กรุงเทพ--21 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ศาสตราจารย์ ดร. อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี (H.E. Dr. Abdullah bin Abdul Mohsin Al-Turki) เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League: MWL) จะเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 24-30 มิถุนายน 2550 โดยเลขาธิการฯ มีกำหนดเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก/ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวย การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จุฬาราชมนตรี ตลอดจนพบหารือกับผู้นำศาสนาและชาวมุสลิมในไทย และกล่าวปาฐกถาพิเศษที่ทำเนียบรัฐบาล มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี โรงแรม ซี เอส ปัตตานี รวมทั้งเดินทางเยือนจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และเชียงใหม่
การเดินทางเยือนไทยของเลขาธิการฯ ครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีที่เลขาธิการฯ จะได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธีและสมานฉันท์ โดยอาศัยแนวทาง “3 Es” ประกอบด้วย การส่งเสริมการศึกษา (education) การจ้างงาน (employment) และทักษะด้านการประกอบการ (entrepreneurship) ซึ่ง MWL สามารถมีบทบาทช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทยในเรื่องดังกล่าว
ที่ผ่านมา MWL ก็ได้มีบทบาทในการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเมื่อปี 2547 ในการประชุมสภามนตรีก่อตั้ง (เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายของ MWL) ที่ประชุมฯ ได้ออกแถลงการณ์สุดท้ายเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้เรียกร้องมิให้ชาวมุสลิมในพื้นที่ดังกล่าวรวมทั้งองค์กรต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์การก่อการร้ายทุกรูปแบบ ซึ่งจุฬาราชมนตรีได้อ้างแถลงการณ์ของ MWL ดังกล่าวในการเรียกร้องผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ มิให้ชาวไทยมุสลิมสนับสนุน/เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ และมีการประชาสัมพันธ์แถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนี้ MWL ยังได้มอบความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยในรูปแบบสาธารณกุศล อาทิ การให้เงินสนับสนุนมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ตลอดจนทุนสงเคราะห์เด็กกำพร้าในกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบทุนช่วยเหลือในโอกาสสำคัญต่างๆ ของอิสลาม (การละศีลอดและงานตรุษ) รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยในไทยเมื่อปี 2547 ด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับสันนิบาตมุสลิมโลก
1. ภูมิหลัง
1.1 สันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League: MWL) หรือ รอบีเฏาะฮ ในภาษาอาหรับ เป็นองค์กรเอกชนนานาชาติ (International Non-Governmental Organization) ตั้งอยู่ที่นครมักกะห์ ซาอุดีอาระเบีย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2505 โดยรัฐบาลซาอุดีอระเบียเพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ไฟซอล (Faisal bin Abdul Aziz Al-Saud) มีบทบาทในฐานะองค์กรเผยแพร่ศาสนา ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและสาธารณกุศล โดยเฉพาะการช่วยเหลือชาวมุสลิมที่ประสบความเดือดร้อนทั่วโลก
1.2 MWL กำหนดแนวทางที่จะเป็นองค์กรด้านศาสนา วัฒนธรรม โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ตลอดจนปฏิเสธการใช้ความรุนแรงและส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรม (Dialogue among Civilizations) ทั้งนี้ MWL เป็นองค์กรสังเกตการณ์ในคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์การการประชุมอิสลาม (OIC)
2. กลไกสำคัญ
2.1 คณะมนตรีสันนิบาตมุสลิมโลก (General Islamic Conference)
