1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 35.62 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบ
กับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 8.05 และ 12.84 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.12 ล้านชิ้น
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.10 และ 12.58 ตามลำดับ (ดังตารางที่
1 และ 2)
ในระยะ 9 เดือนของปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 111.63 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 6.42
ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 4.51 และ 8.41 ตามลำดับ ซึ่งเกิดจากภาวะซบเซาของธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ การเมือง ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต จนทำให้บริษัท
ต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน ของบริษัท
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 38.11 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 5.32 และ 4.34 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย
1.18 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.38 และ 6.97ตามลำดับ ซึ่ง
ความต้องการใช้เซรามิกลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และ เป็นช่วงหน้าฝนที่ไม่ใช่ฤดูกาลขาย ประกอบกับเกิดภาวะ
น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ปริมาณการจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด (ดังตารางที่ 1 และ 2)
ในระยะ 9 เดือนของปี 2549 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 122.36 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ
3.62 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.90 และ 7.24 ตามลำดับ ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาการ
เมืองและเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศซบเซาลง ส่งผลให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง จึงทำให้ผู้ผลิตเซรามิกต่าง
ให้ความสำคัญกับการปรับราคาและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับกำลังซื้อของผู้บริโภค เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 178.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะ
เดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.83 และ 4.69 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3) ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และลูกถ้วยไฟฟ้า ซึ่งหากพิจารณาในสินค้าดังกล่าวจะพบว่าเครื่องสุขภัณฑ์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดใน
ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา โดยเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.45 และ 87.50
ตามลำดับ
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราช อาณาจักร ไต้หวัน แคนาดา เกาหลีใต้
เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ในระยะ 9 เดือนของปี 2549 มีมูลค่ารวม 506.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.24 โดยทุกผลิตภัณฑ์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น เครื่องใช้บนโต๊ะ
อาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับ ที่การส่งออกในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ลดลง
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เยอรมนี และอิตาลี โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 37.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัว
ลดลง ร้อยละ 14.67 และ 16.37 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในระยะ 9 เดือนของปี 2549 มีมูลค่ารวม
119.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 3.17 ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้
ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น มาเลเซีย และอิตาลี และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปู
พื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีอัตราการขยายตัว
ลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ การเมือง ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ส่งผลต่อ
ต้นทุนการผลิตจนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุนของบริษัท ประกอบกับในช่วงดัง
กล่าวเป็นฤดูฝนซึ่งไม่ใช่ฤดูกาลขาย และเกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่จึงทำให้ความต้องการใช้เซรามิกในประเทศลดลง สำหรับการผลิตและจำหน่าย
เซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากปัญหาการเมืองเริ่มคลี่คลาย มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ภาวะราคาน้ำมัน และ
อัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว รวมทั้งความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่จำเป็นต้องซ่อมแซมเป็นจำนวน
มาก ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง
สุขภัณฑ์ ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับกลับมีอัตราการขยายตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ยอดการสั่งซื้อสินค้าจาก
การจัดงานแสดงสินค้าของใช้และตกแต่งบ้าน (Bangkok International Gift and Houseware) ที่มีขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี อาจช่วย
ให้มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับเพิ่มสูงขึ้นได้ในช่วงปลายปี 2549 และต้นปี 2550
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2548(ม.ค.-ก.ย.) ปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.)
3/2548 2/2549 3/2549
การผลิต 40,871,238 38,744,878 35,624,415 116,897,576 111,628,864
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.05
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -12.84 -4.51
การจำหน่ายในประเทศ 39,844,014 40,256,502 38,112,860 126,008,502 122,356,591
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.32
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.34 -2.9
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2548(ม.ค.-ก.ย.) ปี 2549(ม.ค.-ก.ย.)
3/2548 2/2549 3/2549
การผลิต 2,428,525 2,146,671 2,123,038 7,013,297 6,423,346
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -12.58 -8.41
การจำหน่ายในประเทศ 1,267,201 1,207623 1,178,907 3,902,240 3,619,814
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.38
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.97 -7.24
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี
ผลิตภัณฑ์ 3/2548 2/2549 3/2549 2548(ม.ค.-ก.ย.) 2549 (ม.ค.-ก.ย.)
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 28.1 25.8 28.7 78.1 80.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 11.24
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.14 3.33
เครื่องสุขภัณฑ์ 29.6 27.8 38.6 81.2 91.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 38.85
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 30.41 13.18
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 50.8 46.1 46.1 137.4 131
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.25 -4.66
ของชำร่วยเครื่องประดับ 8.9 6.3 7.3 25.5 21
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.87
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -17.98 -17.65
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.2 5.3 6.1 12.2 17.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.09
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.31 45.08
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 47.8 55.7 51.6 137.7 164
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.36
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.95 19.1
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 170.4 167 178.4 472.1 506.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 6.83
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.69 7.24
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2548(ม.ค.-ก.ย.) ปี 2549(ม.ค.-ก.ย.)
