ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ไตรมาสแรก ปี 49 มีการขอนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศไทยสูงถึง 16,526.58 ล้านบาท รายงานข่าวจากธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยการตรวจสอบข้อมูลการขอนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศของคนไทยผ่าน ธพ.ตั้งแต่เดือน ม.ค.49
(ซึ่งเป็นช่วงที่มีการซื้อขายหุ้น บ.ชิน คอร์ปอเรชั่น กับกองทุนเทมาเสก สิงคโปร์) พบว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 49 มีการขอนำเงินออกไป
ลงทุนในต่างประเทศของคนไทยสูงที่สุดถึง 16,526.58 ล้านบาท โดยเดือนที่มีการนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากที่สุด คือ เดือน ก.พ.
จำนวน 5,491.47 ล้านบาท และเดือน มี.ค.จำนวน 7,892.95 ล้านบาท เป็นเงินรวมกัน 13,384.42 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสที่ 2 ของ
ปี 49 มีการขอนำเงินออกลดลงเหลือ 7,040 ล้านบาท ไตรมาส 3 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปฏิรูปการปกครองประเทศมีจำนวน 11,650.17 ล้านบาท
และไตรมาส 4 มีจำนวน 9,716 ล้านบาท รวมทั้งปี 49 มีคนไทยขอนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศทั้งสิ้น 44,940.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
9,268.76 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปี 48 ซึ่งมีเงินไปลงทุนในต่างประเทศ 35,671.32 ล้านบาท สำหรับไตรมาสแรกปี 50 มีการขอนำเงิน
ไปลงทุนในต่างประเทศ 8,898.78 ล้านบาท แบ่งเป็นเดือน ม.ค.จำนวน 2,730 ล้านบาท เดือน ก.พ.จำนวน 2,787 ล้านบาท และเดือน
มี.ค.จำนวน 3,382 ล้านบาท (ไทยรัฐ)
2. ธปท.เผยเป็นการไม่เหมาะสมที่นำธนบัตรชำรุดไปเป็นมวลสารในการผลิตองค์จตุคามรามเทพ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายออกบัตรธนาคาร
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีประชาชนจากหลากหลายกลุ่มมาขอธนบัตรชำรุดที่ผ่านกระบวนการทำลายอัด
เป็นก้อน เพื่อนำไปเป็นมวลสารในการผลิตองค์จตุคามรามเทพ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเศษธนบัตรจึงน่าจะช่วยเรื่องความเป็นมงคล อย่างไรก็ตาม
ทาง ธปท.เห็นว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำเศษธนบัตรไปดำเนินการดังกล่าว เพราะธนบัตรเก่าเหล่านี้ผ่านการใช้งานมานาน จึงสกปรกและ
มีเชื้อโรคจำนวนมาก ซึ่งไม่น่าจะดีนักที่จะนำไปเป็นองค์ประกอบในวัตถุมงคล นอกจากนี้ ยังเปิดเผยถึงการคาดการณ์ความต้องการธนบัตรในปีนี้
ว่าจะมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 4-5 ซึ่ง ธปท.จะต้องพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มเติมจากยอดธนบัตรที่มีในปัจจุบัน 3,000 ล้านฉบับ เป็น
ยอดเงิน 800,000 ล้านบาท (มติชน, แนวหน้า)
3. ก.คลังสรุปการจัดสรรเงินเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง รวม 4,300 ล้านบาท ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) เปิดเผยว่า ก.คลังได้สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรเงินเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง ในปี 51 รวม
4,300 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขว่าสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่งต้องกันสำรองตามมาตรฐานบัญชีใหม่ฉบับที่ 39 (ไอเอเอส 39) ให้ได้ภายในปี 52
และต้องกำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของแต่ละแห่งให้ชัดเจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปด้วย ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง
ที่ได้รับเงินเพิ่มทุน ได้แก่ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จำนวน 300 ล้านบาท ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์)จำนวน 1,200 ล้านบาท ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย จำนวน 1,600 ล้านบาท และ ธ.เพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 1,200 ล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
4. รมว.คลังเผยเตรียมผลักดันกฎหมายการเงิน 5 ฉบับเข้าสู่ สนช.ภายในเดือน ก.ค.50 รมว.คลัง เปิดเผยว่า ภายใน
เดือน ก.ค.นี้จะผลักดันกฎหมายการเงินที่ค้างอยู่ทุกฉบับให้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทั้งหมด เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญ
ในการปฏิรูประบบการเงิน สถาบันการเงิน และตลาดทุนของประเทศไม่ให้เกิดปัญหาเช่นที่ผ่านมา สำหรับกฎหมายการเงินที่สำคัญที่จะผลักดัน
ประกอบด้วย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ร.บ.เงินตรา พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก และ
พ.ร.บ.กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. Leading indicators ชี้ว่าในเดือน พ.ค. เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.50
ผลการสำรวจดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจจีนโดย Goldman Sachs ชี้ว่า ในเดือน พ.ค. เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างแข็งแกร่งอยู่ที่ร้อยละ 12.5
(เทียบต่อปี) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.0 ในเดือน เม.ย. โดยเป็นการขยายตัวอย่างมากของ ผลผลิตอุตสาหกรรม การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
การส่งออก รายได้ของภาคครัวเรือน และการขนส่งผู้โดยสาร ขณะที่เมื่อเทียบต่อไตรมาสเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 เติบโตร้อยละ 9.4
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 13.1 ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม Goldman Sachs กล่าวว่า CEMAC-GS coincident
Index ซึ่งเป็นดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจของจีนในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 102.80 จากระดับ 102.31 ในเดือน เม.ย. เช่นเดียวกับ
