่นนี้
เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณบอกเหตุให้เห็นถึงความสับสนวุ่นวายที่จะเกิดมีขึ้นในช่วงเวลาระหว่างการจัดทำประชามติ ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ก็ควรจะได้เข้าใจกันว่า เป็นเรื่องปรกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตยและหากจะมองในอีกด้านหนึ่งก็อาจเป็นเรื่องดีที่จะมีแรงกระตุ้นให้เกิดความสนใจในรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้นทั้งยังจะก่อให้เกิดความเข้าใจในรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะเหตุที่ได้รับฟังเหตุผลในการโต้แย้งระหว่างกัน ทั้งของฝ่ายที่จะรับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นนี้กระบวนการขับเคลื่อนของฝ่ายไม่รับร่างรัฐธรรมนูญอาจจะดูมีพลัง ก่อให้เกิดความหวั่นไหว ต่อรัฐบาลและคมช. ได้มากพอสมควรแต่เมื่อหันมาดูบรรยากาศแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการรับฟังความเห็นของบุคคลในวงการต่าง ๆ โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ผมคิดว่า ดูจะมีความเอื้ออำนวยให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านการจัดทำประชามติไปได้มากกว่า กล่าวคือว่า
ประการแรก ข้อกล่าวอ้างของฝ่ายไม่รับร่างรัฐธรรมนูญถูกหักล้างจากฝ่ายที่เห็นควรรับร่างรัฐธรรมนูญได้ เช่น เมื่อกล่าวอ้างว่า ไม่อาจรับได้เพราะร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรัฐประหารของ คมช. ก็จะถูกอีกฝ่ายหักล้างว่า ยิ่งไม่รับก็จะยิ่งมีผลเท่ากับรับรองอำนาจของ คมช. มากกว่าเสียอีก เพราะคมช. กับครม. จะมีอำนาจพิจารณาเลือกเอารัฐธรรมนูญที่เคยประกาศใช้มาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงและดำเนินการประกาศใช้แทนต่อไป เพราะฉะนั้นจึงเห็นว่า อย่างไรเสียร่างฉบับของสภาร่างฯ ซึ่งในการจัดทำยังมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอยู่บ้างจึงน่าจะดีกว่า
หรือแม้แต่การกล่าวอ้างให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาใช้แทน ก็ดูจะถูกหักล้างว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ก็มีต้นร่างมาจากฉบับปี 2540 ซึ่งจะเรียกว่าเป็นฉบับปี 2540 ที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงแล้วเหล่านี้เป็นต้น
ประการที่สอง มติคว่ำรัฐธรรมนูญจากที่ประชุมกลุ่ม ส.ส.พรรคไทยรักไทยเดิม ภายใต้การนำของแกนนำซึ่งมีความแนบแน่นเป็นพิเศษกับอดีตนายกฯ ทักษิณ น่าจะทำให้น้ำหนักของเหตุผลในการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญลดลง เพราะประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป มีความรู้สึกว่านี่เป็นเรื่องของสงครามตัวแทน เพราะเป็นคู่กรณีกันอยู่ซึ่งน้ำหนักในการต่อสู้จะแตกต่างกัน กับกรณีที่เป็นการต่อสู้ของ กลุ่มบุคคลที่ต่อต้านด้วยแนวความคิดที่เป็นอิสระหรือแม้แต่จะเป็นการต่อสู้โดยกลุ่มไทยรักไทยเดิมบางส่วนที่ประสงค์จะสลัดภาพการครอบงำของอดีตนายกฯ ทักษิณให้หลุดพ้นไปเสียจากตน
ประการที่สามประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป ต่างมีความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ชัดว่า การชุมนุมของกลุ่ม นปก. ที่อ้างว่าต่อต้าน คมช. ก็ลดจำนวนลงทุกทีจนต้องเปลี่ยนยุทธวิธีไปชุมนุมต่างจังหวัด และที่ชัดเจนก็คือโพลล์จากหลายสำนักต่างแสดงให้เห็นว่าประชาชนต่างมีความเบื่อหน่ายต่อสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ และเห็นว่าการเลือกตั้งจะเป็นทางออกที่ดีการรับร่างรัฐธรรมนูญให้ผ่านไปได้จึงน่าจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งได้ด้วยความราบรื่น ยิ่งถ้าเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจด้วยแล้ว ดูจะยิ่งแสดงออกถึงความรู้สึกในทำนองเดียวกันนี้อย่างชัดเจน
แม้ว่าจะมีปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีโอกาสที่จะผ่านการจัดทำประชามติไปได้มากอยู่แล้วก็ตาม ผมมีความเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่มีความสำคัญมาก จะเรียกว่ามากที่สุดในขณะนี้ก็เป็นได้ เพราะหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านคือไม่ได้รับความเห็นชอบในการจัดทำประชามติแม้จะมีทางออกคือ คมช. กับครม. ยังมีโอกาสที่จะร่วมกันพิจารณาเลือกเอารัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งฉบับใดมาดำเนินการต่อไปได้ก็ตามแต่นั่นคงไม่ใช่ทางออกที่สง่างามอย่างแน่นอนซึ่งอาจจะมีปัญหาแทรกซ้อนตามมาอีกมาก
ความตั้งใจทุ่มเท ให้การจัดทำประชามติเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไป ได้เข้าใจในเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการออกเสียงประชามติอย่างปราศจากการครอบงำของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ทั้งรัฐบาล คมช. สภาร่างรัฐธรรมนูญและ กกต. ต้องถือเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ มิให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ของแต่ละส่วนเพื่อให้การจัดทำประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเห็นว่าที่จะต้องเป็นเจ้าภาพใหญ่ตัวจริงในการสร้างความเข้าใจในสาระ ก็คือ คณะกรรมาธิการยกร่างและสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้มาด้วยตนเองนั่นเอง.
**************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ก.ค. 2550--จบ--