สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 เริ่มฟื้นตัว หลังจากแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงมาตั้งแต่ช่วงต้นปีเริ่มผ่อนคลาย โดยเศรษฐกิจของตลาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ ในไตรมาสนี้ ฟื้นตัวเนื่องจากได้แรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชนของประเทศ ในขณะที่ดุลการค้าในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวเกินดุล ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาวะดุลการค้าของสหรัฐฯ ที่ขาดดุลมาตลอด จนส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัว สำหรับเศรษฐกิจของจีนยังคงเติบโตได้อย่างร้อนแรงในไตรมาสที่ 4 โดยมีการขยายตัวของประเทศในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น การบริโภคภายในประเทศ การลงทุนภายในประเทศ และดุลการค้ากับต่างประเทศ สำหรับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะมีการขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า
สำหรับเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยเป็นการชะลอตัวของการลงทุน และการบริโภคทั้งของภาคเอกชนและรัฐบาล ปริมาณการส่งออกขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่ปริมาณการนำเข้าขยายตัวมากขึ้น และในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ได้แก่ ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของค่าเงินบาท เป็นต้น โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่า ทั้งปี 2549 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.0 และคาดว่าในปี 2550 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 5.0
ภาคอุตสาหกรรมไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ตัวชี้วัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยังมีการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 แต่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 4.2 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548
ส่วนสถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 มีทิศทางลดลงจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 4 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 65,199.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 34,331.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 30,867.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ -2.1 และการนำเข้าลดลงร้อยละ -7.6 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.1 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ดุลการค้าเกินดุล 3,464.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน มีมูลค่ารวม 29,514 ล้านบาทลดลงร้อยละ —34.24 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนตุลาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 7,337 ล้านบาท และเดือนพฤศจิกายน 22,177 ล้านบาท ส่วนการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 324 โครงการ ลดลงร้อยละ -11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีเงินลงทุน 103,800 ล้านบาท ลดลงร้อยละ —27.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 104 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 32,900 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 99 โครงการ เป็นเงินลงทุน 36,200 ล้านบาท และโครงการคนไทย 100% จำนวน 121 โครงการ เป็นเงินลงทุน 34,800 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.47 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.07 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าฮาร์ตดิสไดรฟ์ (HDD) และ IC ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 8.36 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหลักๆ ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอขนาดเล็ก และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่ง
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 คาดว่าน่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2549 โดยจะมาจากสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาเพื่อรองรับกับการจำหน่ายในช่วงฤดูร้อน ขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์คาดว่าจะปรับตัวลดลงตามฤดูกาล ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2550 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 ซึ่งเป็นภาวะปกติของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จะทรงตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายปี อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม HDD และ IC ที่เป็นไปตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่ Semiconductor Industry Association ของสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่าในปี 2550 ตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
เคมีภัณฑ์ ไตรมาส 4 ปี 2549 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าลดลงร้อยละ 4.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 12.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 6.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 7.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 29.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในต้นปีหน้าน่าจะมีการชะลอตัวลง เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท สำหรับกฎระเบียบ REACH ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2550 ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการในประเทศไทยจึงควรเตรียมความพร้อมสำหรับกฎระเบียบดังกล่าว
ปิโตรเคมี ไตรมาส 4 ปี 2549 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียค่อนข้างผันผวน มีการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบ โดยในช่วงแรกของไตรมาสปริมาณแนฟธาในตลาดมีมาก เนื่องจากอินเดียมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง ส่วนช่วงหลังของไตรมาสราคาปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากผู้ผลิตเอทิลีนในเอเชียหลายรายกลับเข้ามาซื้อแนฟธาเพิ่มขึ้นเพื่อใช้หลังจากปิดซ่อมบำรุง และจากกรณีความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เนื่องจากการประชุมฉุกเฉินของกลุ่มประเทศโอเปค และมีข้อตกลงในการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลง ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดเอทิลีนมีแนวโน้มที่จะตึงตัวต่อไป ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมของไทยเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าว จึงควรเร่งวางแผนการผลิต และส่งเสริมให้มีการศึกษาแหล่งวัตถุดิบทางเลือกอื่นๆ อาทิเช่น ก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนวัตถุดิบที่ได้จากการกลั่นน้ำมัน