CEMAC-GS leading indicator ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของจีนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 102.96 จากระดับ 102.37 โดยมีจำนวนโครงการ
เริ่มดำเนินการเพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ในเดือน พ.ค. บ่งชี้ว่าจีนมีความจำเป็น
ต้องปรับนโยบายการเงินอีก คาดว่าในปีนี้ ธ.กลางจีนจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27
ขณะเดียวกัน Goldman Sachs ได้เฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดถึงความเป็นไปได้ที่จีนจะดำเนินมาตรการที่เข้มงวด สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่
ใช้พลังงานสูงด้วย (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อปีผิดจากที่คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.4 ต่อปี รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 27 มิ.ย.50 ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นรายงานยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ผิดจากที่
ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.4 ต่อปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน โดยรายงานดังกล่าวอ้างว่าเป็น
ผลมาจากสภาพอากาศที่ดีทำให้ยอดขายเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ยอดขายอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปี ชดเชยกับยอดขาย
รถยนต์ที่ลดลงร้อยละ 4.5 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าการใช้จ่ายส่วนบุคคลซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 55 ของผลผลิตรวมใน
ประเทศจะลดลงในอีกหลายเดือนข้างหน้าอันเป็นผลจากค่าจ้างและรายได้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในขณะที่อัตราภาษีท้องที่สูงขึ้นโดย
เริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนนี้ ทั้งนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อปีในไตรมาสแรกปี 50 นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9
ติดต่อกัน จากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนและการส่งออก ในขณะที่ยอดค้าปลีกอยู่ในภาวะซบเซาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดย
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลง ก่อนที่ยอดค้าปลีกจะเริ่มฟื้นตัวเมื่อเดือน เม.ย.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในปีหน้าจะชะลอตัวลง รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.50
สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจของ YouGov/Citigroup ในเดือน มิ.ย.50 คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในปีหน้าจะชะลอตัว
ลงเหลือร้อยละ 2.4 จากร้อยละ 2.5 ตามที่คาดการณ์ไว้ในแต่ละเดือนในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ในขณะที่ค่าเฉลี่ยกลางของอัตราเงินเฟ้อใน
ช่วง 5 ถึง 10 ปีข้างหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.5 จากร้อยละ 3.4 ตามที่คาดการณ์ไว้ในเดือน พ.ค.50 ซึ่งการลดลงของการพยากรณ์
อัตราเงินเฟ้อสำหรับปีหน้าดูเหมือนว่าจะสร้างความพอใจให้กับคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษที่มีความกังวลว่ากำลังมีแรงกดดัน
จากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่ระดับร้อยละ 2.4 ทำให้ประชาชนยังคงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นสูงเกินระดับที่
ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 2.0 ในช่วงเวลา 12 เดือน ขณะที่ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษกล่าวว่าในเดือนนี้ ธ.กลางอังกฤษอาจจะ
ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งถ้าดัชนีชี้วัดต่าง ๆ ของการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อยังปรับตัวเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.50 ขยายตัวเหนือความคาดหมาย รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 26 มิ.ย.50
The Economic Development Board เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงาน(หลังปรับฤดูกาล)ของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0
เทียบต่อเดือน เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าผลผลิตโรงงานจะลดลงร้อยละ 1.1 สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิต
ผลิตภัณฑ์สำหรับขุดเจาะน้ำมัน และผลิตภัณฑ์ยา ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี ผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 สูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์
ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 สำหรับตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 ในเดือนก่อนหน้า
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 มิ.ย. 50 26 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.547 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3399/34.6810 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.68750 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 766.97/10.94 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,600/10,700 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.98 67.21 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ไตรมาสแรก ปี 49 มีการขอนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศไทยสูงถึง 16,526.58 ล้านบาท รายงานข่าวจากธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยการตรวจสอบข้อมูลการขอนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศของคนไทยผ่าน ธพ.ตั้งแต่เดือน ม.ค.49
(ซึ่งเป็นช่วงที่มีการซื้อขายหุ้น บ.ชิน คอร์ปอเรชั่น กับกองทุนเทมาเสก สิงคโปร์) พบว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 49 มีการขอนำเงินออกไป
ลงทุนในต่างประเทศของคนไทยสูงที่สุดถึง 16,526.58 ล้านบาท โดยเดือนที่มีการนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากที่สุด คือ เดือน ก.พ.
