ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เอ็นพีแอลมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังตามภาวะเศรษฐกิจ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบัน
การเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ตัวเลขเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดว่า
อัตราการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลจะอยู่ในระดับเดียวกับในช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ที่เสื่อมค่าลงทำให้สถาบันการเงินอาจจะ
ต้องปรับชั้นการกันสำรองให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ธปท. ยังไม่ได้ปรับเป้าหมายเดิมที่คาดว่าเอ็นพีแอลทั้งปี 50 จะลดลงเหลือร้อยละ 2 ของ
สินเชื่อรวม แต่อยากเห็น ธ.พาณิชย์คำนึงถึงคุณภาพสินเชื่อ อย่าแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อมากเกินไป ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน
มีสภาพคล่องในระบบสูง อัตราดอกเบี้ยต่ำ น่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของภาคธุรกิจ จึงคาดว่าการบริโภคในประเทศจะฟื้นตัวได้ใน
ช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ถึงต้นปี 51 ซึ่งจะสนับสนุนให้การขยายตัวของสินเชื่อสถาบันการเงินเร่งตัวขึ้นและแรงกดดันต่อเอ็นพีแอลจะลดลงด้วย
ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าจะทำให้ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าทุนจากต่างประเทศลดลงน่าจะเป็นผลดีต่อประเทศ เพราะไทยต้อง
อาศัยการนำเข้าสินค้าทุนในการผลิตเพื่อส่งออก สำหรับสภาพคล่องการเงินในระบบในช่วงนี้ไม่มีปัญหาเพราะมีอยู่สูงมาก ขณะที่แนวโน้มดอกเบี้ย
เงินกู้จะปรับลดลงได้อีก เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ธ.พาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบเฉลี่ยร้อยละ 0.15 และเงินฝากปรับลดลงมากกว่านั้น
ส่วนการกันสำรอง IAS39 ไม่ได้ทำให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อน้อยลง เพราะ ธปท. ประกาศมานานแล้วเพื่อให้ ธ.พาณิชย์เตรียมตัว แต่ข้อจำกัด
คือความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจมากกว่าว่าจะกู้หรือไม่ (มติชน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. กองทุนฟื้นฟูฯ เลื่อนออกพันธบัตร 2 แสนล้านบาท เนื่องจากสภาพตลาดเงินไม่เหมาะสม นายไพโรจน์ เฮงสกุล ผู้ช่วย
ผู้ว่าการสายจัดการกองทุนและหนี้ ธปท. ในฐานะผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ เปิดเผยว่า กองทุนฟื้นฟูฯ จะเลื่อนเวลาในการออกพันธบัตรของ
กองทุนฟื้นฟูฯ ที่กำหนดจะออกพันธบัตรวงเงินประมาณ 2 แสนล้านบาท ในเร็ว ๆ นี้ออกไป เนื่องจากสภาพตลาดการเงินขณะนี้ยังไม่เหมาะสม
เพราะมีปัญหาด้านสถานการณ์ค่าเงินบาทและปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม วงเงินที่เคยจะออกรวมประมาณ 2 แสนล้านบาท ยัง
คงวงเงินเดิม โดยงวดแรกที่จะออกยังคงเป็นวงเงิน 7 - 8 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เคยระบุว่าจะออกพันธบัตรอายุประมาณ 5 ปี คงจะต้อง
พิจารณาใหม่อีกครั้งเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ แนวคิดที่จะออกพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ดังกล่าวเพื่อ
ใช้ทดแทนการกู้ยืมเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตรที่กำลังจะปิดตัวลงในสิ้นปีนี้ (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังจะระดมนักวิชาการหาแนวทางการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า
ก.คลัง และ ธปท. จะเชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีแนวความคิดเรื่องระบบการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนมาร่วมกันหาแนวทางปรับระบบ
บริหารความผันผวนของการไหลเข้าออกของเงินทุนในอนาคตไม่ให้ผันผวนมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย โดยต้องหาวิธีการ
ดำเนินการเพื่อให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งการแก้ไขปัญหาเรื่องข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งด้านกฎหมาย ด้านองค์กรที่อาจต้องปรับเปลี่ยนกฎหมาย ธปท.