เป็นหน่วยงานหลักและมีอำนาจสูงสุดของ MWL คณะมนตรีฯ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักการศาสนาจากหลายสาขา ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก หน้าที่หลักคือการทำการวินิจฉัยชี้ขาด ตัดสินและตีความในประเด็นทางศาสนาที่มีความเห็นแตกต่าง/ขัดแย้งกัน นอกจากนั้น ยังมีหน้าที่เสนอชื่อผู้สมควรเป็นสมาชิกในสภามนตรีก่อตั้ง (Constituent Council)
2.2 สภามนตรีก่อตั้ง (Constituent Council)
2.2.1 เป็นหน่วยงานสูงสุดที่กำกับดูแลด้านนโยบาย ประกอบด้วยสมาชิก 60 คนจากประเทศอิสลาม และประเทศที่มีชุมชนมุสลิม โดยจะคัดเลือกจากนักวิชาการศาสนา ผู้มีบทบาทด้านสังคม การเมืองจากประเทศต่างๆ รวมทั้งผู้นำชุมชนของประเทศมุสลิมและประเทศที่มีชุมชนมุสลิม สภามนตรีมี Sheikh Abdulaziz Al-Sheikh มุฟตีแห่งซาอุดีอาระเบียเป็นประธาน ในส่วนของไทยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และ ดร อิสมาแอลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีวิทยาลัยอิสลามยะลาเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2540
2.2.2 สภามนตรีก่อตั้งเป็นผู้ให้ความเห็นชอบผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ มีการประชุมสมาทุกปีเพื่อการกำหนดนโยบายการบริหารและดำเนินการประจำปี พิจารณารายงานประจำปีของเลขาธิการฯ ออกข้อมติและแถลงการณ์ในประเด็นที่เกี่ยวกับโลกมุสลิม และรับรองงบประมาณที่เสนอโดยสำนักงานเลขาธิการ การประชุมครั้งล่าสุดคือการประชุมครั้งที่ 39 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549
2.3 สำนักเลขาธิการ (The Secretariat General)
เป็นหน่วยงานบริหาร/อำนวยการของ MWL มีเลขาธิการเป็นหัวหน้าสำนักงานและมีผู้ช่วยเลขาธิการ 4 คน เลขาธิการฯ คนปัจจุบันคือ Dr. Abdullah Abdul Muhsin Al-Turki ชาวซาอุดีอาระเบีย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2543 สำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ ณ นครมักกะห์ ซาอุดีอาระเบีย
3. หน่วยงานภายใต้ MWL
3.1 คณะกรรมการสูงสุดมัสยิดโลก (World Supreme Council Mosques)
มีจุดประสงค์ในการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของมัสยิดในประเทศมุสลิมและในประเทศที่มีชุมชนมุสลิม รวมทั้งการรักษา อนุรักษ์ ปกป้องคุ้มครอง และสนับสนุนงบประมาณในการสร้าง/บูรณะมัสยิด ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนและคุ้มครองเสรีภาพในการเผยแผ่ศาสนา
3.2 คณะกรรมการฟิกฮ์ (The Fiqh Council) มีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบและทบทวนประเด็นร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับอิสลาม วินิจฉัยและให้ความเห็น รวมทั้งเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับกฏหมายอิสลาม
3.3 องค์กรสงเคราะห์มุสลิมนานาชาติ (The International Islamic Relief Organization: IIRO) เป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ให้การสนับสนุนการศึกษา การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาลและให้ความช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยธรรมชาติ มีสาขาประมาณ 120 สาขาทั่วโลก IIRO ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิในไทย อินโดนีเซีย ศรีลังกา และมัลดีฟส์เมื่อปี 2547 และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในปากีสถานในปี 2548 ด้วย
3.4 คณะกรรมการศึกษาคำสอนจากคัมภีร์อัลกุรอ่านและวัตรปฏิบัติของท่านศาสดา (The Commission on Scientific Signs in the Quran and Sunnah) มีหน้าที่ค้นคว้า ศึกษาด้านวิทยาการต่างๆ ที่ระบุในคัมภีร์อัลกุรอ่านและพระวัจนะของศาสดามูหะมัด
4. ประเด็นสำคัญในปัจจุบัน