ผลิตภัณฑ์ 3/2548 2/2549 3/2549
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 15.5 14 13 46.8 40.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.14
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -16.13 -13.25
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 29.7 30.3 24.8 76.1 78.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -18.15
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -16.5 3.02
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 45.2 44.3 37.8 122.9 119
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -14.67
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -16.37 -3.17
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 35.62 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบ
กับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 8.05 และ 12.84 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.12 ล้านชิ้น
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.10 และ 12.58 ตามลำดับ (ดังตารางที่
1 และ 2)
ในระยะ 9 เดือนของปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 111.63 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 6.42
ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 4.51 และ 8.41 ตามลำดับ ซึ่งเกิดจากภาวะซบเซาของธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ การเมือง ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต จนทำให้บริษัท
ต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน ของบริษัท
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 38.11 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 5.32 และ 4.34 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย
1.18 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.38 และ 6.97ตามลำดับ ซึ่ง
ความต้องการใช้เซรามิกลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และ เป็นช่วงหน้าฝนที่ไม่ใช่ฤดูกาลขาย ประกอบกับเกิดภาวะ
น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ปริมาณการจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด (ดังตารางที่ 1 และ 2)
ในระยะ 9 เดือนของปี 2549 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 122.36 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ
3.62 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.90 และ 7.24 ตามลำดับ ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาการ
เมืองและเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศซบเซาลง ส่งผลให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง จึงทำให้ผู้ผลิตเซรามิกต่าง
ให้ความสำคัญกับการปรับราคาและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับกำลังซื้อของผู้บริโภค เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 178.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะ
เดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.83 และ 4.69 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3) ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และลูกถ้วยไฟฟ้า ซึ่งหากพิจารณาในสินค้าดังกล่าวจะพบว่าเครื่องสุขภัณฑ์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดใน
ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา โดยเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.45 และ 87.50
ตามลำดับ
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราช อาณาจักร ไต้หวัน แคนาดา เกาหลีใต้
เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ในระยะ 9 เดือนของปี 2549 มีมูลค่ารวม 506.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.24 โดยทุกผลิตภัณฑ์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น เครื่องใช้บนโต๊ะ
อาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับ ที่การส่งออกในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ลดลง
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เยอรมนี และอิตาลี โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 37.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัว
ลดลง ร้อยละ 14.67 และ 16.37 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในระยะ 9 เดือนของปี 2549 มีมูลค่ารวม
119.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 3.17 ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้
ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น มาเลเซีย และอิตาลี และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปู
พื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีอัตราการขยายตัว
ลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ การเมือง ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ส่งผลต่อ
ต้นทุนการผลิตจนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุนของบริษัท ประกอบกับในช่วงดัง
กล่าวเป็นฤดูฝนซึ่งไม่ใช่ฤดูกาลขาย และเกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่จึงทำให้ความต้องการใช้เซรามิกในประเทศลดลง สำหรับการผลิตและจำหน่าย
เซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากปัญหาการเมืองเริ่มคลี่คลาย มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ภาวะราคาน้ำมัน และ
อัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว รวมทั้งความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่จำเป็นต้องซ่อมแซมเป็นจำนวน
มาก ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง
สุขภัณฑ์ ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับกลับมีอัตราการขยายตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ยอดการสั่งซื้อสินค้าจาก
การจัดงานแสดงสินค้าของใช้และตกแต่งบ้าน (Bangkok International Gift and Houseware) ที่มีขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี อาจช่วย
ให้มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับเพิ่มสูงขึ้นได้ในช่วงปลายปี 2549 และต้นปี 2550
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2548(ม.ค.-ก.ย.) ปี 2549 (ม.ค.-ก.ย.)
3/2548 2/2549 3/2549
การผลิต 40,871,238 38,744,878 35,624,415 116,897,576 111,628,864
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.05
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -12.84 -4.51
การจำหน่ายในประเทศ 39,844,014 40,256,502 38,112,860 126,008,502 122,356,591
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.32
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.34 -2.9
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2548(ม.ค.-ก.ย.) ปี 2549(ม.ค.-ก.ย.)
3/2548 2/2549 3/2549
การผลิต 2,428,525 2,146,671 2,123,038 7,013,297 6,423,346
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -12.58 -8.41
การจำหน่ายในประเทศ 1,267,201 1,207623 1,178,907 3,902,240 3,619,814
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.38
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.97 -7.24
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี
ผลิตภัณฑ์ 3/2548 2/2549 3/2549 2548(ม.ค.-ก.ย.) 2549 (ม.ค.-ก.ย.)
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 28.1 25.8 28.7 78.1 80.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 11.24
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.14 3.33
เครื่องสุขภัณฑ์ 29.6 27.8 38.6 81.2 91.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 38.85
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 30.41 13.18
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 50.8 46.1 46.1 137.4 131
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.25 -4.66
ของชำร่วยเครื่องประดับ 8.9 6.3 7.3 25.5 21
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.87
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -17.98 -17.65
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.2 5.3 6.1 12.2 17.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.09
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.31 45.08
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 47.8 55.7 51.6 137.7 164
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.36
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.95 19.1
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 170.4 167 178.4 472.1 506.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 6.83
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.69 7.24
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2548(ม.ค.-ก.ย.) ปี 2549(ม.ค.-ก.ย.)
ผลิตภัณฑ์ 3/2548 2/2549 3/2549
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 15.5 14 13 46.8 40.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.14
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -16.13 -13.25
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 29.7 30.3 24.8 76.1 78.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -18.15
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -16.5 3.02
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 45.2 44.3 37.8 122.9 119
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -14.67
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -16.37 -3.17
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-