ที่เกี่ยวข้อง หรือต้องเพิ่มการประสานงานระหว่าง ก.คลัง และ ธปท. ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเกิดการขาดทุนก็จะทำให้ ธปท.
ถูกกล่าวหาได้ เพราะต้องยอมรับว่าการที่ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงมาทำให้ ธปท. ขาดทุนทางบัญชี ซึ่งเรื่องเหล่านี้ต้องทำความ
เข้าใจในสังคมให้ชัดเจน โดยที่ผ่านมา ธปท. ได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทและขาดทุนประมาณ 1.7 แสนล้านบาท ในปีที่ผ่านมา แต่
ถือว่าเป็นการดูแลไม่ให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศมีปัญหา ซึ่ง ก.คลังพร้อมรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด เพราะรัฐบาลมีเป้าหมายสำคัญ
ในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนมากเกินไปและต้องไม่แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศคู่แข่งเพื่อไม่ให้ส่ง
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ (เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ตลาดหลักทรัพย์อนุมัติแก้ไขเกณฑ์ห้ามขายหุ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รอง ผจก. ตลาดหลักทรัพย์ฯ
เปิดเผยว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ มีมติอนุมัติให้แก้ไขเกณฑ์การห้ามผู้มีส่วนร่วมในการบริหารของบริษัทจดทะเบียนขายหุ้นภายในระยะ
เวลาที่กำหนด (ไซเลนท์ พีเรียด) ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรองรับการจดทะเบียนสองตลาดของบริษัทจดทะเบียนในอนาคต หากบริษัท
ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ดังกล่าวของตลาดนั้น ๆ แล้ว จะได้รับการผ่อนผันไม่ต้องทำไซเลนท์ พีเรียด
ในไทย ซี่งการแก้ไขเกณฑ์ครั้งนี้จะนำเสนอต่อ สนง.กลต. เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป และหลังจากนี้จะมีการพิจารณาปรับเกณฑ์อื่น ๆ
รองรับการจดทะเบียน 2 ตลาดเพิ่มเติม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเข้าจดทะเบียนในตลาดทุนไทย โดยเฉพาะสำหรับบริษัทไทยในต่างประเทศ
ที่มีศักยภาพ รวมทั้งมีการศึกษาแนวทางการเชื่อมโยงศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ของไทยกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในต่างประเทศ (มติชน, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลก รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 50 กองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกทั้งปีนี้และปีหน้าเป็นร้อยละ 5.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.9 ที่เคยคาดการณ์
ไว้ตั้งแต่เดือน เม.ย. เนื่องจากเศรษฐกิจจีน อินเดีย และรัสเซียเติบโตในอัตราเร่ง ขณะที่เศรษฐกิจสรอ. ได้เริ่มฟื้นตัวแล้ว โดยได้ปรับ
เพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนเป็นร้อยละ 11.2 จากเดิมร้อยละ 10.0 เนื่องจากการส่งออกและการลงทุน
ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมทั้งการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ อย่างไรก็ตาม IMF เตือนความเสี่ยงจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่
เกิดขึ้นทั่วโลกเนื่องจากราคาน้ำมันและราคาอาหารสูงขึ้น และแรงกดดันจากตลาดแรงงาน ทำให้ ธ.กลางของประเทศต่างๆ ต้องดำเนิน
นโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้นกว่าเดิม (รอยเตอร์)
2. ผลสำรวจในเดือน ก.ค.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในปีหน้าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 25 ก.ค.50
YouGov/Citigroup เปิดเผยผลสำรวจความคาดหวังด้านเงินเฟ้อของประชาชนชาวอังกฤษในเดือน ก.ค.50 ว่า ในปีหน้าคาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4 ที่สำรวจไว้เมื่อเดือน มิ.ย.50 ซึ่งอยู่เหนือกว่าระดับเป้าหมายที่ ธ.กลางอังกฤษ
กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายการเงินมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับเป้าหมายร้อยละ 2.0 เนื่องจากสามารถ
ควบคุมการเติบโตของดัชนีราคาผู้บริโภคได้ อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้ออังกฤษในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาจะลดลง แต่ความคาดหวัง