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากปัจจัยทางด้านสถานการณ์การเมืองในประเทศทำให้การลงทุนจากภาคเอกชนลดลงประกอบกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้ผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเหล็กทรงแบน การผลิตและการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 7.78 และ 2.38 ตามลำดับเนื่องจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศลดลง สำหรับเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การผลิตและการใช้ในประเทศขยายตัว ร้อยละ 12.46 และ 16.54 ตามลำดับ ความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับการซ่อมแซมบ้านเรือนและถนนหลังจากประสบภาวะน้ำท่วมประกอบกับโครงการก่อสร้างบางโครงการที่ต้องเลื่อนดำเนินการออกไปก่อนในช่วงน้ำท่วมก็กลับมาก่อสร้างตามปกติ
สำหรับแนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศใน ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าขยายตัวขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้เป็นผลมาจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลงและทิศทางของอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่ง โดยในส่วนของการผลิตและการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนเนื่องจากผู้ประกอบการได้เริ่มหันมาพัฒนาโครงการอาคารชุดซึ่งตั้งอยู่ตามเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีโครงการลงทุนขนาดโหญ่ของภาครัฐหลายโครงการ สำหรับสถานการณ์เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวขึ้นตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ผู้ผลิตได้ขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงมีผลทำให้การผลิตเพิ่มมากขึ้น
ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มีการผลิตรถยนต์จำนวน 288,273 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 7.55 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 0.32, 9.53 และ 19.65 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2549 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 4.64 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 3.16, 4.89 และ 14.53 ตามลำดับ
สภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2550 คาดการณ์ว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 โดยพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ยังคงเปราะบางจากปัจจัยความไม่แน่นอนหลายประการที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2549 ต่อเนื่องมาถึงต้นเดือนมกราคม 2550 ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่ยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจากปี 2549 และจากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการ ประมาณว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1.28 ล้านคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 53 และผลิตเพื่อส่งออกประมาณร้อยละ 47
พลาสติก ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 พบว่าดุลการค้าของประเทศไทยมีการขาดดุลสำหรับอุตสาหกรรมนี้อยู่ประมาณ 74.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 2,726.42 ล้าน (อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 36.65บาท/US$ คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยประจำเดือน ต.ค.—ธ.ค.49) ยอดขายในประเทศของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ลดลงเนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลงและมีการชะลอการบริโภค ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้ค่าใช้จ่ายแพงขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และความไม่มั่นใจต่อภาวะการเมืองของไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ
ด้านการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 466.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยสำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา และจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทได้แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ความได้เปรียบด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลาสติกไทยลดลงและคาดว่าจะส่งผลต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ต่อไป นอกจากนี้ปัจจัยวัตถุดิบของอุตสาหกรรมพลาสติกได้แก่ เม็ดพลาสติกที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสิ้นปี 2549 เนื่องจากจีนได้มีการลดภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกลง ทำให้มีการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีนจำนวนมาก และทำให้ผู้ประกอบการของไทยบางรายที่ไม่ได้สำรองวัตถุดิบไว้ต้องซื้อเม็ดพลาสติกในราคาแพงขึ้น สำหรับการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะทรงตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ในส่วนของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งคาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ดีตามภาวะของอุตสาหกรรมนั้นๆ
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีสภาวการณ์การผลิตหนังฟอก และการผลิตกระเป๋าที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเนื่องจากมีการส่งออกเพิ่มขึ้น การผลิตรองเท้าลดลงจากไตรมาสก่อนเนื่องจากยังมีสินค้าคงคลังสูง โดยการฟอกและการตกแต่งหนังฟอก ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.6 และกระเป๋า ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 29.8 และรองเท้า ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6.9