จำนวน 5,491.47 ล้านบาท และเดือน มี.ค.จำนวน 7,892.95 ล้านบาท เป็นเงินรวมกัน 13,384.42 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสที่ 2 ของ
ปี 49 มีการขอนำเงินออกลดลงเหลือ 7,040 ล้านบาท ไตรมาส 3 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปฏิรูปการปกครองประเทศมีจำนวน 11,650.17 ล้านบาท
และไตรมาส 4 มีจำนวน 9,716 ล้านบาท รวมทั้งปี 49 มีคนไทยขอนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศทั้งสิ้น 44,940.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
9,268.76 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปี 48 ซึ่งมีเงินไปลงทุนในต่างประเทศ 35,671.32 ล้านบาท สำหรับไตรมาสแรกปี 50 มีการขอนำเงิน
ไปลงทุนในต่างประเทศ 8,898.78 ล้านบาท แบ่งเป็นเดือน ม.ค.จำนวน 2,730 ล้านบาท เดือน ก.พ.จำนวน 2,787 ล้านบาท และเดือน
มี.ค.จำนวน 3,382 ล้านบาท (ไทยรัฐ)
2. ธปท.เผยเป็นการไม่เหมาะสมที่นำธนบัตรชำรุดไปเป็นมวลสารในการผลิตองค์จตุคามรามเทพ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายออกบัตรธนาคาร
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีประชาชนจากหลากหลายกลุ่มมาขอธนบัตรชำรุดที่ผ่านกระบวนการทำลายอัด
เป็นก้อน เพื่อนำไปเป็นมวลสารในการผลิตองค์จตุคามรามเทพ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเศษธนบัตรจึงน่าจะช่วยเรื่องความเป็นมงคล อย่างไรก็ตาม
ทาง ธปท.เห็นว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำเศษธนบัตรไปดำเนินการดังกล่าว เพราะธนบัตรเก่าเหล่านี้ผ่านการใช้งานมานาน จึงสกปรกและ
มีเชื้อโรคจำนวนมาก ซึ่งไม่น่าจะดีนักที่จะนำไปเป็นองค์ประกอบในวัตถุมงคล นอกจากนี้ ยังเปิดเผยถึงการคาดการณ์ความต้องการธนบัตรในปีนี้
ว่าจะมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 4-5 ซึ่ง ธปท.จะต้องพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มเติมจากยอดธนบัตรที่มีในปัจจุบัน 3,000 ล้านฉบับ เป็น
ยอดเงิน 800,000 ล้านบาท (มติชน, แนวหน้า)
3. ก.คลังสรุปการจัดสรรเงินเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง รวม 4,300 ล้านบาท ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) เปิดเผยว่า ก.คลังได้สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรเงินเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง ในปี 51 รวม
4,300 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขว่าสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่งต้องกันสำรองตามมาตรฐานบัญชีใหม่ฉบับที่ 39 (ไอเอเอส 39) ให้ได้ภายในปี 52
และต้องกำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของแต่ละแห่งให้ชัดเจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปด้วย ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง
ที่ได้รับเงินเพิ่มทุน ได้แก่ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จำนวน 300 ล้านบาท ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์)จำนวน 1,200 ล้านบาท ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย จำนวน 1,600 ล้านบาท และ ธ.เพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 1,200 ล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
4. รมว.คลังเผยเตรียมผลักดันกฎหมายการเงิน 5 ฉบับเข้าสู่ สนช.ภายในเดือน ก.ค.50 รมว.คลัง เปิดเผยว่า ภายใน
เดือน ก.ค.นี้จะผลักดันกฎหมายการเงินที่ค้างอยู่ทุกฉบับให้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทั้งหมด เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญ
ในการปฏิรูประบบการเงิน สถาบันการเงิน และตลาดทุนของประเทศไม่ให้เกิดปัญหาเช่นที่ผ่านมา สำหรับกฎหมายการเงินที่สำคัญที่จะผลักดัน
ประกอบด้วย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ร.บ.เงินตรา พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก และ
พ.ร.บ.กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. Leading indicators ชี้ว่าในเดือน พ.ค. เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.50
ผลการสำรวจดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจจีนโดย Goldman Sachs ชี้ว่า ในเดือน พ.ค. เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างแข็งแกร่งอยู่ที่ร้อยละ 12.5
(เทียบต่อปี) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.0 ในเดือน เม.ย. โดยเป็นการขยายตัวอย่างมากของ ผลผลิตอุตสาหกรรม การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
การส่งออก รายได้ของภาคครัวเรือน และการขนส่งผู้โดยสาร ขณะที่เมื่อเทียบต่อไตรมาสเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 เติบโตร้อยละ 9.4
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 13.1 ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม Goldman Sachs กล่าวว่า CEMAC-GS coincident
Index ซึ่งเป็นดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจของจีนในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 102.80 จากระดับ 102.31 ในเดือน เม.ย. เช่นเดียวกับ
CEMAC-GS leading indicator ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของจีนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 102.96 จากระดับ 102.37 โดยมีจำนวนโครงการ