ด้านเงินเฟ้อของชาวอังกฤษที่เพิ่มขึ้น อาจสะท้อนว่าราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นจะส่งผลให้ความคาดหวังด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นักวิเคราะห์
กล่าวว่าหากความคาดหวังเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปในเดือน ส.ค. อาจจะเพิ่มแรงกดดันเกี่ยวการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ
ธ.กลางอังกฤษให้ถึงร้อยละ 6 ในอนาคตอันใกล้ อนึ่ง ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว
5 ครั้งตั้งแต่เดือน ส.ค.49 ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 5.75 (รอยเตอร์)
3. สหภาพยุโรปเตือนจีนเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าที่ส่งออกจากจีน รายงานจาก Nanjingเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 50
ผู้บริหารระดับสูงในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของยุโรปออกมาเตือนจีนเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ทั้งนี้นาย Meglena
Kuneva กล่าวภายหลังจากการเยือนศูนย์ทดสอบสินค้าและโรงงานที่ผลิตของเล่นของจีนทางตะวันออกของจังหวัด Jiangsu ว่า สหภาพยุโรป(EU)
จะดำเนินการในมาตรการต่างๆกับจีนโดยการห้ามนำเข้าสินค้าจากจีนหากจีนไม่พยายามที่จะปราบปรามผู้ผลิตสินค้าเป็นอันตราย ซึ่ง EU จะไม่
ยินยอมให้มีการนำเข้า ทั้งนี้การเยือนจีนเป็นไปตามกำหนดการก่อนที่จะมีการประชุมอย่างเป็นทางการระหว่าง สรอ. และทางการจีน ในเรื่อง
ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่ส่งออกจากจีน ซึ่งที่ผ่านมาจีนต้องเผชิญกับแรงกดดันจากประเทศคู่ค้าหลังจากพบว่าอาหารเลี้ยงสัตว์ ปลามีพิษ
ของเล่นอันตราย และยาสีฟัน ที่ส่งออกจากจีนมีพิษ โดยในปี 49 จีนมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่บกพร่อง 924 รายการที่รายงาน
โดยระบบคุ้มครองผู้บริโภค RAPEX ที่กำลังตึงเครียดกับการเกินดุลทางการค้าของจีนในภูมิภาคซึ่งการส่งออกของจีนไป EU ในระหว่าง
ปี 46 — 49 เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางสิงคโปร์แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในสิงคโปร์ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 25 ก.ค.50 ธ.กลางสิงคโปร์
ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นซึ่งเกิดจากการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์และทำให้ ธ.พาณิชย์ในสิงคโปร์ต้องปล่อยกู้
ให้ผู้ซื้อบ้านและธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น เนื่องจากร้อยละ 26-28 ของสินเชื่อทั้งหมดที่ ธ.พาณิชย์ในสิงคโปร์ปล่อยกู้จะเกี่ยวข้องกับ
อสังหาริมทรัพย์ โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย.50 ที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 สูงสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นใน
ภูมิภาคเดียวกันก็ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ดี ราคาบ้านได้เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีและอัตราเงินเดือนในหลาย
ภาคธุรกิจเช่น ธนาคารพาณิชย์ได้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ธ.กลางสิงคโปร์กังวลว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ค่าเช่าสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบ
ให้ราคาสินค้าและบริการสูงตามไปด้วย และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลได้เพิ่มค่าธรรมเนียมในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นร้อยละ 70 จากเดิม
ร้อยละ 50 นับเป็นความพยายามของรัฐบาลที่ต้องการชะลอความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ที่เพิ่งผ่านมา เศรษฐกิจ
สิงคโปร์ขยายตัวถึงร้อยละ 12.8 สูงกว่าที่คาดไว้ ซึ่งทำให้รัฐบาลปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 5-7
ใกล้เคียงกับร้อยละ 7.9 ต่อปีในปีก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.ค. 50 25 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.682 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4495/33.7803 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.40000 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 883.65/41.07 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.70 70.14 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.59*/25.74** 29.59*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 19 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เอ็นพีแอลมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังตามภาวะเศรษฐกิจ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบัน
การเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ตัวเลขเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดว่า
อัตราการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลจะอยู่ในระดับเดียวกับในช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ที่เสื่อมค่าลงทำให้สถาบันการเงินอาจจะ
ต้องปรับชั้นการกันสำรองให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ธปท. ยังไม่ได้ปรับเป้าหมายเดิมที่คาดว่าเอ็นพีแอลทั้งปี 50 จะลดลงเหลือร้อยละ 2 ของ
สินเชื่อรวม แต่อยากเห็น ธ.พาณิชย์คำนึงถึงคุณภาพสินเชื่อ อย่าแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อมากเกินไป ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน
มีสภาพคล่องในระบบสูง อัตราดอกเบี้ยต่ำ น่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของภาคธุรกิจ จึงคาดว่าการบริโภคในประเทศจะฟื้นตัวได้ใน
ช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ถึงต้นปี 51 ซึ่งจะสนับสนุนให้การขยายตัวของสินเชื่อสถาบันการเงินเร่งตัวขึ้นและแรงกดดันต่อเอ็นพีแอลจะลดลงด้วย
ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าจะทำให้ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าทุนจากต่างประเทศลดลงน่าจะเป็นผลดีต่อประเทศ เพราะไทยต้อง
อาศัยการนำเข้าสินค้าทุนในการผลิตเพื่อส่งออก สำหรับสภาพคล่องการเงินในระบบในช่วงนี้ไม่มีปัญหาเพราะมีอยู่สูงมาก ขณะที่แนวโน้มดอกเบี้ย
เงินกู้จะปรับลดลงได้อีก เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ธ.พาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบเฉลี่ยร้อยละ 0.15 และเงินฝากปรับลดลงมากกว่านั้น
ส่วนการกันสำรอง IAS39 ไม่ได้ทำให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อน้อยลง เพราะ ธปท. ประกาศมานานแล้วเพื่อให้ ธ.พาณิชย์เตรียมตัว แต่ข้อจำกัด
คือความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจมากกว่าว่าจะกู้หรือไม่ (มติชน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. กองทุนฟื้นฟูฯ เลื่อนออกพันธบัตร 2 แสนล้านบาท เนื่องจากสภาพตลาดเงินไม่เหมาะสม นายไพโรจน์ เฮงสกุล ผู้ช่วย
ผู้ว่าการสายจัดการกองทุนและหนี้ ธปท. ในฐานะผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ เปิดเผยว่า กองทุนฟื้นฟูฯ จะเลื่อนเวลาในการออกพันธบัตรของ
กองทุนฟื้นฟูฯ ที่กำหนดจะออกพันธบัตรวงเงินประมาณ 2 แสนล้านบาท ในเร็ว ๆ นี้ออกไป เนื่องจากสภาพตลาดการเงินขณะนี้ยังไม่เหมาะสม
เพราะมีปัญหาด้านสถานการณ์ค่าเงินบาทและปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม วงเงินที่เคยจะออกรวมประมาณ 2 แสนล้านบาท ยัง
คงวงเงินเดิม โดยงวดแรกที่จะออกยังคงเป็นวงเงิน 7 - 8 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เคยระบุว่าจะออกพันธบัตรอายุประมาณ 5 ปี คงจะต้อง
พิจารณาใหม่อีกครั้งเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ แนวคิดที่จะออกพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ดังกล่าวเพื่อ
ใช้ทดแทนการกู้ยืมเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตรที่กำลังจะปิดตัวลงในสิ้นปีนี้ (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังจะระดมนักวิชาการหาแนวทางการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า
ก.คลัง และ ธปท. จะเชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีแนวความคิดเรื่องระบบการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนมาร่วมกันหาแนวทางปรับระบบ
บริหารความผันผวนของการไหลเข้าออกของเงินทุนในอนาคตไม่ให้ผันผวนมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย โดยต้องหาวิธีการ
ดำเนินการเพื่อให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งการแก้ไขปัญหาเรื่องข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งด้านกฎหมาย ด้านองค์กรที่อาจต้องปรับเปลี่ยนกฎหมาย ธปท.