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีแนวโน้มการผลิตลดลงเนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศยุโรปยังมีภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา และมีตลาดคู่แข่งที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่มีต้นทุนต่ำกว่าไทย เช่น จีน เวียดนาม อีกทั้งไทยมีความผันผวนค่าเงินที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
อาหาร ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.0 มาจากการชะลอตัวลงของการผลิตอาหารทะเล เนื่องจากวัตถุดิบลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และภาพรวมตลอดทั้งปี 2549 ปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 แม้ว่าจะเกิดปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการผลิต การบริโภค และการส่งออก เช่น ปัญหาการเพิ่มขึ้นของค่าขนส่งอันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและตลาดภายในประเทศที่ยังคงมีอัตราดอกเบี้ยทรงตัวในระดับต่ำ ส่งผลต่อการบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนใน อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยในภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารมีการใช้กำลังการผลิตไม่แตกต่างจากปี 2548 ในระดับร้อยละ 56
สำหรับแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2550 คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารจะชะลอตัวลงจากปี 2549 ในระดับร้อยละ 3-5 โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท การชะลอตัวของเศรษฐกิจผู้นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ข่าวการระบาดของไข้หวัดนก การกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 4.26 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 0.69 และ 22.26 ตามลำดับ โดยการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย ในไตรมาสที่ 4 ปี2549 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ราคาไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ รวมทั้งราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ต้นทุนแรงงาน และอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขี้น ส่งผลให้มีการผลิตและการจำหน่ายสินค้าไม้และเครื่องเรือนในประเทศลดลงตามไปด้วย สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2550 น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากสถาณการณ์ทางการเมืองที่เริ่มจะคลี่คลาย ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ภาวะโดยรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 การผลิตยางพาราลดลงเล็กน้อย สาเหตุเนื่องความผันผวนราคายางพารา เป็นปัจจัยเสี่ยงและเป็นปัจจัยสำคัญต่อการวางแผนการผลิตและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ยาง ในส่วนของการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาส 4 ปี 2549 ปรับตัวลดลงจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ทำให้ต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อ โดยหันไปซื้อยางพาราจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียและซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ยางจากจีนและเวียดนามมากขึ้น
แนวโน้มในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ราคาน้ำมันดิบคาดว่าปรับตัวสูงขึ้นจากการลดการผลิตของโอเปค ซึ่งจะส่งผลให้ยางสังเคราะห์มีราคาสูงตามประเทศผู้ใช้ยางหลักโดยเฉพาะจีนจะเปลี่ยนจากการใช้ยางสังเคราะห์ดังกล่าวหันมาใช้ยางธรรมชาติจากไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การที่ภาครัฐมีแผนดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง จึงคาดว่าในอนาคตอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางของไทยจะมีโครงสร้างอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี 2548เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และ 1.9 ตามลำดับ โดยภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ส่งผลต่อความต้องการใช้เยื่อ กระดาษและสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น เพื่อจัดพิมพ์สมุดบันทึก ปฏิทิน กระดาษห่อของขวัญและการ์ดต่างๆ ประกอบกับความต้องการหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งเหตุผลประเด็นหลังมีส่วนทำให้การส่งออกเยื่อและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ลดลง เพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศ
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสก่อน เนื่องจากภาครัฐและภาคเอกชน รณรงค์ ผลักดันให้เกิดการบริโภคกระดาษในประเทศเพิ่มขึ้นจากการอ่านหนังสือ เพื่อทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น
ยา การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.6 และภาพรวมตลอดทั้งปี 2549 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.1 ซึ่งการผลิตที่ขยายตัว เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งการรับจ้างผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 คาดว่าการผลิตยาจะหดตัวลงจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 เล็กน้อย เนื่องจากผู้สั่งซื้อทยอยระบายสินค้าที่ซื้อจำนวนมากในไตรมาสที่ 2 และ 3 เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือมากในไตรมาสที่ 4 ซึ่งหากสินค้าคงคลังมีเหลือจำนวนมาก อาจส่งผลต่อเนื่องถึงไตรมาสที่ 1 ทำให้การผลิตในไตรมาสแรกต่ำกว่าไตรมาสสุดท้ายของปีได้ สำหรับการจำหน่ายยาในประเทศ คาดว่าจะหดตัวลงเล็กน้อยเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตจะจัดรายการส่งเสริมการขายในช่วงปลายปี
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มปี 2549 โดยรวมมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพียง ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งการชะลอตัวอาจส่งผลให้ความต้องการบริโภคเสื้อผ้าสำเร็จรูปของตลาดโลกชะลอตัวตาม และจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย
สำหรับแนวโน้มปี 2550 การแข่งขันในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าจีนและเวียดนามจะยังสามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ำกว่า ซึ่งไทยมีข้อเสียเปรียบทางด้านราคาที่แพงขึ้นในสายตาของผู้นำเข้าจากการที่เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าในอัตราสูงกว่าคู่แข่งในภูมิภาค ประกอบกับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก WTO เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 ที่ผ่านมา ทำให้เวียดนามมีโอกาสขยายตลาดเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังประเทศต่างๆ โดยไม่ถูกมาตรการต่างๆ กีดกัน