ปัจจุบัน MWL พยายามแสดงบทบาทขององค์กรในการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรม ดังจะเห็นได้จากการเยือนประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ของเลขาธิการ MWL และระหว่างการเยือน ได้มีการจัดการสัมนาทางวิชาการที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรมและศาสนา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ศาสตราจารย์ ดร. อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี (H.E. Dr. Abdullah bin Abdul Mohsin Al-Turki) เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League: MWL) จะเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 24-30 มิถุนายน 2550 โดยเลขาธิการฯ มีกำหนดเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก/ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวย การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จุฬาราชมนตรี ตลอดจนพบหารือกับผู้นำศาสนาและชาวมุสลิมในไทย และกล่าวปาฐกถาพิเศษที่ทำเนียบรัฐบาล มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี โรงแรม ซี เอส ปัตตานี รวมทั้งเดินทางเยือนจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และเชียงใหม่
การเดินทางเยือนไทยของเลขาธิการฯ ครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีที่เลขาธิการฯ จะได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธีและสมานฉันท์ โดยอาศัยแนวทาง “3 Es” ประกอบด้วย การส่งเสริมการศึกษา (education) การจ้างงาน (employment) และทักษะด้านการประกอบการ (entrepreneurship) ซึ่ง MWL สามารถมีบทบาทช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทยในเรื่องดังกล่าว
ที่ผ่านมา MWL ก็ได้มีบทบาทในการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเมื่อปี 2547 ในการประชุมสภามนตรีก่อตั้ง (เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายของ MWL) ที่ประชุมฯ ได้ออกแถลงการณ์สุดท้ายเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้เรียกร้องมิให้ชาวมุสลิมในพื้นที่ดังกล่าวรวมทั้งองค์กรต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์การก่อการร้ายทุกรูปแบบ ซึ่งจุฬาราชมนตรีได้อ้างแถลงการณ์ของ MWL ดังกล่าวในการเรียกร้องผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ มิให้ชาวไทยมุสลิมสนับสนุน/เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ และมีการประชาสัมพันธ์แถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนี้ MWL ยังได้มอบความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยในรูปแบบสาธารณกุศล อาทิ การให้เงินสนับสนุนมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ตลอดจนทุนสงเคราะห์เด็กกำพร้าในกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบทุนช่วยเหลือในโอกาสสำคัญต่างๆ ของอิสลาม (การละศีลอดและงานตรุษ) รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยในไทยเมื่อปี 2547 ด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับสันนิบาตมุสลิมโลก
1. ภูมิหลัง
1.1 สันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League: MWL) หรือ รอบีเฏาะฮ ในภาษาอาหรับ เป็นองค์กรเอกชนนานาชาติ (International Non-Governmental Organization) ตั้งอยู่ที่นครมักกะห์ ซาอุดีอาระเบีย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2505 โดยรัฐบาลซาอุดีอระเบียเพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ไฟซอล (Faisal bin Abdul Aziz Al-Saud) มีบทบาทในฐานะองค์กรเผยแพร่ศาสนา ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและสาธารณกุศล โดยเฉพาะการช่วยเหลือชาวมุสลิมที่ประสบความเดือดร้อนทั่วโลก
1.2 MWL กำหนดแนวทางที่จะเป็นองค์กรด้านศาสนา วัฒนธรรม โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ตลอดจนปฏิเสธการใช้ความรุนแรงและส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรม (Dialogue among Civilizations) ทั้งนี้ MWL เป็นองค์กรสังเกตการณ์ในคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์การการประชุมอิสลาม (OIC)
2. กลไกสำคัญ
2.1 คณะมนตรีสันนิบาตมุสลิมโลก (General Islamic Conference)