ที่เกี่ยวข้อง หรือต้องเพิ่มการประสานงานระหว่าง ก.คลัง และ ธปท. ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเกิดการขาดทุนก็จะทำให้ ธปท.
ถูกกล่าวหาได้ เพราะต้องยอมรับว่าการที่ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงมาทำให้ ธปท. ขาดทุนทางบัญชี ซึ่งเรื่องเหล่านี้ต้องทำความ
เข้าใจในสังคมให้ชัดเจน โดยที่ผ่านมา ธปท. ได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทและขาดทุนประมาณ 1.7 แสนล้านบาท ในปีที่ผ่านมา แต่
ถือว่าเป็นการดูแลไม่ให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศมีปัญหา ซึ่ง ก.คลังพร้อมรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด เพราะรัฐบาลมีเป้าหมายสำคัญ
ในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนมากเกินไปและต้องไม่แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศคู่แข่งเพื่อไม่ให้ส่ง
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ (เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ตลาดหลักทรัพย์อนุมัติแก้ไขเกณฑ์ห้ามขายหุ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รอง ผจก. ตลาดหลักทรัพย์ฯ
เปิดเผยว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ มีมติอนุมัติให้แก้ไขเกณฑ์การห้ามผู้มีส่วนร่วมในการบริหารของบริษัทจดทะเบียนขายหุ้นภายในระยะ
เวลาที่กำหนด (ไซเลนท์ พีเรียด) ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรองรับการจดทะเบียนสองตลาดของบริษัทจดทะเบียนในอนาคต หากบริษัท
ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ดังกล่าวของตลาดนั้น ๆ แล้ว จะได้รับการผ่อนผันไม่ต้องทำไซเลนท์ พีเรียด
ในไทย ซี่งการแก้ไขเกณฑ์ครั้งนี้จะนำเสนอต่อ สนง.กลต. เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป และหลังจากนี้จะมีการพิจารณาปรับเกณฑ์อื่น ๆ
รองรับการจดทะเบียน 2 ตลาดเพิ่มเติม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเข้าจดทะเบียนในตลาดทุนไทย โดยเฉพาะสำหรับบริษัทไทยในต่างประเทศ
ที่มีศักยภาพ รวมทั้งมีการศึกษาแนวทางการเชื่อมโยงศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ของไทยกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในต่างประเทศ (มติชน, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลก รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 50 กองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกทั้งปีนี้และปีหน้าเป็นร้อยละ 5.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.9 ที่เคยคาดการณ์
ไว้ตั้งแต่เดือน เม.ย. เนื่องจากเศรษฐกิจจีน อินเดีย และรัสเซียเติบโตในอัตราเร่ง ขณะที่เศรษฐกิจสรอ. ได้เริ่มฟื้นตัวแล้ว โดยได้ปรับ
เพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนเป็นร้อยละ 11.2 จากเดิมร้อยละ 10.0 เนื่องจากการส่งออกและการลงทุน
ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมทั้งการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ อย่างไรก็ตาม IMF เตือนความเสี่ยงจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่
เกิดขึ้นทั่วโลกเนื่องจากราคาน้ำมันและราคาอาหารสูงขึ้น และแรงกดดันจากตลาดแรงงาน ทำให้ ธ.กลางของประเทศต่างๆ ต้องดำเนิน
นโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้นกว่าเดิม (รอยเตอร์)
2. ผลสำรวจในเดือน ก.ค.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในปีหน้าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 25 ก.ค.50
YouGov/Citigroup เปิดเผยผลสำรวจความคาดหวังด้านเงินเฟ้อของประชาชนชาวอังกฤษในเดือน ก.ค.50 ว่า ในปีหน้าคาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4 ที่สำรวจไว้เมื่อเดือน มิ.ย.50 ซึ่งอยู่เหนือกว่าระดับเป้าหมายที่ ธ.กลางอังกฤษ
กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายการเงินมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับเป้าหมายร้อยละ 2.0 เนื่องจากสามารถ
ควบคุมการเติบโตของดัชนีราคาผู้บริโภคได้ อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้ออังกฤษในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาจะลดลง แต่ความคาดหวัง
ด้านเงินเฟ้อของชาวอังกฤษที่เพิ่มขึ้น อาจสะท้อนว่าราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นจะส่งผลให้ความคาดหวังด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นักวิเคราะห์