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 19.35 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 9.96 ล้านตัน และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.39 ล้านตัน โดยเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนปริมาณการผลิตรวมลดลงร้อยละ 8.86 เนื่องจากอยู่นอกช่วงฤดูกาลก่อสร้างและในบางพื้นที่ยังประสบกับปัญหาอุทกภัย แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตรวมเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.60 โดยในภาพรวมปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในปี 2549 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2550 คาดว่าจะเป็นไปตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยมีปัจจัยบวกคือ อัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลง โดยการขยายตัวของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จะขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐเป็นหลัก
เซรามิก ปริมาณการผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 33.83 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 5.03 และ 6.23 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.97 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 7.03 และ 9.98 ตามลำดับ โดยการผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ลดลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น
สำหรับแนวโน้มในปี 2550 การผลิต เซรามิกน่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากภาวะราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว สำหรับ การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2550 จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ซึ่งหากสถานการณ์สามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นจะส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ของไทยมีการขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีการเติบโตที่สูงขึ้นทั้งด้านการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 21.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ด้านการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในผลิตภัณฑ์ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป เนื่องมาจากราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้น และผู้ประกอบการเห็นว่าการที่ผู้บริโภคในประเทศนำทองมาขายคืนให้กับตน ผู้ประกอบการจึงได้ลดการถือครองทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปลงโดยส่งออกไปตลาดต่างประเทศ และผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่เครื่องประดับแท้มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ52.99 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด จึงนับได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ แม้ว่าการจำหน่ายและการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่ด้านการนำเข้าสินค้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ได้ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 5.15
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 จากการออกมาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทโดยให้มีการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผลให้ค่าเงินบาทขณะนี้อ่อนตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 จึงคาดการณ์ว่าการส่งออกมีแนวโน้มที่ขยายตัวในระดับเล็กน้อย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สำหรับเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยเป็นการชะลอตัวของการลงทุน และการบริโภคทั้งของภาคเอกชนและรัฐบาล ปริมาณการส่งออกขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่ปริมาณการนำเข้าขยายตัวมากขึ้น และในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ได้แก่ ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของค่าเงินบาท เป็นต้น โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่า ทั้งปี 2549 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.0 และคาดว่าในปี 2550 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 5.0
ภาคอุตสาหกรรมไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ตัวชี้วัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยังมีการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 แต่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 4.2 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548
ส่วนสถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 มีทิศทางลดลงจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 4 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 65,199.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 34,331.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 30,867.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ -2.1 และการนำเข้าลดลงร้อยละ -7.6 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.1 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ดุลการค้าเกินดุล 3,464.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน มีมูลค่ารวม 29,514 ล้านบาทลดลงร้อยละ —34.24 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนตุลาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 7,337 ล้านบาท และเดือนพฤศจิกายน 22,177 ล้านบาท ส่วนการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 324 โครงการ ลดลงร้อยละ -11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีเงินลงทุน 103,800 ล้านบาท ลดลงร้อยละ —27.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 104 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 32,900 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 99 โครงการ เป็นเงินลงทุน 36,200 ล้านบาท และโครงการคนไทย 100% จำนวน 121 โครงการ เป็นเงินลงทุน 34,800 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.47 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.07 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าฮาร์ตดิสไดรฟ์ (HDD) และ IC ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 8.36 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหลักๆ ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอขนาดเล็ก และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่ง
