ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. จะไม่ออกมาตรการเพิ่มเติมหากเงินบาทไม่ผันผวนมากเกินไป นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า การที่
ค่าเงินบาทแข็งมากเป็นเพราะเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงทำให้มีเงินทุนไหลเข้าไทยจำนวนมาก เพียงสัปดาห์แรกของเดือน ก.ค. มีเงิน
ไหลเข้ามาเท่ากับทั้งเดือน มิ.ย. หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ทำให้การบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท. ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
ซึ่งหากเงินบาทไม่ผันผวนมากก็ไม่จำเป็นต้องมีมาตรการรุนแรงออกมาเพิ่มเติมในขณะนี้ สำหรับผลจากการแทรกแซงและดูแลค่าเงินบาททำให้
ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 8.4 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่ง ธปท. กำลังหาวิธีจัดการทุนสำรองให้ได้ประโยชน์มากขึ้นแต่มีความ
เสี่ยงน้อยที่สุด ทั้งนี้ รมว.คลังเห็นด้วย สำหรับแนวทางหรือวิธีการอาจเชิญผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาหารือและหาทางออกที่ดีร่วมกัน
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท. จะใช้เวลา 2 — 3 สัปดาห์ประเมินผลมาตรการดูแลค่าเงินบาท น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาด
การเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. จะใช้เวลาในการประเมินผลมาตรการดูแลค่าเงินบาทที่ออกไปแล้วประมาณ 2 — 3 สัปดาห์ เพราะหลาย
มาตรการเป็นธุรกรรมใหม่ที่เพิ่งเปิดให้ ธ.พาณิชย์ดำเนินการได้ ผู้ลงทุนคงต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งในการศึกษารายละเอียด แต่หากพ้นช่วงเวลา
ดังกล่าวแล้วยังไม่มีผลเกิดขึ้นก็จะเชิญ ธ.พาณิชย์มาสอบถามว่าเหตุใดจึงไม่มีการทำธุรกรรมใหม่ที่เปิดให้และมีปัญหาอุปสรรคใด เพื่อให้ผล
ของมาตรการมีประสิทธิภาพ สำหรับมาตรการที่ ธปท. คาดว่าจะได้ผลดีในการลดความต้องการเงินบาทในช่วงต่อไปและจะส่งผลให้เงินบาท
อ่อนค่าลงคือ การเปิดให้ประชาชนและนิติบุคคลทั่วไปสามารถซื้อเงินตราต่างประเทศหรือกู้เงินตราต่างประเทศมาเปิดบัญชีเงินฝากในไทยได้
เพราะการเปิดบัญชีเงินฝากเป็นเงินตราต่างประเทศหลายสกุลจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของไทยที่ปัจจุบัน
อยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 กว่าต่อปี โดยดอกเบี้ยที่ ธปท. เห็นว่า ธ.พาณิชย์ควรจะให้กับลูกค้าน่าจะอยู่ในระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ
ประเทศนั้น ๆ ลบค่าธรรมเนียมและค่าบริหารจัดการ เช่น เฟดฟันด์ เรท อยู่ที่ร้อยละ 5.25 ลบค่าบริหารจัดการแล้วดอกเบี้ยเงินฝากน่าจะ
สูงกว่าร้อยละ 2 กว่า และถ้าฝากในสกุลที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายประเทศนั้นสูง เช่น ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ หรือรูเปีย
ซึ่งดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงและค่าเงินของประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการฝากเงินก็มีมากขึ้น ทั้งนี้
หาก ธ.พาณิชย์มีการแข่งขันให้ดอกเบี้ยและสกุลเงินฝากที่หลากหลายเพียงพอเชื่อว่าจะมีผู้สนใจเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น
และจะมีผลต่อค่าเงินบาทในช่วง 1 เดือนหลังจากนี้ ส่วนจะมีมาตรการที่มีผลต่อการนำเงินระยะสั้นไปลงทุนในตลาดหุ้นหรือไม่นั้น ธปท.
จะไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือออกมาตรการใดที่กระทบตลาดหุ้นที่มีความอ่อนไหว ด้าน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กก.ผจก. ธ.กสิกรไทย
เปิดเผยว่า ธนาคารได้เปิดให้บริการบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศประเภทออมทรัพย์แก่ลูกค้าบุคคลธรรมและนิติบุคคลแล้ว โดยดอกเบี้ย
ออมทรัพย์จะกำหนดเป็นรายวัน เช่น วันที่ 26 ก.ค. ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของเงินดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่ร้อยละ 3.4 แต่ถ้าฝากเป็นธนบัตรดอลลาร์
สรอ. จะเสียค่าธรรมเนียมการรับฝากร้อยละ 2 ผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 1.4 แต่ถ้านำเงินบาทมาฝากให้ธนาคารแปลงเป็นเงินดอลลาร์
สรอ. จะไม่เสียค่าธรรมเนียมการรับฝาก ส่วนกรณีเป็นเช็คเดินทางหรือดราฟท์คิดค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.25 ผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ย
ร้อยละ 3.15 (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. ลดลงอยู่ที่ระดับ 80.9 ต่ำกว่าระดับ 100 เป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรม
เดือน มิ.ย. ว่า ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 80.9 ต่ำกว่าระดับ 100 เป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน นับตั้งแต่เดือน เม.ย.49
บ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ยังไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจ ด้าน นายอภิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธาน สอท. กล่าวว่า
ภาคเอกชนขนาดใหญ่ยอมรับว่าจากนี้ไปจะได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่า ขณะที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับ
ผลกระทบจากแรงซื้อที่ถดถอย ดังนั้น ผู้ประกอบการขนาดใหญ่เห็นว่ารัฐบาลควรเร่งสร้างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การบริโภค และ
ความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าและมีเสถียรภาพ ตลอดจนส่งเสริมบรรยากาศทางการเมืองโดยกำหนด
วันเลือกตั้งให้ชัดเจน (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
4. ธปท. จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 42
นางจิตติมา ดุริยะประพันธ์ ผอส. ฝ่ายสนับสนุนการบริหาร ธปท. เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 ก.ค.นี้ ธปท. จะเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม
สภาผู้ว่าการธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 42 โดยจะมีผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศที่เป็นสมาชิกเข้า
ร่วมประชุม 16 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ฟิจิ อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย มองโกเลีย เนปาล พม่า ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ ศรีลังกา ไต้หวัน เวียดนาม และไทย นอกจากนี้ จะมีประเทศเข้าร่วมสังเกตการณ์อีก 2 ประเทศ คือ ลาว และตองกา
สำหรับการประชุมครั้งนี้จะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นเศรษฐกิจ และจะมีการหยิบยกประเด็นเรื่องเงินทุนไหลเข้า-ออก
รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นมาเป็นหัวข้อในการสัมมนา นอกจากนี้ ยังได้เชิญ นายโรดรีโก เดอ ราโด จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
มาเป็นองค์ปาฐกในการประชุมและสรุปให้ฟังด้วยว่าในปีที่ผ่านมาไอเอ็มเอฟมีความกังวลด้านใดบ้างและให้แสดงความคิดเห็นต่อประเท
ศสมาชิกแต่ละแห่ง โดยเฉพาะเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อประเทศในภูมิภาคนี้ (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.50 ลดลงร้อยละ 6.6 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 26 ก.ค.50 ก.พาณิชย์ สรอ.
เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านใหม่สำหรับครอบครัวเดี่ยวของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.50 ลดลงร้อยละ 6.6 อยู่ที่จำนวน 834,000 จาก
จำนวน 893,000 หลังในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่จำนวน 895,000 จากที่คาดการณ์
เบื้องต้นว่าจะอยู่ที่จำนวน 915,000 หลังเมื่อเดือน พ.ค.50 ทั้งนี้ ยอดขายบ้านใหม่ที่ลดลงสามารถบ่งชี้ได้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของ สรอ.
ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ราคาบ้านใหม่ในเดือน มิ.ย.50 ก็ลดลงร้อยละ 1.3 ที่จำนวน 237,900 ดอลลาร์ สรอ. จาก
จำนวน 241,000 ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน พ.ค.50 สำหรับบ้านใหม่ที่สร้างเสร็จพร้อมขายในเดือน มิ.ย.50 อยู่ที่จำนวน 537,000 หลัง
ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายบ้านเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 7.8 เดือน จาก 7.4 เดือนในเดือน พ.ค.50
(รอยเตอร์)
2. ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลง 2,000 คน รายงานจาก วอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 25 ก.ค. 50 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่ายอดขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 ก.ค. ลดลง 2,000 คน
อยู่ที่ 301,000 คนจาก 303,000 คนเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้าลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า
2 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค. 50 และลดลงมากกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ที่คาดว่ายอดขอรับสวัสดิการว่างงาน
ครั้งแรกจะอยู่ที่ 310,000 คน สำหรับยอดขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ซึ่งสามารถเป็นตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจได้ดีกว่าเนื่องจาก
ได้ปรับความผันผวนแล้วลดลงอยู่ที่ระดับ 308,500 คนจาก 312,500 คนเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง
ของสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 ก.ค. ลดลง 19,000 คนอยู่ที่ 2.55 ล้านคน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีจากผลสำรวจโดย Ifo ลดลงในเดือน ก.ค.50 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน รายงาน
จากเบอร์ลิน เมื่อ 26 ก.ค.50 ผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีโดย Ifo ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 106.4 ในเดือน ก.ค.50
ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันจากระดับ 107.0 ในเดือน มิ.ย.50 ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 106.5 ทั้งนี้
เป็นผลมาจากค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อผลกำไรของธุรกิจ โดยเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินยูโรอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ที่ 1.3853 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโรสอดคล้องกับผลสำรวจโดย ZEW ก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีลดลงในเดือน ก.ค.50
เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันจากผลกระทบของค่าเงินยูโร อัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่า
การจ้างงานและค่าจ้างที่สูงขึ้นจะช่วยให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวดีขึ้นซึ่งจะช่วยชดเชยการส่งออกที่ชะลอตัวลงและทำให้เศรษฐกิจ
ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังปีนี้ (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 ลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 26 ก.ค.50
The Economic Development Board เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 ลดลงร้อยละ 9.4 เทียบต่อเดือน
ต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปีนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.44 ที่ผลผลิตฯ ลดลงร้อยละ 13 และสูงกว่าความคาดหมายของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่ง
คาดว่าผลผลิตฯ จะลดลงร้อยละ 6.0 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี ผลผลิตฯ ลดลงร้อยละ 7.4 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 4.0
เป็นผลจากการลดลงของผลิตภัณฑ์ยาซึ่งมีสัดส่วนเป็นกว่าร้อยละ 22 ของผลผลิตฯ โดยรวม โดยผลผลิตผลิตภัณฑ์ยาลดลงร้อยละ 52.5 เทียบต่อปี
ขณะที่ผลผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของผลผลิตฯ โดยรวม ลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี ทั้งนี้ การลดลงของ