กล่าวว่าหากความคาดหวังเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปในเดือน ส.ค. อาจจะเพิ่มแรงกดดันเกี่ยวการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ
ธ.กลางอังกฤษให้ถึงร้อยละ 6 ในอนาคตอันใกล้ อนึ่ง ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว
5 ครั้งตั้งแต่เดือน ส.ค.49 ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 5.75 (รอยเตอร์)
3. สหภาพยุโรปเตือนจีนเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าที่ส่งออกจากจีน รายงานจาก Nanjingเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 50
ผู้บริหารระดับสูงในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของยุโรปออกมาเตือนจีนเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ทั้งนี้นาย Meglena
Kuneva กล่าวภายหลังจากการเยือนศูนย์ทดสอบสินค้าและโรงงานที่ผลิตของเล่นของจีนทางตะวันออกของจังหวัด Jiangsu ว่า สหภาพยุโรป(EU)
จะดำเนินการในมาตรการต่างๆกับจีนโดยการห้ามนำเข้าสินค้าจากจีนหากจีนไม่พยายามที่จะปราบปรามผู้ผลิตสินค้าเป็นอันตราย ซึ่ง EU จะไม่
ยินยอมให้มีการนำเข้า ทั้งนี้การเยือนจีนเป็นไปตามกำหนดการก่อนที่จะมีการประชุมอย่างเป็นทางการระหว่าง สรอ. และทางการจีน ในเรื่อง
ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่ส่งออกจากจีน ซึ่งที่ผ่านมาจีนต้องเผชิญกับแรงกดดันจากประเทศคู่ค้าหลังจากพบว่าอาหารเลี้ยงสัตว์ ปลามีพิษ
ของเล่นอันตราย และยาสีฟัน ที่ส่งออกจากจีนมีพิษ โดยในปี 49 จีนมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่บกพร่อง 924 รายการที่รายงาน
โดยระบบคุ้มครองผู้บริโภค RAPEX ที่กำลังตึงเครียดกับการเกินดุลทางการค้าของจีนในภูมิภาคซึ่งการส่งออกของจีนไป EU ในระหว่าง
ปี 46 — 49 เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางสิงคโปร์แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในสิงคโปร์ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 25 ก.ค.50 ธ.กลางสิงคโปร์
ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นซึ่งเกิดจากการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์และทำให้ ธ.พาณิชย์ในสิงคโปร์ต้องปล่อยกู้
ให้ผู้ซื้อบ้านและธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น เนื่องจากร้อยละ 26-28 ของสินเชื่อทั้งหมดที่ ธ.พาณิชย์ในสิงคโปร์ปล่อยกู้จะเกี่ยวข้องกับ
อสังหาริมทรัพย์ โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย.50 ที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 สูงสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นใน
ภูมิภาคเดียวกันก็ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ดี ราคาบ้านได้เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีและอัตราเงินเดือนในหลาย
ภาคธุรกิจเช่น ธนาคารพาณิชย์ได้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ธ.กลางสิงคโปร์กังวลว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ค่าเช่าสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบ
ให้ราคาสินค้าและบริการสูงตามไปด้วย และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลได้เพิ่มค่าธรรมเนียมในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นร้อยละ 70 จากเดิม
ร้อยละ 50 นับเป็นความพยายามของรัฐบาลที่ต้องการชะลอความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ที่เพิ่งผ่านมา เศรษฐกิจ
สิงคโปร์ขยายตัวถึงร้อยละ 12.8 สูงกว่าที่คาดไว้ ซึ่งทำให้รัฐบาลปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 5-7
ใกล้เคียงกับร้อยละ 7.9 ต่อปีในปีก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.ค. 50 25 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.682 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4495/33.7803 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.40000 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 883.65/41.07 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.70 70.14 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.59*/25.74** 29.59*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 19 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--