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 คาดว่าน่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2549 โดยจะมาจากสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาเพื่อรองรับกับการจำหน่ายในช่วงฤดูร้อน ขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์คาดว่าจะปรับตัวลดลงตามฤดูกาล ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2550 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 ซึ่งเป็นภาวะปกติของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จะทรงตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายปี อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม HDD และ IC ที่เป็นไปตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่ Semiconductor Industry Association ของสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่าในปี 2550 ตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
เคมีภัณฑ์ ไตรมาส 4 ปี 2549 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าลดลงร้อยละ 4.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 12.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 6.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 7.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 29.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในต้นปีหน้าน่าจะมีการชะลอตัวลง เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท สำหรับกฎระเบียบ REACH ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2550 ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการในประเทศไทยจึงควรเตรียมความพร้อมสำหรับกฎระเบียบดังกล่าว
ปิโตรเคมี ไตรมาส 4 ปี 2549 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียค่อนข้างผันผวน มีการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบ โดยในช่วงแรกของไตรมาสปริมาณแนฟธาในตลาดมีมาก เนื่องจากอินเดียมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง ส่วนช่วงหลังของไตรมาสราคาปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากผู้ผลิตเอทิลีนในเอเชียหลายรายกลับเข้ามาซื้อแนฟธาเพิ่มขึ้นเพื่อใช้หลังจากปิดซ่อมบำรุง และจากกรณีความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เนื่องจากการประชุมฉุกเฉินของกลุ่มประเทศโอเปค และมีข้อตกลงในการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลง ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดเอทิลีนมีแนวโน้มที่จะตึงตัวต่อไป ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมของไทยเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าว จึงควรเร่งวางแผนการผลิต และส่งเสริมให้มีการศึกษาแหล่งวัตถุดิบทางเลือกอื่นๆ อาทิเช่น ก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนวัตถุดิบที่ได้จากการกลั่นน้ำมัน
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากปัจจัยทางด้านสถานการณ์การเมืองในประเทศทำให้การลงทุนจากภาคเอกชนลดลงประกอบกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้ผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเหล็กทรงแบน การผลิตและการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 7.78 และ 2.38 ตามลำดับเนื่องจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศลดลง สำหรับเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การผลิตและการใช้ในประเทศขยายตัว ร้อยละ 12.46 และ 16.54 ตามลำดับ ความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับการซ่อมแซมบ้านเรือนและถนนหลังจากประสบภาวะน้ำท่วมประกอบกับโครงการก่อสร้างบางโครงการที่ต้องเลื่อนดำเนินการออกไปก่อนในช่วงน้ำท่วมก็กลับมาก่อสร้างตามปกติ
สำหรับแนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศใน ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าขยายตัวขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้เป็นผลมาจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลงและทิศทางของอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่ง โดยในส่วนของการผลิตและการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนเนื่องจากผู้ประกอบการได้เริ่มหันมาพัฒนาโครงการอาคารชุดซึ่งตั้งอยู่ตามเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีโครงการลงทุนขนาดโหญ่ของภาครัฐหลายโครงการ สำหรับสถานการณ์เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวขึ้นตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ผู้ผลิตได้ขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงมีผลทำให้การผลิตเพิ่มมากขึ้น
ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มีการผลิตรถยนต์จำนวน 288,273 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 7.55 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 0.32, 9.53 และ 19.65 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2549 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 4.64 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 3.16, 4.89 และ 14.53 ตามลำดับ
สภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2550 คาดการณ์ว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 โดยพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ยังคงเปราะบางจากปัจจัยความไม่แน่นอนหลายประการที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2549 ต่อเนื่องมาถึงต้นเดือนมกราคม 2550 ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่ยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจากปี 2549 และจากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการ ประมาณว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1.28 ล้านคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 53 และผลิตเพื่อส่งออกประมาณร้อยละ 47
