นายเจะอามิง โตะตาหยง อดีต สส.นราธิวาส / รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงข้อคิดเห็น กรณีพบเนื้อสุกรในอาหารที่ได้รับตรารับรอง "ฮาลาล" จากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พบเนื้อและไขมันสุกรเจือปน ทำให้ผู้บริโภคไม่แน่ใจกับการมีตราประกันอาหารที่ถูกต้องตามหลักการของศาสนาอิสลาม มิหนำซ้ำยังมีผลกระทบถึงการส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลไปยังประเทศโลกมุสลิม ทำให้มีผลด้านการส่งออกสินค้าบริโภคประเภทอาหาร นำไปสู่ความเชื่อมั่นของประเทศโลกมุสลิมต่อการสั่งนำเข้าอาหารฮาลาลจากประเทศไทยลดลงไปด้วย มีผลกระทบด้านธุรกิจอาหารฮาลาลในอนาคตอย่างน่าเป็นห่วง
นายเจะอามิง ฯ เรียกร้องหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อความผิดผลาดที่เกิดขึ้น นอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายในภาคธุรกิจแล้ว คณะกรรมการ ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมุสลิมที่ปล่อยให้เนื้อและไขมันสุกรที่ เป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม เจือปนในอาหารที่ได้รับตราฮาลาลจากคณะกรรมฯ ด้วยการลาออก แสดงความรับผิดชอบอย่าง รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล
ภายหลังจากผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ฮ่อยจ๊อปู "เจพี" ขนาด 1 กิโลกรัม ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทเจพี ซีฟูด (JP SEAFOODS) ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่ได้รับตรารับรอง "ฮาลาล" จากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (กอท.ฮล.435470011244) มีเนื้อและไขมันสุกรปนเปื้อน!
" สุกรเป็นของฮารอม(สิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิม) สุกรเป็นสัตว์ต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม ไม่สามารถนำมารับประทานได้
นายเจะอามิง ฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ต่อไปนี้รัฐบาล หน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องสร้างมาตรฐานอาหารฮาลาลให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม และสอดคล้องกับมาตรฐานอาหารฮาลาลสากล รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลให้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับของผู้ผลิตผู้บริโภค รวมถึงองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
นายเจะอามิง ฯ พูดถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้ฝ่ายการเมืองให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก นับต่อจากนี้ไปถึงเวลาแล้วที่เมืองไทยจะต้องมี กฎหมายอาหารฮาลาล เป็นการเฉพาะ เพื่อจะได้เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะสามารถเอาผิด ผู้กระทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคได้
ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายใดที่จะสามารถเอาความผิดกับผู้ที่กระทำผิดได้ ทำให้ผู้ที่รับผิดชอบดูแลไม่เกรงกลัวปล่อยปละละเลยและมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้บริโภค(มุสลิม)และกระทบต่อธุรกิจอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกมุสลิมในอนาคต ปัจจุบันเป็นธุรกิจที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศจำนวน ไม่น้อยที่เดียว ถ้าหากยังปล่อยออกไปอีก โดยไม่ออกกฎหมาย อาจจะเกิดปัญหาขึ้นอีกได้ในอนาคต
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 ก.ค. 2550--จบ--
นายเจะอามิง ฯ เรียกร้องหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อความผิดผลาดที่เกิดขึ้น นอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายในภาคธุรกิจแล้ว คณะกรรมการ ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมุสลิมที่ปล่อยให้เนื้อและไขมันสุกรที่ เป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม เจือปนในอาหารที่ได้รับตราฮาลาลจากคณะกรรมฯ ด้วยการลาออก แสดงความรับผิดชอบอย่าง รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล
ภายหลังจากผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ฮ่อยจ๊อปู "เจพี" ขนาด 1 กิโลกรัม ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทเจพี ซีฟูด (JP SEAFOODS) ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่ได้รับตรารับรอง "ฮาลาล" จากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (กอท.ฮล.435470011244) มีเนื้อและไขมันสุกรปนเปื้อน!
" สุกรเป็นของฮารอม(สิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิม) สุกรเป็นสัตว์ต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม ไม่สามารถนำมารับประทานได้
นายเจะอามิง ฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ต่อไปนี้รัฐบาล หน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องสร้างมาตรฐานอาหารฮาลาลให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม และสอดคล้องกับมาตรฐานอาหารฮาลาลสากล รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลให้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับของผู้ผลิตผู้บริโภค รวมถึงองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
นายเจะอามิง ฯ พูดถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้ฝ่ายการเมืองให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก นับต่อจากนี้ไปถึงเวลาแล้วที่เมืองไทยจะต้องมี กฎหมายอาหารฮาลาล เป็นการเฉพาะ เพื่อจะได้เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะสามารถเอาผิด ผู้กระทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคได้
ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายใดที่จะสามารถเอาความผิดกับผู้ที่กระทำผิดได้ ทำให้ผู้ที่รับผิดชอบดูแลไม่เกรงกลัวปล่อยปละละเลยและมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้บริโภค(มุสลิม)และกระทบต่อธุรกิจอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกมุสลิมในอนาคต ปัจจุบันเป็นธุรกิจที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศจำนวน ไม่น้อยที่เดียว ถ้าหากยังปล่อยออกไปอีก โดยไม่ออกกฎหมาย อาจจะเกิดปัญหาขึ้นอีกได้ในอนาคต
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 ก.ค. 2550--จบ--