กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้ออกจำหน่ายพันธบัตรเงินเยนชนิดจัดจำหน่ายทั่วไปในตลาดทุนญี่ปุ่น (Samurai Bond) รุ่นที่ 21 วงเงิน 48,000 ล้านเยน อายุ 3 ปี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผู้ออกพันธบัตร :กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
ระดับเครดิต :Baa1 (Moody’s) / BBB+ (S&P)
วงเงินพันธบัตร :48,000 ล้านเยน
วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน :30 มิถุนายน 2551
อัตราดอกเบี้ย :ร้อยละ 0.31 ต่อปี
ราคาจัดจำหน่าย :ราคาเสมอภาค
ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่าย:ร้อยละ 0.20 ของวงเงินพันธบัตร
หัวหน้าคณะผู้จัดการจัดจำหน่ายพันธบัตร:Nomura Securities Co., Ltd.(Lead Manager)
ผู้จัดการจัดจำหน่ายพันธบัตร (Manager):Daiwa Securities SMBC Co., Ltd.
ธนาคารตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agent):The Nomura Trust and Banking Co., Ltd.
วัตถุประสงค์หลักในการออกพันธบัตรของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ เพื่อเป็นการ Refinance เงินกู้ในรูปเงินเยน และเพื่อสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดญี่ปุ่น จึงถือว่าเป็นการกลับเข้ามาระดมทุนในตลาดญี่ปุ่นอีกครั้งหลังจากว่างเว้นมานานเกือบ 4 ปี การออกพันธบัตรในครั้งนี้นับว่าประสบผลสำเร็จ โดยสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ Yen Libor (0.29%) บวกด้วยส่วนต่าง 0.02% ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าการออกพันธบัตรในรูปเงินเหรียญสหรัฐเมื่อปี 2546 2547 และ Samurai Bond เมื่อเดือนธันวาคม 2544
สำหรับการออก Samurai Bond ในครั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (นางพรรณี สถาวโรดม) เป็นหัวหน้าคณะในการเดินทางไปจัดทำ Roadshow ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยดำเนินการในรูปแบบ One-on-One meeting และ group presentation ในระหว่างวันที่ 15 — 16 มิถุนายน 2548 ซึ่งการออกพันธบัตรในครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนญี่ปุ่นทั้งในและนอกประเทศ นักลงทุนจากฮ่องกง สิงค์โปร์ และประเทศไทยก็ให้ความสนใจด้วยเช่นกัน โดยสามารถแบ่งฐานนักลงทุนใหญ่ๆออกเป็น ธนาคารพาณิชย์ 78% กองทุนบำเหน็จบำนาญ 15% Regional Bank 4% และ Asset Manager 3% สาเหตุที่นักลงทุนให้ความสนใจในพันธบัตรของไทย เนื่องจากระดับเครดิตของประเทศไทยยังเป็นที่ยอมรับ ประกอบกับพันธบัตรของรัฐบาลไทยที่ออกจำหน่ายในตลาดทุนต่างประเทศยังมีอยู่น้อย และพันธบัตรรุ่นนี้เป็นรุ่นสุดท้ายสำหรับการออกพันธบัตรในตลาดทุนต่างประเทศในปีงบประมาณนี้
ผลจากการทำ Refinance เงินกู้เงินเยนในครั้งนี้จะทำให้กระทรวงการคลังสามารถลดภาระดอกเบี้ยเดิมได้ประมาณ 1,054 ล้านบาท สำหรับระยะเวลา 3 ปี
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 45/2548 20 มิถุนายน 48--
ผู้ออกพันธบัตร :กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
ระดับเครดิต :Baa1 (Moody’s) / BBB+ (S&P)
วงเงินพันธบัตร :48,000 ล้านเยน
วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน :30 มิถุนายน 2551
อัตราดอกเบี้ย :ร้อยละ 0.31 ต่อปี
ราคาจัดจำหน่าย :ราคาเสมอภาค
ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่าย:ร้อยละ 0.20 ของวงเงินพันธบัตร
หัวหน้าคณะผู้จัดการจัดจำหน่ายพันธบัตร:Nomura Securities Co., Ltd.(Lead Manager)
ผู้จัดการจัดจำหน่ายพันธบัตร (Manager):Daiwa Securities SMBC Co., Ltd.
ธนาคารตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agent):The Nomura Trust and Banking Co., Ltd.
วัตถุประสงค์หลักในการออกพันธบัตรของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ เพื่อเป็นการ Refinance เงินกู้ในรูปเงินเยน และเพื่อสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดญี่ปุ่น จึงถือว่าเป็นการกลับเข้ามาระดมทุนในตลาดญี่ปุ่นอีกครั้งหลังจากว่างเว้นมานานเกือบ 4 ปี การออกพันธบัตรในครั้งนี้นับว่าประสบผลสำเร็จ โดยสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ Yen Libor (0.29%) บวกด้วยส่วนต่าง 0.02% ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าการออกพันธบัตรในรูปเงินเหรียญสหรัฐเมื่อปี 2546 2547 และ Samurai Bond เมื่อเดือนธันวาคม 2544
สำหรับการออก Samurai Bond ในครั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (นางพรรณี สถาวโรดม) เป็นหัวหน้าคณะในการเดินทางไปจัดทำ Roadshow ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยดำเนินการในรูปแบบ One-on-One meeting และ group presentation ในระหว่างวันที่ 15 — 16 มิถุนายน 2548 ซึ่งการออกพันธบัตรในครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนญี่ปุ่นทั้งในและนอกประเทศ นักลงทุนจากฮ่องกง สิงค์โปร์ และประเทศไทยก็ให้ความสนใจด้วยเช่นกัน โดยสามารถแบ่งฐานนักลงทุนใหญ่ๆออกเป็น ธนาคารพาณิชย์ 78% กองทุนบำเหน็จบำนาญ 15% Regional Bank 4% และ Asset Manager 3% สาเหตุที่นักลงทุนให้ความสนใจในพันธบัตรของไทย เนื่องจากระดับเครดิตของประเทศไทยยังเป็นที่ยอมรับ ประกอบกับพันธบัตรของรัฐบาลไทยที่ออกจำหน่ายในตลาดทุนต่างประเทศยังมีอยู่น้อย และพันธบัตรรุ่นนี้เป็นรุ่นสุดท้ายสำหรับการออกพันธบัตรในตลาดทุนต่างประเทศในปีงบประมาณนี้
ผลจากการทำ Refinance เงินกู้เงินเยนในครั้งนี้จะทำให้กระทรวงการคลังสามารถลดภาระดอกเบี้ยเดิมได้ประมาณ 1,054 ล้านบาท สำหรับระยะเวลา 3 ปี
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 45/2548 20 มิถุนายน 48--