พลาสติก ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 พบว่าดุลการค้าของประเทศไทยมีการขาดดุลสำหรับอุตสาหกรรมนี้อยู่ประมาณ 74.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 2,726.42 ล้าน (อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 36.65บาท/US$ คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยประจำเดือน ต.ค.—ธ.ค.49) ยอดขายในประเทศของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ลดลงเนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลงและมีการชะลอการบริโภค ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้ค่าใช้จ่ายแพงขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และความไม่มั่นใจต่อภาวะการเมืองของไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ
ด้านการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 466.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยสำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา และจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทได้แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ความได้เปรียบด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลาสติกไทยลดลงและคาดว่าจะส่งผลต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ต่อไป นอกจากนี้ปัจจัยวัตถุดิบของอุตสาหกรรมพลาสติกได้แก่ เม็ดพลาสติกที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสิ้นปี 2549 เนื่องจากจีนได้มีการลดภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกลง ทำให้มีการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีนจำนวนมาก และทำให้ผู้ประกอบการของไทยบางรายที่ไม่ได้สำรองวัตถุดิบไว้ต้องซื้อเม็ดพลาสติกในราคาแพงขึ้น สำหรับการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะทรงตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ในส่วนของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งคาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ดีตามภาวะของอุตสาหกรรมนั้นๆ
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีสภาวการณ์การผลิตหนังฟอก และการผลิตกระเป๋าที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเนื่องจากมีการส่งออกเพิ่มขึ้น การผลิตรองเท้าลดลงจากไตรมาสก่อนเนื่องจากยังมีสินค้าคงคลังสูง โดยการฟอกและการตกแต่งหนังฟอก ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.6 และกระเป๋า ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 29.8 และรองเท้า ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6.9
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีแนวโน้มการผลิตลดลงเนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศยุโรปยังมีภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา และมีตลาดคู่แข่งที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่มีต้นทุนต่ำกว่าไทย เช่น จีน เวียดนาม อีกทั้งไทยมีความผันผวนค่าเงินที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
อาหาร ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.0 มาจากการชะลอตัวลงของการผลิตอาหารทะเล เนื่องจากวัตถุดิบลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และภาพรวมตลอดทั้งปี 2549 ปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 แม้ว่าจะเกิดปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการผลิต การบริโภค และการส่งออก เช่น ปัญหาการเพิ่มขึ้นของค่าขนส่งอันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและตลาดภายในประเทศที่ยังคงมีอัตราดอกเบี้ยทรงตัวในระดับต่ำ ส่งผลต่อการบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนใน อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยในภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารมีการใช้กำลังการผลิตไม่แตกต่างจากปี 2548 ในระดับร้อยละ 56
สำหรับแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2550 คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารจะชะลอตัวลงจากปี 2549 ในระดับร้อยละ 3-5 โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท การชะลอตัวของเศรษฐกิจผู้นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ข่าวการระบาดของไข้หวัดนก การกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 4.26 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 0.69 และ 22.26 ตามลำดับ โดยการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย ในไตรมาสที่ 4 ปี2549 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ราคาไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ รวมทั้งราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ต้นทุนแรงงาน และอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขี้น ส่งผลให้มีการผลิตและการจำหน่ายสินค้าไม้และเครื่องเรือนในประเทศลดลงตามไปด้วย สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2550 น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากสถาณการณ์ทางการเมืองที่เริ่มจะคลี่คลาย ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ภาวะโดยรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 การผลิตยางพาราลดลงเล็กน้อย สาเหตุเนื่องความผันผวนราคายางพารา เป็นปัจจัยเสี่ยงและเป็นปัจจัยสำคัญต่อการวางแผนการผลิตและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ยาง ในส่วนของการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาส 4 ปี 2549 ปรับตัวลดลงจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ทำให้ต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อ โดยหันไปซื้อยางพาราจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียและซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ยางจากจีนและเวียดนามมากขึ้น
แนวโน้มในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ราคาน้ำมันดิบคาดว่าปรับตัวสูงขึ้นจากการลดการผลิตของโอเปค ซึ่งจะส่งผลให้ยางสังเคราะห์มีราคาสูงตามประเทศผู้ใช้ยางหลักโดยเฉพาะจีนจะเปลี่ยนจากการใช้ยางสังเคราะห์ดังกล่าวหันมาใช้ยางธรรมชาติจากไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การที่ภาครัฐมีแผนดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง จึงคาดว่าในอนาคตอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางของไทยจะมีโครงสร้างอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี 2548เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และ 1.9 ตามลำดับ โดยภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ส่งผลต่อความต้องการใช้เยื่อ กระดาษและสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น เพื่อจัดพิมพ์สมุดบันทึก ปฏิทิน กระดาษห่อของขวัญและการ์ดต่างๆ ประกอบกับความต้องการหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งเหตุผลประเด็นหลังมีส่วนทำให้การส่งออกเยื่อและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ลดลง เพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศ
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสก่อน เนื่องจากภาครัฐและภาคเอกชน รณรงค์ ผลักดันให้เกิดการบริโภคกระดาษในประเทศเพิ่มขึ้นจากการอ่านหนังสือ เพื่อทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น
ยา การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.6 และภาพรวมตลอดทั้งปี 2549 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.1 ซึ่งการผลิตที่ขยายตัว เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งการรับจ้างผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 คาดว่าการผลิตยาจะหดตัวลงจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 เล็กน้อย เนื่องจากผู้สั่งซื้อทยอยระบายสินค้าที่ซื้อจำนวนมากในไตรมาสที่ 2 และ 3 เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือมากในไตรมาสที่ 4 ซึ่งหากสินค้าคงคลังมีเหลือจำนวนมาก อาจส่งผลต่อเนื่องถึงไตรมาสที่ 1 ทำให้การผลิตในไตรมาสแรกต่ำกว่าไตรมาสสุดท้ายของปีได้ สำหรับการจำหน่ายยาในประเทศ คาดว่าจะหดตัวลงเล็กน้อยเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตจะจัดรายการส่งเสริมการขายในช่วงปลายปี
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มปี 2549 โดยรวมมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพียง ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งการชะลอตัวอาจส่งผลให้ความต้องการบริโภคเสื้อผ้าสำเร็จรูปของตลาดโลกชะลอตัวตาม และจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย
สำหรับแนวโน้มปี 2550 การแข่งขันในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าจีนและเวียดนามจะยังสามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ำกว่า ซึ่งไทยมีข้อเสียเปรียบทางด้านราคาที่แพงขึ้นในสายตาของผู้นำเข้าจากการที่เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าในอัตราสูงกว่าคู่แข่งในภูมิภาค ประกอบกับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก WTO เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 ที่ผ่านมา ทำให้เวียดนามมีโอกาสขยายตลาดเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังประเทศต่างๆ โดยไม่ถูกมาตรการต่างๆ กีดกัน
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 19.35 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 9.96 ล้านตัน และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.39 ล้านตัน โดยเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนปริมาณการผลิตรวมลดลงร้อยละ 8.86 เนื่องจากอยู่นอกช่วงฤดูกาลก่อสร้างและในบางพื้นที่ยังประสบกับปัญหาอุทกภัย แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตรวมเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.60 โดยในภาพรวมปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในปี 2549 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2550 คาดว่าจะเป็นไปตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยมีปัจจัยบวกคือ อัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลง โดยการขยายตัวของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จะขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐเป็นหลัก
เซรามิก ปริมาณการผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 33.83 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 5.03 และ 6.23 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.97 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 7.03 และ 9.98 ตามลำดับ โดยการผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ลดลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น
สำหรับแนวโน้มในปี 2550 การผลิต เซรามิกน่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากภาวะราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว สำหรับ การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2550 จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ซึ่งหากสถานการณ์สามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นจะส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ของไทยมีการขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีการเติบโตที่สูงขึ้นทั้งด้านการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 21.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ด้านการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในผลิตภัณฑ์ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป เนื่องมาจากราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้น และผู้ประกอบการเห็นว่าการที่ผู้บริโภคในประเทศนำทองมาขายคืนให้กับตน ผู้ประกอบการจึงได้ลดการถือครองทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปลงโดยส่งออกไปตลาดต่างประเทศ และผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่เครื่องประดับแท้มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ52.99 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด จึงนับได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ แม้ว่าการจำหน่ายและการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่ด้านการนำเข้าสินค้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ได้ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 5.15
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 จากการออกมาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทโดยให้มีการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผลให้ค่าเงินบาทขณะนี้อ่อนตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 จึงคาดการณ์ว่าการส่งออกมีแนวโน้มที่ขยายตัวในระดับเล็กน้อย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-