ผลผลิตโรงงานในเดือน มิ.ย. ดังกล่าว ส่งผลให้บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างมองว่า อาจเป็นสาเหตุให้ทางการสิงคโปร์ปรับลดอัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีลง ทั้งนี้ ทางการสิงคโปร์ได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 50 ที่ระดับ
ร้อยละ 7 ลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 7.9 ในปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.ค. 50 26 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.709 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4904/33.8338 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.40000 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 884.16/33.25 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 71.45 68.70 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.19*/25.74** 29.59*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 27 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. จะไม่ออกมาตรการเพิ่มเติมหากเงินบาทไม่ผันผวนมากเกินไป นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า การที่
ค่าเงินบาทแข็งมากเป็นเพราะเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงทำให้มีเงินทุนไหลเข้าไทยจำนวนมาก เพียงสัปดาห์แรกของเดือน ก.ค. มีเงิน
ไหลเข้ามาเท่ากับทั้งเดือน มิ.ย. หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ทำให้การบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท. ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
ซึ่งหากเงินบาทไม่ผันผวนมากก็ไม่จำเป็นต้องมีมาตรการรุนแรงออกมาเพิ่มเติมในขณะนี้ สำหรับผลจากการแทรกแซงและดูแลค่าเงินบาททำให้
ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 8.4 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่ง ธปท. กำลังหาวิธีจัดการทุนสำรองให้ได้ประโยชน์มากขึ้นแต่มีความ
เสี่ยงน้อยที่สุด ทั้งนี้ รมว.คลังเห็นด้วย สำหรับแนวทางหรือวิธีการอาจเชิญผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาหารือและหาทางออกที่ดีร่วมกัน
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท. จะใช้เวลา 2 — 3 สัปดาห์ประเมินผลมาตรการดูแลค่าเงินบาท น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาด
การเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. จะใช้เวลาในการประเมินผลมาตรการดูแลค่าเงินบาทที่ออกไปแล้วประมาณ 2 — 3 สัปดาห์ เพราะหลาย
มาตรการเป็นธุรกรรมใหม่ที่เพิ่งเปิดให้ ธ.พาณิชย์ดำเนินการได้ ผู้ลงทุนคงต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งในการศึกษารายละเอียด แต่หากพ้นช่วงเวลา
ดังกล่าวแล้วยังไม่มีผลเกิดขึ้นก็จะเชิญ ธ.พาณิชย์มาสอบถามว่าเหตุใดจึงไม่มีการทำธุรกรรมใหม่ที่เปิดให้และมีปัญหาอุปสรรคใด เพื่อให้ผล
ของมาตรการมีประสิทธิภาพ สำหรับมาตรการที่ ธปท. คาดว่าจะได้ผลดีในการลดความต้องการเงินบาทในช่วงต่อไปและจะส่งผลให้เงินบาท
อ่อนค่าลงคือ การเปิดให้ประชาชนและนิติบุคคลทั่วไปสามารถซื้อเงินตราต่างประเทศหรือกู้เงินตราต่างประเทศมาเปิดบัญชีเงินฝากในไทยได้
เพราะการเปิดบัญชีเงินฝากเป็นเงินตราต่างประเทศหลายสกุลจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของไทยที่ปัจจุบัน
อยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 กว่าต่อปี โดยดอกเบี้ยที่ ธปท. เห็นว่า ธ.พาณิชย์ควรจะให้กับลูกค้าน่าจะอยู่ในระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ
ประเทศนั้น ๆ ลบค่าธรรมเนียมและค่าบริหารจัดการ เช่น เฟดฟันด์ เรท อยู่ที่ร้อยละ 5.25 ลบค่าบริหารจัดการแล้วดอกเบี้ยเงินฝากน่าจะ
สูงกว่าร้อยละ 2 กว่า และถ้าฝากในสกุลที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายประเทศนั้นสูง เช่น ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ หรือรูเปีย
ซึ่งดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงและค่าเงินของประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการฝากเงินก็มีมากขึ้น ทั้งนี้
หาก ธ.พาณิชย์มีการแข่งขันให้ดอกเบี้ยและสกุลเงินฝากที่หลากหลายเพียงพอเชื่อว่าจะมีผู้สนใจเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น
และจะมีผลต่อค่าเงินบาทในช่วง 1 เดือนหลังจากนี้ ส่วนจะมีมาตรการที่มีผลต่อการนำเงินระยะสั้นไปลงทุนในตลาดหุ้นหรือไม่นั้น ธปท.
จะไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือออกมาตรการใดที่กระทบตลาดหุ้นที่มีความอ่อนไหว ด้าน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กก.ผจก. ธ.กสิกรไทย
เปิดเผยว่า ธนาคารได้เปิดให้บริการบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศประเภทออมทรัพย์แก่ลูกค้าบุคคลธรรมและนิติบุคคลแล้ว โดยดอกเบี้ย
ออมทรัพย์จะกำหนดเป็นรายวัน เช่น วันที่ 26 ก.ค. ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของเงินดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่ร้อยละ 3.4 แต่ถ้าฝากเป็นธนบัตรดอลลาร์
สรอ. จะเสียค่าธรรมเนียมการรับฝากร้อยละ 2 ผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 1.4 แต่ถ้านำเงินบาทมาฝากให้ธนาคารแปลงเป็นเงินดอลลาร์
สรอ. จะไม่เสียค่าธรรมเนียมการรับฝาก ส่วนกรณีเป็นเช็คเดินทางหรือดราฟท์คิดค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.25 ผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ย
ร้อยละ 3.15 (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. ลดลงอยู่ที่ระดับ 80.9 ต่ำกว่าระดับ 100 เป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรม
เดือน มิ.ย. ว่า ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 80.9 ต่ำกว่าระดับ 100 เป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน นับตั้งแต่เดือน เม.ย.49
บ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ยังไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจ ด้าน นายอภิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธาน สอท. กล่าวว่า
ภาคเอกชนขนาดใหญ่ยอมรับว่าจากนี้ไปจะได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่า ขณะที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับ
ผลกระทบจากแรงซื้อที่ถดถอย ดังนั้น ผู้ประกอบการขนาดใหญ่เห็นว่ารัฐบาลควรเร่งสร้างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การบริโภค และ
ความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าและมีเสถียรภาพ ตลอดจนส่งเสริมบรรยากาศทางการเมืองโดยกำหนด
วันเลือกตั้งให้ชัดเจน (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
4. ธปท. จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 42
นางจิตติมา ดุริยะประพันธ์ ผอส. ฝ่ายสนับสนุนการบริหาร ธปท. เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 ก.ค.นี้ ธปท. จะเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม
สภาผู้ว่าการธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 42 โดยจะมีผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศที่เป็นสมาชิกเข้า
ร่วมประชุม 16 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ฟิจิ อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย มองโกเลีย เนปาล พม่า ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ ศรีลังกา ไต้หวัน เวียดนาม และไทย นอกจากนี้ จะมีประเทศเข้าร่วมสังเกตการณ์อีก 2 ประเทศ คือ ลาว และตองกา
สำหรับการประชุมครั้งนี้จะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นเศรษฐกิจ และจะมีการหยิบยกประเด็นเรื่องเงินทุนไหลเข้า-ออก
รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นมาเป็นหัวข้อในการสัมมนา นอกจากนี้ ยังได้เชิญ นายโรดรีโก เดอ ราโด จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
มาเป็นองค์ปาฐกในการประชุมและสรุปให้ฟังด้วยว่าในปีที่ผ่านมาไอเอ็มเอฟมีความกังวลด้านใดบ้างและให้แสดงความคิดเห็นต่อประเท
ศสมาชิกแต่ละแห่ง โดยเฉพาะเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อประเทศในภูมิภาคนี้ (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.50 ลดลงร้อยละ 6.6 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 26 ก.ค.50 ก.พาณิชย์ สรอ.
เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านใหม่สำหรับครอบครัวเดี่ยวของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.50 ลดลงร้อยละ 6.6 อยู่ที่จำนวน 834,000 จาก
จำนวน 893,000 หลังในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่จำนวน 895,000 จากที่คาดการณ์
เบื้องต้นว่าจะอยู่ที่จำนวน 915,000 หลังเมื่อเดือน พ.ค.50 ทั้งนี้ ยอดขายบ้านใหม่ที่ลดลงสามารถบ่งชี้ได้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของ สรอ.
ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ราคาบ้านใหม่ในเดือน มิ.ย.50 ก็ลดลงร้อยละ 1.3 ที่จำนวน 237,900 ดอลลาร์ สรอ. จาก
จำนวน 241,000 ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน พ.ค.50 สำหรับบ้านใหม่ที่สร้างเสร็จพร้อมขายในเดือน มิ.ย.50 อยู่ที่จำนวน 537,000 หลัง
ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายบ้านเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 7.8 เดือน จาก 7.4 เดือนในเดือน พ.ค.50
(รอยเตอร์)
2. ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลง 2,000 คน รายงานจาก วอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 25 ก.ค. 50 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่ายอดขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 ก.ค. ลดลง 2,000 คน
อยู่ที่ 301,000 คนจาก 303,000 คนเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้าลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า
2 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค. 50 และลดลงมากกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ที่คาดว่ายอดขอรับสวัสดิการว่างงาน
ครั้งแรกจะอยู่ที่ 310,000 คน สำหรับยอดขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ซึ่งสามารถเป็นตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจได้ดีกว่าเนื่องจาก
ได้ปรับความผันผวนแล้วลดลงอยู่ที่ระดับ 308,500 คนจาก 312,500 คนเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง
ของสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 ก.ค. ลดลง 19,000 คนอยู่ที่ 2.55 ล้านคน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีจากผลสำรวจโดย Ifo ลดลงในเดือน ก.ค.50 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน รายงาน
จากเบอร์ลิน เมื่อ 26 ก.ค.50 ผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีโดย Ifo ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 106.4 ในเดือน ก.ค.50
ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันจากระดับ 107.0 ในเดือน มิ.ย.50 ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 106.5 ทั้งนี้
เป็นผลมาจากค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อผลกำไรของธุรกิจ โดยเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินยูโรอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ที่ 1.3853 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโรสอดคล้องกับผลสำรวจโดย ZEW ก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีลดลงในเดือน ก.ค.50
เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันจากผลกระทบของค่าเงินยูโร อัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่า
การจ้างงานและค่าจ้างที่สูงขึ้นจะช่วยให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวดีขึ้นซึ่งจะช่วยชดเชยการส่งออกที่ชะลอตัวลงและทำให้เศรษฐกิจ
ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังปีนี้ (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 ลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 26 ก.ค.50
The Economic Development Board เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 ลดลงร้อยละ 9.4 เทียบต่อเดือน
ต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปีนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.44 ที่ผลผลิตฯ ลดลงร้อยละ 13 และสูงกว่าความคาดหมายของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่ง
คาดว่าผลผลิตฯ จะลดลงร้อยละ 6.0 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี ผลผลิตฯ ลดลงร้อยละ 7.4 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 4.0
เป็นผลจากการลดลงของผลิตภัณฑ์ยาซึ่งมีสัดส่วนเป็นกว่าร้อยละ 22 ของผลผลิตฯ โดยรวม โดยผลผลิตผลิตภัณฑ์ยาลดลงร้อยละ 52.5 เทียบต่อปี
ขณะที่ผลผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของผลผลิตฯ โดยรวม ลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี ทั้งนี้ การลดลงของ
ผลผลิตโรงงานในเดือน มิ.ย. ดังกล่าว ส่งผลให้บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างมองว่า อาจเป็นสาเหตุให้ทางการสิงคโปร์ปรับลดอัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีลง ทั้งนี้ ทางการสิงคโปร์ได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 50 ที่ระดับ
ร้อยละ 7 ลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 7.9 ในปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.ค. 50 26 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.709 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4904/33.8338 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.40000 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 884.16/33.25 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 71.45 68.70 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.19*/25.74** 29.59*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 27 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--