เริ่มดำเนินการเพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ในเดือน พ.ค. บ่งชี้ว่าจีนมีความจำเป็น
ต้องปรับนโยบายการเงินอีก คาดว่าในปีนี้ ธ.กลางจีนจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27
ขณะเดียวกัน Goldman Sachs ได้เฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดถึงความเป็นไปได้ที่จีนจะดำเนินมาตรการที่เข้มงวด สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่
ใช้พลังงานสูงด้วย (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อปีผิดจากที่คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.4 ต่อปี รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 27 มิ.ย.50 ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นรายงานยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ผิดจากที่
ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.4 ต่อปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน โดยรายงานดังกล่าวอ้างว่าเป็น
ผลมาจากสภาพอากาศที่ดีทำให้ยอดขายเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ยอดขายอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปี ชดเชยกับยอดขาย
รถยนต์ที่ลดลงร้อยละ 4.5 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าการใช้จ่ายส่วนบุคคลซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 55 ของผลผลิตรวมใน
ประเทศจะลดลงในอีกหลายเดือนข้างหน้าอันเป็นผลจากค่าจ้างและรายได้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในขณะที่อัตราภาษีท้องที่สูงขึ้นโดย
เริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนนี้ ทั้งนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อปีในไตรมาสแรกปี 50 นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9
ติดต่อกัน จากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนและการส่งออก ในขณะที่ยอดค้าปลีกอยู่ในภาวะซบเซาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดย
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลง ก่อนที่ยอดค้าปลีกจะเริ่มฟื้นตัวเมื่อเดือน เม.ย.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในปีหน้าจะชะลอตัวลง รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.50
สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจของ YouGov/Citigroup ในเดือน มิ.ย.50 คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในปีหน้าจะชะลอตัว
ลงเหลือร้อยละ 2.4 จากร้อยละ 2.5 ตามที่คาดการณ์ไว้ในแต่ละเดือนในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ในขณะที่ค่าเฉลี่ยกลางของอัตราเงินเฟ้อใน
ช่วง 5 ถึง 10 ปีข้างหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.5 จากร้อยละ 3.4 ตามที่คาดการณ์ไว้ในเดือน พ.ค.50 ซึ่งการลดลงของการพยากรณ์
อัตราเงินเฟ้อสำหรับปีหน้าดูเหมือนว่าจะสร้างความพอใจให้กับคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษที่มีความกังวลว่ากำลังมีแรงกดดัน
จากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่ระดับร้อยละ 2.4 ทำให้ประชาชนยังคงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นสูงเกินระดับที่
ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 2.0 ในช่วงเวลา 12 เดือน ขณะที่ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษกล่าวว่าในเดือนนี้ ธ.กลางอังกฤษอาจจะ
ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งถ้าดัชนีชี้วัดต่าง ๆ ของการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อยังปรับตัวเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.50 ขยายตัวเหนือความคาดหมาย รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 26 มิ.ย.50
The Economic Development Board เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงาน(หลังปรับฤดูกาล)ของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0
เทียบต่อเดือน เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าผลผลิตโรงงานจะลดลงร้อยละ 1.1 สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิต
ผลิตภัณฑ์สำหรับขุดเจาะน้ำมัน และผลิตภัณฑ์ยา ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี ผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 สูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์
ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 สำหรับตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 ในเดือนก่อนหน้า
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 มิ.ย. 50 26 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.547 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3399/34.6810 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.68750 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 766.97/10.94 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,600/10,700 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.98 67.21 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--