เป็นหน่วยงานหลักและมีอำนาจสูงสุดของ MWL คณะมนตรีฯ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักการศาสนาจากหลายสาขา ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก หน้าที่หลักคือการทำการวินิจฉัยชี้ขาด ตัดสินและตีความในประเด็นทางศาสนาที่มีความเห็นแตกต่าง/ขัดแย้งกัน นอกจากนั้น ยังมีหน้าที่เสนอชื่อผู้สมควรเป็นสมาชิกในสภามนตรีก่อตั้ง (Constituent Council)
2.2 สภามนตรีก่อตั้ง (Constituent Council)
2.2.1 เป็นหน่วยงานสูงสุดที่กำกับดูแลด้านนโยบาย ประกอบด้วยสมาชิก 60 คนจากประเทศอิสลาม และประเทศที่มีชุมชนมุสลิม โดยจะคัดเลือกจากนักวิชาการศาสนา ผู้มีบทบาทด้านสังคม การเมืองจากประเทศต่างๆ รวมทั้งผู้นำชุมชนของประเทศมุสลิมและประเทศที่มีชุมชนมุสลิม สภามนตรีมี Sheikh Abdulaziz Al-Sheikh มุฟตีแห่งซาอุดีอาระเบียเป็นประธาน ในส่วนของไทยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และ ดร อิสมาแอลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีวิทยาลัยอิสลามยะลาเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2540
2.2.2 สภามนตรีก่อตั้งเป็นผู้ให้ความเห็นชอบผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ มีการประชุมสมาทุกปีเพื่อการกำหนดนโยบายการบริหารและดำเนินการประจำปี พิจารณารายงานประจำปีของเลขาธิการฯ ออกข้อมติและแถลงการณ์ในประเด็นที่เกี่ยวกับโลกมุสลิม และรับรองงบประมาณที่เสนอโดยสำนักงานเลขาธิการ การประชุมครั้งล่าสุดคือการประชุมครั้งที่ 39 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549
2.3 สำนักเลขาธิการ (The Secretariat General)
เป็นหน่วยงานบริหาร/อำนวยการของ MWL มีเลขาธิการเป็นหัวหน้าสำนักงานและมีผู้ช่วยเลขาธิการ 4 คน เลขาธิการฯ คนปัจจุบันคือ Dr. Abdullah Abdul Muhsin Al-Turki ชาวซาอุดีอาระเบีย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2543 สำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ ณ นครมักกะห์ ซาอุดีอาระเบีย
3. หน่วยงานภายใต้ MWL
3.1 คณะกรรมการสูงสุดมัสยิดโลก (World Supreme Council Mosques)
มีจุดประสงค์ในการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของมัสยิดในประเทศมุสลิมและในประเทศที่มีชุมชนมุสลิม รวมทั้งการรักษา อนุรักษ์ ปกป้องคุ้มครอง และสนับสนุนงบประมาณในการสร้าง/บูรณะมัสยิด ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนและคุ้มครองเสรีภาพในการเผยแผ่ศาสนา
3.2 คณะกรรมการฟิกฮ์ (The Fiqh Council) มีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบและทบทวนประเด็นร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับอิสลาม วินิจฉัยและให้ความเห็น รวมทั้งเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับกฏหมายอิสลาม
3.3 องค์กรสงเคราะห์มุสลิมนานาชาติ (The International Islamic Relief Organization: IIRO) เป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ให้การสนับสนุนการศึกษา การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาลและให้ความช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยธรรมชาติ มีสาขาประมาณ 120 สาขาทั่วโลก IIRO ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิในไทย อินโดนีเซีย ศรีลังกา และมัลดีฟส์เมื่อปี 2547 และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในปากีสถานในปี 2548 ด้วย
3.4 คณะกรรมการศึกษาคำสอนจากคัมภีร์อัลกุรอ่านและวัตรปฏิบัติของท่านศาสดา (The Commission on Scientific Signs in the Quran and Sunnah) มีหน้าที่ค้นคว้า ศึกษาด้านวิทยาการต่างๆ ที่ระบุในคัมภีร์อัลกุรอ่านและพระวัจนะของศาสดามูหะมัด
4. ประเด็นสำคัญในปัจจุบัน
ปัจจุบัน MWL พยายามแสดงบทบาทขององค์กรในการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรม ดังจะเห็นได้จากการเยือนประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ของเลขาธิการ MWL และระหว่างการเยือน ได้มีการจัดการสัมนาทางวิชาการที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรมและศาสนา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-